ลำปาง - ผช.ศูนย์สงเคราะห์สวนยางลำปาง ชี้อนาคตการปลูกยางพาราในภาคเหนือยังสดใส ตั้งเป้าขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในลำปางปี 55 จำนวน 30,000 ไร่
นายวันชัย เชาวลิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติการสงเคราะห์สวนยาง จังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรในจังหวัดลำปาง ให้ความสนใจปลูกยางพารามากขึ้น จากเดิมตั้งแต่ปี 2547-2550 ทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง ได้มีการปลูกยางพาราไปแล้ว รวม 15,000 ไร่ โดยทั้งหมดขณะนี้สามารถกรีดน้ำยางได้แล้วรวม 40 ไร่ รวม 3 อำเภอ คือ อ.งาว อ.ห้างฉัตร อ.แม่ทะ แต่ละไร่สามารถกรีดน้ำยางได้ 250 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จำหน่ายให้กับโรงงานที่รับซื้อในจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงรายในราคากิโลกรัมละ 87 บาท
นายวันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาจำหน่ายยางพาราแผ่นดิบ ขณะนี้และในอนาคต ยังอยู่ในราคาที่สูง เนื่องจากราคายางขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ ค่าเงิน และราคาน้ำมัน ส่วนการจำหน่ายเกษตรกรสามารถเลือกได้ว่าจะจำหน่ายโดยตรงที่โรงงานรับซื้อที่จังหวัดระยอง หรือจะขายให้กับโรงงานที่ใกล้บ้านที่จังหวัดพะเยาหรือเชียงราย ซึ่งราคาจะต่างกันประมาณ 5-7 บาท ซึ่งก็ถือว่าคุ้มราคา นอกจากขายน้ำยางได้แล้ว เกษตรกรยังสามารถมีรายได้อื่นเสริมด้วยคือ รายได้จากการปลูกพืชผักสวนครัว แซมระหว่างแปลงที่ปลูกยางพาราได้ด้วย
ทั้งนี้ หากในอนาคตมีการปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นจะมีผลต่อราคาหรือไม่นั้น นายวันชัย กล่าวว่า คงไม่มีเพราะปัจจัยราคาไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนมากหรือน้อย เพราะยางพาราสามารถจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้หลากหลาย
ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบหากเกษตรกรจะขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่แม้จะด้อยในเรื่องความชื้นบ้าง เมื่อเทียบกับทางภาคใต้ แต่ก็ไม่มีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพน้ำยางสามารถสู้กับภาคใต้ได้อย่างสบาย
ในส่วนของจังหวัดลำปางได้ตั้งเป้าไว้ในปี 2555 จะขยายพื้นที่ให้ได้ 30,000 ไร่ หากเกษตรกรท่านใดสนใจจะปลูกยางพาราสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดต่างๆได้ที่ ศูนย์ปฎิบัติการสงเคราะห์สวนยางลำปาง ได้ทุกวันเวลาราชการ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯจะส่งเจ้าหน้าที่ออกให้ความรู้ คอยแนะนำ เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง
นายวันชัย เชาวลิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติการสงเคราะห์สวนยาง จังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรในจังหวัดลำปาง ให้ความสนใจปลูกยางพารามากขึ้น จากเดิมตั้งแต่ปี 2547-2550 ทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง ได้มีการปลูกยางพาราไปแล้ว รวม 15,000 ไร่ โดยทั้งหมดขณะนี้สามารถกรีดน้ำยางได้แล้วรวม 40 ไร่ รวม 3 อำเภอ คือ อ.งาว อ.ห้างฉัตร อ.แม่ทะ แต่ละไร่สามารถกรีดน้ำยางได้ 250 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จำหน่ายให้กับโรงงานที่รับซื้อในจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงรายในราคากิโลกรัมละ 87 บาท
นายวันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาจำหน่ายยางพาราแผ่นดิบ ขณะนี้และในอนาคต ยังอยู่ในราคาที่สูง เนื่องจากราคายางขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง คือ ค่าเงิน และราคาน้ำมัน ส่วนการจำหน่ายเกษตรกรสามารถเลือกได้ว่าจะจำหน่ายโดยตรงที่โรงงานรับซื้อที่จังหวัดระยอง หรือจะขายให้กับโรงงานที่ใกล้บ้านที่จังหวัดพะเยาหรือเชียงราย ซึ่งราคาจะต่างกันประมาณ 5-7 บาท ซึ่งก็ถือว่าคุ้มราคา นอกจากขายน้ำยางได้แล้ว เกษตรกรยังสามารถมีรายได้อื่นเสริมด้วยคือ รายได้จากการปลูกพืชผักสวนครัว แซมระหว่างแปลงที่ปลูกยางพาราได้ด้วย
ทั้งนี้ หากในอนาคตมีการปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้นจะมีผลต่อราคาหรือไม่นั้น นายวันชัย กล่าวว่า คงไม่มีเพราะปัจจัยราคาไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนมากหรือน้อย เพราะยางพาราสามารถจำหน่ายให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้หลากหลาย
ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบหากเกษตรกรจะขยายพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่แม้จะด้อยในเรื่องความชื้นบ้าง เมื่อเทียบกับทางภาคใต้ แต่ก็ไม่มีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพน้ำยางสามารถสู้กับภาคใต้ได้อย่างสบาย
ในส่วนของจังหวัดลำปางได้ตั้งเป้าไว้ในปี 2555 จะขยายพื้นที่ให้ได้ 30,000 ไร่ หากเกษตรกรท่านใดสนใจจะปลูกยางพาราสามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดต่างๆได้ที่ ศูนย์ปฎิบัติการสงเคราะห์สวนยางลำปาง ได้ทุกวันเวลาราชการ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯจะส่งเจ้าหน้าที่ออกให้ความรู้ คอยแนะนำ เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง