“ชูศักดิ์” ทิ้งบอมม์ “อภิรักษ์” โชว์สปิริตพักงานก่อน คตส.ชี้มูล ระวังเจอข้อหาละเว้นปฎิบัติหน้าที่ ขณะที่ “อภิสิทธิ์” ย้อนถามเล่นเกมการเมืองกับคนสร้างบรรทัดฐานที่ดีหรือ รับคาดไม่ถึง หล่อเล็กโดนหางเลขทั้งที่พยายามแก้ปัญหาแล้ว ด้าน นาม ชี้ อภิรักษ์ ไม่ได้ผิดเรื่องทุจริต แต่ไปเปิดแอลซี แก้ไขสัญญา ไม่ชอบด้วย กม. ด้าน ฝ่าย กทม.ร้อนตัวหวั่นมีปัญหาข้อ กม.หลัง อภิรักษ์ หยุดพักการทำงานให้ วัลลภ รักษาการแทน ส่งกฤษฎีกาตีความ ผู้ว่าฯ กทม.เข้าข่าย กม.ป.ป.ช. มาตรา 55 ที่ต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่หรือไม่
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ คตส. ออกมาโต้แย้งเรื่องการอ้าง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกรณีรัฐมนตรีควรยุติการทำหน้าที่หลังถูกฟ้องหรือไม่ว่า ก็เป็นเรื่องการดูกฎหมายคนละมาตรา พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ดูมาตราหนึ่ง ส่วนนายกล้านรงค์ ก็ดูมาตราหนึ่ง
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนว่าประเด็นการใช้อำนาจ คตส. ความเห็นของตนมีอยู่ 3 ประเด็นคือ 1.คตส.ตั้งมาโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ 2. คตส.สามารถใช้อำนาจ ตามกฎหมาย ป.ป.ช.ได้ทั้งหมดหรือไม่เพราะ คตส.ไม่ใช่ ป.ป.ช.และประกาศ คปค.กับกฎหมาย ป.ป.ช.ก็แตกต่างกัน และ3.ถ้า คตส.มีมติเช่นนี้แล้วเกิดปัญหาขึ้นบุคคล ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นี่คือประเด็นหลักที่ต้องโต้เถียงกัน ส่วนเรื่องอื่นถือเป็นประเด็นปลีกย่อย
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนขอฝากว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.)ว่ายังไม่ควรหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 55 จะหยุดปฏิบัติหน้าที่ก็ต่อเมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว แต่ขณะนี้ คตส.เพียงแค่แจ้งข้อกล่าวหาต่อนายอภิรักษ์เท่านั้นซึ่งนายอภิรักษ์สามารถ ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ แต่หากคำชี้แจงฟังไม่ขึ้นแล้วถูกชี้มูลก็ค่อยว่ากัน ยังมีเวลาอีกนาน ขณะนี้ถือว่านายอภิรักษ์แสดงสปิริต หยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อน จะถือว่า เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่ เพราะหากมีเรื่องที่ผู้ว่าฯกทม.จะต้องลงนามระหว่างนี้ แต่ไม่มีผู้ดำเนินการและอาจเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นประเด็นนี้ก็น่าคิด
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายอภิรักษ์ ขอลาตามระเบียบราชการเหมือนเวลาไปต่างประเทศ ไม่เห็นมีปัญหาอะไรตามที่นายชูศักดิ์อ้าง หรือว่าจะเล่นการเมืองกับคนที่ต้องการทำให้เป็นบรรทัดฐานการเมืองมันดีหรือ ตนไม่เห็นมีอะไรเลย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อ คตส. ชี้มูลความผิดโครงการ รถและเรือดับเพลิงของ กทม.ต่อนายอภิรักษ์ แล้ว นายอภิรักษ์จึงไม่ประสงค์จะใชอำนาจหน้าที่ใดๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการตรวจสอบจึงขอยุติอำนาจหน้าที่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ คตส.ยังไม่ได้ชี้มูลความผิด เพียงแต่แจ้งมติข้อกล่าวหา นายอภิรักษ์ก็ต้องไปแก้ข้อกล่าวหา จากนั้น คตส.จึงจะมีมติอีกครั้งหนึ่งว่ามีมูลความผิดที่จะส่งฟ่องไปที่อัยการ
"ตอนที่นายอภิรักษ์ กำลังหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.อยู่ ผู้ว่าฯกทม. คนเก่า ได้ไปเซ็นสัญญาซื้อขายรถดับเพลิง แล้วก็ไปเซ็นสัญญาโดยไปพันกับบันทึกข้อตกลง หรือข้อตกลงที่เรียกว่า เอโอยู ระหว่างรัฐบาล ไม่ใช่ กทม. ซึ่งรัฐบาลกับทางออสเตรีย มีกรณีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันและขณะนั้นมีการวิพากวิจารณ์ว่า การซื้อขายรถดับเพลิงมีความไม่ชอบมาพากล หลายต่อหลายประเด็นด้วยกัน ช่วงระหว่างหาเสียงก็ยังได้บอกกับประชาชนว่า เข้าไปแล้วสิ่งที่จะต้องเข้าไปดูก็คือเรื่องนี้จะแก้ไขอย่างไร เมื่อนายอภิรักษ์เข้าไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.
ก็มีประเด็นว่า เอโอยู กำหนดให้หลังจากที่ กทม. เซ็นสัญญาแล้ว ต้องเปิด แอลซี นายอภิรักษ์ จึงตั้งคณะทำงานแล้วก็ได้สอบถามไปยังกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ เพราะมันมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยนสินค้า ไปจนถึงกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องของเอโอยู สอบถามไปบอกว่า มันมีปัญหาอย่างที่มีการวิพากวิจารณ์อย่างนี้ ไม่เปิด แอลซี ได้ไหม ก็ปรากฎว่าทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะทางกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล กทม. โดยตรงก็ยืนยันมาตลอดว่า ต้องเปิด แล้วถ้าไม่เปิดก็เท่ากับเป็นการผิดข้อตกลงกับทางออสเตรีย"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า วันนั้นถ้าไม่เปิด ก็แปลว่าทางออสเตรียก็คงจะไปโต้แย้งสิทธิ ซึ่งหมายถึงต้องไปต่อสู้กันที่อนุญาโตตุลาการที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพราะว่าเงื่อนไขไปเซ็นไว้อย่างนั้นหมด แล้วก็ปรึกษานักกฎหมายหลายฝ่าย ถ้าไม่เปิดแล้ว ก็มองไม่ค่อยเห็นลู่ทางในการที่จะไปสู้กับทางออสเตรีย เพราะในขณะนั้นก็ยังไม่มีข้อมูลอะไร ที่บอกว่า ตัวสัญญาหรือข้อตกลงนั้นมันเป็นปัญหา ซึ่งหมายความว่าถ้าไม่เซ็น ถ้าไม่เปิดแอลซี ก็เสี่ยงต่อการที่จะถูกโต้แย้งสิทธิ์ แล้วไปอนุญาโตฯ แล้วก็อาจจะต้องเสียค่าปรับและเกิดความเสียหายต่อประเทศ แล้ว กทม. ก็จะเป็นคนที่ทำผิดเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นเอง เพราะฉะนั้นก็ในที่สุดหลังจากที่สอบถามไปหลายครั้ง แล้วก็ได้รับการยืนยันมาหลายครั้ง ก็จึงได้มีการเปิดแอลซี
นายอภิสิทธิ์ กล่าวตว่า จนกระทั่งเมื่อ2-3 วันที่ผ่านมาเราเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก ว่ามีคนวินิจฉัยว่า สัญญานี้เป็นโมฆะ การที่จะเป็นโมฆะได้เราต้องพยายามพิสูจน์ ให้ได้ว่า ทางฝ่ายเขามีส่วนรู้เห็นกับความไม่ชอบมาพากล เพราะว่าถ้าเกิดเป็นเรื่อง คนของเราฝ่ายฝ่ายเดียวมันก็คงเป็นเรื่องยากที่คู่สัญญาเขาจะยอมรับว่า มันมีปัญหา เพราะฉะนั้น คตส. มาชี้ครั้งนี้ในแง่ของตัวปัญหาเรื่องรถดับเพลิงต่อไป ตนคิดว่า ถ้าชี้ชัดๆ ว่ามันเป็นโมฆะแล้ว กทม. คงต้องรีบอาศัยอำนาจของศาล ในการระงับการจ่ายเงิน แต่ละงวดไป แล้วก็ไปเรียกเงินงวดเก่าคืนมาด้วย แต่ก็เชื่อว่าก็คงต้องไปโต้แย้งกันแน่นอนไปถึงอนุญาโตตุลาการ
"พูดตรงๆ เราก็คิดไม่ถึงว่า พอวินิจฉัยอย่างนี้แล้วก็เลยกลายเป็นผู้ว่าฯกทม. ถูกแจ้งข้อกล่าวหาไปด้วย แต่ว่าผมเองนั้นยังไม่ได้มีโอกาสเห็นว่า ทางข้อกล่าวหาที่แจ้งนั้น ทราบคร่าวๆ จากข่าวเท่านั้นเองว่าเป็นมาตรา 157 ก็เลยยังไม่ทราบว่า ที่บอกว่าผู้ว่าฯ กระทำผิดนั้น มันคือตรงไหน อยากจะให้เป็นแนวทาง ที่เป็นบรรทัดฐานในทางการเมือง มันก็เหมือนกับในสมัยที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และรมว.มหาดไทย ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด กรณีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินท่านลาออกเลย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น คือมันก็มีแนวทาง ซึ่งทางพรรคฯ ได้ยึดถือปฏิบัติมาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะไปบอกว่ามันเป็นเรื่องเฉพาะตัวมันก็ไม่ใช่ เป็นคนละเรื่องกับกดดัน เพราะไม่คิดว่าจะไปกดดันรัฐบาลได้ เพราะรัฐบาล มีท่าทีอยู่แล้วว่าไม่ได้คิดแบบเดียวกับเรา ยังนึกแปลกใจว่า กลับมาวิพากษ์วิจารณ์ ท่านผู้ว่า ฯ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนที่จะมาตำหนิหรือตั้งข้อสังเกตว่าเป็น เกมการเมือง เราตรงไปตรงมา ทำไมเวลาพอคนทำสิ่งที่คิดว่าควรจะพึงกระทำ เรากลับไม่ให้กำลังใจ"
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีผลต่อต่อการตัดสินใจลงสมัครผู้ว่า ฯ อีกสมัยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่า กระบวนการของ คตส. จะต้องใช้เวลามากน้อย แค่ไหน ถ้าชี้ว่าไม่ผิดแล้วยังไม่ได้มีการเลือกตั้งเราก็สนับสนุนนายอภิรักษ์ แต่ถ้ากระบวนการยังไม่เสร็จแล้วมีเลือกตั้งเสียก่อนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ด้าน นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นายอภิรักษ์ ไม่ยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ประกาศหยุดพักการทำงานหลัง คตส.แจ้งข้อกล่าวหา ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอื่นๆ ที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ก็ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของแต่ละคน คงไปตัดสินแทนไม่ได้
นายนาม กล่าวว่า นายอภิรักษ์ ได้ทำหนังสือถึง คตส.เพื่อถามเหตุผลในการ ชี้มูลความผิด แต่ไม่ได้ตอบหนังสือของนายอภิรักษ์ เพราะตามขั้นตอนหลังจากนี้ คตส.จะแจ้งข้อกล่าวหา แล้วตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน หากไม่มีการคัดค้านคณะอนุกรรมการไต่สวนก็จะแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ถูกกล่าวหา จากนั้นจึงให้ผู้ถูกกล่าวหามาแก้ข้อกล่าวหา
นายนาม กล่าวว่า เหตุผลที่ชี้มูลความผิดนายอภิรักษ์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่อ นายอภิรักษ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่ และการชี้มูลนายอภิรักษ์ครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีทุจรติหรือคดีฮั้วประมูล แต่เป็นการชี้มูลความผิด ในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ว่าการเปิดแอลซี และการแก้ไขสัญญาการส่งมอบสินค้า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องการ ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงจากนายอภิรักษ์ ว่าจะมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ หากมีเหตุผลและหลักฐานที่เชื่อได้ว่าไม่มีการกระทำผิด ก็ต้องปล่อยไป หากหาเอกสารหลักฐานไม่เพียงพอก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหลือเวลาของ คตส.อีก 3 เดือนจะสรุปทุกเรื่องเร็จหรือไม่ นายนาม กล่าวว่า เฉพาะคดีรถดับเพลิงที่ตนรับผิดชอบก็จะเร่งทำงานทุกวัน หากผู้ถูกกล่าวหาให้ความร่วมมือกระบวนการทั้งหมดก็จะเดินไปเร็ว ส่วนคดีอื่นๆ จะทยายสรุปให้เสร็จทันและส่งถึงอัยการสูงสุดก่อนครบวาระในเดือน มิ.ย.นี้ แต่หากหมดอายุและอัยการสูงสุดเห็นว่าต้องตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมทั้ง 2 ฝ่าย ก็เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายอภิรักษ์ ประกาศหยุดพักหน้าที่ในตำแหน่ง ผู้ว่าฯกทม. และมอบให้นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯกทม.รักษาการแทน แต่ฝ่ายกฎหมายของ กทม.เป็นห่วงว่า การที่นายอภิรักษ์ ยุติบทบาทผู้ว่าฯกทม. แล้วให้นายวัลลภ รักษาการแทนนั้นอาจมีปัญหาในข้อกฎหมายภายหลังเพราะนายอภิรักษ์อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตามมาตรา55 ดังนั้นนายอภิรักษ์จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที ส่วนผู้แทนฝ่ายการเมืองที่ได้รับมอบอำนาจนั้นก็จะไม่สามารถใช้อำนาจได้เช่นกัน ดังนั้นหากนายวัลลภเซ็นอนุมัติโครงการใดๆก็จะถือว่าเป็นโมฆะ เพราะรองผู้ว่าฯมาจากการแต่งตั้ง จึงทำให้งานของกทม.ต้องหยุดชะงัก
กรณีดังกล่าว นายกฤษฎา กลันทานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กทม. กล่าวว่า ทางสำนักงานกฎหมายฯ ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฏีกาอย่างเร่งด่วนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเพื่อให้ช่วยตีความว่า มาตรา 55 จะเข้าข่ายในกรณีของนายอภิรักษ์ หรือไม่ เพราะ คตส. ได้นำกฎหมายของป.ป.ช.มาใช้ และถ้าเข้าข่ายรองผู้ว่าฯกทม. หรือปลัดกทม.ใครจะสามารถทำหน้าที่แทนได้ ทั้งนี้ทางสำนักงานกฎหมายฯเห็นว่าผู้ว่าฯ ยังไม่ได้พ้นไปจากตำแหน่ง ซึ่งการยุติบทบาท ทางผู้ว่าฯจะต้องส่งหนังสือลาไปยัง รมว.มหาดไทยเพื่อให้รับทราบ และนายสามารถ รักษาการแทนผู้ว่าฯกทม.ได้ ซึ่งสามารถที่จะอนุมัติโครงการต่างๆได้ตามปรกติเพราะหากไม่มีรักษาการแทนก็จะเกิดช่องว่างในการทำงาน และแต่ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจึงได้ส่งหนังสือไปสอบถามดังกล่าว
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. และกรรมการ คตส. ออกมาโต้แย้งเรื่องการอ้าง ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกรณีรัฐมนตรีควรยุติการทำหน้าที่หลังถูกฟ้องหรือไม่ว่า ก็เป็นเรื่องการดูกฎหมายคนละมาตรา พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ดูมาตราหนึ่ง ส่วนนายกล้านรงค์ ก็ดูมาตราหนึ่ง
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนว่าประเด็นการใช้อำนาจ คตส. ความเห็นของตนมีอยู่ 3 ประเด็นคือ 1.คตส.ตั้งมาโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ 2. คตส.สามารถใช้อำนาจ ตามกฎหมาย ป.ป.ช.ได้ทั้งหมดหรือไม่เพราะ คตส.ไม่ใช่ ป.ป.ช.และประกาศ คปค.กับกฎหมาย ป.ป.ช.ก็แตกต่างกัน และ3.ถ้า คตส.มีมติเช่นนี้แล้วเกิดปัญหาขึ้นบุคคล ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นี่คือประเด็นหลักที่ต้องโต้เถียงกัน ส่วนเรื่องอื่นถือเป็นประเด็นปลีกย่อย
นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนขอฝากว่านายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.)ว่ายังไม่ควรหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 55 จะหยุดปฏิบัติหน้าที่ก็ต่อเมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว แต่ขณะนี้ คตส.เพียงแค่แจ้งข้อกล่าวหาต่อนายอภิรักษ์เท่านั้นซึ่งนายอภิรักษ์สามารถ ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ แต่หากคำชี้แจงฟังไม่ขึ้นแล้วถูกชี้มูลก็ค่อยว่ากัน ยังมีเวลาอีกนาน ขณะนี้ถือว่านายอภิรักษ์แสดงสปิริต หยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อน จะถือว่า เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหรือไม่ เพราะหากมีเรื่องที่ผู้ว่าฯกทม.จะต้องลงนามระหว่างนี้ แต่ไม่มีผู้ดำเนินการและอาจเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นประเด็นนี้ก็น่าคิด
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายอภิรักษ์ ขอลาตามระเบียบราชการเหมือนเวลาไปต่างประเทศ ไม่เห็นมีปัญหาอะไรตามที่นายชูศักดิ์อ้าง หรือว่าจะเล่นการเมืองกับคนที่ต้องการทำให้เป็นบรรทัดฐานการเมืองมันดีหรือ ตนไม่เห็นมีอะไรเลย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อ คตส. ชี้มูลความผิดโครงการ รถและเรือดับเพลิงของ กทม.ต่อนายอภิรักษ์ แล้ว นายอภิรักษ์จึงไม่ประสงค์จะใชอำนาจหน้าที่ใดๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการตรวจสอบจึงขอยุติอำนาจหน้าที่ในขณะนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ คตส.ยังไม่ได้ชี้มูลความผิด เพียงแต่แจ้งมติข้อกล่าวหา นายอภิรักษ์ก็ต้องไปแก้ข้อกล่าวหา จากนั้น คตส.จึงจะมีมติอีกครั้งหนึ่งว่ามีมูลความผิดที่จะส่งฟ่องไปที่อัยการ
"ตอนที่นายอภิรักษ์ กำลังหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.อยู่ ผู้ว่าฯกทม. คนเก่า ได้ไปเซ็นสัญญาซื้อขายรถดับเพลิง แล้วก็ไปเซ็นสัญญาโดยไปพันกับบันทึกข้อตกลง หรือข้อตกลงที่เรียกว่า เอโอยู ระหว่างรัฐบาล ไม่ใช่ กทม. ซึ่งรัฐบาลกับทางออสเตรีย มีกรณีการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันและขณะนั้นมีการวิพากวิจารณ์ว่า การซื้อขายรถดับเพลิงมีความไม่ชอบมาพากล หลายต่อหลายประเด็นด้วยกัน ช่วงระหว่างหาเสียงก็ยังได้บอกกับประชาชนว่า เข้าไปแล้วสิ่งที่จะต้องเข้าไปดูก็คือเรื่องนี้จะแก้ไขอย่างไร เมื่อนายอภิรักษ์เข้าไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.
ก็มีประเด็นว่า เอโอยู กำหนดให้หลังจากที่ กทม. เซ็นสัญญาแล้ว ต้องเปิด แอลซี นายอภิรักษ์ จึงตั้งคณะทำงานแล้วก็ได้สอบถามไปยังกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ เพราะมันมีเงื่อนไขการแลกเปลี่ยนสินค้า ไปจนถึงกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องของเอโอยู สอบถามไปบอกว่า มันมีปัญหาอย่างที่มีการวิพากวิจารณ์อย่างนี้ ไม่เปิด แอลซี ได้ไหม ก็ปรากฎว่าทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะทางกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล กทม. โดยตรงก็ยืนยันมาตลอดว่า ต้องเปิด แล้วถ้าไม่เปิดก็เท่ากับเป็นการผิดข้อตกลงกับทางออสเตรีย"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า วันนั้นถ้าไม่เปิด ก็แปลว่าทางออสเตรียก็คงจะไปโต้แย้งสิทธิ ซึ่งหมายถึงต้องไปต่อสู้กันที่อนุญาโตตุลาการที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพราะว่าเงื่อนไขไปเซ็นไว้อย่างนั้นหมด แล้วก็ปรึกษานักกฎหมายหลายฝ่าย ถ้าไม่เปิดแล้ว ก็มองไม่ค่อยเห็นลู่ทางในการที่จะไปสู้กับทางออสเตรีย เพราะในขณะนั้นก็ยังไม่มีข้อมูลอะไร ที่บอกว่า ตัวสัญญาหรือข้อตกลงนั้นมันเป็นปัญหา ซึ่งหมายความว่าถ้าไม่เซ็น ถ้าไม่เปิดแอลซี ก็เสี่ยงต่อการที่จะถูกโต้แย้งสิทธิ์ แล้วไปอนุญาโตฯ แล้วก็อาจจะต้องเสียค่าปรับและเกิดความเสียหายต่อประเทศ แล้ว กทม. ก็จะเป็นคนที่ทำผิดเงื่อนไขข้อตกลงระหว่างประเทศนั้นเอง เพราะฉะนั้นก็ในที่สุดหลังจากที่สอบถามไปหลายครั้ง แล้วก็ได้รับการยืนยันมาหลายครั้ง ก็จึงได้มีการเปิดแอลซี
นายอภิสิทธิ์ กล่าวตว่า จนกระทั่งเมื่อ2-3 วันที่ผ่านมาเราเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก ว่ามีคนวินิจฉัยว่า สัญญานี้เป็นโมฆะ การที่จะเป็นโมฆะได้เราต้องพยายามพิสูจน์ ให้ได้ว่า ทางฝ่ายเขามีส่วนรู้เห็นกับความไม่ชอบมาพากล เพราะว่าถ้าเกิดเป็นเรื่อง คนของเราฝ่ายฝ่ายเดียวมันก็คงเป็นเรื่องยากที่คู่สัญญาเขาจะยอมรับว่า มันมีปัญหา เพราะฉะนั้น คตส. มาชี้ครั้งนี้ในแง่ของตัวปัญหาเรื่องรถดับเพลิงต่อไป ตนคิดว่า ถ้าชี้ชัดๆ ว่ามันเป็นโมฆะแล้ว กทม. คงต้องรีบอาศัยอำนาจของศาล ในการระงับการจ่ายเงิน แต่ละงวดไป แล้วก็ไปเรียกเงินงวดเก่าคืนมาด้วย แต่ก็เชื่อว่าก็คงต้องไปโต้แย้งกันแน่นอนไปถึงอนุญาโตตุลาการ
"พูดตรงๆ เราก็คิดไม่ถึงว่า พอวินิจฉัยอย่างนี้แล้วก็เลยกลายเป็นผู้ว่าฯกทม. ถูกแจ้งข้อกล่าวหาไปด้วย แต่ว่าผมเองนั้นยังไม่ได้มีโอกาสเห็นว่า ทางข้อกล่าวหาที่แจ้งนั้น ทราบคร่าวๆ จากข่าวเท่านั้นเองว่าเป็นมาตรา 157 ก็เลยยังไม่ทราบว่า ที่บอกว่าผู้ว่าฯ กระทำผิดนั้น มันคือตรงไหน อยากจะให้เป็นแนวทาง ที่เป็นบรรทัดฐานในทางการเมือง มันก็เหมือนกับในสมัยที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์และรมว.มหาดไทย ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด กรณีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินท่านลาออกเลย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น คือมันก็มีแนวทาง ซึ่งทางพรรคฯ ได้ยึดถือปฏิบัติมาอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะไปบอกว่ามันเป็นเรื่องเฉพาะตัวมันก็ไม่ใช่ เป็นคนละเรื่องกับกดดัน เพราะไม่คิดว่าจะไปกดดันรัฐบาลได้ เพราะรัฐบาล มีท่าทีอยู่แล้วว่าไม่ได้คิดแบบเดียวกับเรา ยังนึกแปลกใจว่า กลับมาวิพากษ์วิจารณ์ ท่านผู้ว่า ฯ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนที่จะมาตำหนิหรือตั้งข้อสังเกตว่าเป็น เกมการเมือง เราตรงไปตรงมา ทำไมเวลาพอคนทำสิ่งที่คิดว่าควรจะพึงกระทำ เรากลับไม่ให้กำลังใจ"
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีผลต่อต่อการตัดสินใจลงสมัครผู้ว่า ฯ อีกสมัยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่า กระบวนการของ คตส. จะต้องใช้เวลามากน้อย แค่ไหน ถ้าชี้ว่าไม่ผิดแล้วยังไม่ได้มีการเลือกตั้งเราก็สนับสนุนนายอภิรักษ์ แต่ถ้ากระบวนการยังไม่เสร็จแล้วมีเลือกตั้งเสียก่อนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ด้าน นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นายอภิรักษ์ ไม่ยึดติดกับตำแหน่งหน้าที่ประกาศหยุดพักการทำงานหลัง คตส.แจ้งข้อกล่าวหา ส่วนผู้ถูกกล่าวหาอื่นๆ ที่ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ก็ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของแต่ละคน คงไปตัดสินแทนไม่ได้
นายนาม กล่าวว่า นายอภิรักษ์ ได้ทำหนังสือถึง คตส.เพื่อถามเหตุผลในการ ชี้มูลความผิด แต่ไม่ได้ตอบหนังสือของนายอภิรักษ์ เพราะตามขั้นตอนหลังจากนี้ คตส.จะแจ้งข้อกล่าวหา แล้วตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน หากไม่มีการคัดค้านคณะอนุกรรมการไต่สวนก็จะแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ถูกกล่าวหา จากนั้นจึงให้ผู้ถูกกล่าวหามาแก้ข้อกล่าวหา
นายนาม กล่าวว่า เหตุผลที่ชี้มูลความผิดนายอภิรักษ์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่อ นายอภิรักษ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่ และการชี้มูลนายอภิรักษ์ครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีทุจรติหรือคดีฮั้วประมูล แต่เป็นการชี้มูลความผิด ในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ว่าการเปิดแอลซี และการแก้ไขสัญญาการส่งมอบสินค้า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องการ ทราบข้อมูลข้อเท็จจริงจากนายอภิรักษ์ ว่าจะมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ หากมีเหตุผลและหลักฐานที่เชื่อได้ว่าไม่มีการกระทำผิด ก็ต้องปล่อยไป หากหาเอกสารหลักฐานไม่เพียงพอก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหลือเวลาของ คตส.อีก 3 เดือนจะสรุปทุกเรื่องเร็จหรือไม่ นายนาม กล่าวว่า เฉพาะคดีรถดับเพลิงที่ตนรับผิดชอบก็จะเร่งทำงานทุกวัน หากผู้ถูกกล่าวหาให้ความร่วมมือกระบวนการทั้งหมดก็จะเดินไปเร็ว ส่วนคดีอื่นๆ จะทยายสรุปให้เสร็จทันและส่งถึงอัยการสูงสุดก่อนครบวาระในเดือน มิ.ย.นี้ แต่หากหมดอายุและอัยการสูงสุดเห็นว่าต้องตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมทั้ง 2 ฝ่าย ก็เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายอภิรักษ์ ประกาศหยุดพักหน้าที่ในตำแหน่ง ผู้ว่าฯกทม. และมอบให้นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯกทม.รักษาการแทน แต่ฝ่ายกฎหมายของ กทม.เป็นห่วงว่า การที่นายอภิรักษ์ ยุติบทบาทผู้ว่าฯกทม. แล้วให้นายวัลลภ รักษาการแทนนั้นอาจมีปัญหาในข้อกฎหมายภายหลังเพราะนายอภิรักษ์อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตามมาตรา55 ดังนั้นนายอภิรักษ์จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที ส่วนผู้แทนฝ่ายการเมืองที่ได้รับมอบอำนาจนั้นก็จะไม่สามารถใช้อำนาจได้เช่นกัน ดังนั้นหากนายวัลลภเซ็นอนุมัติโครงการใดๆก็จะถือว่าเป็นโมฆะ เพราะรองผู้ว่าฯมาจากการแต่งตั้ง จึงทำให้งานของกทม.ต้องหยุดชะงัก
กรณีดังกล่าว นายกฤษฎา กลันทานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมายและคดี กทม. กล่าวว่า ทางสำนักงานกฎหมายฯ ได้ส่งหนังสือสอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฏีกาอย่างเร่งด่วนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเพื่อให้ช่วยตีความว่า มาตรา 55 จะเข้าข่ายในกรณีของนายอภิรักษ์ หรือไม่ เพราะ คตส. ได้นำกฎหมายของป.ป.ช.มาใช้ และถ้าเข้าข่ายรองผู้ว่าฯกทม. หรือปลัดกทม.ใครจะสามารถทำหน้าที่แทนได้ ทั้งนี้ทางสำนักงานกฎหมายฯเห็นว่าผู้ว่าฯ ยังไม่ได้พ้นไปจากตำแหน่ง ซึ่งการยุติบทบาท ทางผู้ว่าฯจะต้องส่งหนังสือลาไปยัง รมว.มหาดไทยเพื่อให้รับทราบ และนายสามารถ รักษาการแทนผู้ว่าฯกทม.ได้ ซึ่งสามารถที่จะอนุมัติโครงการต่างๆได้ตามปรกติเพราะหากไม่มีรักษาการแทนก็จะเกิดช่องว่างในการทำงาน และแต่ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจึงได้ส่งหนังสือไปสอบถามดังกล่าว