xs
xsm
sm
md
lg

ตอก ออส.ไม่มีสิทธิสั่ง คตส. “อุดม” ชี้มีอำนาจเท่า ป.ป.ช.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“อุดม” ยืนยันอัยการสูงสุดไม่มีสิทธิสั่ง คตส.สอบเพิ่ม เพราะ คตส.มีอำนาจเทียบเท่า ป.ป.ช. และ ไม่ใช่พนักงานสอบสวนเหมือนตำรวจ จะมาสั่งทำโน้นทำนี้ได้ ย้ำ คดีกล้ายางฯสมบูรณ์ มีการระบุความผิดของบุคคลที่ต้องรับผิดชอบในทางแพ่งเป็นเงิน 1.1 ล้านบาท ส่วน“บรรพต” ที่หลุดคดี เหตุไม่มีหลักฐานชี้ว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ชี้การตั้งคณะทำงานร่วมอาจเสียเวลา ที่จะนำคดีฟ้องศาล แถมเป็นช่องให้ผู้ถูกกล่าวหานำมาเป็นประเด็นหักล้าง แต่ก็ยินด ั้งคณะทำงานร่วมเพื่อหาทางออก
 
นายอุดม เฟื้องฟุ้ง กรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ในฐานะคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีการทุจริตการจัดซื้อพันธุ์กล้ายางพารา 90 ล้านต้น ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึง กรณีอัยการสูงสุด (อสส.) มีความเห็น ให้ตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่ายเพื่อพิจารณาความไม่สมบูรณ์ ของสำนวนคดีกล้างยาง โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความผิดของบุคคลที่ตกเป็นผู้ ถูกกล่าวหา รวมถึงความเสียหายที่ต้องชดใช้ในทางแพ่งว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นเอกสารและข้อเท็จจริงว่า อัยการสูงสุดเสนอมามีประเด็นอะไรบ้าง เพราะต้องนำเข้าที่ประชุมใหญ่ คตส.อีกครั้ง เพื่อนำข้อเสนอทั้งหมดมาหารือร่วมกัน ก่อนที่จะมีมติแต่งตั้งคณะทำงานร่วม 2 ฝ่าย

ผู้สื่อข่าวถามว่าในการสรุปสำนวนของคตส.ได้ระบุความผิดของบุคคล ตามข้อกฎหมายพร้อมทั้งมีการแยกกลุ่มอย่างชัดเจน การที่ ัยการสูงสุด เห็นต่างจะทำให้คดีนี้ต้องยืดเยื้อออกไปหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า ความเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องของข้อกฎหมายเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น แต่สุดท้ายต้องมาหาทางออกร่วมกันระหว่างอัยการสูงสุด กับ คตส.ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันย่อมส่งผลให้ระยะเวลาต้องยืดออกไปอีก กว่าจะสรุปส่งถึงมือศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ก็คงต้องใช้เวลานานขึ้น

ส่วนกรณีที่ อัยการสูงสุด เห็นว่า คตส.ไม่ได้มีการะบุความผิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการชดใช้ความเสียหายในทางแพ่ง นายอุดม กล่าวว่าในการสรุปสำนวนได้มีการระบุกลุ่มบุคคลที่ร่วมกระทำความผิดอย่างชัดเจน รวมถึงผู้ถูกกล่าวหาที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายเป็นเงิน 1,100 ล้านบาท คืนแก่รัฐ โดยจะต้องรับผิดร่วมกันเต็มจำนวนความเสียหาย โดยได้ฟ้องร่วมไปกับคดีอาญาด้วย อย่างไรก็ตามจะขอดูเอกสารของ อัยการ อย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าในประเด็นนี้ อัยการมีความเห็นต่างอย่างไรบ้าง

ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใด อัยการสูงสุด จึงต้องการทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของ นายบรรพต หงษ์ทอง อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งไม่ได้ถูกฟ้อง นายอุดม กล่าวว่า ในขั้นตอนของการตรวจสอบชื่อของนายบรรพต ตกเป็นผู้ถูก กล่าวหาด้วย ซึ่งหลังจากมีการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อพิจารณาเอกสาร และหลักฐานทั้งหมดพบว่านายบรรพตไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ และไม่มีหลักฐานที่ควรเชื่อได้ว่านายบรรณพจน์มีส่วนร่วมกระทำผิด หรือทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้นกรณีนี้จึงตกไป คตส.จึงไม่ได้สั่งฟ้องนายบรรพตด้วย

“การที่ คตส.จะพิจารณา ตัดนายบรรพตออก เพราะไม่หลักฐานเชื่อมว่า ได้ร่วมกระทำผิด ซึ่งเป็นขั้นตอนตามปกติของขั้นการตรวจสอบและไต่สวน ซึ่งอาจจะมีบางคนหลุดไปบ้าง แต่อัยการสูงสุดไม่มีสิทธิ์ ที่จะมาถามเหตุผล หรือ ให้ คตส. สอบสวนเพิ่มเติมว่าหลุดเพราะเหตุใด หรือสอบเพิ่มเติมในประเด็นที่ อัยการสูงสุด เห็นไม่ตรงกัน เพราะมีหน้าที่เพียงว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่เท่านั้น เพราะการปฏิบัติหน้าที่ ของ คตส. เป็นองค์กร ซึ่งมีอำนาจเทียบเท่ากับ ป.ป.ช.ที่สำคัญ คตส.ไม่ใช่พนักงานสอบสวนเหมือนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ อัยการจะมาสั่งให้สอบเพิ่มเติม และไม่มีกฎหมายใดมารองรับให้อัยการสั่ง คตส.สอบเพิ่มเติม”

ส่วนกรณีคดีกล้ายางจะซ้ำรอยกับคดีหวยบนดินที่ คตส.ต้องตั้งทนายขึ้นมา ฟ้องเองหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า ไม่ขอออกความเห็น เพราะยังไม่ได้พิจารณา ข้อคิดเห็นของ อัยการสูงสุดอย่างเป็นทางการว่าต้องการทราบประเด็นไดบ้าง สำนวนของ คตส.มีจุดอ่อนตรงไหนบ้างที่ต้องทำให้รัดกุมมากขึ้น ทุกอย่างต้องมี ทางออก ทั้งสองฝ่ายต้องหาทางออกร่วมกันก่อน ขณะนี้ ยังไกลไปที่จะพูด และอาจจะเป็นการไปก้าวล่วงได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การออกมาชี้ช่องความผิดที่ไม่ชัดเจนของ อัยการ จะเป็นช่องโหว่ ให้ผู้ถูกกล่าหา นำมาเป็นแนวทางในการต่อสู้ได้หรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาของขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม เมื่อมีความเห็นแตกต่าง ในเรื่องของกฎหมาย โดยเฉพาะประเด็นที่เห็นว่าจะทำให้ผู้ถูกกกล่าวหาชนะ ก็ต้องหาช่องทางมาต่อสู้
กำลังโหลดความคิดเห็น