ผู้จัดการรายวัน-เกษตรกรยันราคาหมูหน้าฟาร์มขณะนี้เหมาะสม ผู้เลี้ยงมีกำไรคุ้มต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ต้องแบกภาระขาดทุนอ่วมมากว่า 14 เดือน เผยเหตุหมูแพง เพราะเขียงหมูกำไรอื้อ บวกเพิ่มกำไรจากการขายส่วนต่างๆ ของหมูตั้งแต่กิโลละ 5-22 บาท วัดใจพาณิชย์กล้าสั่งลดกำไรของเขียงหมูหรือไม่
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า วานนี้ (25 ก.พ.) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เชิญสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจากจังหวัดต่างๆ มาหารือเรื่องการปรับราคาสุกรมีชีวิตให้เกิดความเป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตและสภาพการค้าที่แท้จริง โดยมีผู้มาเข้าร่วมประมาณ 300 คน แต่นายมิ่งขวัญไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ เนื่องจากป่วยกระทันหัน
นายกิตติวงค์ สมบุญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า เกษตรกรได้ยืนยันถึงราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 58 บาทในขณะนี้ เพราะคุ้มต้นทุน ทำให้ผู้เลี้ยงอยู่ได้ จากที่ต้องประสบกับภาวะขาดทุนมาตั้งแต่ปลายปี 2549 จนถึงสิ้นปี 2550 เป็นระยะเวลา 14 เดือน โดยก่อนหน้าต้นทุนการผลิตอยู่ที่ตัวละ (100 กก.) 4,559 บาท ราคาขายสุกรขุนอยู่ที่ตัวละ 3,805 บาท ขาดทุนตัวละ 754 บาท แต่ขณะนี้ขายได้ตัวละ 5,800 บาท ต้นทุนอยู่ที่ 5,481.56 บาท มีกำไรตัวละ 318.44 บาท และกระทรวงพาณิชย์ จะต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ก็ต้องยอมให้ปรับราคาหน้าฟาร์มขึ้นตามไปด้วย
โดยขณะนี้ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาเฉลี่ยเดือนม.ค. อยู่ที่ 8.70 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 13.57% ปลายข้าวเลี้ยงสัตว์ 10.02 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 24.93% รำละเอียด 8.56 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 11.11% กากถั่วเหลือง 17.44 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 60.58% ปลาป่น 58% ราคา 26 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 13.04% มันป่น 5.95 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 40%
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกันถึงการปรับสูตรราคาหมูใหม่ ซึ่งจากเดิมจะใช้สูตรราคาสุกรมีชีวิต คูณ 2 บวก 2 เป็นราคาขายปลีก และจะใช้สูตรใหม่ เป็นคูณ 80% บวก 2 ซึ่งเกษตรกรเห็นว่า การแก้ไขปัญหาน่าจะมีใช้สูตรเดิมคือคูณ 2 แต่ จะบวกลบได้ 2-4 บาท ตามราคาหมูเป็น โดยมีเกณฑ์ขั้นสูงขั้นต่ำของราคาหมูเป็น คือ หากราคาต่ำกว่า 35 บาทต่อกก. ก็ให้บวกเพิ่ม แต่ราคาเกินกว่า 55 บาทต่อกก. ก็ให้ลบ ส่วนจะบวกหรือลบกี่บาทนั้น ต้องคุยกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่ราคาหมูแพง เพราะโรงชำแหละได้ส่วนต่างมากนั้น จริงๆ แล้วโรงชำแหละที่รับหมูตัว 100 กิโลกรัมมาชำแหละ จะได้ส่วนที่ใช้ได้ทั้งสิ้น 90 กิโลกรัม หายไป 10 กิโลกรัม และจะได้กำไรจากการชำแหละตัวละ 38.50 บาทเท่านั้น และราคาที่ขายก็มีราคาแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าจะเป็นส่วนไหนของหมู
ยกตัวอย่างเช่น สันใน สันนอก ราคาจากโรงชำแหละส่ง 107 บาท เขียงหมูขาย 120 บาท ไหล่หน้า สะโพกหลัง สามชั้น ต้นคอ ซี่โครง และกระดูกอ่อน โรงชำแหละขายส่ง 93 บาท เขียงหมูขาย 115 บาท แคปไหล่ แคปสะโพก แคปคอ ส่ง 35 เขียง ขาย 40 บาท หัวใจ กระเพาะ ส่ง 80 เขียงขาย 90 บาท คอหมูย่าง ส่ง 93 เขียงขาย 115 บาท เป็นต้น
ดังนั้น หากต้องการจะปรับลดราคาเนื้อหมูลงมา กระทรวงพาณิชย์จะกล้าไปปรับส่วนกำไรที่เขียงหมูได้หรือไม่ โดยขณะนี้หมูหนึ่งตัว เขียงหมูจะได้กำไรถึงตัวละ 839 บาท จากการขายทุกส่วนของหมู แต่หากปรับไปใช้สูตรใหม่ เขียงหมูจะมีกำไรลดลงเหลือตัวละ 377 บาทเท่านั้น
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า จะเชิญผู้ผลิตอาหารสัตว์มาหารือถึงสถานการณ์วัตถุดิบ รวมทั้งจะเชิญโรงชำแหละ และเขียงหมู มาหารือ เพื่อหาทางทำให้ราคาหมูมีราคาสอดคล้องกับความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า วานนี้ (25 ก.พ.) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เชิญสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจากจังหวัดต่างๆ มาหารือเรื่องการปรับราคาสุกรมีชีวิตให้เกิดความเป็นธรรม สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตและสภาพการค้าที่แท้จริง โดยมีผู้มาเข้าร่วมประมาณ 300 คน แต่นายมิ่งขวัญไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ เนื่องจากป่วยกระทันหัน
นายกิตติวงค์ สมบุญธรรม เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า เกษตรกรได้ยืนยันถึงราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มที่กิโลกรัมละ 58 บาทในขณะนี้ เพราะคุ้มต้นทุน ทำให้ผู้เลี้ยงอยู่ได้ จากที่ต้องประสบกับภาวะขาดทุนมาตั้งแต่ปลายปี 2549 จนถึงสิ้นปี 2550 เป็นระยะเวลา 14 เดือน โดยก่อนหน้าต้นทุนการผลิตอยู่ที่ตัวละ (100 กก.) 4,559 บาท ราคาขายสุกรขุนอยู่ที่ตัวละ 3,805 บาท ขาดทุนตัวละ 754 บาท แต่ขณะนี้ขายได้ตัวละ 5,800 บาท ต้นทุนอยู่ที่ 5,481.56 บาท มีกำไรตัวละ 318.44 บาท และกระทรวงพาณิชย์ จะต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ก็ต้องยอมให้ปรับราคาหน้าฟาร์มขึ้นตามไปด้วย
โดยขณะนี้ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาเฉลี่ยเดือนม.ค. อยู่ที่ 8.70 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 13.57% ปลายข้าวเลี้ยงสัตว์ 10.02 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 24.93% รำละเอียด 8.56 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 11.11% กากถั่วเหลือง 17.44 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 60.58% ปลาป่น 58% ราคา 26 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 13.04% มันป่น 5.95 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 40%
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกันถึงการปรับสูตรราคาหมูใหม่ ซึ่งจากเดิมจะใช้สูตรราคาสุกรมีชีวิต คูณ 2 บวก 2 เป็นราคาขายปลีก และจะใช้สูตรใหม่ เป็นคูณ 80% บวก 2 ซึ่งเกษตรกรเห็นว่า การแก้ไขปัญหาน่าจะมีใช้สูตรเดิมคือคูณ 2 แต่ จะบวกลบได้ 2-4 บาท ตามราคาหมูเป็น โดยมีเกณฑ์ขั้นสูงขั้นต่ำของราคาหมูเป็น คือ หากราคาต่ำกว่า 35 บาทต่อกก. ก็ให้บวกเพิ่ม แต่ราคาเกินกว่า 55 บาทต่อกก. ก็ให้ลบ ส่วนจะบวกหรือลบกี่บาทนั้น ต้องคุยกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่ราคาหมูแพง เพราะโรงชำแหละได้ส่วนต่างมากนั้น จริงๆ แล้วโรงชำแหละที่รับหมูตัว 100 กิโลกรัมมาชำแหละ จะได้ส่วนที่ใช้ได้ทั้งสิ้น 90 กิโลกรัม หายไป 10 กิโลกรัม และจะได้กำไรจากการชำแหละตัวละ 38.50 บาทเท่านั้น และราคาที่ขายก็มีราคาแตกต่างกัน แล้วแต่ว่าจะเป็นส่วนไหนของหมู
ยกตัวอย่างเช่น สันใน สันนอก ราคาจากโรงชำแหละส่ง 107 บาท เขียงหมูขาย 120 บาท ไหล่หน้า สะโพกหลัง สามชั้น ต้นคอ ซี่โครง และกระดูกอ่อน โรงชำแหละขายส่ง 93 บาท เขียงหมูขาย 115 บาท แคปไหล่ แคปสะโพก แคปคอ ส่ง 35 เขียง ขาย 40 บาท หัวใจ กระเพาะ ส่ง 80 เขียงขาย 90 บาท คอหมูย่าง ส่ง 93 เขียงขาย 115 บาท เป็นต้น
ดังนั้น หากต้องการจะปรับลดราคาเนื้อหมูลงมา กระทรวงพาณิชย์จะกล้าไปปรับส่วนกำไรที่เขียงหมูได้หรือไม่ โดยขณะนี้หมูหนึ่งตัว เขียงหมูจะได้กำไรถึงตัวละ 839 บาท จากการขายทุกส่วนของหมู แต่หากปรับไปใช้สูตรใหม่ เขียงหมูจะมีกำไรลดลงเหลือตัวละ 377 บาทเท่านั้น
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า จะเชิญผู้ผลิตอาหารสัตว์มาหารือถึงสถานการณ์วัตถุดิบ รวมทั้งจะเชิญโรงชำแหละ และเขียงหมู มาหารือ เพื่อหาทางทำให้ราคาหมูมีราคาสอดคล้องกับความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค