ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เกษตรกรสวนกระแสราคายางที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เบนเข็มสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
นายบันเทิง ถึงอิน ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์การทำเกษตรสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต การทำสวนยางพารามีการลดพื้นที่ โดยการสำรวจล่าสุดเหลือเพียง 7,369 ราย พื้นที่ 108,302 ไร่ จากตัวเลขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ เพื่อการจ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทน ทำให้ทราบถึงการลดลงของพื้นที่การทำสวนยางในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่ได้กลายเป็นบ้านจัดสรร
นายบันเทิง กล่าวต่อว่า พื้นที่เพาะปลูกยางพารามีการปรับลดลงอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยเดือนละ 10-20 ไร่ แม้ปัจจุบันยางแผ่นจะมีราคาสูงขึ้นถึง 79 บาท/กิโลกรัม และแนวโน้มในอนาคตข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี ยังมีโอกาสที่จะสูงขึ้นไปอย่างต่อเนื่องก็ตาม ทั้งนี้ เกิดจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต ที่ทำให้ราคาที่ดินมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเกษตรกรที่ทำสวนยางอยู่เดิมจะเบนเข็มการทำสวนยางไปทำอย่างแทน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้ปรับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยางพันธ์ดีแก่เกษตรกรที่โค่นยางที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เพื่อปลูกใหม่
โดยสำนักงานกองทุนฯ มีเป้าที่จะให้การสงเคราะห์จำนวน 2,500 ไร่ ขณะที่ปัจจุบันมีผู้ประสงค์ยื่นขอทุนสงเคราะห์เพียง 323 ไร่ ซึ่งหากเกษตรกรสวนยางท่านใดมีความประสงค์สามารถยื่นหลักฐานที่ดิน ยื่นขอได้ที่ สนง.กองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยาง จังหวัดภูเก็ตได้ทุกวันในเวลาราชการ
นายบันเทิง ถึงอิน ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์การทำเกษตรสวนยางพาราในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต การทำสวนยางพารามีการลดพื้นที่ โดยการสำรวจล่าสุดเหลือเพียง 7,369 ราย พื้นที่ 108,302 ไร่ จากตัวเลขการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ เพื่อการจ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทน ทำให้ทราบถึงการลดลงของพื้นที่การทำสวนยางในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งส่วนใหญ่ได้กลายเป็นบ้านจัดสรร
นายบันเทิง กล่าวต่อว่า พื้นที่เพาะปลูกยางพารามีการปรับลดลงอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยเดือนละ 10-20 ไร่ แม้ปัจจุบันยางแผ่นจะมีราคาสูงขึ้นถึง 79 บาท/กิโลกรัม และแนวโน้มในอนาคตข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 5 ปี ยังมีโอกาสที่จะสูงขึ้นไปอย่างต่อเนื่องก็ตาม ทั้งนี้ เกิดจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดภูเก็ต ที่ทำให้ราคาที่ดินมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเกษตรกรที่ทำสวนยางอยู่เดิมจะเบนเข็มการทำสวนยางไปทำอย่างแทน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้ปรับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยยางพันธ์ดีแก่เกษตรกรที่โค่นยางที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เพื่อปลูกใหม่
โดยสำนักงานกองทุนฯ มีเป้าที่จะให้การสงเคราะห์จำนวน 2,500 ไร่ ขณะที่ปัจจุบันมีผู้ประสงค์ยื่นขอทุนสงเคราะห์เพียง 323 ไร่ ซึ่งหากเกษตรกรสวนยางท่านใดมีความประสงค์สามารถยื่นหลักฐานที่ดิน ยื่นขอได้ที่ สนง.กองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยาง จังหวัดภูเก็ตได้ทุกวันในเวลาราชการ