พิษณุโลก – ผู้บริหาร สกย.ระบุ เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน มีความต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางพารา 1 ล้านไร่ ในปี 2551 แต่ยังต้องรอดูนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมของรัฐบาลใหม่ ชี้ อนาคตสดใสหากเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอส่งออกไปแดนมังกร
วันนี้ (23 ม.ค.) นายพิริยะ เอกวานิช รองผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) ประธานเปิดการอบรมหลักสูตร “เทคนิคการกรีดยาง” ที่โรงแรมรัตนวิว จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์สวนยางในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วม มีเป้าหมายเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรที่ปลูกยางพารา ในการเพิ่มผลผลิตและดูแลต้นยางพาราให้มีอายุยืนยาวขึ้น
รองผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์สวนยาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันในกลุ่มนักลงทุนในภาคใต้มีได้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มแทนการปลูกยางพาราอย่างต่อเนื่อง แล้วย้ายไปปลูกเพิ่มในพื้นที่ภาคเหนือและอีสานแทน ซึ่งเวลานี้มีพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นประมาณ 13.5 ล้านไร่ จากพื้นที่ที่มีความเหมาะสมราว 19 ล้านไร่
พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบันแบ่งเป็น ภาคใต้ 10.5 ล้านไร่ ภาคอีสาน 2 ล้านไร่ ภาคตะวันออก 1 ล้านไร่ และภาคเหนือ 5 แสนไร่ โดยขณะนี้พบว่า เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานยังคงมีความต้องการที่จะปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นในปี 2551 อีกประมาณ 1 ล้านไร่ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีอยู่แล้วอย่างละเอียดอีกครั้ง ว่า มีพื้นที่เท่าใดกันแน่ รวมทั้งต้องขึ้นอยู่กับนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ในการส่งเสริมการปลูกยางพาราด้วย
สำหรับผลผลิตน้ำยางพาราของไทยในปีที่ผ่านมานั้น นายพิริยะ กล่าวว่า มีปริมาณผลผลิตทั้งสิ้นประมาณ 3 ล้านตัน โดยร้อยละ 90 ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ แบ่งเป็นส่วนที่ส่งออกไปยังประเทศจีนถึงร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 10 เป็นการใช้ในอุตสาหกรรมผลิตล้อยางภายในประเทศ
ทั้งนี้ ในประเทศจีน มีความต้องการใช้น้ำยางพาราในปีที่ผ่านมาประมาณ 2.3 ล้านตัน ซึ่งหมายความว่า ปริมาณน้ำยางพาราที่ไทยส่งออกไป ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศจีน ดังนั้น หากความต้องการใช้น้ำยางพาราของจีน ยังคงมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นผลดีต่อตลาดยางพาราของไทยในอนาคตด้วย
วันนี้ (23 ม.ค.) นายพิริยะ เอกวานิช รองผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์สวนยาง (สกย.) ประธานเปิดการอบรมหลักสูตร “เทคนิคการกรีดยาง” ที่โรงแรมรัตนวิว จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์สวนยางในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วม มีเป้าหมายเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรที่ปลูกยางพารา ในการเพิ่มผลผลิตและดูแลต้นยางพาราให้มีอายุยืนยาวขึ้น
รองผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์สวนยาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันในกลุ่มนักลงทุนในภาคใต้มีได้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกปาล์มแทนการปลูกยางพาราอย่างต่อเนื่อง แล้วย้ายไปปลูกเพิ่มในพื้นที่ภาคเหนือและอีสานแทน ซึ่งเวลานี้มีพื้นที่ปลูกยางพาราทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้นประมาณ 13.5 ล้านไร่ จากพื้นที่ที่มีความเหมาะสมราว 19 ล้านไร่
พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบันแบ่งเป็น ภาคใต้ 10.5 ล้านไร่ ภาคอีสาน 2 ล้านไร่ ภาคตะวันออก 1 ล้านไร่ และภาคเหนือ 5 แสนไร่ โดยขณะนี้พบว่า เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานยังคงมีความต้องการที่จะปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นในปี 2551 อีกประมาณ 1 ล้านไร่ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีอยู่แล้วอย่างละเอียดอีกครั้ง ว่า มีพื้นที่เท่าใดกันแน่ รวมทั้งต้องขึ้นอยู่กับนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ในการส่งเสริมการปลูกยางพาราด้วย
สำหรับผลผลิตน้ำยางพาราของไทยในปีที่ผ่านมานั้น นายพิริยะ กล่าวว่า มีปริมาณผลผลิตทั้งสิ้นประมาณ 3 ล้านตัน โดยร้อยละ 90 ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ แบ่งเป็นส่วนที่ส่งออกไปยังประเทศจีนถึงร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 10 เป็นการใช้ในอุตสาหกรรมผลิตล้อยางภายในประเทศ
ทั้งนี้ ในประเทศจีน มีความต้องการใช้น้ำยางพาราในปีที่ผ่านมาประมาณ 2.3 ล้านตัน ซึ่งหมายความว่า ปริมาณน้ำยางพาราที่ไทยส่งออกไป ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศจีน ดังนั้น หากความต้องการใช้น้ำยางพาราของจีน ยังคงมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นผลดีต่อตลาดยางพาราของไทยในอนาคตด้วย