ก่อนจะถึงวันศุกร์ที่ 14 มี.ค.นี้ ที่สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับการรับรองจากกกต. จะยกมือเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ข่าวคราวของผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อจากเพื่อนสมาชิก เพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานสภาสูง ก็เริ่มจะหนาตามากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธาน ส.ว. ยิ่งถูกจับตาจากสังคมมากยิ่งขึ้นไปอีก จากกรณีที่มีประชาชนพยายามรวบรวมรายชื่อให้ครบ 20,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอน นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ตามมาตรา 164 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งโดยตามรัฐธรรมนูญแล้ว รายชื่อเหล่านั้นต้องถูกมอบให้ประธานวุฒิสภา ที่กำลังจะถูกเลือกในวันศุกร์นี้
เท่าที่จับกระแสจากบรรดาหน้าหนังสือพิมพ์ ณ เวลานี้มีผู้ที่ได้รับแรงสนับสนุน และเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งอันทรงเกียรติดังกล่าวจำนวนหลายคนไม่ว่าจะเป็น ส.ว.สายเลือกตั้งอย่าง นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์, พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี หรือ ส.ว.สายสรรหาอย่าง พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.ระบบสรรหาที่ได้รับการเสนอเชื่อจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, นายสมัคร เชาวภานันท์ อุปนายกฝ่ายบริหารสภาทนายความ รวมถึงตัวเต็งอย่าง ศาสตราจารย์พิเศษ ประสพสุข บุญเดช ส.ว.สายสรรหา ที่ได้รับแรงหนุนจาก ส.ว.สายวิชาการ
สำหรับ ศ.พิเศษ ประสพสุข นั้นแม้ว่าในทางการเมืองจะไม่ค่อยเป็นที่คุ้นหูนัก แต่ในสายตุลาการแล้ว ถือว่าเป็นที่รู้จักกันดี ทั้งในฐานะอดีตประธานศาลอุทธรณ์ นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายครอบครัว-ทรัพย์สินทางปัญญา และอาจารย์ด้านนิติศาสตร์ในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
หลายคนคงสงสัยว่าเพราะเหตุใดอดีตตุลาการผู้นี้จึงจับพลัดจับผลูกลายเป็นแคนดิเดตในการแย่งชิงตำแหน่งประธานสภาสูงได้?
ศ.พิเศษ ประสพสุข จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ในปี 2509 เป็นศิษย์เก่านิติฯ มธ.รุ่นเดียวกับนักการเมืองรุ่นเก๋าอย่าง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รวมถึงนายประจวบ ไชยสาส์น
ต่อมาจบเนติบัณฑิตก่อนเดินทางไปต่อเนติบัณฑิตที่ประเทศอังกฤษ จากนั้นจึงกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ มธ. สองปี ก่อนจะย้ายไปทำงานเป็นผู้พิพากษา
สำหรับงานด้านตุลาการนั้น ศ.พิเศษ ประสพสุข ผ่านงานมาอย่างโชกโชนไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 , ประธานศาลอุทธรณ์ จนเกษียณอายุราชการในปี 2548 ทางด้านวิชาการนอกจากจะเคยเป็นอดีตอาจารย์ มธ.แล้ว ปัจจุบันยังถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายครอบครัวที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง ที่มีงานสอนในสถาบันชั้นนำหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเนติบัณฑิต
ในส่วนของงานทางด้านบริหารเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในปี 2544 รวมถึงการรับตำแหน่งเลขานุการรมว.ยุติธรรม ในสมัย ศ.ประภาสน์ อวยชัย เป็น รมว.ในช่วงปี 2533 ด้วย
สำหรับความพร้อมในการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา รวมถึงทัศนะต่อการเมืองไทย ณ วันนี้นั้น ‘ผู้จัดการรายวัน’ มีรายละเอียดมานำเสนอ
ศ.พิเศษ ประสพสุข กล่าวกับผู้จัดการรายวัน ก่อนเลยว่า ตอนแรกไม่ได้คิดที่จะเข้าชิงตำแหน่งประธานส.ว. แต่เนื่องจากเพื่อนส.ว.เข้ามาทาบทามและบอกว่า ตนมีความพร้อมน่าจะเป็นประธานได้ ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ โดยเฉพาะความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่เหมาะกับหน้าที่ของวุฒิสภาที่ต้องคอยตรวจสอบ และกลั่นกรองกฎหมายจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเมื่อหันมาพิจารณาตัวเอง ก็คิดว่ามีความพร้อม
เมื่อถูกถามว่า รู้สึกกังวลหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า ส.ว.ที่มาจากผู้พิพากษาอาจไม่ทันเกมการเมือง ศ.พิเศษประสพสุข ตอบว่า ไม่ได้คิดเช่นนั้น เนื่องจากจะทำงานเป็นทีม ซึ่งก็จะมีผู้คอยมาแนะนำ แต่กลับคิดว่าจุดเด่นของผู้ที่มาจากผู้พิพากษาน่าจะอยู่ตรงที่ความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง ไม่มีอคติกับฝ่ายไหนมากกว่า ทั้งนี้ หากได้รับตำแหน่งจริงๆ ก็คงจะไปขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากนายมีชัย เป็นนักกฎหมายผู้รอบรู้
ส่วนกรณีที่มี ส.ว.สายเลือกตั้ง ออกมาให้ความเห็นว่า ประธานส.ว.น่าจะมาจากการเลือกตั้ง จึงจะเหมาะสมกว่านั้น ศ.พิเศษ ประสบสุขให้ความเห็นว่า
"ผมคิดว่า กฎหมายก็บอกว่าทั้ง ส.ว.ที่มาจากการคัดสรร และเลือกตั้ง ก็เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะมากลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบข้อผิดข้อถูกในสังคม ไม่ควรจะแบ่งแยกกัน นอกจากนี้ก็ยังเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ที่เห็นชอบและลงประชามติจากคน 14 ล้านคน จึงน่าจะยอมรับได้"
ทั้งนี้ แนวทางในการดำเนินงานหากได้รับเลือกเป็นประธานส.ว.นั้นอดีตประธานศาลอุทธรณ์ กล่าวว่า ตนมีแนวความคิดว่าน่าจะมีรองประธาน ส.ว.ผู้หญิงบ้าง เพราะเคยทำงานเป็นผู้ปรึกษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งมีแผนกเยาวชน และครอบครัว ทำให้รู้ปัญหาในทางปฏิบัติในเรื่องเด็ก สตรี และผู้ยากไร้ด้อยโอกาส มาตลอด เพราะฉะนั้นหากได้สุภาพสตรีมาดำรงตำแหน่งรองประธานก็จะดี
เมื่อถามว่า หากได้เป็น ประธาน ส.ว.จริง จะมีวาระเร่งด่วนอะไรที่จะต้องเร่งพิจารณาบ้าง ศ.พิเศษประสพสุข ตอบว่า "ที่เร่งด่วนก็ตามกฎหมายกำหนด เรื่องเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเห็นชอบและกลั่นกรองอีกทีและตุลาการศาลยุติธรรมอีก 2 ท่านก็เป็นเรื่องที่จำเป็น"
ต่อข้อถามที่ว่ารู้สึกกดดันหรือไม่จากข่าวที่ต้องมาทำหน้าที่ท่ามกลางสภาวะการเมืองที่อึมครึม และข่าวคราวที่ว่าฝ่ายการเมืองพยายามเข้าแทรกแซงการทำงานของวุฒิสภา
“ผมไม่รู้สึกกดดันหรือไม่ได้กลัวอะไร ที่ไม่กลัวเพราะเขาเลือกให้มาเป็น ต้องเป็นให้ได้ ส่วนแรงกดดันมันจะมากดดันเราได้อย่างไร เนื่องจากเราไม่ได้เป็นฝ่ายใคร เราไม่ได้แกล้งใคร เป็นผู้พิพากษาสามารถตัดสินประหารชีวิตคนก็ได้นะไม่เห็นกดดันอะไรเลย แล้วผมก็ไม่เคยเห็นจำเลยมาต่อว่า ว่าไปแกล้งเขา เพราะไม่ได้แกล้ง ในคำพิพากษาต้องเขียนชัดเลย พยานโจทย์คนนั้นเบิกความ ว่าจำเลยคนนี้เอาปืนไปยิง ไอ้คนนั้นเห็น ตรวจพิสูจน์และเขียนให้เขาเห็นชัดเจนว่า มันเป็นอย่างนี้ การทำงานในหน้าที่ ประธานส.ว. กับตุลาการเหมือนกันในแง่ที่ทุกอย่างต้องใช้การตัดสินใจที่เด็ดขาด ข้อสำคัญต้องไม่เป็นอคติ ไม่ต้องแกล้งใครแต่ต้องไม่ช่วยใคร คนทำดีย่อมได้ดี ต้องถือหลักกฎหมายไม่ใช่หลักอำเภอใจ"
สำหรับทัศนะต่อความแตกต่างของหน้าที่ของ ส.ว.ในรัฐธรรมนูญปี 2550 เปรียบเทียบกับ ปี2540 ศ.พิเศษ ประสพสุข ให้ความเห็นว่า หน้าที่ของ ส.ว.ที่ระบุในรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่มีคุณสมบัติแตกต่างกันมากคือ ปี 2550 ออกแบบมาให้ส.ว.มีความเป็นกลางทางการเมืองอย่างชัดเจน และโอกาสในการตรวจสอบมาก ซึ่งประสิทธิภาพในการตรวจสอบก็จะยิ่งดีขึ้น ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรี และฝ่ายพรรคการเมืองเสนอให้เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นั้น เห็นว่าเร็วเกินไป เนื่องจากควรทดลองใช้ไปก่อนอย่างน้อยหนึ่งปี เพื่อให้เห็นข้อบกพร่องเสียก่อน
ทั้งนี้ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธาน ส.ว. ยิ่งถูกจับตาจากสังคมมากยิ่งขึ้นไปอีก จากกรณีที่มีประชาชนพยายามรวบรวมรายชื่อให้ครบ 20,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอน นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ตามมาตรา 164 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ซึ่งโดยตามรัฐธรรมนูญแล้ว รายชื่อเหล่านั้นต้องถูกมอบให้ประธานวุฒิสภา ที่กำลังจะถูกเลือกในวันศุกร์นี้
เท่าที่จับกระแสจากบรรดาหน้าหนังสือพิมพ์ ณ เวลานี้มีผู้ที่ได้รับแรงสนับสนุน และเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งอันทรงเกียรติดังกล่าวจำนวนหลายคนไม่ว่าจะเป็น ส.ว.สายเลือกตั้งอย่าง นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์, พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี หรือ ส.ว.สายสรรหาอย่าง พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.ระบบสรรหาที่ได้รับการเสนอเชื่อจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, นายสมัคร เชาวภานันท์ อุปนายกฝ่ายบริหารสภาทนายความ รวมถึงตัวเต็งอย่าง ศาสตราจารย์พิเศษ ประสพสุข บุญเดช ส.ว.สายสรรหา ที่ได้รับแรงหนุนจาก ส.ว.สายวิชาการ
สำหรับ ศ.พิเศษ ประสพสุข นั้นแม้ว่าในทางการเมืองจะไม่ค่อยเป็นที่คุ้นหูนัก แต่ในสายตุลาการแล้ว ถือว่าเป็นที่รู้จักกันดี ทั้งในฐานะอดีตประธานศาลอุทธรณ์ นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายครอบครัว-ทรัพย์สินทางปัญญา และอาจารย์ด้านนิติศาสตร์ในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
หลายคนคงสงสัยว่าเพราะเหตุใดอดีตตุลาการผู้นี้จึงจับพลัดจับผลูกลายเป็นแคนดิเดตในการแย่งชิงตำแหน่งประธานสภาสูงได้?
ศ.พิเศษ ประสพสุข จบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ในปี 2509 เป็นศิษย์เก่านิติฯ มธ.รุ่นเดียวกับนักการเมืองรุ่นเก๋าอย่าง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รวมถึงนายประจวบ ไชยสาส์น
ต่อมาจบเนติบัณฑิตก่อนเดินทางไปต่อเนติบัณฑิตที่ประเทศอังกฤษ จากนั้นจึงกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ มธ. สองปี ก่อนจะย้ายไปทำงานเป็นผู้พิพากษา
สำหรับงานด้านตุลาการนั้น ศ.พิเศษ ประสพสุข ผ่านงานมาอย่างโชกโชนไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 3, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 , ประธานศาลอุทธรณ์ จนเกษียณอายุราชการในปี 2548 ทางด้านวิชาการนอกจากจะเคยเป็นอดีตอาจารย์ มธ.แล้ว ปัจจุบันยังถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายครอบครัวที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง ที่มีงานสอนในสถาบันชั้นนำหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเนติบัณฑิต
ในส่วนของงานทางด้านบริหารเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในปี 2544 รวมถึงการรับตำแหน่งเลขานุการรมว.ยุติธรรม ในสมัย ศ.ประภาสน์ อวยชัย เป็น รมว.ในช่วงปี 2533 ด้วย
สำหรับความพร้อมในการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา รวมถึงทัศนะต่อการเมืองไทย ณ วันนี้นั้น ‘ผู้จัดการรายวัน’ มีรายละเอียดมานำเสนอ
ศ.พิเศษ ประสพสุข กล่าวกับผู้จัดการรายวัน ก่อนเลยว่า ตอนแรกไม่ได้คิดที่จะเข้าชิงตำแหน่งประธานส.ว. แต่เนื่องจากเพื่อนส.ว.เข้ามาทาบทามและบอกว่า ตนมีความพร้อมน่าจะเป็นประธานได้ ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ โดยเฉพาะความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่เหมาะกับหน้าที่ของวุฒิสภาที่ต้องคอยตรวจสอบ และกลั่นกรองกฎหมายจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเมื่อหันมาพิจารณาตัวเอง ก็คิดว่ามีความพร้อม
เมื่อถูกถามว่า รู้สึกกังวลหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า ส.ว.ที่มาจากผู้พิพากษาอาจไม่ทันเกมการเมือง ศ.พิเศษประสพสุข ตอบว่า ไม่ได้คิดเช่นนั้น เนื่องจากจะทำงานเป็นทีม ซึ่งก็จะมีผู้คอยมาแนะนำ แต่กลับคิดว่าจุดเด่นของผู้ที่มาจากผู้พิพากษาน่าจะอยู่ตรงที่ความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง ไม่มีอคติกับฝ่ายไหนมากกว่า ทั้งนี้ หากได้รับตำแหน่งจริงๆ ก็คงจะไปขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากนายมีชัย เป็นนักกฎหมายผู้รอบรู้
ส่วนกรณีที่มี ส.ว.สายเลือกตั้ง ออกมาให้ความเห็นว่า ประธานส.ว.น่าจะมาจากการเลือกตั้ง จึงจะเหมาะสมกว่านั้น ศ.พิเศษ ประสบสุขให้ความเห็นว่า
"ผมคิดว่า กฎหมายก็บอกว่าทั้ง ส.ว.ที่มาจากการคัดสรร และเลือกตั้ง ก็เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย มีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะมากลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบข้อผิดข้อถูกในสังคม ไม่ควรจะแบ่งแยกกัน นอกจากนี้ก็ยังเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ที่เห็นชอบและลงประชามติจากคน 14 ล้านคน จึงน่าจะยอมรับได้"
ทั้งนี้ แนวทางในการดำเนินงานหากได้รับเลือกเป็นประธานส.ว.นั้นอดีตประธานศาลอุทธรณ์ กล่าวว่า ตนมีแนวความคิดว่าน่าจะมีรองประธาน ส.ว.ผู้หญิงบ้าง เพราะเคยทำงานเป็นผู้ปรึกษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งมีแผนกเยาวชน และครอบครัว ทำให้รู้ปัญหาในทางปฏิบัติในเรื่องเด็ก สตรี และผู้ยากไร้ด้อยโอกาส มาตลอด เพราะฉะนั้นหากได้สุภาพสตรีมาดำรงตำแหน่งรองประธานก็จะดี
เมื่อถามว่า หากได้เป็น ประธาน ส.ว.จริง จะมีวาระเร่งด่วนอะไรที่จะต้องเร่งพิจารณาบ้าง ศ.พิเศษประสพสุข ตอบว่า "ที่เร่งด่วนก็ตามกฎหมายกำหนด เรื่องเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเห็นชอบและกลั่นกรองอีกทีและตุลาการศาลยุติธรรมอีก 2 ท่านก็เป็นเรื่องที่จำเป็น"
ต่อข้อถามที่ว่ารู้สึกกดดันหรือไม่จากข่าวที่ต้องมาทำหน้าที่ท่ามกลางสภาวะการเมืองที่อึมครึม และข่าวคราวที่ว่าฝ่ายการเมืองพยายามเข้าแทรกแซงการทำงานของวุฒิสภา
“ผมไม่รู้สึกกดดันหรือไม่ได้กลัวอะไร ที่ไม่กลัวเพราะเขาเลือกให้มาเป็น ต้องเป็นให้ได้ ส่วนแรงกดดันมันจะมากดดันเราได้อย่างไร เนื่องจากเราไม่ได้เป็นฝ่ายใคร เราไม่ได้แกล้งใคร เป็นผู้พิพากษาสามารถตัดสินประหารชีวิตคนก็ได้นะไม่เห็นกดดันอะไรเลย แล้วผมก็ไม่เคยเห็นจำเลยมาต่อว่า ว่าไปแกล้งเขา เพราะไม่ได้แกล้ง ในคำพิพากษาต้องเขียนชัดเลย พยานโจทย์คนนั้นเบิกความ ว่าจำเลยคนนี้เอาปืนไปยิง ไอ้คนนั้นเห็น ตรวจพิสูจน์และเขียนให้เขาเห็นชัดเจนว่า มันเป็นอย่างนี้ การทำงานในหน้าที่ ประธานส.ว. กับตุลาการเหมือนกันในแง่ที่ทุกอย่างต้องใช้การตัดสินใจที่เด็ดขาด ข้อสำคัญต้องไม่เป็นอคติ ไม่ต้องแกล้งใครแต่ต้องไม่ช่วยใคร คนทำดีย่อมได้ดี ต้องถือหลักกฎหมายไม่ใช่หลักอำเภอใจ"
สำหรับทัศนะต่อความแตกต่างของหน้าที่ของ ส.ว.ในรัฐธรรมนูญปี 2550 เปรียบเทียบกับ ปี2540 ศ.พิเศษ ประสพสุข ให้ความเห็นว่า หน้าที่ของ ส.ว.ที่ระบุในรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่มีคุณสมบัติแตกต่างกันมากคือ ปี 2550 ออกแบบมาให้ส.ว.มีความเป็นกลางทางการเมืองอย่างชัดเจน และโอกาสในการตรวจสอบมาก ซึ่งประสิทธิภาพในการตรวจสอบก็จะยิ่งดีขึ้น ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรี และฝ่ายพรรคการเมืองเสนอให้เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นั้น เห็นว่าเร็วเกินไป เนื่องจากควรทดลองใช้ไปก่อนอย่างน้อยหนึ่งปี เพื่อให้เห็นข้อบกพร่องเสียก่อน