แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการพิจารณาคำร้อง ขอเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ ของ คตส. ที่มีนายอำนวย ธันธรา กรรมการ คตส. เป็นประธาน ได้มีการประชุมพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ ในส่วนของบริษัท เอสซี ออฟฟิต พลาซ่า จำกัด ที่ถูกคตส.อายัดทรัพย์จำนวนกว่า 2 พันล้านบาท โดยหลังจากที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้พิจารณาเหตุผลและคำให้การของพยานที่เกี่ยวข้อง จึงมีมติให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ของบริษัทฯ จำนวนกว่า 2 พันล้านบาท ตามที่บริษัทฯ ร้องขอ
แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่มีการเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ดังกล่าว เพราะทางบริษัทฯ ได้อ้างเหตุผลว่า เงินจำนวน 2 พันล้านบาท ที่ คตส. อายัดเอาไว้ เป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่ง น.ส.พิณทองทา ได้โอนเข้ามาให้บริษัทฯ นั้น ในข้อเท็จจริงแล้ว เงินจำนวนนี้ น.ส.พิณทองทา ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ได้โอนเข้ามา เพื่อเป็นการเพิ่มทุนของบริษัท ซึ่งเป็นการดำเนินงานปกติและเปิดเผยไม่มีเจตนาที่จะปกปิดหรือซ่อนเร้น โดยมีการแจ้งข้อมูลไปยังกระทรวงพาณิชย์ ให้ได้รับทราบ และได้มีการเพิ่มทุนไปแล้ว ก่อนที่ คตส.จะออกคำสั่งอายัดทรัพย์ไว้
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการอายัดทรัพย์นั้น คตส. ได้ทำการออกคำสั่งอายัดทรัพย์ ในส่วนของเงินบริษัท แทนที่จะเป็นหุ้นในส่วนของ น.ส.พิณทองทา ส่งผลกระทบทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทเสียหาย และปัจจุบันการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า บุคคลที่เป็นเจ้าของเงินซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ตัวจริง คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังอยู่ในกระบวนการไต่สวนข้อมูลที่ยังไม่แล้วเสร็จ คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จึงเห็นสมควรให้เพิกถอน คำสั่งอายัดส่วนนี้” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในเบื้องต้นแม้คณะอนุฯ ไต่สวนชุดนี้ จะลงคะแนนเสียงรับรอง มติเรื่องนี้ ไปแล้ว 3 ต่อ 2 เสียง แต่เนื่องจากในการประชุม มีกรรมการบางส่วน ไม่ได้เข้าร่วมประชุม และไม่เห็นด้วยกับมตินี้ ดังนั้น ในการประชุม คตส. ชุดใหญ่ วันที่ 24 มี.ค. นี้ คงจะมีการนำเรื่องเข้าหารือ และให้ คตส. ลงมติวินิจฉัยชี้ขาด ว่าจะเห็นชอบให้ปล่อยทรัพย์ส่วนนี้ ตามความเห็นของคณะอนุฯ ไต่สวนหรือไม่
นายธวัชชัย แตงหนู ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท เอสซีฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ทีมทนายความผู้รับมอบอำนาจของบริษัท เอสซีฯ ได้ทำหนังสือแจ้งเตือน มายัง คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ให้พิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ส่วนนี้ โดยด่วน เนื่องจากทางบริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องไปนานแล้ว และก็นำพยานมาให้ปากคำต่อคณะอนุฯ ครบถ้วนทุกปากแล้ว หากคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ไม่รีบดำเนินการทาง ทีมทนายความ จะคงจะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาประกอบการพิจารณา ว่าจะดำเนินการอย่างไรกับคตส. ด้วย
“คุณพิณทองทา มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง เมื่อมีการนำเงินเข้ามาเพิ่มทุน ให้กับบริษัทแล้ว เงินส่วนนี้ ก็จะถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งถ้าคตส. จะมีคำสั่งอายัดทรัพย์ ก็ควรจะอายัดหุ้นในส่วนของคุณพิณทองทา ไม่ใช่ออกคำสั่งอายัดเงินของบริษัทแบบนี้ ทำให้บริษัทต่อประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก”
วานนี้ (21 มี.ค.) มีการประชุมคณะทำงานร่วมอัยการสูงสุด กับ คตส. เพื่อพิจารณาควาไม่สมบูรณ์ของสำนวนคดีการจัดซื้อพันธ์กล้ายางพารา 90 ล้านต้น ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในภาพรวม 3 ประเด็นหลัก คือ 1. สถานะของนายบรรพต หงส์ทอง อดีตปลัดกระทรวงเกษตรฯ ที่ไม่ได้ถูกกล่าวหาในชั้นไต่สวน แต่กลับมีชื่อเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา ด้วย 2. การแจ้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 45 ราย รวมถึงระบุค่าใช้จ่ายความเสียหายที่ต้องชดใช้ในทางแพ่ง และ 3. สำนวนคำให้การของพยาน ผู้ถูกกล่าวหาบางคนขาดหายไป ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่คาดว่าในวันที่ 3 เม.ย. น่าจะให้ข้อสรุป
ด้านนายอุดม เฟื่องฟุ้ง คตส.กล่าวว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปใน 2 ประเด็น คือประเด็นที่ 1 และ 3. โดยคตส.ยอมรับในข้อบกพร่อง ซึ่งต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เช่นเรื่อง สถานะของนายบรรพต ที่พ้นจากการกล่าวหาแล้ว แต่กลับมีชื่ออยู่ในสำนวน โดยเป็นผู้ถูกกล่าวหาในลำดับที่ 50 ดังนั้น คตส.จะตัดชื่อดังกล่าวออกจากสำนวน ส่วนเรื่องที่ตกลงกันไม่ได้คือข้อ 2 ถือเป็นเรื่องกฎหมาย ที่คตส.และอัยการมีความเห็น คนละด้าน ยังหาข้อยุติทางกฎหมายไม่ลงตัวจึงต้องหารือกันต่อในครั้งหน้า
แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่มีการเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ดังกล่าว เพราะทางบริษัทฯ ได้อ้างเหตุผลว่า เงินจำนวน 2 พันล้านบาท ที่ คตส. อายัดเอาไว้ เป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่ง น.ส.พิณทองทา ได้โอนเข้ามาให้บริษัทฯ นั้น ในข้อเท็จจริงแล้ว เงินจำนวนนี้ น.ส.พิณทองทา ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ได้โอนเข้ามา เพื่อเป็นการเพิ่มทุนของบริษัท ซึ่งเป็นการดำเนินงานปกติและเปิดเผยไม่มีเจตนาที่จะปกปิดหรือซ่อนเร้น โดยมีการแจ้งข้อมูลไปยังกระทรวงพาณิชย์ ให้ได้รับทราบ และได้มีการเพิ่มทุนไปแล้ว ก่อนที่ คตส.จะออกคำสั่งอายัดทรัพย์ไว้
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการอายัดทรัพย์นั้น คตส. ได้ทำการออกคำสั่งอายัดทรัพย์ ในส่วนของเงินบริษัท แทนที่จะเป็นหุ้นในส่วนของ น.ส.พิณทองทา ส่งผลกระทบทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทเสียหาย และปัจจุบันการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า บุคคลที่เป็นเจ้าของเงินซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ตัวจริง คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังอยู่ในกระบวนการไต่สวนข้อมูลที่ยังไม่แล้วเสร็จ คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ จึงเห็นสมควรให้เพิกถอน คำสั่งอายัดส่วนนี้” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในเบื้องต้นแม้คณะอนุฯ ไต่สวนชุดนี้ จะลงคะแนนเสียงรับรอง มติเรื่องนี้ ไปแล้ว 3 ต่อ 2 เสียง แต่เนื่องจากในการประชุม มีกรรมการบางส่วน ไม่ได้เข้าร่วมประชุม และไม่เห็นด้วยกับมตินี้ ดังนั้น ในการประชุม คตส. ชุดใหญ่ วันที่ 24 มี.ค. นี้ คงจะมีการนำเรื่องเข้าหารือ และให้ คตส. ลงมติวินิจฉัยชี้ขาด ว่าจะเห็นชอบให้ปล่อยทรัพย์ส่วนนี้ ตามความเห็นของคณะอนุฯ ไต่สวนหรือไม่
นายธวัชชัย แตงหนู ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท เอสซีฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ทีมทนายความผู้รับมอบอำนาจของบริษัท เอสซีฯ ได้ทำหนังสือแจ้งเตือน มายัง คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ให้พิจารณาคำร้องขอพิสูจน์ทรัพย์ส่วนนี้ โดยด่วน เนื่องจากทางบริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องไปนานแล้ว และก็นำพยานมาให้ปากคำต่อคณะอนุฯ ครบถ้วนทุกปากแล้ว หากคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ไม่รีบดำเนินการทาง ทีมทนายความ จะคงจะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามาประกอบการพิจารณา ว่าจะดำเนินการอย่างไรกับคตส. ด้วย
“คุณพิณทองทา มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง เมื่อมีการนำเงินเข้ามาเพิ่มทุน ให้กับบริษัทแล้ว เงินส่วนนี้ ก็จะถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งถ้าคตส. จะมีคำสั่งอายัดทรัพย์ ก็ควรจะอายัดหุ้นในส่วนของคุณพิณทองทา ไม่ใช่ออกคำสั่งอายัดเงินของบริษัทแบบนี้ ทำให้บริษัทต่อประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก”
วานนี้ (21 มี.ค.) มีการประชุมคณะทำงานร่วมอัยการสูงสุด กับ คตส. เพื่อพิจารณาควาไม่สมบูรณ์ของสำนวนคดีการจัดซื้อพันธ์กล้ายางพารา 90 ล้านต้น ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในภาพรวม 3 ประเด็นหลัก คือ 1. สถานะของนายบรรพต หงส์ทอง อดีตปลัดกระทรวงเกษตรฯ ที่ไม่ได้ถูกกล่าวหาในชั้นไต่สวน แต่กลับมีชื่อเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหา ด้วย 2. การแจ้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 45 ราย รวมถึงระบุค่าใช้จ่ายความเสียหายที่ต้องชดใช้ในทางแพ่ง และ 3. สำนวนคำให้การของพยาน ผู้ถูกกล่าวหาบางคนขาดหายไป ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าไปมาก แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่คาดว่าในวันที่ 3 เม.ย. น่าจะให้ข้อสรุป
ด้านนายอุดม เฟื่องฟุ้ง คตส.กล่าวว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปใน 2 ประเด็น คือประเด็นที่ 1 และ 3. โดยคตส.ยอมรับในข้อบกพร่อง ซึ่งต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เช่นเรื่อง สถานะของนายบรรพต ที่พ้นจากการกล่าวหาแล้ว แต่กลับมีชื่ออยู่ในสำนวน โดยเป็นผู้ถูกกล่าวหาในลำดับที่ 50 ดังนั้น คตส.จะตัดชื่อดังกล่าวออกจากสำนวน ส่วนเรื่องที่ตกลงกันไม่ได้คือข้อ 2 ถือเป็นเรื่องกฎหมาย ที่คตส.และอัยการมีความเห็น คนละด้าน ยังหาข้อยุติทางกฎหมายไม่ลงตัวจึงต้องหารือกันต่อในครั้งหน้า