ดร. สมจินต์ ศรไพศาล บลจ. วรรณ จำกัด
การลงทุนมีเป้าหมายที่ไกลไปกว่าแค่การออมเพื่อรักษาเงินทองที่เราหามาได้เท่านั้น แต่การลงทุนให้โอกาสของการสร้างความมั่งคั่งด้วย เราหวังได้ว่า หากเราออมและลงทุนอย่างดี เราสามารถจะได้รับสิ่งดีงามที่เราปารถนาได้ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดในฝัน การศึกษาดีๆของลูกหลาน การเกษียณอย่างเกษม หรืออะไรอื่นที่เป็นความฝันของท่าน
สำหรับคนหนุ่มสาวที่เริ่มลงทุนตอนอายุ 25 ปี ด้วยเงินลงทุน 5,000 บาทต่อเดือน อย่างมีวินัยต่อเนื่อง และเพิ่มการลงทุนในปีต่อๆไปปีละ 5% ตลอด 35 ปีของการทำงานจนเกษียณอายุ โดยได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10% เขาจะมีเงินรวมประมาณ 30 ล้านบาทในวันเกษียณ ซึ่งประกอบด้วยเงินจากการทำงานหาเงินและอดออมไว้ประมาณ 5 ล้านบาท ส่วนอีกประมาณ 25 ล้านมาจากผลตอบแทนของเงินลงทุน ตัวเลขนี้แสดงถึง ศักยภาพของพลังการสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุน
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านหลายท่านคงตั้งคำถามในใจสองคำถามสำคัญ คือ 1) แล้วถ้าฉันเริ่มต้นช้า ไม่มีเวลา 35 ปีให้สะสมสมบัติล่ะ และ 2) เจ้าอัตราผลตอบแทน 10% เฉลี่ยต่อปีนั้นจะหาได้จากไหน คงต้องเสี่ยงอย่างมากเลยล่ะสิ
ถ้าท่านเริ่มต้นช้า สิ่งที่ท่านทำได้ คือ ท่านต้องเริ่มลงทุนให้มากกว่า 5,000 บาทต่อปี ท่านอาจต้องออมในอัตราที่มากกว่าปกติบ้าง นอกจากนั้น ท่านอาจเพิ่มอัตราการออมเพิ่มในแต่ละปีให้สูงขึ้นได้ เป็นต้น (เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน ผู้จัดการกองทุนผู้มีชื่อเสียง ตั้งเป้าการออมเพื่อลงทุนไว้ถึง 50% ของรายได้สำหรับ 15 ปีแรกของการทำงานของท่าน) ยกตัวอย่าง สำหรับท่านที่มีอายุ 35 ปี มีเวลาลงทุน 25 ปี โดยท่านเริ่มลงทุนเดือนละ 10,000 บาท ภายใต้สมมุติฐานอื่นๆ เหมือนกัน ท่านก็จะมีเงินรวม ณ วันเกษียณประมาณ 30 ล้านบาทเช่นกัน
ทางเลือกในการลงทุน
คำถามต่อมา คือ จะลงทุนในอะไรล่ะจึงจะได้ผลตอบแทนที่ดีๆ ในหนังสือ Asset Allocation ของโรเจอร์ กิบสัน ได้ให้ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 100 ปีของการลงทุนต่างๆในอเมริกา ซึ่งพบว่า ตั๋วเงินคลังให้ผลตอบแทน 3.7% พันธบัตรสัฐบาลระยะยาวให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.5% ในขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ให้ผลตอบแทน10.4% และ หุ้นขนาดเล็กให้ผลตอบแทน 12.6% สถิติเหล่านี้สอดคล้องกับคำพูดที่ว่า high-risk, high-return สำหรับสถิติในประเทศไทย ผมเองได้ทำการศึกษาผลตอบแทนของการลงทุนสามประเภท คือ การฝากประจำหนึ่งปี พันธบัตรระยะยาว และ หุ้น ระหว่างปี 1999-2007 เป็นเวลา 9 ปี เท่าที่มีข้อมูลให้เปรียบเทียบ พบว่าผลตอบแทนจากเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น คือ 3.13% 5.86% และ 13.04% ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าไม่ห่างจากประสพการณ์ของสหรัฐอเมริกาเท่าใดนัก เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น อาจลองจินตนาการต่อไปว่า หากเราฝากเงินที่ธนาคารโดยเริ่มต้นด้วยเงิน 100 บาท ตั้งแต่ต้นปี 1999 เก้าปีให้หลัง เงินนั้นจะเติบโตมาเป็น 132 บาท หากเราลงทุนหนึ่งร้อยบาทในพันธบัตรรัฐบาล เราจะมีเงินรวม 167 บาท ส่วนหุ้นให้ผลตอบแทนมากที่สุด โดยเงินร้อยบาทจะเติบโตขึ้นมาเป็นเงิน 300 บาท หรือคิดเป็น3 เท่าของเงินลงทุนเบื้องต้น
การลงทุนก็เหมือนกับการทานอาหารที่ต้องมีอาหารที่ครบทั้งห้าหมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ทำหน้าที่ต่างๆ ครบถ้วน ในการลงทุนความสมดุลของการลงทุนก็มีความสำคัญในทำนองเดียวกัน หุ้นนั้นเปรียบเสมือนโปรตีน หากเราไม่มีการลงทุนในหุ้นเลยคงยากที่จะสร้างความเติบโตของเงินลงทุนอย่างมีสาระสำคัญ แต่ถ้ามีแต่หุ้น ขาดการลงทุนอื่นที่มีความผันผวนต่ำกว่า อย่างพันธบัตร หุ้นกู้หรือเงินฝากเลย ก็คล้ายกับการขาดวิตตามินและเกลือแร่ สุขภาพการลงทุนของเราอาจมีภูมิต้านทานน้อยเกินไป เวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง อย่างเวลาที่ตลาดหุ้นตกต่ำมากๆ เป็นต้น
แม้ทราบว่าการลงทุนในหุ้นนั้นมีโอกาสของผลตอบแทนที่ดี แต่คนจำนวนมากก็ไม่กล้าลงทุนในหุ้นด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การวิเคราะห์หุ้นเลือกหุ้นเป็นเรื่องยาก ทั้งการคอยติดตามสถานภาพและศักยภาพของหุ้นก็ยังใช้เวลาอย่างมากด้วย ที่สำคัญหุ้นตัวหนึ่งตัวหนึ่งนั้นมีความผันผวนสูง เป็นความเสี่ยงที่คนจำนวนมากรับได้ยาก ดังนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่จึงต้องการเครื่องมือการลงทุนที่ช่วยให้ความเสี่ยงลดลงในระดับที่รับมือได้
พาหนะสู่เป้าหมาย
ข่าวดีก็คือ ด้วยวิวัฒนาการของตลาดทุนโลก ได้เกิด ETF (Exchange Traded Fund) ซึ่งมีลักษณะเป็นกองทุนดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เกิดขึ้นและทำให้นักลงทุนสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยเองเรามี ThaiDEX SET50 ETF (TDEX) ซึ่งลงทุนผ่านโบรกเกอร์ใดๆก็ได้เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง แต่มีผลเหมือนการได้ลงทุนในหุ้นทีเดียว 50 ตัวซึ่งเป็นหุ้นใหญ่และมีสภาพคล่องสูง ที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
TDEX ลดความเสี่ยงและเพิ่มความสะดวกให้กับการลงทุน เนื่องเพราะการซื้อ TDEX เพียงตัวเดียวเหมือนการซื้อพอร์ตลงทุนที่มีหุ้นใหญ่ถึง 50 ตัวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นเหล่านี้มีความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตนๆอย่างค่อนข้างเด่นชัด และอยู่ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายแตกต่างกันไป เช่น ปตท. บริษัทผลิตไฟฟ้า ธนาคารกรุงเทพ ปูนซิเมนต์ไทย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทีวีช่อง3 เซ็นทรัลพัฒนา เซเว่น-อีเลเว่น เป็นต้น ความหลากหลายเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดการกระจายการลงทุนแล้วทำให้ความเสี่ยงรวมลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ ทั้งความที่มีการคัดหุ้น 50 ตัวเหล่านี้เสมอทุกหกเดือน จึงทำให้ TDEX มีสมาชิกที่เป็นกลุ่มที่ถูกเลือกอย่างทันสมัยอยู่เสมอ และความที่ TDEX จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จึงทำให้สะดวกในการลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะซื้อขายได้ตลอดเวลาทำการ และรู้ราคาซื้อขายแบบ real time อีกด้วย
ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นนี้ทำให้ ETF กลายเป็นเครื่องมือทางการลงทุนที่เติบโตอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา และในเมืองในเอง TDEX ก็เติบโตจากขนาดหนึ่งพันล้านบาทในเดือนกันยายนมาเป็นกว่าสามพันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงถึง 200% ในเวลาเพียงครึ่งปี มีผู้ลงทุนจำนวน 4,766 คน หรือประมาณหกเท่าของจำนวนคนตอนเริ่มต้น โดยมีผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาถืออยู่ 45% และนักลงทุนสถาบันถืออยู่ 55% อันเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนถึงคุณค่าอันเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนในวงกว้าง
Energy ETF
จากความสำเร็จของ TDEX ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีดำริจะให้เกิดทางเลือกการลงทุนอันทรงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และริเริ่มดำเนินการให้มีการจัดตั้ง Energy ETF ซึ่งจะเป็น ETF ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดทุนไทย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะดำเนินการคัดสรร ซึ่งคาดว่าจะมีการออก Energy ETF ได้ในไตรมาสสามของปีนี้ เมื่อถึงตอนนั้น นักลงทุนที่สนใจลงทุนในอนาคตของหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานก็จะมีทางเลือกพิเศษอีกทางหนึ่งโดยใช้ Energy ETF นอกเหนือไปจากการเลือกหุ้นเป็นตัวๆอย่างในอดีตอีกด้วย
และเมื่อตลาดทุนไทยพัฒนาต่อๆไป เราคงมีโอกาสได้เห็น ETF ที่อิงกับดัชนีต่างๆ ให้เห็นในรูปแบบที่กว้างขวางขึ้น เช่น Bank ETF, ICT ETF เป็นต้น และทำให้เราสามารถเลือกใช้ ETF ต่างๆ เป็นแกนการลงทุนของเราแทนการเลือกหุ้นเป็นตัวๆ ซึ่งยากและเสี่ยงกว่า ดังในอดีตที่ผ่านมา
การลงทุนมีเป้าหมายที่ไกลไปกว่าแค่การออมเพื่อรักษาเงินทองที่เราหามาได้เท่านั้น แต่การลงทุนให้โอกาสของการสร้างความมั่งคั่งด้วย เราหวังได้ว่า หากเราออมและลงทุนอย่างดี เราสามารถจะได้รับสิ่งดีงามที่เราปารถนาได้ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดในฝัน การศึกษาดีๆของลูกหลาน การเกษียณอย่างเกษม หรืออะไรอื่นที่เป็นความฝันของท่าน
สำหรับคนหนุ่มสาวที่เริ่มลงทุนตอนอายุ 25 ปี ด้วยเงินลงทุน 5,000 บาทต่อเดือน อย่างมีวินัยต่อเนื่อง และเพิ่มการลงทุนในปีต่อๆไปปีละ 5% ตลอด 35 ปีของการทำงานจนเกษียณอายุ โดยได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 10% เขาจะมีเงินรวมประมาณ 30 ล้านบาทในวันเกษียณ ซึ่งประกอบด้วยเงินจากการทำงานหาเงินและอดออมไว้ประมาณ 5 ล้านบาท ส่วนอีกประมาณ 25 ล้านมาจากผลตอบแทนของเงินลงทุน ตัวเลขนี้แสดงถึง ศักยภาพของพลังการสร้างความมั่งคั่งจากการลงทุน
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านหลายท่านคงตั้งคำถามในใจสองคำถามสำคัญ คือ 1) แล้วถ้าฉันเริ่มต้นช้า ไม่มีเวลา 35 ปีให้สะสมสมบัติล่ะ และ 2) เจ้าอัตราผลตอบแทน 10% เฉลี่ยต่อปีนั้นจะหาได้จากไหน คงต้องเสี่ยงอย่างมากเลยล่ะสิ
ถ้าท่านเริ่มต้นช้า สิ่งที่ท่านทำได้ คือ ท่านต้องเริ่มลงทุนให้มากกว่า 5,000 บาทต่อปี ท่านอาจต้องออมในอัตราที่มากกว่าปกติบ้าง นอกจากนั้น ท่านอาจเพิ่มอัตราการออมเพิ่มในแต่ละปีให้สูงขึ้นได้ เป็นต้น (เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน ผู้จัดการกองทุนผู้มีชื่อเสียง ตั้งเป้าการออมเพื่อลงทุนไว้ถึง 50% ของรายได้สำหรับ 15 ปีแรกของการทำงานของท่าน) ยกตัวอย่าง สำหรับท่านที่มีอายุ 35 ปี มีเวลาลงทุน 25 ปี โดยท่านเริ่มลงทุนเดือนละ 10,000 บาท ภายใต้สมมุติฐานอื่นๆ เหมือนกัน ท่านก็จะมีเงินรวม ณ วันเกษียณประมาณ 30 ล้านบาทเช่นกัน
ทางเลือกในการลงทุน
คำถามต่อมา คือ จะลงทุนในอะไรล่ะจึงจะได้ผลตอบแทนที่ดีๆ ในหนังสือ Asset Allocation ของโรเจอร์ กิบสัน ได้ให้ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 100 ปีของการลงทุนต่างๆในอเมริกา ซึ่งพบว่า ตั๋วเงินคลังให้ผลตอบแทน 3.7% พันธบัตรสัฐบาลระยะยาวให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.5% ในขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ให้ผลตอบแทน10.4% และ หุ้นขนาดเล็กให้ผลตอบแทน 12.6% สถิติเหล่านี้สอดคล้องกับคำพูดที่ว่า high-risk, high-return สำหรับสถิติในประเทศไทย ผมเองได้ทำการศึกษาผลตอบแทนของการลงทุนสามประเภท คือ การฝากประจำหนึ่งปี พันธบัตรระยะยาว และ หุ้น ระหว่างปี 1999-2007 เป็นเวลา 9 ปี เท่าที่มีข้อมูลให้เปรียบเทียบ พบว่าผลตอบแทนจากเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล และหุ้น คือ 3.13% 5.86% และ 13.04% ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าไม่ห่างจากประสพการณ์ของสหรัฐอเมริกาเท่าใดนัก เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น อาจลองจินตนาการต่อไปว่า หากเราฝากเงินที่ธนาคารโดยเริ่มต้นด้วยเงิน 100 บาท ตั้งแต่ต้นปี 1999 เก้าปีให้หลัง เงินนั้นจะเติบโตมาเป็น 132 บาท หากเราลงทุนหนึ่งร้อยบาทในพันธบัตรรัฐบาล เราจะมีเงินรวม 167 บาท ส่วนหุ้นให้ผลตอบแทนมากที่สุด โดยเงินร้อยบาทจะเติบโตขึ้นมาเป็นเงิน 300 บาท หรือคิดเป็น3 เท่าของเงินลงทุนเบื้องต้น
การลงทุนก็เหมือนกับการทานอาหารที่ต้องมีอาหารที่ครบทั้งห้าหมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารที่ทำหน้าที่ต่างๆ ครบถ้วน ในการลงทุนความสมดุลของการลงทุนก็มีความสำคัญในทำนองเดียวกัน หุ้นนั้นเปรียบเสมือนโปรตีน หากเราไม่มีการลงทุนในหุ้นเลยคงยากที่จะสร้างความเติบโตของเงินลงทุนอย่างมีสาระสำคัญ แต่ถ้ามีแต่หุ้น ขาดการลงทุนอื่นที่มีความผันผวนต่ำกว่า อย่างพันธบัตร หุ้นกู้หรือเงินฝากเลย ก็คล้ายกับการขาดวิตตามินและเกลือแร่ สุขภาพการลงทุนของเราอาจมีภูมิต้านทานน้อยเกินไป เวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง อย่างเวลาที่ตลาดหุ้นตกต่ำมากๆ เป็นต้น
แม้ทราบว่าการลงทุนในหุ้นนั้นมีโอกาสของผลตอบแทนที่ดี แต่คนจำนวนมากก็ไม่กล้าลงทุนในหุ้นด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การวิเคราะห์หุ้นเลือกหุ้นเป็นเรื่องยาก ทั้งการคอยติดตามสถานภาพและศักยภาพของหุ้นก็ยังใช้เวลาอย่างมากด้วย ที่สำคัญหุ้นตัวหนึ่งตัวหนึ่งนั้นมีความผันผวนสูง เป็นความเสี่ยงที่คนจำนวนมากรับได้ยาก ดังนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่จึงต้องการเครื่องมือการลงทุนที่ช่วยให้ความเสี่ยงลดลงในระดับที่รับมือได้
พาหนะสู่เป้าหมาย
ข่าวดีก็คือ ด้วยวิวัฒนาการของตลาดทุนโลก ได้เกิด ETF (Exchange Traded Fund) ซึ่งมีลักษณะเป็นกองทุนดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เกิดขึ้นและทำให้นักลงทุนสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยเองเรามี ThaiDEX SET50 ETF (TDEX) ซึ่งลงทุนผ่านโบรกเกอร์ใดๆก็ได้เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง แต่มีผลเหมือนการได้ลงทุนในหุ้นทีเดียว 50 ตัวซึ่งเป็นหุ้นใหญ่และมีสภาพคล่องสูง ที่กำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
TDEX ลดความเสี่ยงและเพิ่มความสะดวกให้กับการลงทุน เนื่องเพราะการซื้อ TDEX เพียงตัวเดียวเหมือนการซื้อพอร์ตลงทุนที่มีหุ้นใหญ่ถึง 50 ตัวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นเหล่านี้มีความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตนๆอย่างค่อนข้างเด่นชัด และอยู่ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายแตกต่างกันไป เช่น ปตท. บริษัทผลิตไฟฟ้า ธนาคารกรุงเทพ ปูนซิเมนต์ไทย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทีวีช่อง3 เซ็นทรัลพัฒนา เซเว่น-อีเลเว่น เป็นต้น ความหลากหลายเหล่านี้ย่อมทำให้เกิดการกระจายการลงทุนแล้วทำให้ความเสี่ยงรวมลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ ทั้งความที่มีการคัดหุ้น 50 ตัวเหล่านี้เสมอทุกหกเดือน จึงทำให้ TDEX มีสมาชิกที่เป็นกลุ่มที่ถูกเลือกอย่างทันสมัยอยู่เสมอ และความที่ TDEX จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์จึงทำให้สะดวกในการลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะซื้อขายได้ตลอดเวลาทำการ และรู้ราคาซื้อขายแบบ real time อีกด้วย
ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นนี้ทำให้ ETF กลายเป็นเครื่องมือทางการลงทุนที่เติบโตอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา และในเมืองในเอง TDEX ก็เติบโตจากขนาดหนึ่งพันล้านบาทในเดือนกันยายนมาเป็นกว่าสามพันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงถึง 200% ในเวลาเพียงครึ่งปี มีผู้ลงทุนจำนวน 4,766 คน หรือประมาณหกเท่าของจำนวนคนตอนเริ่มต้น โดยมีผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาถืออยู่ 45% และนักลงทุนสถาบันถืออยู่ 55% อันเป็นเครื่องยืนยันที่ชัดเจนถึงคุณค่าอันเป็นที่ยอมรับของนักลงทุนในวงกว้าง
Energy ETF
จากความสำเร็จของ TDEX ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีดำริจะให้เกิดทางเลือกการลงทุนอันทรงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และริเริ่มดำเนินการให้มีการจัดตั้ง Energy ETF ซึ่งจะเป็น ETF ที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดทุนไทย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะดำเนินการคัดสรร ซึ่งคาดว่าจะมีการออก Energy ETF ได้ในไตรมาสสามของปีนี้ เมื่อถึงตอนนั้น นักลงทุนที่สนใจลงทุนในอนาคตของหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานก็จะมีทางเลือกพิเศษอีกทางหนึ่งโดยใช้ Energy ETF นอกเหนือไปจากการเลือกหุ้นเป็นตัวๆอย่างในอดีตอีกด้วย
และเมื่อตลาดทุนไทยพัฒนาต่อๆไป เราคงมีโอกาสได้เห็น ETF ที่อิงกับดัชนีต่างๆ ให้เห็นในรูปแบบที่กว้างขวางขึ้น เช่น Bank ETF, ICT ETF เป็นต้น และทำให้เราสามารถเลือกใช้ ETF ต่างๆ เป็นแกนการลงทุนของเราแทนการเลือกหุ้นเป็นตัวๆ ซึ่งยากและเสี่ยงกว่า ดังในอดีตที่ผ่านมา