ในปัจจุบันต้นยางได้รับการพัฒนามาใช้ประโยชน์เกือบทุกอย่างตั้งแต่น้ำยางจนถึงลำต้นและใบ คงเหลือแต่รากเท่านั้นที่ยังมิได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะน้ำยางนั้นได้รับการพัฒนาทำผลิตภัณฑ์ต่างๆมาก ควบคู่ไปกับการใช้ยางสังเคราะที่เกิดจากน้ำมัน ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น ยางสังเคาระห์จากน้ำมันจะสูงขึ้นตาม และผู้ใช้ก็จะหันมาใช้ธรรมชาติมากขึ้นก็จะดึงให้ราคายางสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เกษตรกรผู้มีสวนยางที่กรีดยางได้แล้วมีรายได้ดี ทั้งนี้เพราะราคายางและไม้ยางพารามีราคาสูงต่อเนื่องมาหลายปี
จากสถิติการผลิตยางของโลกเมื่อปี 2549 นั้น ทั่วโลกผลิตยางธรรมชาติได้ประมาณ 21.7 ล้านตันโดยแยกเป็นยางธรรมชาติ 9.2 ล้านตัน และยางสังเคราะห์ 12.5 ล้านตัน หรือเป็นยางธรรมชาติ 42.3% และยางสังเคราะห์ 57.7% จากจำนวนการผลิตยางทั้งสองประเภทดังกล่าว ในปี 2549 นั้น ทั่วโลกมีการใช้ยางทั้งสิ้น 21.6 ล้านตัน ซึ่งแสดงว่ามีการใช้เกือบเต็มกำลังผลิตทีเดียว ในจำนวนการใช้นี้แยกเป็นการใช้ผลผลิตจากยางธรรมชาติ 9.0 ล้านตัน หรือ 41.5% และยางสังเคราะห์ 12.6 ล้านตัน หรือ 58.5%
เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนการการใช้ยางสังเคราะห์และยางธรรมชาตินั้น โดยเฉลี่ยจะอยู่ในระดับ ที่ 58 ต่อ 52 ติดต่อกันหลายปี โดยมีการใช้ยางสังเคราะห์สูงกว่ายางธรรมชาติเสมอ ดังนั้น ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างปัจจุบัน อนาคตของยางก็ยังคงสดสัยอยู่ ประเทศผู้ผลิตยางจึงยังพัฒนาการผลิตยางอย่างต่อเนื่อง
ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้มากที่สุดคือประเทศไทย โดยในปี 2549 สามารถผลิตได้ถึง 3.1 ล้านตัน หรือ 33.7 % ของการผลิตของโลก ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้รองลงไปจากไทยใน ห้าอันดับแรกของโลกได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และจีน ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า จีน อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในภูมิภาค หากมีการส่งเสริมการปลูกยางอย่างจริงจังก็จะเป็นคุ่แข่งสำคัญของ ไทยคือ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ในขณะนี้ ส่วนประเทศข้างบ้านเราอย่างเวียดนาม ก็คงประมาทไม่ได้เช่นกัน
สำหรับการผลิตยางของไทยแม้จะมีผลผลิตมากที่สุดของโลก แต่ไทยใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อยกว่า ประเทศอินโดนีเซีย โดยไทยใช้พื้นที่ปลูกในปี 2549 ประมาณ 14.3 ล้านไร่ ในขณะที่ อินโดนีเซีย ใช้พื้นที่เพาะปลูก 20.5 ซึ่งแสดงว่าผลผลิตต่อไร่ของไทยยังดีกว่าอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามประเทศที่มีการพัฒนาประสิทธิผลการผลิตยางมากที่สุดคือมาเลเซีย ดังนั้นไทยต้องทุ่มเทเรื่องการวิจัยและพัฒนายางให้มากขึ้น ไม่ใช่คิดแต่จะขยายพื้นที่ปลูกแต่อย่างเดียว
ในปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกยางของไทยได้ขยายไปทั่วทุกภูมิภาคโดยภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมานานที่สุดและสำคัญที่สุด ในปี 2549 มีพื้นที่ปลูกใน 14 จังหวัดรวมประมาณ 11 ล้านไร่ โดยปลูกมากที่สุดที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี 1.8 ล้านไร่ รองลงแก่ สตูล นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา พังงา ฯลฯ ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลางมีปลูกใน 10 จังหวัด รวม 1.6 ล้านไร่ ปลูกมากที่สุดที่ จังหวัดระยอง 6 แสนกว่าไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกใน 19 จังหวัด รวม 1.5 ล้านไร่ โดยปลูกมากที่สุดที่จังหวัดหนองคายประมาณ 4 แสนไร่เศษ และภาคเหนือซึ่งปลูกน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ โดยปลูกใน 17 จังหวัด รวมประมาณ 2 แสนไร่เท่านั้น
ทั้งสี่ภาคที่มีการปลูกยางดังกล่าวข้างต้นที่มีการกรีดยางน้อยที่สุดคือภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งแสดงว่ามีการส่งเสริมการปลูกมาไม่นาน เพราะโดยปกติอายุยางที่สามารถกรีดยางได้ดีท่านว่าต้อง เจ็ดปีขึ้นไป แต่ก็มีบางแห่งที่เห็นราคายางดีทนรอรอไม่ไหวจืงกรีดยางก่อนอายุเจ็ดปี ซึ่งจะส่งผลเสียหายในระยะยาว ซึ่งแสดงว่าการส่งเสริมการปลูกยางของทางการมิได้ให้ความรู้และเทคนิคการเปลูกอย่างทั่วถึงและเพียงพอ และยิ่งเกษตรกรได้รับต้นกล้าที่ไม่มีคุณภาพ ตามแรงผลักดันหางการเมืองที่ไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้แล้ว ก็ยิ่งน่าห่วงเกษตรกรชาวสวนยางแบบ มือใหม่ หัด ขับยิ่งนัก และหากแนวโน้มราคาน้ำมันลดลงตามวัฏจักร์ทางเศรษฐกิจเมื่อใดทางการ หรือหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนคิดเตรียมไว้บ้างหรือยัง
จากสถิติการผลิตยางของโลกเมื่อปี 2549 นั้น ทั่วโลกผลิตยางธรรมชาติได้ประมาณ 21.7 ล้านตันโดยแยกเป็นยางธรรมชาติ 9.2 ล้านตัน และยางสังเคราะห์ 12.5 ล้านตัน หรือเป็นยางธรรมชาติ 42.3% และยางสังเคราะห์ 57.7% จากจำนวนการผลิตยางทั้งสองประเภทดังกล่าว ในปี 2549 นั้น ทั่วโลกมีการใช้ยางทั้งสิ้น 21.6 ล้านตัน ซึ่งแสดงว่ามีการใช้เกือบเต็มกำลังผลิตทีเดียว ในจำนวนการใช้นี้แยกเป็นการใช้ผลผลิตจากยางธรรมชาติ 9.0 ล้านตัน หรือ 41.5% และยางสังเคราะห์ 12.6 ล้านตัน หรือ 58.5%
เป็นที่น่าสังเกตว่าสัดส่วนการการใช้ยางสังเคราะห์และยางธรรมชาตินั้น โดยเฉลี่ยจะอยู่ในระดับ ที่ 58 ต่อ 52 ติดต่อกันหลายปี โดยมีการใช้ยางสังเคราะห์สูงกว่ายางธรรมชาติเสมอ ดังนั้น ในขณะที่ราคาน้ำมันยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างปัจจุบัน อนาคตของยางก็ยังคงสดสัยอยู่ ประเทศผู้ผลิตยางจึงยังพัฒนาการผลิตยางอย่างต่อเนื่อง
ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้มากที่สุดคือประเทศไทย โดยในปี 2549 สามารถผลิตได้ถึง 3.1 ล้านตัน หรือ 33.7 % ของการผลิตของโลก ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้รองลงไปจากไทยใน ห้าอันดับแรกของโลกได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม และจีน ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า จีน อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในภูมิภาค หากมีการส่งเสริมการปลูกยางอย่างจริงจังก็จะเป็นคุ่แข่งสำคัญของ ไทยคือ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่เป็นผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ในขณะนี้ ส่วนประเทศข้างบ้านเราอย่างเวียดนาม ก็คงประมาทไม่ได้เช่นกัน
สำหรับการผลิตยางของไทยแม้จะมีผลผลิตมากที่สุดของโลก แต่ไทยใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อยกว่า ประเทศอินโดนีเซีย โดยไทยใช้พื้นที่ปลูกในปี 2549 ประมาณ 14.3 ล้านไร่ ในขณะที่ อินโดนีเซีย ใช้พื้นที่เพาะปลูก 20.5 ซึ่งแสดงว่าผลผลิตต่อไร่ของไทยยังดีกว่าอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามประเทศที่มีการพัฒนาประสิทธิผลการผลิตยางมากที่สุดคือมาเลเซีย ดังนั้นไทยต้องทุ่มเทเรื่องการวิจัยและพัฒนายางให้มากขึ้น ไม่ใช่คิดแต่จะขยายพื้นที่ปลูกแต่อย่างเดียว
ในปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกยางของไทยได้ขยายไปทั่วทุกภูมิภาคโดยภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมานานที่สุดและสำคัญที่สุด ในปี 2549 มีพื้นที่ปลูกใน 14 จังหวัดรวมประมาณ 11 ล้านไร่ โดยปลูกมากที่สุดที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี 1.8 ล้านไร่ รองลงแก่ สตูล นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา พังงา ฯลฯ ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลางมีปลูกใน 10 จังหวัด รวม 1.6 ล้านไร่ ปลูกมากที่สุดที่ จังหวัดระยอง 6 แสนกว่าไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกใน 19 จังหวัด รวม 1.5 ล้านไร่ โดยปลูกมากที่สุดที่จังหวัดหนองคายประมาณ 4 แสนไร่เศษ และภาคเหนือซึ่งปลูกน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ โดยปลูกใน 17 จังหวัด รวมประมาณ 2 แสนไร่เท่านั้น
ทั้งสี่ภาคที่มีการปลูกยางดังกล่าวข้างต้นที่มีการกรีดยางน้อยที่สุดคือภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งแสดงว่ามีการส่งเสริมการปลูกมาไม่นาน เพราะโดยปกติอายุยางที่สามารถกรีดยางได้ดีท่านว่าต้อง เจ็ดปีขึ้นไป แต่ก็มีบางแห่งที่เห็นราคายางดีทนรอรอไม่ไหวจืงกรีดยางก่อนอายุเจ็ดปี ซึ่งจะส่งผลเสียหายในระยะยาว ซึ่งแสดงว่าการส่งเสริมการปลูกยางของทางการมิได้ให้ความรู้และเทคนิคการเปลูกอย่างทั่วถึงและเพียงพอ และยิ่งเกษตรกรได้รับต้นกล้าที่ไม่มีคุณภาพ ตามแรงผลักดันหางการเมืองที่ไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้แล้ว ก็ยิ่งน่าห่วงเกษตรกรชาวสวนยางแบบ มือใหม่ หัด ขับยิ่งนัก และหากแนวโน้มราคาน้ำมันลดลงตามวัฏจักร์ทางเศรษฐกิจเมื่อใดทางการ หรือหน่วยงานทั้งราชการและเอกชนคิดเตรียมไว้บ้างหรือยัง