การบ้านการเมืองเริ่มที่จะเข้าที่เข้าทาง และกำลังจะเดินหน้าเต็มสูบนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เมื่อ “นโยบายรัฐบาลสมัคร 1” ได้แถลงวันนี้เป็นวันสุดท้าย และเริ่มต้นทำงานกันได้หลังจาก “จัดกระบวนทัพ” ในการกำหนดทิศทาง นโยบาย และกำลังคนเป็นที่เรียบร้อย
ก่อนอื่นต้องขอชื่นชม นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ที่ใครๆ อาจจะ “คิดไม่ถึง!” ว่าจะสามารถกำหนดบทบาทในการเป็น “นายกรัฐมนตรี” อย่างแท้จริง และคงไม่สำคัญเท่ากับ “สภาวะผู้นำ” โดยมีส่วนสำคัญในการ “กลั่นกรอง-ตัดสินใจ” กับทั้งตำแหน่ง “รัฐมนตรี-ที่ปรึกษา-เลขารัฐมนตรี” ที่ต้องการให้ออกมาดูดี เนื่องด้วยคุณสมัคร สุนทรเวช เข้าใจดีว่า “ภาพลักษณ์” เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเมือง
เท่านั้นยังไม่พอ ยัง “ติดดิสเบรก” กับการนำ “กลุ่มบ้านเลขที่ 111” มิให้เข้าไปเป็นกรรมการบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ทั้งๆ ที่อาจจะสามารถดำเนินการได้ในทางกฎหมาย แต่ในทาง “ความรู้สึก-อารมณ์” เชิงรัฐศาสตร์แล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง
จากกรณีทั้งหมดต้องขอกล่าว “ชื่นชม” นายกรัฐมนตรีสมัคร อย่างตรงไปตรงมาว่า “กล้า” และ “เป็นตัวของตัวเอง!” ที่ยึดมั่นใน “หลักการ” ทั้งทางการเมืองและ “การบริหารงานบุคคล” ที่ “เลือกคัดสรรคนให้เหมาะกับงาน” ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Put The Right Man on The Right Job”
แต่ที่สำคัญที่สุดอาจต้องใช้คำว่า “สดุดี” ต่อนายกฯ สมัคร สุนทรเวช คือ การไม่ยอมให้ใครมีอำนาจ “กดปุ่ม” และ/หรือ “ครอบงำ” แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จนกลายเป็น “หุ่นเชิด” ไปในที่สุด อย่างน้อยต้อง “มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ” ซึ่งก็ต้องขอบอกว่า “ได้ใจ!” บรรดาผู้คนที่เฝ้าติดตามสภาวะการเมืองอย่างใจจดใจจ่อ พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า ท่านนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เคยประกาศไว้ชัดเจนว่าเป็น “นอมินี” แต่ในที่สุด เมื่อถึงเส้นชัยกับเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแล้ว นายกฯ สมัคร เป็น “นายกรัฐมนตรี” จริงๆ เสียที
อย่างไรก็ตาม ขอเสริมต่อว่า คุณสมัคร สุนทรเวช เดินอยู่บน “ถนนสายการเมือง” ยาวนานนับหลายสิบปี ไต่เต้ามาตั้งแต่นักการเมืองเล็กๆ จนปัจจุบันใหญ่บะละฮึ่ม ได้คว้าดวงดาวเรียบร้อย ด้วยอายุอานามก็มากถึง 72 ปี ดังนั้นเราต่างมั่นใจว่า นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช จะสร้างวีรกรรมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ดีที่สุด และก้าวลงจากตำแหน่งด้วย “ความสง่างาม!”
“เศรษฐกิจ” และ “ธรรมาภิบาล” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลชุดนี้ ที่ประชาชนคนไทยทุกระดับชั้นต่าง “เฝ้าจับตามอง” ด้วย “การให้โอกาส” และที่สำคัญที่สุดคือ “ผลงาน” ที่จะต้องเร่งเดินหน้ากันอย่างเต็มที่ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและสร้างความเชื่อมั่น แก่นักลงทุนทั้งไทยและเทศ ทั้งนี้ ถ้าเมื่อใดเกิด “ความไม่ชอบมาพากล” และ “อื้อฉาว” เกี่ยวกับ “การทุจริตคอร์รัปชัน” เมื่อนั้นเราก็คงสามารถนับถอยหลังกับรัฐบาลได้เลย เนื่องด้วย “การเมืองภาคประชาชน” และ “ความลับไม่มีในโลก!” จะโผล่ออกมาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การเฝ้าระวัง” ของบรรดาสื่อมวลชน นักวิชาการ และฝ่ายตรงข้าม ที่ “จ้องตาไม่กะพริบ” อย่างแน่นอน!
“แสงแดด” ต้องขอถอดใจให้กับนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ว่า “คงระวังตัว” ทุกฝีก้าว และแน่นอนต้อง “เร่งสร้างผลงาน” โดยเฉพาะกับ “ทีมเศรษฐกิจ” ที่ต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป ทั้งทางด้านการกระตุ้นการบริโภค การลงทุน แต่ที่จะ “เขี้ยวลากดิน” ที่สุด ทดสอบฝีมือ “ทีมเศรษฐกิจ” โดยเฉพาะรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กับ “ตลาดเงิน-ตลาดทุน” ที่ “ผันผวน” อย่างมากกับ “กระแสการไหลเวียนของเงินทุนโลก” ที่ขออนุญาตสะเออะแนะนำว่า “ทีมเศรษฐกิจ” ต้อง “เกาะติด” แบบตาห้ามกะพริบอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้น จะ “ไม่ทันเกม!”
สภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2008 นี้ ต้องขอยอมรับว่า “น่าเป็นห่วง!” อย่างมาก โดยเฉพาะ “การถดถอย” ที่เลยเถิดไปจากการชะลอตัวแล้วของ “สภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ” ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ระดับ 2-2.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เนื่องด้วย “ปัญหาซับไพรม์-หนี้สินด้อยคุณภาพด้านอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งทำให้การบริโภคจะลดน้อยลง!
ในขณะเดียวกัน สภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นและอาจลามเลยเถิดไปถึงกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอาจ “ชะลอตัว” ตามสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน โดยน่าเชื่อว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ “จีดีพี” จะอยู่ที่ระดับ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
คำถามสำคัญก็คือว่า เมื่อสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มยุโรปและญี่ปุ่นเกิดการชะลอตัว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ “อุตสาหกรรมการส่งออก” ของไทยในปี 2008 นี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้น ซึ่งก็ต้องขอให้กำลังใจ “คุณมิ่ง” มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่คงใช้ “เทคนิคการตลาด” อย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องลงลึกถึง “กลไก-ฟันเฟือง” นานาสารพัดกับกระบวนการผลิตภายในประเทศ ตลอดจน “หาตลาดใหม่!” พร้อมทั้ง “เดินสายโรดโชว์” สร้างความเชื่อมั่น แต่สำคัญที่สุด คือ “ราคา-คุณภาพ” ของสินค้าที่ต้อง “แข่งขัน” กับ “ตลาดโลก!” ได้ แต่เอาเถอะ! “แสงแดด” ขอให้กำลังใจในการทุ่มเทการทำงานของรัฐมนตรีฯ พาณิชย์คนใหม่ที่ต้อง “เหนื่อยรากเลือด!”
“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” เป็น “ตัวพระเอก” หลักอีกตัวหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” นี้เป็น “กลไก” สำคัญของ “เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย” มาอย่างยาวนานนับหลายสิบปี เรียกว่า แทบทุกยุคทุกสมัย จะเป็น “ฟันเฟือง” สำคัญตัวหนึ่งกับ “การพยุงเศรษฐกิจ” ที่ทำรายได้ให้กับประเทศชาติปีละนับหลายแสนล้านบาท
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า “อุตสาหกรรมการส่งออก” และ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ต่างเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติปีละไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เพียงแต่ว่า “การแข่งขัน” ของวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นไม่ยากเท่าอุตสาหกรรมการส่งออก และไม่สำคัญเท่ากับว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น ไม่ต้องอาศัยเงินลงทุนมากมายนัก เพียงแต่รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา พร้อมกับการรณรงค์ให้ประชาชนคนไทยเป็น “เจ้าบ้านที่ดี!” คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ในช่วงระยะหลังๆ นี้ต้องยอมรับว่า “ทำงานหนักมาก!” ด้วยการระดมสรรพกำลังทุกทาง ไม่ว่า “ความคิดสร้างสรรค์” และกำหนดกิจกรรมต่างๆ ตลอดจน “เดินสาย” เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา เพราะเราอย่าลืมว่า “เม็ดเงิน” ที่นักท่องเที่ยวนำมาจับจ่ายใช้สอยตามแหล่งท่องเที่ยวนั้น ร้อยละ 80 เป็น “เงินสด” ที่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ทุกภาคส่วน ไม่ว่า “ภาคการผลิต-ภาคการบริการ-ภาคการบริโภค” แต่คงไม่สำคัญเท่ากับ “ภาคแรงงาน” ที่กระจายอยู่ทั่วไป ทั้ง ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านค้า สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โรงแรม ที่พัก แม้กระทั่งระบบการขนส่ง
เมื่อปี 2550 ทาง ททท.มีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 14 ล้านคนกว่าๆ สร้างรายได้ประมาณ 6 แสนล้านบาท และปีนี้เท่าที่ได้ฟังข้อมูลจากท่านผู้ว่าฯ ททท. พรศิริ มโนหาญ ตั้งใจจะไต่ให้ถึง 16 ล้านคน ในปี 2551 นี้ และตั้งเป้ารายได้ให้สูงถึง 8 แสนล้านบาท
แทบจะทุกทวีปทั่วโลก ททท. “เดินสายโรดโชว์” เรียกว่า ทั้งท่านผู้ว่าฯ ททท.และเจ้าหน้าที่ระดับสูง “ชีพจรลงเท้า!” เดินทางรณรงค์เชิญชวนนักท่องเที่ยวไปทั่วโลก จนเกือบจำหน้ากันไม่ได้ แต่ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับคุณพรศิริ มโนหาญ ที่สอบผ่านการดำรงแหน่งผู้ว่าฯ ททท.ถึงสองครั้งสองครา เรียกว่า “ประสบความสำเร็จ” กับตำแหน่งและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้
ขณะนี้เราก็ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาใหม่เอี่ยมอ่อง คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ที่จดๆ จ้องๆ จะเป็นรัฐมนตรีมานานนับหลายปี คราวนี้ก็สมหวัง ทั้งนี้ ดูหน่วยก้านของรัฐมนตรี วีระศักดิ์ แล้ว “แสงแดด” เท่าที่เคยได้สัมผัสมาก็มีความตั้งใจ และเป็นคนรุ่นใหม่ ที่น่าจะ “สานต่อ” นโยบายการท่องเที่ยวให้รุดหน้าไปได้ด้วยดี โดยกำหนดแคมเปญใหม่ทันทีว่า “ประทับใจไทยแลนด์” ที่น่าจะเป็นแนวคิดสอดคล้องกับรัฐมนตรีคนที่แล้ว กับผู้ว่าฯ ททท.
ทั้งนี้แนวทางการดำเนินงาน ภายใต้การกำกับดูแลจะเน้น 3 เรื่องหลัก คือ หนึ่ง การรักษาภาพรวม ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อตอกย้ำความแข็งแกร่งและต่อเนื่อง ให้เกิดความชัดเจนและนำไปสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ มีความยั่งยืน เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สอง ความหวัง ตามเป้าหมายทางการตลาด ซึ่งรวมรายได้จากตลาดในประเทศและต่างประเทศ เกือบล้านล้านบาท ซึ่งหากการท่องเที่ยวพัฒนาให้ดี จะเป็นความหวังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และสาม แนวทางการทำงาน เน้นความไว้วางใจ อาศัยหลักธรรมาภิบาลและใช้ประโยชน์จากกฎหมายเป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา คนใหม่ ยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้วิธีการนำเสนอในเชิงการตลาด ควรมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามความต้องการ เน้นไปที่การทำตลาดท่องเที่ยวแบบเชิงรุกมากขึ้น โดยเสนอให้มีการจัดทำบัญชีแหล่งท่องเที่ยว ที่มีความสะดวก สะอาด ปลอดภัยและรักษาเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเดินทาง และให้ความประทับใจอย่างที่นักท่องเที่ยวพอใจ พร้อมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่กลุ่มตลาดบนและมีความคิดริเริ่มให้ เร่งสร้างคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มต่างๆ
ทั้งยังมีแนวคิดให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการท่องเที่ยวและการลงทุน” โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน และเป็นโอกาสในการพัฒนาบริการเชิงคุณภาพ และเกิดความ มั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีความเชื่อมั่นว่า ททท. เป็นหน่วยงานที่มีผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอที่จะพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นในด้านการท่องเที่ยว
“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” น่าจะเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้ อาจไปแตะที่หลัก 1 ล้านล้านบาท ภายในสองสามปีนี้ก็เป็นได้ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ต้องสนับสนุนเต็มที่ ห้ามเมินเด็ดขาดว่าต่างพรรค แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ททท.ก็เป็นกลไกที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว!
ก่อนอื่นต้องขอชื่นชม นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ที่ใครๆ อาจจะ “คิดไม่ถึง!” ว่าจะสามารถกำหนดบทบาทในการเป็น “นายกรัฐมนตรี” อย่างแท้จริง และคงไม่สำคัญเท่ากับ “สภาวะผู้นำ” โดยมีส่วนสำคัญในการ “กลั่นกรอง-ตัดสินใจ” กับทั้งตำแหน่ง “รัฐมนตรี-ที่ปรึกษา-เลขารัฐมนตรี” ที่ต้องการให้ออกมาดูดี เนื่องด้วยคุณสมัคร สุนทรเวช เข้าใจดีว่า “ภาพลักษณ์” เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเมือง
เท่านั้นยังไม่พอ ยัง “ติดดิสเบรก” กับการนำ “กลุ่มบ้านเลขที่ 111” มิให้เข้าไปเป็นกรรมการบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ทั้งๆ ที่อาจจะสามารถดำเนินการได้ในทางกฎหมาย แต่ในทาง “ความรู้สึก-อารมณ์” เชิงรัฐศาสตร์แล้ว ไม่สมควรอย่างยิ่ง
จากกรณีทั้งหมดต้องขอกล่าว “ชื่นชม” นายกรัฐมนตรีสมัคร อย่างตรงไปตรงมาว่า “กล้า” และ “เป็นตัวของตัวเอง!” ที่ยึดมั่นใน “หลักการ” ทั้งทางการเมืองและ “การบริหารงานบุคคล” ที่ “เลือกคัดสรรคนให้เหมาะกับงาน” ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Put The Right Man on The Right Job”
แต่ที่สำคัญที่สุดอาจต้องใช้คำว่า “สดุดี” ต่อนายกฯ สมัคร สุนทรเวช คือ การไม่ยอมให้ใครมีอำนาจ “กดปุ่ม” และ/หรือ “ครอบงำ” แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จนกลายเป็น “หุ่นเชิด” ไปในที่สุด อย่างน้อยต้อง “มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ” ซึ่งก็ต้องขอบอกว่า “ได้ใจ!” บรรดาผู้คนที่เฝ้าติดตามสภาวะการเมืองอย่างใจจดใจจ่อ พูดง่ายๆ ก็หมายความว่า ท่านนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เคยประกาศไว้ชัดเจนว่าเป็น “นอมินี” แต่ในที่สุด เมื่อถึงเส้นชัยกับเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแล้ว นายกฯ สมัคร เป็น “นายกรัฐมนตรี” จริงๆ เสียที
อย่างไรก็ตาม ขอเสริมต่อว่า คุณสมัคร สุนทรเวช เดินอยู่บน “ถนนสายการเมือง” ยาวนานนับหลายสิบปี ไต่เต้ามาตั้งแต่นักการเมืองเล็กๆ จนปัจจุบันใหญ่บะละฮึ่ม ได้คว้าดวงดาวเรียบร้อย ด้วยอายุอานามก็มากถึง 72 ปี ดังนั้นเราต่างมั่นใจว่า นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช จะสร้างวีรกรรมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ดีที่สุด และก้าวลงจากตำแหน่งด้วย “ความสง่างาม!”
“เศรษฐกิจ” และ “ธรรมาภิบาล” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลชุดนี้ ที่ประชาชนคนไทยทุกระดับชั้นต่าง “เฝ้าจับตามอง” ด้วย “การให้โอกาส” และที่สำคัญที่สุดคือ “ผลงาน” ที่จะต้องเร่งเดินหน้ากันอย่างเต็มที่ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและสร้างความเชื่อมั่น แก่นักลงทุนทั้งไทยและเทศ ทั้งนี้ ถ้าเมื่อใดเกิด “ความไม่ชอบมาพากล” และ “อื้อฉาว” เกี่ยวกับ “การทุจริตคอร์รัปชัน” เมื่อนั้นเราก็คงสามารถนับถอยหลังกับรัฐบาลได้เลย เนื่องด้วย “การเมืองภาคประชาชน” และ “ความลับไม่มีในโลก!” จะโผล่ออกมาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การเฝ้าระวัง” ของบรรดาสื่อมวลชน นักวิชาการ และฝ่ายตรงข้าม ที่ “จ้องตาไม่กะพริบ” อย่างแน่นอน!
“แสงแดด” ต้องขอถอดใจให้กับนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ว่า “คงระวังตัว” ทุกฝีก้าว และแน่นอนต้อง “เร่งสร้างผลงาน” โดยเฉพาะกับ “ทีมเศรษฐกิจ” ที่ต้องเร่งฟื้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไป ทั้งทางด้านการกระตุ้นการบริโภค การลงทุน แต่ที่จะ “เขี้ยวลากดิน” ที่สุด ทดสอบฝีมือ “ทีมเศรษฐกิจ” โดยเฉพาะรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กับ “ตลาดเงิน-ตลาดทุน” ที่ “ผันผวน” อย่างมากกับ “กระแสการไหลเวียนของเงินทุนโลก” ที่ขออนุญาตสะเออะแนะนำว่า “ทีมเศรษฐกิจ” ต้อง “เกาะติด” แบบตาห้ามกะพริบอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้น จะ “ไม่ทันเกม!”
สภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2008 นี้ ต้องขอยอมรับว่า “น่าเป็นห่วง!” อย่างมาก โดยเฉพาะ “การถดถอย” ที่เลยเถิดไปจากการชะลอตัวแล้วของ “สภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ” ที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจน่าจะอยู่ที่ระดับ 2-2.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เนื่องด้วย “ปัญหาซับไพรม์-หนี้สินด้อยคุณภาพด้านอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งทำให้การบริโภคจะลดน้อยลง!
ในขณะเดียวกัน สภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นและอาจลามเลยเถิดไปถึงกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอาจ “ชะลอตัว” ตามสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน โดยน่าเชื่อว่า อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ “จีดีพี” จะอยู่ที่ระดับ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
คำถามสำคัญก็คือว่า เมื่อสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มยุโรปและญี่ปุ่นเกิดการชะลอตัว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ “อุตสาหกรรมการส่งออก” ของไทยในปี 2008 นี้ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้น ซึ่งก็ต้องขอให้กำลังใจ “คุณมิ่ง” มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่คงใช้ “เทคนิคการตลาด” อย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องลงลึกถึง “กลไก-ฟันเฟือง” นานาสารพัดกับกระบวนการผลิตภายในประเทศ ตลอดจน “หาตลาดใหม่!” พร้อมทั้ง “เดินสายโรดโชว์” สร้างความเชื่อมั่น แต่สำคัญที่สุด คือ “ราคา-คุณภาพ” ของสินค้าที่ต้อง “แข่งขัน” กับ “ตลาดโลก!” ได้ แต่เอาเถอะ! “แสงแดด” ขอให้กำลังใจในการทุ่มเทการทำงานของรัฐมนตรีฯ พาณิชย์คนใหม่ที่ต้อง “เหนื่อยรากเลือด!”
“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” เป็น “ตัวพระเอก” หลักอีกตัวหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” นี้เป็น “กลไก” สำคัญของ “เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย” มาอย่างยาวนานนับหลายสิบปี เรียกว่า แทบทุกยุคทุกสมัย จะเป็น “ฟันเฟือง” สำคัญตัวหนึ่งกับ “การพยุงเศรษฐกิจ” ที่ทำรายได้ให้กับประเทศชาติปีละนับหลายแสนล้านบาท
ความจริงที่เราต้องยอมรับว่า “อุตสาหกรรมการส่งออก” และ “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” ต่างเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติปีละไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เพียงแต่ว่า “การแข่งขัน” ของวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นไม่ยากเท่าอุตสาหกรรมการส่งออก และไม่สำคัญเท่ากับว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น ไม่ต้องอาศัยเงินลงทุนมากมายนัก เพียงแต่รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา พร้อมกับการรณรงค์ให้ประชาชนคนไทยเป็น “เจ้าบ้านที่ดี!” คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ในช่วงระยะหลังๆ นี้ต้องยอมรับว่า “ทำงานหนักมาก!” ด้วยการระดมสรรพกำลังทุกทาง ไม่ว่า “ความคิดสร้างสรรค์” และกำหนดกิจกรรมต่างๆ ตลอดจน “เดินสาย” เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวบ้านเรา เพราะเราอย่าลืมว่า “เม็ดเงิน” ที่นักท่องเที่ยวนำมาจับจ่ายใช้สอยตามแหล่งท่องเที่ยวนั้น ร้อยละ 80 เป็น “เงินสด” ที่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ทุกภาคส่วน ไม่ว่า “ภาคการผลิต-ภาคการบริการ-ภาคการบริโภค” แต่คงไม่สำคัญเท่ากับ “ภาคแรงงาน” ที่กระจายอยู่ทั่วไป ทั้ง ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร้านค้า สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โรงแรม ที่พัก แม้กระทั่งระบบการขนส่ง
เมื่อปี 2550 ทาง ททท.มีปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยประมาณ 14 ล้านคนกว่าๆ สร้างรายได้ประมาณ 6 แสนล้านบาท และปีนี้เท่าที่ได้ฟังข้อมูลจากท่านผู้ว่าฯ ททท. พรศิริ มโนหาญ ตั้งใจจะไต่ให้ถึง 16 ล้านคน ในปี 2551 นี้ และตั้งเป้ารายได้ให้สูงถึง 8 แสนล้านบาท
แทบจะทุกทวีปทั่วโลก ททท. “เดินสายโรดโชว์” เรียกว่า ทั้งท่านผู้ว่าฯ ททท.และเจ้าหน้าที่ระดับสูง “ชีพจรลงเท้า!” เดินทางรณรงค์เชิญชวนนักท่องเที่ยวไปทั่วโลก จนเกือบจำหน้ากันไม่ได้ แต่ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับคุณพรศิริ มโนหาญ ที่สอบผ่านการดำรงแหน่งผู้ว่าฯ ททท.ถึงสองครั้งสองครา เรียกว่า “ประสบความสำเร็จ” กับตำแหน่งและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้
ขณะนี้เราก็ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาใหม่เอี่ยมอ่อง คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ที่จดๆ จ้องๆ จะเป็นรัฐมนตรีมานานนับหลายปี คราวนี้ก็สมหวัง ทั้งนี้ ดูหน่วยก้านของรัฐมนตรี วีระศักดิ์ แล้ว “แสงแดด” เท่าที่เคยได้สัมผัสมาก็มีความตั้งใจ และเป็นคนรุ่นใหม่ ที่น่าจะ “สานต่อ” นโยบายการท่องเที่ยวให้รุดหน้าไปได้ด้วยดี โดยกำหนดแคมเปญใหม่ทันทีว่า “ประทับใจไทยแลนด์” ที่น่าจะเป็นแนวคิดสอดคล้องกับรัฐมนตรีคนที่แล้ว กับผู้ว่าฯ ททท.
ทั้งนี้แนวทางการดำเนินงาน ภายใต้การกำกับดูแลจะเน้น 3 เรื่องหลัก คือ หนึ่ง การรักษาภาพรวม ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อตอกย้ำความแข็งแกร่งและต่อเนื่อง ให้เกิดความชัดเจนและนำไปสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ มีความยั่งยืน เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สอง ความหวัง ตามเป้าหมายทางการตลาด ซึ่งรวมรายได้จากตลาดในประเทศและต่างประเทศ เกือบล้านล้านบาท ซึ่งหากการท่องเที่ยวพัฒนาให้ดี จะเป็นความหวังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และสาม แนวทางการทำงาน เน้นความไว้วางใจ อาศัยหลักธรรมาภิบาลและใช้ประโยชน์จากกฎหมายเป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา คนใหม่ ยังได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้วิธีการนำเสนอในเชิงการตลาด ควรมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามความต้องการ เน้นไปที่การทำตลาดท่องเที่ยวแบบเชิงรุกมากขึ้น โดยเสนอให้มีการจัดทำบัญชีแหล่งท่องเที่ยว ที่มีความสะดวก สะอาด ปลอดภัยและรักษาเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเดินทาง และให้ความประทับใจอย่างที่นักท่องเที่ยวพอใจ พร้อมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่กลุ่มตลาดบนและมีความคิดริเริ่มให้ เร่งสร้างคู่มือส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มต่างๆ
ทั้งยังมีแนวคิดให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการท่องเที่ยวและการลงทุน” โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) จะได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน และเป็นโอกาสในการพัฒนาบริการเชิงคุณภาพ และเกิดความ มั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีความเชื่อมั่นว่า ททท. เป็นหน่วยงานที่มีผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอที่จะพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นในด้านการท่องเที่ยว
“อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” น่าจะเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้ อาจไปแตะที่หลัก 1 ล้านล้านบาท ภายในสองสามปีนี้ก็เป็นได้ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ต้องสนับสนุนเต็มที่ ห้ามเมินเด็ดขาดว่าต่างพรรค แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ททท.ก็เป็นกลไกที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว!