หากใครติดตามการออกมาเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนประกาศฟื้นรูปแบบองค์กรจัดตั้งนั้นมีพัฒนาเกิดขึ้นมาตามลำดับ เหมือนที่พล.ต.จำลอง ศรีเมือง บอกว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ ไม่ได้ทำตามอำเภอใจ
ต้องไม่ลืมว่า ก่อนหน้านี้ พันธมิตรฯ ได้ประกาศว่าจะเปิดทางโอกาสให้รัฐบาลสมัครทำงานไปก่อน แต่พันธมิตรฯจะจับตาอย่างใกล้ชิดว่า รัฐบาลชุดนี้จะไปเข้าไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือทักษิณที่กำลังถูกดำเนินคดีทุจริตต่างๆ หรือไม่
แต่หลังจากที่รัฐบาลได้มีคำสั่งย้ายนายสุนัย มโนมัยอุดม จากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันธมิตรฯก็ได้ออกมาส่งสัญญาณต่อสังคมซ้ำว่า การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือทักษิณได้เกิดขึ้นแล้ว
และรัฐบาลก็ยังมีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงคนอื่นๆ มาจนถึงพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พันธมิตรฯ จึงออกมาเตือนซ้ำอีกครั้งว่า สัญญาณของ"กลียุค"กำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง เช่นเดียวกับรัฐบาลทักษิณที่ทำให้กลียุคเกิดขึ้นบนแผ่นดินมาแล้ว
แต่กลายเป็นว่า หลังจากที่พันธมิตรฯออกมาส่งเสียงเตือนให้รัฐบาลหยุดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ทุกครั้งก็จะมีคนในรัฐบาลออกมาเรียกร้องให้พันธมิตรฯ หยุดเคลื่อนไหว โดยอ้างถึงความสงบสุขของสังคม หรือบางคนก็พูดว่า ระบอบประชาธิปไตยกำลังเดินไปได้ด้วยดี พันธมิตรฯ ก็ลุกขึ้นมาป่วนอีกแล้ว
พะนะทั่น ตู่ ศรัทธาธรรม แกนนำ นปก.ที่ถูกหวยได้เป็นพะนะทั่นผู้แทนราษฎร ก็ออกมาบอกว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแปลกประหลาดที่ออกมาเคลื่อนไหวในยุคประชาธิปไตยแต่กลับนิ่งเฉยในยุคเผด็จการ
คล้ายๆ กับว่า พันธมิตรฯ ทำไมไม่เคลื่อนไหวขับไล่เผด็จการอย่างที่ นปก.ออกมาชุมนุมขับไล่ คมช. ทั้งๆ ที่รู้กันว่า การสวมเสื้อคลุมนักขับไล่เผด็จการของเหล่า นปก.นั้นเป็นเพียงฉากบังหน้า เพราะแท้จริงแล้ว นปก.ต้องการชุมนุมเพื่อรักษาระบอบทักษิณ ไม่ใช่ขับไล่เผด็จการ
เพราะถ้านปก.เกลียดชังเผด็จการจริงๆ ก็ต้องร่วมกับพันธมิตรฯ ขับไล่ระบอบทักษิณ เพราะระบอบทักษิณเพียงแต่อาศัยใบเบิกทางของระบอบประชาธิปไตยเข้ามามีอำนาจ เสร็จแล้วก็ใช้อำนาจแก้กฎหมายเพื่อเอื้อแก่ธุรกิจของวงศ์ตระกูล แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แทรกแซงองค์กรอิสระ ทำลายการคานอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ ด้วยการกวาดต้อนพรรคเล็ก และซื้อตัว ส.ว.ซึ่งเป็นวิสัยของเผด็จการไม่ใช่นักประชาธิปไตย
เพราะรัฐบาลประชาธิปไตยจะต้องเป็นตัวแทนของประชาชน ทำหน้าที่และรับผิดชอบต่อประชาชน มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิซึ่งบุคคลได้นำเข้ามาในสังคมการเมืองด้วย และในที่สุดถ้ารัฐบาลใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายมาโดยผิดวัตถุประสงค์ หรือวัตถุประสงค์อันเห็นแก่ส่วนตัวแล้ว ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะชุมนุมขับไล่ ถอดถอนรัฐบาลได้ หรืออาจด้วยการใช้กำลังถ้าจำเป็น
ถ้าถามว่า ทำไมพันธมิตรฯไม่ออกมาร่วมชุมนุมขับไล่ คมช. คำตอบก็คือ เพราะขบวนการที่ขับไล่เผด็จการในนามของ นปก.ในขณะนั้นเป็นขบวนการจอมปลอม เป็นขบวนการที่ต้องการกอบกู้ระบอบทักษิณมากกว่าฉากหน้าที่อ้างว่าต่อสู้กับเผด็จการ
ที่สำคัญพันธมิตรฯ ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร เพราะหากไม่เกิดการรัฐประหารแล้ว ระบอบทักษิณก็จะต้องถูกโค่นล้มโดยอำนาจอันชอบธรรมของประชาชนอยู่แล้ว ถ้าจะให้พันธมิตรฯ ซึ่งชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณที่ฉ้อฉลร่วมกับ นปก.นายหน้าของระบอบทักษิณก็คงเป็นเรื่องประหลาดไม่น้อย แต่ที่สำคัญพันธมิตรฯ ก็ไม่เคยละเลยที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลสุรยุทธ์ และคมช.
และว่าไปแล้ว แม้รัฐบาลสุรยุทธ์จะมาจากอำนาจเผด็จการและมีความด้อยประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้ใช้อำนาจอย่างขาดความชอบธรรมเมื่อเทียบกับระบอบทักษิณที่อ้างว่ามาจากระบอบประชาธิปไตย
ถ้าหากรัฐบาลมองว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและเป็นเหตุเป็นผลว่า เป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับประเทศชาติแล้ว รัฐบาลมองการเคลื่อนไหวของพรรคพวกตัวเองในนาม นปก.ว่าอย่างไร
หรือในระบอบประชาธิปไตย มีแต่พลพรรค นปก.เท่านั้นที่เคลื่อนไหวได้และมีความชอบธรรม แม้กระทั่งขึ้นไปปลุกม็อบที่จังหวัดเชียงรายเพื่อต่อต้านกกต.ที่ให้ใบแดงยุทธ ตู้เย็น
หรือที่พะนะทั่น เพ็ญ เล่นบทแกนนำ นปก. ลุกขึ้นใช้เวทีแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาลุกขึ้นด่า เครือผู้จัดการ เอเอสทีวี และสนธิ ลิ้มทองกุล โดยที่เราไม่มีโอกาสตอบโต้
หรือที่แก๊ง 3 ช่า เหวง-สันต์-จรัล หัวแถว นปก.ส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือให้ พ.อ.อภินันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตแก๊ง นปก.ด้วยกัน เพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญแล้ว ทั้ง 3 คน ก็ยกขบวนไปทำเนียบรัฐบาลให้ พะนะทั่น ณัฐวุฒิ และ พะนะทั่น เพ็ญ จักรภพ อดีต นปก. เปิดห้องทำงานในทำเนียบรัฐบาลเข้าไปนั่งหารือว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอย่างไร
วันรุ่งขึ้น อดีต นปก. สมยศ พฤกษาเกษมสุข ประธานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ก็ยกขบวนเข้ายื่นหนังสือต่อ พ.อ.อภิวันท์ เรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการให้รัฐธรรมนูญ 2550 คำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กฎหมาย รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผลผลิตของคณะรัฐประหาร สิ้นสุดลง หรือให้เป็นโมฆะ
ซึ่งตรงกับคำเตือนของพิภพ ธงไชยว่า มีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวาระซ่อนเร้นเพื่อให้ทักษิณไม่ต้องเดินเข้าสู่การพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม เพราะหากล้มคำสั่ง คมช.ก็เท่ากับล้มล้างการตรวจสอบของ คตส.ไปด้วย
สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เมื่อข้าราชการออกมาเคลื่อนไหวจัดตั้งสหภาพ เพื่อปกป้องข้าราชการไม่ให้ถูกฝ่ายการเมืองโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม กลับถูกเพ็ญ จักรภพ ออกมาเตือนว่า ประเทศนี้ไม่ได้เป็นของข้าราชการ แต่เป็นของประชาชนที่ไม่เคยรับราชการ การทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นระดับชาติขึ้นมาจะต้องคิดให้ดี เพราะในปัจจุบันเราไม่ได้อยู่ในระบอบอมาตยาธิปไตย แต่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย
คล้ายๆ กับว่า รัฐบาลสมัครเป็นรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นข้าราชการเหล่านี้จึงไม่มีสิทธิออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านแม้ว่าสิ่งที่รัฐบาลกระทำต่อข้าราชการเหล่านั้นเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรม คล้ายๆ กับว่า ข้าราชการไม่ใช่ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
เหมือนกับที่รัฐบาลสมัครใช้อำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถ แต่เป็นการตอบแทนกลุ่มคนที่ภักดีต่อทักษิณมากกว่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่สะท้อนว่า รัฐบาลกำลังเข้าใจว่า การเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตยแล้วสามารถใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมและจะย่ำยีประชาชนอย่างไรก็ได้
เหมือนกับลืมไปแล้ว ว่า รัฐบาลที่ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลและเหิมเกริมแบบระบอบทักษิณแม้จะมาจากระบอบประชาธิปไตยจะมีจุดจบอย่างไร หากทหารไม่ลุกขึ้นมาตัดตอนอำนาจประชาชนเสียก่อน
ต้องไม่ลืมว่า ก่อนหน้านี้ พันธมิตรฯ ได้ประกาศว่าจะเปิดทางโอกาสให้รัฐบาลสมัครทำงานไปก่อน แต่พันธมิตรฯจะจับตาอย่างใกล้ชิดว่า รัฐบาลชุดนี้จะไปเข้าไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือทักษิณที่กำลังถูกดำเนินคดีทุจริตต่างๆ หรือไม่
แต่หลังจากที่รัฐบาลได้มีคำสั่งย้ายนายสุนัย มโนมัยอุดม จากอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พันธมิตรฯก็ได้ออกมาส่งสัญญาณต่อสังคมซ้ำว่า การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือทักษิณได้เกิดขึ้นแล้ว
และรัฐบาลก็ยังมีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงคนอื่นๆ มาจนถึงพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พันธมิตรฯ จึงออกมาเตือนซ้ำอีกครั้งว่า สัญญาณของ"กลียุค"กำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง เช่นเดียวกับรัฐบาลทักษิณที่ทำให้กลียุคเกิดขึ้นบนแผ่นดินมาแล้ว
แต่กลายเป็นว่า หลังจากที่พันธมิตรฯออกมาส่งเสียงเตือนให้รัฐบาลหยุดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ทุกครั้งก็จะมีคนในรัฐบาลออกมาเรียกร้องให้พันธมิตรฯ หยุดเคลื่อนไหว โดยอ้างถึงความสงบสุขของสังคม หรือบางคนก็พูดว่า ระบอบประชาธิปไตยกำลังเดินไปได้ด้วยดี พันธมิตรฯ ก็ลุกขึ้นมาป่วนอีกแล้ว
พะนะทั่น ตู่ ศรัทธาธรรม แกนนำ นปก.ที่ถูกหวยได้เป็นพะนะทั่นผู้แทนราษฎร ก็ออกมาบอกว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแปลกประหลาดที่ออกมาเคลื่อนไหวในยุคประชาธิปไตยแต่กลับนิ่งเฉยในยุคเผด็จการ
คล้ายๆ กับว่า พันธมิตรฯ ทำไมไม่เคลื่อนไหวขับไล่เผด็จการอย่างที่ นปก.ออกมาชุมนุมขับไล่ คมช. ทั้งๆ ที่รู้กันว่า การสวมเสื้อคลุมนักขับไล่เผด็จการของเหล่า นปก.นั้นเป็นเพียงฉากบังหน้า เพราะแท้จริงแล้ว นปก.ต้องการชุมนุมเพื่อรักษาระบอบทักษิณ ไม่ใช่ขับไล่เผด็จการ
เพราะถ้านปก.เกลียดชังเผด็จการจริงๆ ก็ต้องร่วมกับพันธมิตรฯ ขับไล่ระบอบทักษิณ เพราะระบอบทักษิณเพียงแต่อาศัยใบเบิกทางของระบอบประชาธิปไตยเข้ามามีอำนาจ เสร็จแล้วก็ใช้อำนาจแก้กฎหมายเพื่อเอื้อแก่ธุรกิจของวงศ์ตระกูล แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม แทรกแซงองค์กรอิสระ ทำลายการคานอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติ ด้วยการกวาดต้อนพรรคเล็ก และซื้อตัว ส.ว.ซึ่งเป็นวิสัยของเผด็จการไม่ใช่นักประชาธิปไตย
เพราะรัฐบาลประชาธิปไตยจะต้องเป็นตัวแทนของประชาชน ทำหน้าที่และรับผิดชอบต่อประชาชน มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิซึ่งบุคคลได้นำเข้ามาในสังคมการเมืองด้วย และในที่สุดถ้ารัฐบาลใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายมาโดยผิดวัตถุประสงค์ หรือวัตถุประสงค์อันเห็นแก่ส่วนตัวแล้ว ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะชุมนุมขับไล่ ถอดถอนรัฐบาลได้ หรืออาจด้วยการใช้กำลังถ้าจำเป็น
ถ้าถามว่า ทำไมพันธมิตรฯไม่ออกมาร่วมชุมนุมขับไล่ คมช. คำตอบก็คือ เพราะขบวนการที่ขับไล่เผด็จการในนามของ นปก.ในขณะนั้นเป็นขบวนการจอมปลอม เป็นขบวนการที่ต้องการกอบกู้ระบอบทักษิณมากกว่าฉากหน้าที่อ้างว่าต่อสู้กับเผด็จการ
ที่สำคัญพันธมิตรฯ ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร เพราะหากไม่เกิดการรัฐประหารแล้ว ระบอบทักษิณก็จะต้องถูกโค่นล้มโดยอำนาจอันชอบธรรมของประชาชนอยู่แล้ว ถ้าจะให้พันธมิตรฯ ซึ่งชุมนุมขับไล่ระบอบทักษิณที่ฉ้อฉลร่วมกับ นปก.นายหน้าของระบอบทักษิณก็คงเป็นเรื่องประหลาดไม่น้อย แต่ที่สำคัญพันธมิตรฯ ก็ไม่เคยละเลยที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลสุรยุทธ์ และคมช.
และว่าไปแล้ว แม้รัฐบาลสุรยุทธ์จะมาจากอำนาจเผด็จการและมีความด้อยประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้ใช้อำนาจอย่างขาดความชอบธรรมเมื่อเทียบกับระบอบทักษิณที่อ้างว่ามาจากระบอบประชาธิปไตย
ถ้าหากรัฐบาลมองว่า การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและเป็นเหตุเป็นผลว่า เป็นการสร้างความวุ่นวายให้กับประเทศชาติแล้ว รัฐบาลมองการเคลื่อนไหวของพรรคพวกตัวเองในนาม นปก.ว่าอย่างไร
หรือในระบอบประชาธิปไตย มีแต่พลพรรค นปก.เท่านั้นที่เคลื่อนไหวได้และมีความชอบธรรม แม้กระทั่งขึ้นไปปลุกม็อบที่จังหวัดเชียงรายเพื่อต่อต้านกกต.ที่ให้ใบแดงยุทธ ตู้เย็น
หรือที่พะนะทั่น เพ็ญ เล่นบทแกนนำ นปก. ลุกขึ้นใช้เวทีแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาลุกขึ้นด่า เครือผู้จัดการ เอเอสทีวี และสนธิ ลิ้มทองกุล โดยที่เราไม่มีโอกาสตอบโต้
หรือที่แก๊ง 3 ช่า เหวง-สันต์-จรัล หัวแถว นปก.ส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือให้ พ.อ.อภินันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตแก๊ง นปก.ด้วยกัน เพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญแล้ว ทั้ง 3 คน ก็ยกขบวนไปทำเนียบรัฐบาลให้ พะนะทั่น ณัฐวุฒิ และ พะนะทั่น เพ็ญ จักรภพ อดีต นปก. เปิดห้องทำงานในทำเนียบรัฐบาลเข้าไปนั่งหารือว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอย่างไร
วันรุ่งขึ้น อดีต นปก. สมยศ พฤกษาเกษมสุข ประธานกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ก็ยกขบวนเข้ายื่นหนังสือต่อ พ.อ.อภิวันท์ เรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการให้รัฐธรรมนูญ 2550 คำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กฎหมาย รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผลผลิตของคณะรัฐประหาร สิ้นสุดลง หรือให้เป็นโมฆะ
ซึ่งตรงกับคำเตือนของพิภพ ธงไชยว่า มีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวาระซ่อนเร้นเพื่อให้ทักษิณไม่ต้องเดินเข้าสู่การพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม เพราะหากล้มคำสั่ง คมช.ก็เท่ากับล้มล้างการตรวจสอบของ คตส.ไปด้วย
สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า เมื่อข้าราชการออกมาเคลื่อนไหวจัดตั้งสหภาพ เพื่อปกป้องข้าราชการไม่ให้ถูกฝ่ายการเมืองโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม กลับถูกเพ็ญ จักรภพ ออกมาเตือนว่า ประเทศนี้ไม่ได้เป็นของข้าราชการ แต่เป็นของประชาชนที่ไม่เคยรับราชการ การทำให้เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นระดับชาติขึ้นมาจะต้องคิดให้ดี เพราะในปัจจุบันเราไม่ได้อยู่ในระบอบอมาตยาธิปไตย แต่อยู่ในระบอบประชาธิปไตย
คล้ายๆ กับว่า รัฐบาลสมัครเป็นรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นข้าราชการเหล่านี้จึงไม่มีสิทธิออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านแม้ว่าสิ่งที่รัฐบาลกระทำต่อข้าราชการเหล่านั้นเป็นการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรม คล้ายๆ กับว่า ข้าราชการไม่ใช่ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
เหมือนกับที่รัฐบาลสมัครใช้อำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถ แต่เป็นการตอบแทนกลุ่มคนที่ภักดีต่อทักษิณมากกว่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่สะท้อนว่า รัฐบาลกำลังเข้าใจว่า การเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตยแล้วสามารถใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมและจะย่ำยีประชาชนอย่างไรก็ได้
เหมือนกับลืมไปแล้ว ว่า รัฐบาลที่ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉลและเหิมเกริมแบบระบอบทักษิณแม้จะมาจากระบอบประชาธิปไตยจะมีจุดจบอย่างไร หากทหารไม่ลุกขึ้นมาตัดตอนอำนาจประชาชนเสียก่อน