กระบี่ - เกษตรกรกระบี่แห่ยื่นขอสงเคราะห์ปลูกปาล์มเพิ่ม หลังราคาปาล์มขยับตัวสูงขึ้น ด้าน ผอ.กองทุนสงเคราะห์ ชี้ แน้วโน้มการขอทุนปลูกปาล์มและยางสัดส่วนไล่เลี่ยกัน เหตุราคาจูงใจ
นายสมคิด ศิริเกียรติกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตามที่ทางกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดกระบี่ ได้เปิดให้เกษตรกรยื่นขอทุนการสงเคราะห์ปีงบประมาณ 2551 ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชยืนต้นอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งขณะนี้ได้มีเกษตรกรยื่นความประสงค์ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทนแล้วกว่า 3,000 ไร่ แบ่งเป็น การขอทุนสงเคราะห์ปลูกยางพารา 1,207 ไร่ และ ปาล์มน้ำมัน 843 ไร่ จากเป้าที่ได้ตั้งไว้ ประมาณ 16,500 ไร่ ซึ่งคาดว่าตลอดทั้งปี คงจะมีเกษตรกรเข้ามาขอทุนเป็นจำนวนมาก
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า ในส่วนของปีงบประมาณ 2550 ที่ผ่านมา จำนวนเกษตรกรได้ขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทน มีทั้งสิ้นกว่า 15,832 ไร่ โดยแยกเป็นยางพารา 12,555 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 2,824 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างยางพาราและปาล์มน้ำมันในปี 2550 จะมีสัดส่วนการยื่นขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทนต่างกันมากนับหมื่นไร่แต่ในปี 2551 จะเห็นได้ว่า สัดส่วนที่มีการยื่นขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทน ระหว่างยางพาราและปาล์มน้ำมัน มีสัดส่วนไม่ต่างกันมากนัก แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการเปิดให้ขอทุนเท่านั้น
“สาเหตุที่ทำให้ปีงบประมาณ 2551 การขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทนระหว่างยางพาราและปาล์มน้ำมัน ตัวเลขการยื่นขอทุนไม่ต่างกันมากนัก เมื่อเทียบกับสัดส่วนหลายปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากในปี 2550-2551 ที่ผ่านมา เกือบทั้งปีราคาปาล์มน้ำมัน ได้ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนราคาทะลุถึง 6 บาทกว่า ซึ่งถือว่าราคาสูงสุดทั้งแต่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมา จึงทำให้ปีงบประมาณ 2551 เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มเพิ่มขึ้น ส่วนยางพาราทางเกษตรกรยังปลูกอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาก็ยังดีอยู่ และที่สำคัญ เมื่อไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็ยังสามารถขายต้นยางได้อีกทางหนึ่ง”
นายสมคิด กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางกองทุนได้ให้ทุนการสงเคราะห์สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ซึ่งเป็นทุนต่อเนื่องกว่า 10,600 ราย ยางพารา 82,130 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 34,665 ไร่ รวม 111,5000 ไร่
นอกจากนี้ ผู้ที่ยื่นขอทุนสงเคราะห์ใหม่ จะได้รับเงินสงเคราะห์ ไร่ละ 9,000 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 700 บาท จากที่จ่ายอยู่ 7,300 บาท และว่าขณะนี้เกษตรได้ยืนขอทุนสงเคราะห์การปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น เพราะว่าราคาปาล์มน้ำมันสูงขึ้นจึงเป็นแรงจูงใจให้มีการปลูกเพิ่ม
นายสมคิด ศิริเกียรติกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตามที่ทางกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดกระบี่ ได้เปิดให้เกษตรกรยื่นขอทุนการสงเคราะห์ปีงบประมาณ 2551 ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชยืนต้นอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งขณะนี้ได้มีเกษตรกรยื่นความประสงค์ขอทุนสงเคราะห์ปลูกแทนแล้วกว่า 3,000 ไร่ แบ่งเป็น การขอทุนสงเคราะห์ปลูกยางพารา 1,207 ไร่ และ ปาล์มน้ำมัน 843 ไร่ จากเป้าที่ได้ตั้งไว้ ประมาณ 16,500 ไร่ ซึ่งคาดว่าตลอดทั้งปี คงจะมีเกษตรกรเข้ามาขอทุนเป็นจำนวนมาก
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า ในส่วนของปีงบประมาณ 2550 ที่ผ่านมา จำนวนเกษตรกรได้ขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทน มีทั้งสิ้นกว่า 15,832 ไร่ โดยแยกเป็นยางพารา 12,555 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 2,824 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างยางพาราและปาล์มน้ำมันในปี 2550 จะมีสัดส่วนการยื่นขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทนต่างกันมากนับหมื่นไร่แต่ในปี 2551 จะเห็นได้ว่า สัดส่วนที่มีการยื่นขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทน ระหว่างยางพาราและปาล์มน้ำมัน มีสัดส่วนไม่ต่างกันมากนัก แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการเปิดให้ขอทุนเท่านั้น
“สาเหตุที่ทำให้ปีงบประมาณ 2551 การขอทุนสงเคราะห์ปลูกทดแทนระหว่างยางพาราและปาล์มน้ำมัน ตัวเลขการยื่นขอทุนไม่ต่างกันมากนัก เมื่อเทียบกับสัดส่วนหลายปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากในปี 2550-2551 ที่ผ่านมา เกือบทั้งปีราคาปาล์มน้ำมัน ได้ขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนราคาทะลุถึง 6 บาทกว่า ซึ่งถือว่าราคาสูงสุดทั้งแต่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมา จึงทำให้ปีงบประมาณ 2551 เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มเพิ่มขึ้น ส่วนยางพาราทางเกษตรกรยังปลูกอย่างต่อเนื่อง เพราะราคาก็ยังดีอยู่ และที่สำคัญ เมื่อไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก็ยังสามารถขายต้นยางได้อีกทางหนึ่ง”
นายสมคิด กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางกองทุนได้ให้ทุนการสงเคราะห์สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ซึ่งเป็นทุนต่อเนื่องกว่า 10,600 ราย ยางพารา 82,130 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 34,665 ไร่ รวม 111,5000 ไร่
นอกจากนี้ ผู้ที่ยื่นขอทุนสงเคราะห์ใหม่ จะได้รับเงินสงเคราะห์ ไร่ละ 9,000 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิม 700 บาท จากที่จ่ายอยู่ 7,300 บาท และว่าขณะนี้เกษตรได้ยืนขอทุนสงเคราะห์การปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น เพราะว่าราคาปาล์มน้ำมันสูงขึ้นจึงเป็นแรงจูงใจให้มีการปลูกเพิ่ม