ตรัง – สมาคมชาวสวนยางจังหวัดตรัง เผยราคายางพารายังอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เชื่อสถานการณ์น่าจะดีต่อไปเรื่อยๆ แต่หวั่นวิกฤตการเมือง อาจมีผลทำให้ราคายางพาราตกลงได้ หากรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้
นายขำ นุชิตศิริภัทรา นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดตรัง เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคายางพาราว่า เป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ถือว่าราคาดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน จึงทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่วนในปี 2551 ก็เชื่อว่าราคาก็จะยังดีต่อไป และสถานการณ์ในขณะนี้เชื่อว่าจะไม่มีคำว่ายางพาราล้นตลาด แล้วฉุดให้ราคาตกลงมาอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ปัจจุบันชาวโลกรับทราบเป็นการทั่วไปแล้วว่า ประเทศไทยส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 จึงได้สั่งซื้อยางพาราในตลาดซื้อขายล่วงหน้าไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งราคายางพาราตามมาตรฐานที่เกษตรกรชาวสวนสามารถอยู่ได้ จะต้องมีราคาไม่ต่ำกว่า 40 บาทต่อกิโลกรัม ในส่วนของไม้ยางพาราก็มีราคาดีมาตลอด โดยมีราคาต่ำสุดไร่ละ 25,000 บาท ไปจนถึงไร่ละ 100,000 บาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไม้ยางพารา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะส่งเสริมให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อนำมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนในอนาคต ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราแต่อย่างใด เพราะพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน กับพื้นที่ปลูกยางพารา เป็นคนละลักษณะกัน สำหรับพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันโดยทั่วไป จะเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกยางพาราได้อยู่แล้ว เนื่องจากต้องเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและมีความชื้น
สำหรับภาพรวมสถานการณ์ยางพารา เชื่อว่า ยังดีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธุรกิจโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราเพื่อการส่งออก ในรูปของเฟอร์นิเจอร์ และของเล่นเด็ก ในพื้นที่จังหวัดตรังก็มีหลายแห่ง ทำให้มีความต้องการไม้ยางพาราสูงมากเช่นกัน จนส่งผลให้ไม้ยางพาราประสบภาวะขาดแคลน และกระทบต่อธุรกิจส่งออกเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา
นายภราดร นุชิตศิริภัทรา เลขานุการสมาคมชาวสวนยางจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ราคายางพาราจะขยับขึ้นไปเล็กน้อย จากนั้น มีแนวโน้มลดลงมาอีกพอสมควร ซึ่งยังวิเคราะห์ไม่ได้ว่าจะเกี่ยวข้องต่อเรื่องการเมืองหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่ายางพารานั้นถือเป็นพืชเศรษฐกิจการเมือง ที่จู่ๆ ก็อาจจะมีราคาตกลงมา และจู่ๆ ก็มีการขยับราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเกมของพ่อค้าบางกลุ่มที่สนับสนุนทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเลือกตั้งที่ผ่านมา สถานการณ์ด้านราคายางพาราโดยทั่วไป ไม่มีอะไรเคลื่อนไหวในลักษณะที่ผิดปกติ แต่ก็คงจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะหลังจากนี้ราคายางพาราอาจจะลดต่ำลงไป ซึ่งอาจเกิดมาจากการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หรือเกิดมาจากการกว้านซื้อยางพาราไว้เก็งกำไรล่วงหน้า หรือเกิดมาจากเหตุผลอื่นใด ที่ยังตอบในขณะนี้ไม่ได้
ส่วนถ้าจะมีผู้ใดออกมาอ้างว่า การที่ยางพารามีราคาตกลง เพราะมีปริมาณออกสู่ตลาดมากเกินไปนั้น เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะยางพาราที่ปลูกในภาคเหนือหรืออีสาน ส่วนใหญ่ยังไม่ให้ผลผลิต และผลผลิตที่ออกมาก็ไม่ค่อยดีนัก เช่นเดียวกับการไปปลูกยางพาราในประเทศลาวหรือเวียดนาม แต่ในเร็วๆ นี้ ประเทศไทยคงจะเสียแชมป์เรื่องการส่งออกยางพารา ให้แก่ทางประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนโดยเฉพาะค่าแรงงานที่ต่ำกว่า
นายขำ นุชิตศิริภัทรา นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดตรัง เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคายางพาราว่า เป็นประวัติการณ์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ถือว่าราคาดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน จึงทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่วนในปี 2551 ก็เชื่อว่าราคาก็จะยังดีต่อไป และสถานการณ์ในขณะนี้เชื่อว่าจะไม่มีคำว่ายางพาราล้นตลาด แล้วฉุดให้ราคาตกลงมาอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ปัจจุบันชาวโลกรับทราบเป็นการทั่วไปแล้วว่า ประเทศไทยส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 จึงได้สั่งซื้อยางพาราในตลาดซื้อขายล่วงหน้าไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งราคายางพาราตามมาตรฐานที่เกษตรกรชาวสวนสามารถอยู่ได้ จะต้องมีราคาไม่ต่ำกว่า 40 บาทต่อกิโลกรัม ในส่วนของไม้ยางพาราก็มีราคาดีมาตลอด โดยมีราคาต่ำสุดไร่ละ 25,000 บาท ไปจนถึงไร่ละ 100,000 บาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของไม้ยางพารา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะส่งเสริมให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อนำมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนในอนาคต ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราแต่อย่างใด เพราะพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน กับพื้นที่ปลูกยางพารา เป็นคนละลักษณะกัน สำหรับพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันโดยทั่วไป จะเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกยางพาราได้อยู่แล้ว เนื่องจากต้องเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและมีความชื้น
สำหรับภาพรวมสถานการณ์ยางพารา เชื่อว่า ยังดีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธุรกิจโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราเพื่อการส่งออก ในรูปของเฟอร์นิเจอร์ และของเล่นเด็ก ในพื้นที่จังหวัดตรังก็มีหลายแห่ง ทำให้มีความต้องการไม้ยางพาราสูงมากเช่นกัน จนส่งผลให้ไม้ยางพาราประสบภาวะขาดแคลน และกระทบต่อธุรกิจส่งออกเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา
นายภราดร นุชิตศิริภัทรา เลขานุการสมาคมชาวสวนยางจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ราคายางพาราจะขยับขึ้นไปเล็กน้อย จากนั้น มีแนวโน้มลดลงมาอีกพอสมควร ซึ่งยังวิเคราะห์ไม่ได้ว่าจะเกี่ยวข้องต่อเรื่องการเมืองหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่ายางพารานั้นถือเป็นพืชเศรษฐกิจการเมือง ที่จู่ๆ ก็อาจจะมีราคาตกลงมา และจู่ๆ ก็มีการขยับราคาสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเกมของพ่อค้าบางกลุ่มที่สนับสนุนทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม สำหรับการเลือกตั้งที่ผ่านมา สถานการณ์ด้านราคายางพาราโดยทั่วไป ไม่มีอะไรเคลื่อนไหวในลักษณะที่ผิดปกติ แต่ก็คงจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะหลังจากนี้ราคายางพาราอาจจะลดต่ำลงไป ซึ่งอาจเกิดมาจากการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ หรือเกิดมาจากการกว้านซื้อยางพาราไว้เก็งกำไรล่วงหน้า หรือเกิดมาจากเหตุผลอื่นใด ที่ยังตอบในขณะนี้ไม่ได้
ส่วนถ้าจะมีผู้ใดออกมาอ้างว่า การที่ยางพารามีราคาตกลง เพราะมีปริมาณออกสู่ตลาดมากเกินไปนั้น เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะยางพาราที่ปลูกในภาคเหนือหรืออีสาน ส่วนใหญ่ยังไม่ให้ผลผลิต และผลผลิตที่ออกมาก็ไม่ค่อยดีนัก เช่นเดียวกับการไปปลูกยางพาราในประเทศลาวหรือเวียดนาม แต่ในเร็วๆ นี้ ประเทศไทยคงจะเสียแชมป์เรื่องการส่งออกยางพารา ให้แก่ทางประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนโดยเฉพาะค่าแรงงานที่ต่ำกว่า