ผู้จัดการรายวัน - ผู้ประกอบการบัตรเครดิตวอนแบงก์ชาติยกเลิกเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือน และยกเลิกคุมเพดานดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 20% เพื่อให้มีการแข่งขันของธุรกิจอย่างเสรี ระบุภาพรวมธุรกิจปีนี้ยังแข่งขันสูง "ไทยพาณิชย์"คาดการยอดใช้จ่ายผ่านบัตรโต 12% ตั้งเป้าปีนี้เพิ่มจำนวนบัตรเป็น 1.8 ล้านใบ
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า การแข่งขันในธุรกิจบัตรเครดิตนั้นโดยส่วนตัวมองว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรจะเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ด้วยการยกเลิกเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือน และควรยกเลิกการคุมเพดานอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 20% ส่วนการบริหารความเสี่ยงนั้นให้ทางผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตเป็นผู้ควบคุมด้วยตัวเอง โดยที่ผ่านมาในชมรุมธุรกิจบัตรเครดิตได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าวบ้าง
ส่วนภาพรวมของการทำธุรกิจบัตรเครดิตในปีนี้ยอมรับว่ายากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่การทำธุรกิจจะต้องมีความยากขึ้นในทุก ๆ ปี และคาดว่าในปีนี้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรของทั้งระบบจะมีการเติบโตอยู่ที่ 12 % ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมานั้น ในเดือนม.ค.ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่ในเดือน ก.พ.อยู่ในระดับที่ไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าภาพโดยรวมทั้งปีน่ายังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นปีที่ผ่านมาธนาคารมีฐานบัตรเครดิต 1.6 ล้านบัตร มียอดใช้จ่ายผ่านบัตร ประมาณ 90,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 16% ของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งระบบที่มีอยู่ประมาณ 562,000 ล้านบาท มียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 2.7% และมียอดสินเชื่อคงค้าง 20,000 ล้านบาท โดยในจำนวนยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 90,000 ล้านบาทนั้นมียอดการกดเงินสด 10% มียอดการผ่อนชำระดอกเบี้ย0% จำนวน 2,000 ล้านบาท
"การที่ทางการให้คุมรายได้ขั้นต่ำของผู้ขอทำบัตรเครดิตรวมถึงกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการทุกรายใช้เท่ากันหมดนั้น ถือว่าเป็นการตัดโอกาสของคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ซึ่งในความเป็นจริงกลุ่มเหล่านี้อาจมีวินัยทางการเงินดีกว่าคนที่รายได้เกินกว่า 15,000 บาทก็ได้" นายรุ่งเรืองกล่าว
นายรุ่งเรือง กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนบัตรเครดิตเป็น 1.8 ล้านบัตร และมียอดการใช้จ่ายเพิ่มเป็น 120,000 ล้านบาท หรือเติบโตจากปีที่ผ่านมา 33% ในขณะที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของตลาดเติบโต 12% โดยธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มเป็น 19% มีเอ็นพีแอลเหลือ 2.5% มียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท
โดยในจำนวนยอดใช้จ่าย 120,000 ล้านบาท ยังคงมียอดการกดเงินสดอยู่ที่ 10%เหมือนเดิม และมียอดการผ่อนชำระดอกเบี้ย0%เพิ่มเป็น 5,000 ล้านบาท แนวทางในการผลักดันให้ยอดบัตรเครดิตและยอดใช้จ่ายถึงเป้าหมายนั้น ธนาคารจะใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขายและร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งปี โดยใช้งบประมาณการตลาดทั้งสิ้นประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส สายธุรกิจบัตรเครดิต บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า หาก ธปท.ทำการยกเลิกเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำของผู้สมัครบัตรเครดิตและยกเลิกเพดานอัตราดอกเบี้ยนั้นจะเป็นผลดีต่อระบบ เพราะจะทำให้การแข่งขันมีมากขึ้นและจะทำให้หนี้เสียมีจำนวนที่ลดลง และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทสามารถเข้ามากู้ยืมเงินในระบบได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องของหนี้นอกระบบและสามารถจัดการดูแลได้ง่ายขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าที่มีรายได้ต่ำน่าจะอยู่ที่เดือนละไม่เกิน 3% หรือไม่เกิน 36 % ต่อปีซึ่งอัตราดังกล่าวสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้สามารถบริหารความเสี่ยงได้
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) หรือ SCB เปิดเผยว่า การแข่งขันในธุรกิจบัตรเครดิตนั้นโดยส่วนตัวมองว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรจะเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ด้วยการยกเลิกเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือน และควรยกเลิกการคุมเพดานอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 20% ส่วนการบริหารความเสี่ยงนั้นให้ทางผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตเป็นผู้ควบคุมด้วยตัวเอง โดยที่ผ่านมาในชมรุมธุรกิจบัตรเครดิตได้มีการพูดคุยในเรื่องดังกล่าวบ้าง
ส่วนภาพรวมของการทำธุรกิจบัตรเครดิตในปีนี้ยอมรับว่ายากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่การทำธุรกิจจะต้องมีความยากขึ้นในทุก ๆ ปี และคาดว่าในปีนี้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรของทั้งระบบจะมีการเติบโตอยู่ที่ 12 % ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในช่วง 2 เดือนแรกที่ผ่านมานั้น ในเดือนม.ค.ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่ในเดือน ก.พ.อยู่ในระดับที่ไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตามเชื่อว่าภาพโดยรวมทั้งปีน่ายังถือว่าอยู่ในระดับที่ดี เนื่องจากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นปีที่ผ่านมาธนาคารมีฐานบัตรเครดิต 1.6 ล้านบัตร มียอดใช้จ่ายผ่านบัตร ประมาณ 90,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 16% ของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งระบบที่มีอยู่ประมาณ 562,000 ล้านบาท มียอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) 2.7% และมียอดสินเชื่อคงค้าง 20,000 ล้านบาท โดยในจำนวนยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 90,000 ล้านบาทนั้นมียอดการกดเงินสด 10% มียอดการผ่อนชำระดอกเบี้ย0% จำนวน 2,000 ล้านบาท
"การที่ทางการให้คุมรายได้ขั้นต่ำของผู้ขอทำบัตรเครดิตรวมถึงกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการทุกรายใช้เท่ากันหมดนั้น ถือว่าเป็นการตัดโอกาสของคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ซึ่งในความเป็นจริงกลุ่มเหล่านี้อาจมีวินัยทางการเงินดีกว่าคนที่รายได้เกินกว่า 15,000 บาทก็ได้" นายรุ่งเรืองกล่าว
นายรุ่งเรือง กล่าวว่า ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนบัตรเครดิตเป็น 1.8 ล้านบัตร และมียอดการใช้จ่ายเพิ่มเป็น 120,000 ล้านบาท หรือเติบโตจากปีที่ผ่านมา 33% ในขณะที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรของตลาดเติบโต 12% โดยธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มเป็น 19% มีเอ็นพีแอลเหลือ 2.5% มียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท
โดยในจำนวนยอดใช้จ่าย 120,000 ล้านบาท ยังคงมียอดการกดเงินสดอยู่ที่ 10%เหมือนเดิม และมียอดการผ่อนชำระดอกเบี้ย0%เพิ่มเป็น 5,000 ล้านบาท แนวทางในการผลักดันให้ยอดบัตรเครดิตและยอดใช้จ่ายถึงเป้าหมายนั้น ธนาคารจะใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขายและร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งปี โดยใช้งบประมาณการตลาดทั้งสิ้นประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส สายธุรกิจบัตรเครดิต บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด(มหาชน) หรือ เคทีซี เปิดเผยว่า หาก ธปท.ทำการยกเลิกเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำของผู้สมัครบัตรเครดิตและยกเลิกเพดานอัตราดอกเบี้ยนั้นจะเป็นผลดีต่อระบบ เพราะจะทำให้การแข่งขันมีมากขึ้นและจะทำให้หนี้เสียมีจำนวนที่ลดลง และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทสามารถเข้ามากู้ยืมเงินในระบบได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องของหนี้นอกระบบและสามารถจัดการดูแลได้ง่ายขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมสำหรับลูกค้าที่มีรายได้ต่ำน่าจะอยู่ที่เดือนละไม่เกิน 3% หรือไม่เกิน 36 % ต่อปีซึ่งอัตราดังกล่าวสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้สามารถบริหารความเสี่ยงได้