สัปดาห์นี้เราจะมาพูดถึงกลยุทธ์การลงทุนของสัญญา Futures เพิ่มเติมกันต่อครับ หลังจากที่ได้พูดถึงโครงการประมูลข้าวฯ กันไปถึงสองสัปดาห์
สำหรับสัญญา Futures ที่นักลงทุนนิยมลงทุน ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ Futures ที่เป็นตัวเลขทางการเงิน (Financial Futures) เช่น ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน หรือ อัตราดอกเบี้ย และ Futures สินค้าอุปโภคบริโภค (Commodities Futures) สาเหตุที่นักลงทุนมีการขีดเส้นแบ่งระหว่าง Futures ทั้งสองกลุ่มเป็นผลมาจากความแตกต่างของภาระผูกพัน (Obligation) ที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนเมื่อสัญญาเหล่านี้ครบกำหนด
อย่าลืมว่าสัญญา Futures ทุกสัญญาคือสัญญาผูกพันระหว่างคนสองคนที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดล่วงหน้า และทุกสัญญาจะต้องมีการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อครบอายุสัญญา ทั้งนี้ Financial Futures เป็นเหมือนสัญญาที่คู่สัญญาจะชำระส่วนต่างของราคา หรือ การจ่ายผลกำไร หรือขาดทุนที่เกิดขึ้น โดยจะชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) ในขณะที่ Commodities Futures ส่วนใหญ่เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องรับมอบส่งมอบสินค้าอ้างอิงกันจริงๆ (Physical Delivery)
นักลงทุนที่ตัดสินใจจะลงทุนใน Commodities Futuresจะต้องมีการวางแผนที่จะปิดสถานะของตนก่อนที่สัญญานั้นๆ จะครบกำหนด ข้อนี้สำคัญมากสำหรับนักลงทุนทั่วไป เพราะการรับมอบส่งมอบสินค้าสินค้าจำนวนมากตามสัญญานั้นคงจะเป็นไปได้ยาก ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง การเทรดสัญญาล่วงหน้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 หรือ RSS3 futures ใน AFET ซึ่งยังนับว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นนั้น ดังนั้น สภาพคล่อง หรือ Liquidity ในตลาดอาจจะมีไม่สูงมากนักส่งผลให้นักลงทุนจำเป็นจะต้องให้ความสนใจกับการส่งมอบรับมอบสินค้าเป็นพิเศษ โดยหนึ่งในวิธีการจัดการกับความเสี่ยงนี้ คือ การไม่ซื้อขายสัญญาที่กำลังจะหมดอายุ เพื่อให้นักลงทุนมีโอกาสปิดสถานะของตนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สัญญาล่วงหน้ายางพารา (RSS3) จะมีปริมาณการซื้อขายมากที่สุดอยู่ที่สัญญาส่งมอบ 7 เดือนล่วงหน้า ในขณะที่สัญญาที่มีอายุสั้นกว่าจะมีปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างน้อย
นอกจากนี้ เพื่อรักษาสภาพคล่องของการลงทุน นักลงทุนควรจะซื้อขายอยู่ในเดือนที่มีสภาพคล่องสูง หากนักลงทุนเห็นว่าสัญญาส่งมอบในเดือนไกลเท่านั้นที่มีปริมาณการซื้อขายเหมาะสมสำหรับตน นักลงทุนอาจลงทุนในสัญญาเดือนไกล แล้วปิดสถานะของตนก่อนที่อายุสัญญาจะถูกปรับลดลง วิธีการนี้ทำให้ระยะเวลาลงทุนของนักลงทุนมีจำกัดอยู่เพียงแค่เดือนเดียว ซึ่งอาจจะเพียงพอเนื่องจากราคาของ Commodities มีความผันผวนระหว่างวันมากพอที่นักลงทุนจะสามารถหากำไรจากการลงทุนในระยะสั้นได้
ทั้งนี้นักลงทุนอีกประเภทหนึ่งจะชอบการลงทุนระยะยาวเพราะไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงกับความผันผวนระยะสั้นของราคาสินค้า นักลงทุนกลุ่มนี้จะทำการ Roll-over สัญญาที่ตนถืออยู่ โดยเมื่ออายุสัญญามีการปรับตัวลดลง และตลาดเริ่มเปิดซื้อขายสัญญาที่มีอายุไกล สัญญาที่มีอายุสั้นกว่าจะถูกปิด เพื่อไปเปิดสถานะในสัญญาเดือนไกลที่เพิ่งเปิดขาย การจัดการการลงทุนในลักษณะนี้ทำให้นักลงทุนสามารถใช้แนวโน้มของปัจจัยที่มีผลระยะยาว เช่นปัญหาต่อเนื่องจากภาวะโลกร้อนกับปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตร เป็นข้อมูลสำหรับการลงทุน โดยที่นักลงทุนยังคงมีสภาพคล่องของสัญญาที่ตนต้องการอยู่ และนักลงทุนสามารถปรึกษานายหน้าซื้อขายที่ตนเปิดบัญชีเพื่อให้ทำการ Roll-over สัญญาที่ถือครองอยู่แทนตนทุกๆ เดือนก็ยังได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาด AFET มีการพัฒนาไปถึงจุดหนึ่งแล้ว ปริมาณการซื้อขายในตลาดจะมีมากพอที่จะทำให้ทุกสัญญาการซื้อขายมีสภาพคล่อง และนักลงทุนคงจะได้คลายความกังวลจากความเสี่ยงของการส่งมอบรับมอบสินค้ากันในสัญญา Futures เดือนที่ใกล้จะครบกำหนดกันครับ
สำหรับสัญญา Futures ที่นักลงทุนนิยมลงทุน ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ Futures ที่เป็นตัวเลขทางการเงิน (Financial Futures) เช่น ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน หรือ อัตราดอกเบี้ย และ Futures สินค้าอุปโภคบริโภค (Commodities Futures) สาเหตุที่นักลงทุนมีการขีดเส้นแบ่งระหว่าง Futures ทั้งสองกลุ่มเป็นผลมาจากความแตกต่างของภาระผูกพัน (Obligation) ที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนเมื่อสัญญาเหล่านี้ครบกำหนด
อย่าลืมว่าสัญญา Futures ทุกสัญญาคือสัญญาผูกพันระหว่างคนสองคนที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดล่วงหน้า และทุกสัญญาจะต้องมีการปฏิบัติตามข้อตกลงเมื่อครบอายุสัญญา ทั้งนี้ Financial Futures เป็นเหมือนสัญญาที่คู่สัญญาจะชำระส่วนต่างของราคา หรือ การจ่ายผลกำไร หรือขาดทุนที่เกิดขึ้น โดยจะชำระราคาเป็นเงินสด (Cash Settlement) ในขณะที่ Commodities Futures ส่วนใหญ่เป็นสัญญาที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องรับมอบส่งมอบสินค้าอ้างอิงกันจริงๆ (Physical Delivery)
นักลงทุนที่ตัดสินใจจะลงทุนใน Commodities Futuresจะต้องมีการวางแผนที่จะปิดสถานะของตนก่อนที่สัญญานั้นๆ จะครบกำหนด ข้อนี้สำคัญมากสำหรับนักลงทุนทั่วไป เพราะการรับมอบส่งมอบสินค้าสินค้าจำนวนมากตามสัญญานั้นคงจะเป็นไปได้ยาก ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง การเทรดสัญญาล่วงหน้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 หรือ RSS3 futures ใน AFET ซึ่งยังนับว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นนั้น ดังนั้น สภาพคล่อง หรือ Liquidity ในตลาดอาจจะมีไม่สูงมากนักส่งผลให้นักลงทุนจำเป็นจะต้องให้ความสนใจกับการส่งมอบรับมอบสินค้าเป็นพิเศษ โดยหนึ่งในวิธีการจัดการกับความเสี่ยงนี้ คือ การไม่ซื้อขายสัญญาที่กำลังจะหมดอายุ เพื่อให้นักลงทุนมีโอกาสปิดสถานะของตนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สัญญาล่วงหน้ายางพารา (RSS3) จะมีปริมาณการซื้อขายมากที่สุดอยู่ที่สัญญาส่งมอบ 7 เดือนล่วงหน้า ในขณะที่สัญญาที่มีอายุสั้นกว่าจะมีปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างน้อย
นอกจากนี้ เพื่อรักษาสภาพคล่องของการลงทุน นักลงทุนควรจะซื้อขายอยู่ในเดือนที่มีสภาพคล่องสูง หากนักลงทุนเห็นว่าสัญญาส่งมอบในเดือนไกลเท่านั้นที่มีปริมาณการซื้อขายเหมาะสมสำหรับตน นักลงทุนอาจลงทุนในสัญญาเดือนไกล แล้วปิดสถานะของตนก่อนที่อายุสัญญาจะถูกปรับลดลง วิธีการนี้ทำให้ระยะเวลาลงทุนของนักลงทุนมีจำกัดอยู่เพียงแค่เดือนเดียว ซึ่งอาจจะเพียงพอเนื่องจากราคาของ Commodities มีความผันผวนระหว่างวันมากพอที่นักลงทุนจะสามารถหากำไรจากการลงทุนในระยะสั้นได้
ทั้งนี้นักลงทุนอีกประเภทหนึ่งจะชอบการลงทุนระยะยาวเพราะไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงกับความผันผวนระยะสั้นของราคาสินค้า นักลงทุนกลุ่มนี้จะทำการ Roll-over สัญญาที่ตนถืออยู่ โดยเมื่ออายุสัญญามีการปรับตัวลดลง และตลาดเริ่มเปิดซื้อขายสัญญาที่มีอายุไกล สัญญาที่มีอายุสั้นกว่าจะถูกปิด เพื่อไปเปิดสถานะในสัญญาเดือนไกลที่เพิ่งเปิดขาย การจัดการการลงทุนในลักษณะนี้ทำให้นักลงทุนสามารถใช้แนวโน้มของปัจจัยที่มีผลระยะยาว เช่นปัญหาต่อเนื่องจากภาวะโลกร้อนกับปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตร เป็นข้อมูลสำหรับการลงทุน โดยที่นักลงทุนยังคงมีสภาพคล่องของสัญญาที่ตนต้องการอยู่ และนักลงทุนสามารถปรึกษานายหน้าซื้อขายที่ตนเปิดบัญชีเพื่อให้ทำการ Roll-over สัญญาที่ถือครองอยู่แทนตนทุกๆ เดือนก็ยังได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาด AFET มีการพัฒนาไปถึงจุดหนึ่งแล้ว ปริมาณการซื้อขายในตลาดจะมีมากพอที่จะทำให้ทุกสัญญาการซื้อขายมีสภาพคล่อง และนักลงทุนคงจะได้คลายความกังวลจากความเสี่ยงของการส่งมอบรับมอบสินค้ากันในสัญญา Futures เดือนที่ใกล้จะครบกำหนดกันครับ