ผู้จัดการรายวัน-"สันติ"เผยต้องมีตั๋วร่วมถ้าจะให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าต่ำที่สุด ยอมรับ 15 บาท เป็นแค่ฝัน ขณะที่ แหล่งเงินจากจีนสนใจเตรียมเจรจาขอลงทุน ยอมรับแนวรถไฟฟ้ายังไม่นิ่งคาดมี.ค.ได้ข้อยุติก่อนกำหนดแผนการเงิน
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกประชุมกระทรวงที่อยู่ในกำกับดูแล วานนี้ (27 ก.พ.) ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม มีโครงการสำคัญที่รองนายกฯให้ความสนใจคือ รถไฟฟ้าและโครงการแลนด์บริจด์ เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงวิธีการและรูปแบบจัดทำงบประมาณ ของปี 2552 ที่ถูกต้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ค่อนข้างละเอียด
สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 9 สายว่า ภายในเดือนมี.ค.นี้น่าจะมีความชัดเจนในเรื่องแนวเส้นทาง ซึ่งในหลักการเส้นทางใดที่มีการต่อขยายออกไปหากไม่กระทบกับแนวเส้นทางเดิมก็ให้ดำเนินการในส่วนของเส้นทางเดิมออกไปได้เลย ส่วนที่ต่อขยายก็จะต้องเร่งสรุปความชัดเจนและหารือร่วมกับรองนายกฯ อีกครั้ง โดยมีเป้าหมายการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าเพื่อทำให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด ดังนั้นแนวทางการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเดินรถนั้นจะต้องมีเงื่อนไขเรื่องตั๋วร่วม เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและทำให้ผู้โดยสารได้รับประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถบบรถไฟฟ้าบีทีเอสกับรถไฟใต้ดินยังต่างคนต่างเก็บทำให้ค่าโดยสารสูง
"ยอมรับว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ 15 บาท เป็นความฝันที่อยากให้เกิดขึ้นแต่จะเป็นความจริงหรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่วิธีการบริหารจัดการด้วย โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะทำให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นอัตราที่ผู้โดยสารรู้สึกพอใจนั่นก็คือต้องเป็นอัตราที่ต่ำที่สุด และความสะดวกสบาย ให้กับผู้โดยสารรวมถึงจะต้องไม่มีการผูกขาดหรือข้อจำกัด เรื่องการเชื่อมต่อ เหมือนกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่กทม.พบปัญหากับส่วนต่อขยาย"นายสันติกล่าว
สำหรับกรอบการลงทุนรถไฟฟ้า 9 สายนั้น เนื่องจากสูงกว่า 7 แสนล้านบาทดังนั้น จะต้องใช้ทั้งเงินกู้ภายในประเทศ เช่น กรุงไทยบอนด์ งบประมาณ เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ เจบิก รวมถึงเงินลงทุนจากจีนที่ให้ความสนใจและจะส่งตัวแทนเข้าพบ ซึ่งจีนให้ความสนใจในโครงการมาก โดยจะต้องหารือกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภายหลังแนวเส้นทางมีความชัดเจนแล้ว ซึ่งกรณีเงินกู้หากมีเงื่อนไขที่ดีก็จะดีกว่าการใช้งบประมาณมาดำเนินการ
ทั้งนี้ตามแผนเบื้องต้นการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 9 สายของกระทรวงคมนาคมนั้น จะเร่งดำเนินการระหว่างปี 2551-2553 ระยะทางรวมเกือบ รวมระยะทาง 349 กม เป็นเงินลงทุนของรัฐ ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน 523,679 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นการให้เอกชนลงทุนระบบเดินรถเอกชนลงทุนระบบเดินรถ 171,615 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการกว่า 7 แสนล้านบาท
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับนายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรียกประชุมกระทรวงที่อยู่ในกำกับดูแล วานนี้ (27 ก.พ.) ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคม มีโครงการสำคัญที่รองนายกฯให้ความสนใจคือ รถไฟฟ้าและโครงการแลนด์บริจด์ เนื่องจากเห็นว่าจะสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมได้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะเร่งหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงวิธีการและรูปแบบจัดทำงบประมาณ ของปี 2552 ที่ถูกต้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ค่อนข้างละเอียด
สำหรับโครงการรถไฟฟ้า 9 สายว่า ภายในเดือนมี.ค.นี้น่าจะมีความชัดเจนในเรื่องแนวเส้นทาง ซึ่งในหลักการเส้นทางใดที่มีการต่อขยายออกไปหากไม่กระทบกับแนวเส้นทางเดิมก็ให้ดำเนินการในส่วนของเส้นทางเดิมออกไปได้เลย ส่วนที่ต่อขยายก็จะต้องเร่งสรุปความชัดเจนและหารือร่วมกับรองนายกฯ อีกครั้ง โดยมีเป้าหมายการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าเพื่อทำให้ค่าโดยสารต่ำที่สุด ดังนั้นแนวทางการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเดินรถนั้นจะต้องมีเงื่อนไขเรื่องตั๋วร่วม เพื่อเฉลี่ยต้นทุนและทำให้ผู้โดยสารได้รับประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถบบรถไฟฟ้าบีทีเอสกับรถไฟใต้ดินยังต่างคนต่างเก็บทำให้ค่าโดยสารสูง
"ยอมรับว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่ 15 บาท เป็นความฝันที่อยากให้เกิดขึ้นแต่จะเป็นความจริงหรือไม่ ก็ต้องอยู่ที่วิธีการบริหารจัดการด้วย โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะทำให้อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเป็นอัตราที่ผู้โดยสารรู้สึกพอใจนั่นก็คือต้องเป็นอัตราที่ต่ำที่สุด และความสะดวกสบาย ให้กับผู้โดยสารรวมถึงจะต้องไม่มีการผูกขาดหรือข้อจำกัด เรื่องการเชื่อมต่อ เหมือนกรณีรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่กทม.พบปัญหากับส่วนต่อขยาย"นายสันติกล่าว
สำหรับกรอบการลงทุนรถไฟฟ้า 9 สายนั้น เนื่องจากสูงกว่า 7 แสนล้านบาทดังนั้น จะต้องใช้ทั้งเงินกู้ภายในประเทศ เช่น กรุงไทยบอนด์ งบประมาณ เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ เจบิก รวมถึงเงินลงทุนจากจีนที่ให้ความสนใจและจะส่งตัวแทนเข้าพบ ซึ่งจีนให้ความสนใจในโครงการมาก โดยจะต้องหารือกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภายหลังแนวเส้นทางมีความชัดเจนแล้ว ซึ่งกรณีเงินกู้หากมีเงื่อนไขที่ดีก็จะดีกว่าการใช้งบประมาณมาดำเนินการ
ทั้งนี้ตามแผนเบื้องต้นการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 9 สายของกระทรวงคมนาคมนั้น จะเร่งดำเนินการระหว่างปี 2551-2553 ระยะทางรวมเกือบ รวมระยะทาง 349 กม เป็นเงินลงทุนของรัฐ ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน 523,679 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นการให้เอกชนลงทุนระบบเดินรถเอกชนลงทุนระบบเดินรถ 171,615 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการกว่า 7 แสนล้านบาท