ผู้จัดการรายวัน - ธปท.พอใจผลงานแบงก์พาณิชย์ไทยทั้งระบบปี 2550 ระบุปรับตัวได้ดีทั้งปัจจัยต่างประเทศและการดำเนินธุรกิจ แม้กำไรสุทธิลดลง 4 หมื่นล้านบาท แต่เป็นการกันสำรองตามมาตรฐาน IAS39 หวังสร้างความเข้มแข็ง ขณะที่ยอดเงินฝากโต 0.5%ชะลอลงจากปี 49 ที่โต 6% เหตุแบงก์หันออกตั๋วแลกเงินจูงใจผู้เงินฝากแทนหลังแนวโน้มดอกเบี้ยลด เผยเฉพาะปี 50 มียอดออกตั๋วถึง 5 แสนล้านบาทเทียบกับเงินฝากทั้งระบบ 6.5 ล้านล้านบาท
นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมในปี 2550 ที่ผ่านมายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.58 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายด้านการกันสำรองและภาษีแล้วมีกำไรสุทธิ 2.5 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 4 หมื่นล้านบาท จากปี 49 ที่มีอยู่ 6.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39)
ทั้งนี้ เงินรับฝากขยายตัว 0.5% ชะลอลงมากจากปี 49 ที่ขยายตัวที่ระดับ 6% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงส่งผลให้ผู้ฝากเงินหันไปเลือกรูปแบบการออมอื่นๆ แทน เช่น กองทุนรวม พันธบัตรออมทรัพย์ โดยเฉพาะการระดมทุนผ่านตั๋วแลกเงินแทนเงินฝากมากขึ้น โดยทั้งปี 50 มียอดทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท เทียบกับเงินฝากทั้งระบบมีอยู่ 6.5 ล้านล้านบาท ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินด้วยอยู่ที่ระดับ 86% ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับ 92.8% ในช่วงสิ้นปี50 เทียบกับปีก่อน 89% ถือว่าสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ต้นทุนเงินฝากอยู่ที่ระดับ 3.1% ใกล้เคียงกับปี 49 ถือว่าไม่มาก
ส่วนสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 4.6% ชะลอตัวจากปีก่อน 5.9% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลง อย่างไรก็ตามสินเชื่อเริ่มมีสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาสุดท้ายของปี ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของธุรกิจและการบริโภค โดยสินเชื่อภาคธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 76.5%ของสินเชื่อรวมขยายตัวที่ 1.5% ชะลอลงจากปีก่อนที่ 2.8% ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคคิดเป็น 23.5%ของสินเชื่อรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 16% เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
นางฤชุกร กล่าวว่า สำหรับหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4.35 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.5% เทียบกับปีก่อนหน้าที่ระดับ 7.3% แต่เมื่อหักเงินสำรองแล้วจะมียอดเอ็นพีแอลสุทธิลดลงเล็กน้อย 3.9% เทียบกับปีก่อน 4.1% โดยสินเชื่อภาคธุรกิจมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.7 หมื่นล้านบาทจากสิ้นปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 8.2% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 8.1% ในขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคมียอดลดลง 4 พันล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนลดลงเล็กน้อยเหลือ 4% จากปีก่อน 4.8% ทั้งนี้เป็นการลดลงของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและผลประกอบการของธุรกิจที่ลดลง แต่ระบบธนาคารพาณิชย์มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการเพิ่มทุนในปี 50 ถึง 9.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส) เพิ่มขึ้นเป็น 15% จากปี 49 ที่ระดับ 14.1% ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำทางกฎหมายที่ 8.5% จึงเชื่อว่าจะสามารถสนับสนุนการขยายตัวธุรกิจในอนาคตได้ดี
“แม้ความเสี่ยงการปฏิบัติการและความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้น รวมถึงยอมรับว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งต้นทุนของแต่ละสาขา การจัดระบบการบริหารความเสี่ยงหรือแม้แต่ต้นทุนจากการดำเนินการมีการขึ้น แต่ธนาคารพาณิชย์โดยรวมก็มีการปรับตัวที่ดี ส่นแบงก์ไทยลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศอ้างอิง(ซีดีโอ)ทั้งสิ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการลงทุนในสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ไม่ถึง 10% หรือจำนวน 70 ล้านเหรียญ และยิ่งเมื่อเทียบกับสัดส่วนสินเชื่อรวมแล้วคิดเป็น 0.03%ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ ถือว่าเล็กน้อยมาก”นางฤชุกรกล่าว
นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมในปี 2550 ที่ผ่านมายังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.58 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายด้านการกันสำรองและภาษีแล้วมีกำไรสุทธิ 2.5 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 4 หมื่นล้านบาท จากปี 49 ที่มีอยู่ 6.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศ (IAS39)
ทั้งนี้ เงินรับฝากขยายตัว 0.5% ชะลอลงมากจากปี 49 ที่ขยายตัวที่ระดับ 6% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงส่งผลให้ผู้ฝากเงินหันไปเลือกรูปแบบการออมอื่นๆ แทน เช่น กองทุนรวม พันธบัตรออมทรัพย์ โดยเฉพาะการระดมทุนผ่านตั๋วแลกเงินแทนเงินฝากมากขึ้น โดยทั้งปี 50 มียอดทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท เทียบกับเงินฝากทั้งระบบมีอยู่ 6.5 ล้านล้านบาท ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่รวมตั๋วแลกเงินด้วยอยู่ที่ระดับ 86% ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับ 92.8% ในช่วงสิ้นปี50 เทียบกับปีก่อน 89% ถือว่าสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ต้นทุนเงินฝากอยู่ที่ระดับ 3.1% ใกล้เคียงกับปี 49 ถือว่าไม่มาก
ส่วนสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัว 4.6% ชะลอตัวจากปีก่อน 5.9% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลง อย่างไรก็ตามสินเชื่อเริ่มมีสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงไตรมาสุดท้ายของปี ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของธุรกิจและการบริโภค โดยสินเชื่อภาคธุรกิจคิดเป็นสัดส่วน 76.5%ของสินเชื่อรวมขยายตัวที่ 1.5% ชะลอลงจากปีก่อนที่ 2.8% ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคคิดเป็น 23.5%ของสินเชื่อรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 16% เนื่องจากผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้นจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น
นางฤชุกร กล่าวว่า สำหรับหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4.35 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.5% เทียบกับปีก่อนหน้าที่ระดับ 7.3% แต่เมื่อหักเงินสำรองแล้วจะมียอดเอ็นพีแอลสุทธิลดลงเล็กน้อย 3.9% เทียบกับปีก่อน 4.1% โดยสินเชื่อภาคธุรกิจมียอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 1.7 หมื่นล้านบาทจากสิ้นปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 8.2% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ระดับ 8.1% ในขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคมียอดลดลง 4 พันล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนลดลงเล็กน้อยเหลือ 4% จากปีก่อน 4.8% ทั้งนี้เป็นการลดลงของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม แม้จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจและผลประกอบการของธุรกิจที่ลดลง แต่ระบบธนาคารพาณิชย์มีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการเพิ่มทุนในปี 50 ถึง 9.5 หมื่นล้านบาท ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส) เพิ่มขึ้นเป็น 15% จากปี 49 ที่ระดับ 14.1% ถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำทางกฎหมายที่ 8.5% จึงเชื่อว่าจะสามารถสนับสนุนการขยายตัวธุรกิจในอนาคตได้ดี
“แม้ความเสี่ยงการปฏิบัติการและความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้น รวมถึงยอมรับว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งต้นทุนของแต่ละสาขา การจัดระบบการบริหารความเสี่ยงหรือแม้แต่ต้นทุนจากการดำเนินการมีการขึ้น แต่ธนาคารพาณิชย์โดยรวมก็มีการปรับตัวที่ดี ส่นแบงก์ไทยลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศอ้างอิง(ซีดีโอ)ทั้งสิ้น 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการลงทุนในสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ไม่ถึง 10% หรือจำนวน 70 ล้านเหรียญ และยิ่งเมื่อเทียบกับสัดส่วนสินเชื่อรวมแล้วคิดเป็น 0.03%ของสินเชื่อรวมทั้งระบบ ถือว่าเล็กน้อยมาก”นางฤชุกรกล่าว