xs
xsm
sm
md
lg

รมต.เงา ปชป.สอนมวยหมัก 1 "กรณ์"อัด"เลี้ยบ"ไร้ภาวะผู้นำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

"สมัคร" นำ ครม.แถลงนโยบายต่อรัฐสภาฯ แจง 19 มาตรการเร่งด่วน สร้างความปรองดอง ดับไฟใต้ ปราบยาเสพติด สานต่อประชานิยมยุค "แม้ว" ขณะที่ "อภิสิทธิ์" ซัดนโยบายเลื่อนลอยไร้กรอบเวลา พร้อมถามหานโยบายที่เคยหาเสียงกับประชาชน ชี้ รมว.ศึกษาฯ รื้อนโยบายการศึกษายุค "ทักษิณ" มาใช้ทำประชาขนสับสนระบบเรียนฟรี 12 ปี แนะปรับเมกะโปรเจกต์ให้สอดคล้องเศรษฐกิจพอเพียง "กรณ์" สอนมวยบริหารมาตรการ 30%ขุนคลังเลี้ยบ-สมัคร อัดไร้ภาวะผู้นำตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า วานนี้ (18 ก.พ.) มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 ในวาระแถลงนโยบายของรัฐบาล โดยมีส.ส.และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เข้าร่วมประชุมอย่างคับคั่ง มีนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม โดยเริ่มการประชุมด้วยการแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 36 คน

จากนั้น นายสมัคร ได้แถลงนโยบายของรัฐบาลโดยมีทั้งหมด 8 หัวข้อ คือ 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 2.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 3.นโยบายเศรษฐกิจ 4.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 6.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 7.นโยบายความมั่นคงของรัฐ และ 8.นโยบายการบริหารจัดการที่ดี

นายสมัคร กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ต้องเผชิญกับปัญหาจากเศรษฐกิจโลก ที่มีความรุนแรง อย่างน้อยสองประการ คือ ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบถึงตลาดเงินและเศรษฐกิจ ของประเทศต่างๆ ในโลก และปัญหาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในโลกและในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีภารกิจสำคัญอื่นๆ ในการวางรากฐานการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืน และส่งเสริมภาคการผลิตและบริการให้สามารถปรับตัวไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัญหาโครงสร้างระยะยาวของประเทศ ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สังคมไทยจะเริ่มเข้าสู่จุดเริ่มต้นของสังคมผู้สูงอายุในปี 2552 และประชากรไทยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุอยู่ในภาวะที่ต้องปรับตัวเข้าสู่สังคมฐานความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ ในขณะที่ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ และปัจจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

นายสมัคร กล่าวว่า ในช่วง 4 ปีต่อไป รัฐบาลจะดูแลปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว และมุ่งมั่นที่จะบริหารประเทศ ภายใต้หลักการ 2 ประการ ประการแรก คือ การสร้างความสมานฉันท์ให้แก่คนไทยทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือกันในการนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ต่าง ๆ และสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับประเทศในอนาคต รวมถึงการแก้ไขและเยียวยาปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่แนวทาง ของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสามัคคีของพี่น้องประชาชนในพื้นที่

ประการที่สอง คือ การสร้างความสมดุลและภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายในทุกด้าน ตั้งแต่การพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ การสนับสนุนการออมระยะยาว การส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาชุมชนให้พึ่งตนเองได้และเชื่อมโยงกับตลาดอย่างเป็นขั้นตอนฯลฯ ตลอดจนการสร้างรายได้ให้แก่ระบบเศรษฐกิจตามหลักปรัชญ าของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินได้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก คือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ โดยดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรม

เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร SML ให้ครบทุกหมู่บ้านและชุมชน สานต่อโครงการธนาคาร สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ พักหนี้ของเกษตรกรรายย่อยและยากจน สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร

นอกจากนี้จะขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน และสถาบันอาชีวศึกษา สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการ "บ้านเอื้ออาทร" "บ้านรัฐสวัสดิการ" และ "ที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นครั้งแรก" เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง และรถไฟก้างปลา ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน

ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น "ปีแห่งการลงทุน" และ "ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย"

"ขอเรียนว่า รัฐบาลนี้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยถือว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็น รากฐานสำคัญ ในการวางระบบการบริหารประเทศให้เกิดความมั่นคงและสร้างเสริม หลักประชาธิปไตยที่ถูกต้องและเหม าะสมเป็นที่ยอมรับของชนในชาติ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติให้ความเห็นชอบ แต่โดยที่ยังปรากฏว่ามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่มาก รัฐบาลนี้จึงจะสนับสนุนให้มีการศึกษาทบทวนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการ บริหารประเทศให้ดียิ่งขึ้นในเวลาอันควรต่อไป"

"อภิสิทธิ์"ติงไร้นโยบายด้านการศึกษา

จากนั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึง ร่างนโยบายว่า ตนขอตั้งข้อสังเกตว่าในหมวดของนโยบายเร่งด่วนรัฐบาลไม่ได้บอกว่าจะทำเสร็จเมื่อใดเพียงแต่บอกว่าจะเริ่มทำในปีแรกเท่านั้น รวมทั้งยังไม่มีบัญชีร่าง พ.ร.บ.ที่จำเป็นต่อการบริหาราชการแผ่นดิน และความคาดหวังของประชาชนหลังการเลือกตั้ง ที่ไม่มีนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลที่เคยประกาศไว้ช่วงเลือกตั้งอาทิ เบบี้บอนด์ การปรับปรุงภาษีการจัดรัฐสวัสดิการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ก็ไม่มีปรากฎอยู่ในนโยบายฉบับนี้ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนพรรคที่เป็นแกนนำ ได้กำหนดทิศทางเร่ง ด่วนเป็นทายาทของทักษิณเช่นกองทุนหมู่บ้านเอสเอ็มแอล ฝ่ายค้านจะติดตามตรวจสอบบนหลักเกณฑ์ว่าจะต้อง อย่าห่วงว่าจะมีฝ่ายค้านชุดไหนล้มรัฐบาลได้ รัฐบาลจะล้มได้ก็เพราะเสียงของรัฐบาลเองที่ไม่เป็นเอกภาพเพราะการทำงานของรัฐบาลเอง

นายอภิสิทธิ์ อภิปรายด้วยว่านโยบายเร่งด่วนในปีแรกกลับไม่มีนโยบาย ด้านการศึกษาซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญสุดยิ่งเริ่มช้าผลของนโยบายก็จะยิ่งช้าสังคมจะยิ่งอ่อนแอมาก ขึ้นเท่านั้นซึ่งน่าผิดหวังมากการแก้ไขจะไม่สำเร็จหากคิดว่า แก้ได้ด้วยเงินมากกว่าความเอาใจใส่

1.รัฐบาลไม่จัดงบประมาณให้เพียงพอกับการเรียนฟรีจนทำให้มีค่าใช้จ่ายแฝง ควรใช้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือ กยศ.เป็นฐานให้เด็กยากจนได้กู้ยืมเหมือนเดิม แต่ รมว.ศึกษาธิการมีแต่พูดเรื่องที่จะเอาคอมพิวเตอร์แจกโรงเรียน

2.นโยบาย เศรษฐกิจรัฐบาลควรจะฉกฉวยโอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นคือการแก้ไข ราคาสินค้าแพงอยากรู้ว่ามีความคิดในการจัดการเรื่องพลังงานอย่างไร คนไทยควร มีสิทธิใช้แก๊สซึ่งประเทศไทยผลิตเองในราคาที่ถูกให้กระทรวงการคลังแสดงภาวะความเป็นผู้นำในเรื่องกันเงินสำรอง30 %และอยากทราบค่าความ เสียหายจากการใช้แท๊กซี่เวย์รันเวย์ในสนามบินสุวรรณภูมิว่ามีเท่าใดแน่รัฐบาลควรประเมินความต้องการและความยากจนของประชาชนว่ามีเท่าใดกันแน่

นายอภิสิทธิ์ อภิปรายด้วยว่าในส่วนของโครงการเมกะโปรเจกต์อยากให้รัฐบาลปรับปรุงโครงการนี้โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ด้วย ในส่วนนโยบายการแก้ไ ขปัญหาภาคใต้นั้นไม่อยากเห็นการให้สัมภาษณ์เป็นรายวันเพราะจะสร้างความสับสนและกระทบความรู้สึกของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ไม่ว่า เรื่องการปลดอาวุธและการตั้งเขตปกครองพิเศษซึ่ง นายกรัฐมนตรีก็กลับตัวทันไม่เห็นด้วยกับ รมว.มหาดไทยไม่มีการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างศาสนาและเชื่อว่าบุคคลที่เติบโตมาในระบบรัฐสภาก็อยากจะรักษาระบบรัฐสภาไว้ขอให้นายกรัฐมนตรีผลักดันการให้ความสำคัญต่อกระบวนการของรัฐสภาไม่ให้มีปัญหาเช่นในอดีต ที่พยายามลดความสำคัญของระบบรัฐสภาจนทำให้เกิดวิกฤตการเมือง ในเรื่องการส่งเสริมเสรีภาพสื่อก็ไม่ได้ระบุความชัดเจนไว้สมัยที่ท่านเคยเป็น รมว.มหาดไทยก็ทราบว่าเป็นยุคหนึ่งที่มีการสั่งปิดหนังสือพิมพ์มากที่สุดและขณะที่เริ่มมีการคุกคามสื่อเห็นชัดได้คือกรณีการยกเลิกรายการวิทยุของนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และไม่มั่นใจว่าจะมีความจริงใจในการต่อสู้กับการทุจริตมากน้อยแค่ไหน

ทำนโนบายเป็นทายาทรัฐบาลทักษิณ

"นโยบายที่รัฐบาลแถลงนั้นยังไม่มีการพูดถึงระยะเวลาการดำเนินการว่าจะทำได้เมื่อไหร่แล้วเสร็จเมื่อไหร่ ซึ่งหวังว่าหากจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน จะเห็นรายละเอียดมากขึ้น ไม่เช่นนั้นบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่เป็นเจตนารมณ์ของ ประเทศ ในการขับเคลื่อนนโยบายจะจะไม่มีความหมาย แต่เขียนนโยบายไว้กว้าง โดยไม่ได้บอกว่าจะ ทำเมื่อไหร่ และเสร็จภายในเมื่อไหร่ และในเรื่องที่พรรครัฐบาลเคยหาเสียงไว้หลายนโยบาย ไม่มีการพูดถึงในการแถลงนโยบาย จึงอยากตั้งข้อสังเกตให้พรรคการเมืองเห็นว่าไม่ใช่พูดอะไรก็ได้"

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ภาพรวมนโยบายนี้ ถ้าไม่นับรวมหมวดที่ 1 เรื่องเร่งด่วนแล้ว ก็เป็นการเขียนล้อตามรัฐธรรมนูญ เขียนล้อตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ในเรื่องเร่งด่วน มีความชัดเจนว่าพรรคแกนนำ ได้ยืนยันทิศทางบางส่วนของรัฐบาลชุดนี้ เป็นทายาทของรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร โครงการต่างๆ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน โครงการเอ็สเอ็มแอล ธนาคารประชาชน ต้องการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลนี้เป็นทายาทของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และสานเรื่องเหล่านี้ต่อไป

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า นายกฯ ได้แถลงว่าจะสนับสนุนการทบทวนรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย และพรรคประชาธิปัตย์เอง ซึ่งแสดงความเห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในบทบัญญัติซึ่งยังไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย และพรรคพลังประชาชนเป็นพรรคที่แสดงออกชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ดังนั้น ในฐานะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งด้วยกันจึงอยากให้เอาสภาเป็นจุดเริ่มต้นศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และแก้ไขให้เร็วที่สุด ตามหลักประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังต้องการฟังท่าที่ของนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีความคิดกฎหมายความมั่นคงหรือไม่ อย่างไร เพราะมีความไม่ไว้ใจกับการใช้อำนาจเกินขอบเขตประชาธิปไตยหรือไม่

ภาวะผู้นำนายกฯ บั่นทอนความเชื่อมั่น

นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อภิปราย นโยบายเศรษฐกิจมหาภาค ว่า นโยบายการเงินการคลัง รัฐจะต้องมีผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% ที่จะสร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักธุรกิจ เพราะภาวะในการเป็นผู้นำในแง่การตัดสินใจ ถือว่าเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นอย่างยิ่ง เนื่องจากจุดยืนรัฐบาลก็มีแต่แรกแล้วว่า รัฐบาลจะผลักดันเรื่องนี้ใน 2 เดือน ก็ยิ่งเป็นการสร้างความเสียหาย เพราะคนในวงการก็เข้าใจ แล้วว่าข้อมูลมีแล้ว แต่ที่ชะลอนั้นหวังผลอะไร

ขณะเดียวกันภาพรวมทางเศรษฐกิจ หากจะดูจากนโยบายของรัฐบาล 12 ข้อแรก ที่เป็นเรื่องเศรษฐกิจโดยตรงและเน้นเรื่องที่ได้ไปปราศรัยหาเสียงไว้ แต่ปัญหากลับอยู่ที่จะกำหนดทิศทางอย่างไร ซึ่งไม่เหมือนประเทศจีนที่จะเป็นศูนย์กลางโรงงานของโลก ประเทศอินเดีย หวังเป็นศูนย์กลางความรู้โลก แม้แต่ประเทศสิงคโปร์ที่จะเป็นศูนย์กลางการเงินของโลก แต่ของเรามองไม่เห็น หากหวังให้มีการลงทุนต่อเนื่องจริงๆ ก็ต้องมีความชัดเจน รัฐบาลชุดนี้กลับไม่มีการเขียนว่าจะผลักดันเรื่องใด

เนื่องจากเห็นว่านโยบายที่รัฐบาลนำเสนอมีช่องโหว่เยอะมาก โครงการเมกกะโปรเจกต์ก็มีปัญหา ที่รัฐบาลเสนอโครงการก็ไม่ตรงกับรัฐบาลที่แล้ว รถไฟฟ้า 9 สาย ก็เหมือนกับไปรื้อใหม่หมด เงื่อนไขที่ว่าจะแล้วเสร็จใน 3 ปียิ่งแล้วใหญ่ เพราะต้องกลับไปศึกษาเพิ่มเติมใช้เงิน 6 พันล้านบาท ตรงนี้นักธุรกิจโดยรวมเขาก็รู้ และเขาก็ไม่เชื่อถือ

"รัฐบาลชุดที่แล้ว ก็ได้เริ่มเรื่องรถไฟฟ้าไปแล้ว แต่รัฐบาลชุดนี้กลับมาเริ่มศึกษาใหม่อีก รื้อทุกสายทำให้เป็นเป็นปัญหา รัฐบาลต้องตอบประชาชนให้ได้ว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น เพราะแต่ละเส้นทางต้องจ้างที่ปรึกษาใช้เงินถึง 6 พันล้าน ทำให้ความเชื่อมั่นในการแถลงนโยบายแทนที่จะเชื่อมั่น ก็ยิ่งสร้างความสับสน"

เตือนถังแตกอย่าฟื้นลุยโครงการยักษ์

นายกรณ์ ยังกล่าวถึงความเป็นไปได้ของการลงทุนเมกะโปรเจกต์ 5 แสนล้านบาท และโครงการประชานิยมต่างๆ ว่าอาจจะต้องใช้งบประมาณและเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ขณะที่สถานการณ์เงินการคลังของประเทศไทยขณะนี้ อยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากตัวเลขหนี้สาธารณะสูงถึง 38% และมียอดกู้เงินลงทุนได้เพียง 8-10% จึงต้องการเห็นแผนงานแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อใด้ฐานะการเงินการคลังมีดุลภาพ

ทั้งนี้แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือทุกหน่วยงานจะออกมารับลูกแล้ว วงเงินกู้ยืมเพียง 6-8 แสนล้านบาท ก็อาจจะไม่เพียงพอ หลายคนเคยตั้งคำถามว่า รัฐบาลตั้งใจจะทำจริงหรือไม่ รัฐบาลควรจะจัดโครงการก่อนหลังอย่างไร และหากเดินหน้าต่อไปจะหาแหล่งเงินมาจากไหน เช่นเดียวกับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคในอดีต

นายกรณ์ กล่าวอีกว่า อยากฝากเตือน รมว.คลัง ในวิธีการการกู้ยืมเงิน เพราะจากอดีตการกู้ยืมจากภาคเอกชนเช่น โครงการแอร์พอร์ตลิ้งทำให้เกิดภาระหนี้กับรัฐบาล เช่นเดียวกับงบประมาณรายจ่ายปี 2551 ที่ไม่ได้สร้างความยืดหยุ่นให้กับรัฐบาล ทำให้รัฐบาลประเมินว่าจะจัดสรรงบกลางปี 2551 ที่ 8 หมื่นล้านบาทมาใช้ ซึ่งหากนำไปจัดสรรด้านการศึกษาพรรคประชาธิปัตย์ก็จะสนับสนุน แต่หากดำเนินการเช่นเดียวกับงบกลางปีใน พ.ศ.2548 ที่เกิดจากการจัดเก็บภาษีเกินเป้า และรัฐบาลสมัยนั้นกลับนำไปทำเพื่อประโยชน์ตัวเอง ไม่ได้นำไปสนับสนุนกองทุนน้ำมันตามที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอ

ทั้งนี้ รมว.คลัง ควรที่จะตะหนักถึงมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในภาระที่รัฐบาลจะต้องจัดงบประมาณรายจ่ายมาชดใช้เงินคงคลัง แต่นโยบายรัฐบาลกลับไม่ปรากฏการส่งเสริมรายได้ โดยเฉพาะช่วงที่พรรคร่วมรัฐบาลไปหาเสียงก็มีเงื่อนไขการขึ้นภาษีซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ประเด็นนี้ รมว.คลัง ต้องชี้แจงให้ได้

ขณะที่รายได้ของรัฐวิสาหกิจแม้จะขาดทุน แต่กลับมีทรัพย์สินที่สูงถึง 3 ล้านล้านบาท นโยบายการส่งเสริม พัฒนาและเยียวยาตรงนี้ก็ไม่มีความชัดเจนเช่นกัน

ห่วงเงินลงทุนโครงการรัฐบาลไม่พอ

นายกรณ์ ยังกล่าวถึงความเป็นไปได้ของการลงทุนเมกะโปรเจกต์ 5 แสนล้านบาท และโครงการประชานิยมต่างๆ ว่าอาจจะต้องใช้งบประมาณและเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ขณะที่สถานการณ์เงินการคลังของประเทศไทยขณะนี้ อยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากตัวเลขหนี้สาธารณะสูงถึง 38% และมียอดกู้เงินลงทุนได้เพียง 8-10% จึงต้องการเห็นแผนงานแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อใด้ฐานะการเงินการคลังมีดุลภาพ

แม้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือทุกหน่วยงานจะออกมารับลูกแล้ว วงเงินกู้ยืมเพียง 6-8 แสนล้านบาท ก็อาจจะไม่เพียงพอ หลายคนเคยตั้งคำถามว่า รัฐบาลตั้งใจจะทำจริงหรือไม่ รัฐบาลควรจะจัดโครงการก่อนหลังอย่างไร และหากเดินหน้าต่อไปจะหาแหล่งเงินมาจากไหน เช่นเดียวกับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคในอดีต

นายกรณ์ กล่าวอีกว่า อยากฝากเตือน รมว.คลัง ในวิธีการการกู้ยืมเงิน เพราะจากอดีตการกู้ยืมจากภาคเอกชนเช่น โครงการแอร์พอร์ตลิ้งทำให้เกิดภาระหนี้กับรัฐบาล เช่นเดียวกับงบประมาณรายจ่ายปี 2551 ที่ไม่ได้สร้างความยืดหยุ่นให้กับรัฐบาล ทำให้รัฐบาลประเมินว่าจะจัดสรรงบกลางปี 2551 ที่ 8 หมื่นล้านบาทมาใช้ ซึ่งหากนำไปจัดสรรด้านการศึกษาพรรคประชาธิปัตย์ก็จะสนับสนุน แต่หากดำเนินการ เช่นเดียวกับงบกลางปีใน พ.ศ.2548 ที่เกิดจากการจัดเก็บภาษีเกินเป้า และรัฐบาลสมัยนั้นกลับนำไปทำเพื่อประโยชน์ตัวเอง ไม่ได้นำไปสนับสนุนกองทุนน้ำมันตามที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอ

ทั้งนี้ รมว.คลัง ควรที่จะตะหนักถึงมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในภาระที่รัฐบาลจะต้องจัดงบประมาณรายจ่ายมาชดใช้เงินคงคลัง แต่นโยบายรัฐบาลกลับไม่ปรากฏการส่งเสริมรายได้ โดยเฉพาะช่วงที่พรรคร่วมรัฐบาลไปหาเสียง ก็มีเงื่อนไขการขึ้นภาษีซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ประเด็นนี้รมว.คลัง ต้องชี้แจงให้ได้ ขณะที่รายได้ของรัฐวิสาหกิจแม้จะขาดทุน แต่กลับมีทรัพย์สินที่สูงถึง 3 ล้านล้านบาท นโยบายการส่งเสริม พัฒนาและเยียวยาตรงนี้ก็ไม่มีความชัดเจนเช่นกัน

เชื่อนโยบายมหภาคจะเกิดปัญหาแน่

ด้าน นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล กรรมการบริหารพรรค ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีเงา อภิปรายว่า การเขียนนโยบายรัฐบาล ไม่แตกต่างกับนโยบายชุด พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค เปรียบเหมือนนโยบายที่เตรียม ข้อแก้ตัวไว้ล่วงหน้า เขาจึงเชื่อว่าจะเกิดปัญหาที่รุ่นแรงตามมา

อยากให้ รัฐบาลออกมาเปิดเผยข้อมูลว่าเหตุใดยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% หรือไม่ และเปิดเผยตัวเลขที่แท้จริงของเงินทุนสำรอง ว่ามีจำนวนเท่าใด ขณะเดียวกันหากยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30 % จะทำให้เงินบาทแข็งหรืออ่อน และธปท. จะขาดทุนหรือได้กำไรเท่าไร ซึ่งตนประเมินว่าน่าจะน้อยกว่า 3 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันพฤติกรรมที่ ธปท. และรัฐบาลทำขณะนี้กลายเป็นว่ายังคงปกป้องค่าเงินเหรียญตลอดเวลา

สนช.จี้ถามหวยออนไลน์-จัดโซนนิ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นสมาชิกทั้ง ส.ส.รัฐบาล ฝ่ายค้าน รัฐบาล และสนช. ได้สลับกันอภิปรายอย่างต่อเนื่อง โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. ได้อภิปรายว่า ในภาพรวมนโยบายทางสังคมพบว่ารัฐบาลได้วางไปยัง3 กลุ่มเป้าหมายใหญ่ๆ คือ ฐานเกษตรกร ฐานชุมชน และกลุ่มเป้าหมายพิเศษเฉพาะ อาทิ เด็ก สตรี คนพิการ นอกจากนี้ยังมีฐานความรู้สึกในเรื่องการปราบยาเสพติด ผู้มีอิทธิพลและปัญหา 3 จังหวัดในภาคใต้

โดยเห็นว่าโครงการการพักหนี้ ขณะนี้การเข้าสู่อาชีพเกษตรกรน้อยลงโครงการ พักหนี้ก็ไม่เป็นผล ดังนั้นรัฐบาลควรต่อยอดโครงการยุวชนเกษตรกรโดยทำข้อตกลงกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้มีเกษตรกรรุ่นใหม่เข้ามาต่อยอดเกษตรกรรุ่นก่อน ส่วนการประกันพืชผลการเกษตรของเกษตกรนั้น ธกส.กับเกษตกร จะต้องเข้าทำงานร่วมกันเพื่อการออมเงินในอนาคต โดยกระทรวงเกษตรฯ จำเป็น ต้องขยายการออมในอนาคต 1 ล้านคนต่อปี จะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร เพราะระบบนี้คล้ายๆ กับระบบประกันสังคม หรือประกันชีวิต แต่เป็นการประกันผลผลิตการเกษตร รวมทั้งขอเสนอให้รัฐบาลใช้

"สิ่งที่ขอทักท้วงรัฐบาล มี4คำถาม ที่ต้องการคำตอบจากรัฐบาลคือ กรณีหวยออนไลน์จะทำอย่างไร เพราะเป็นการมอมเมาอย่างชัดแจ้ง การจัดระบบโซนนิ่ง ร้านเกม จะทำอย่างไร รัฐบาลจะกล้าบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังแค่ไหน ส่วนประเด็นการศึกษา กองทุน กยศ.และกรอ.ควรอยู่กองทุนเดียวกัน และโรงเรียน"

ด้าน นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ สนช. อภิปรายว่า นโยบายของรัฐบาล ให้ความสำคัญกับคนพิการพอสมควร แต่ตนอยากให้เน้นในเรื่องนโยบาย ทางด้าน การศึกษาสำหรับคนพิการ ควรจะจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับคนพิการอย่างพอเพียง เน้นการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างอาชีพ สนับสนุนให้มีการจัดสรรเบี้ยยังชีพสำหรับคนพิการอย่างทั่วถึง เบี้ยเลี้ยงช่วยเหลือเด็กพิการ จัดสรรงบให้กับศูนย์การศึกษาพิเศษสำหรับคนพิการ นอกจากนี้อยากเรียกร้องให้รัฐบาล ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาสิทธิคนพิการ ให้ผ่านกฎหมายส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งผ่านมาหลายปีแล้วก็ยังไม่เป็นผล

จากนั้นมีการอภิปรายท้วงติงนโยบายรัฐบาลของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิก สนช. โดยเฉพาะ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สนช.อภิปรายไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลที่จะยกเลิกซีแอลยาต้านมะเร็ง เพราะการทำซีแอลเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาขนเข้าถึงยาในราคาถูก การยกเลิกซีแอลเหมือนรัฐบาลเข้าไปอุ้มบริษัทยาข้ามชาติ
กำลังโหลดความคิดเห็น