ผู้จัดการรายวัน – กสิกรไทยยันมาตรการสำรอง 30% เหมาะสมที่จะยกเลิกในช่วงครึ่งปีหลัง จี้รัฐบาลหากยกเลิกต้องพิจารณาถึงเป้าหมายของการยกเลิก รวมถึงมาตรการใหม่ที่จะรองรับ ระบุหากจะยกเลิกแล้วใช้มาตรการเก็บภาษีขาออกแทน เปรียบเหมือนการตบหน้าที่ย้ายจากตบแก้มซ้ายไปแก้มขวาซึ่งเจ็บพอๆกัน แนะแบงก์ชาติและกระทรวงการคลังเร่งปรึกษาลดความคลุมเครือของมาตรการดังกล่าว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ในขณะนี้ถือว่ายังเป็นจังหวะเวลาที่ยังไม่เหมาะสม เพราะเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องยังไม่เอื้ออำนวย โดยการที่ธนาคารกลางสหรัฐมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจำนวนมาก ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง จะทำให้มีผลต่อการเคลื่อนย้ายของเงิน ซึ่งเงินดังกล่าวคาดว่าจะไหลเข้ามาภูมิภาคเอเชียและอาจทำให้เกิดการเก็งกำไรได้
ทั้งนี้ หากรัฐบาลที่เข้ามาใหม่ต้องการที่จะให้มีการยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ก็ควรจะพิจารณาถึงเป้าหมายของการยกเลิกว่าคืออะไรและควรจะมียุทธศาสตร์หรือมาตรการที่จะมาดูแลเกี่ยวกับเรื่องของค่าเงินอย่างไร เพราะการปล่อยให้มีเงินไหลเข้านั้นถือเป็นเรื่องดีต่อบรรยากาศการลงทุนแต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้น การยกเลิกมาตรการดังกล่าวจึงควรดูถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสม
"ยังยืนยันว่าในช่วงครึ่งปีหลังถึงจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการยกเลิกมาตรการสำรอง 30% และต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่หากมีการยกเลิกมาตรการนี้แล้วใช้วิธีเก็บภาษีขาออกแทน ก็ถือว่าหนักพอๆกัน เพราะเดิมนักลงทุนต่างประเทศคิดว่าเรายินดีต้อนรับ แต่พอมีมาตรการ 30%ออกมาก็เหมือนกันต้อนรับแต่ขอตบแก้มซ้าย และถ้ายกเลิกและใช้เรื่องภาษีแทนก็เหมือนกันเปลี่ยนจากตบแก้มซ้ายมาเป็นแก้มขวาก็เจ็บพอๆ กัน" นายประสารกล่าว
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลังควรจะมีการปรึกษากันและหาแนวทางที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะความคลุมเครือนั้นทำให้เกิดความไม่แน่นอนใจตลาดและจะนำมาซึ่งความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเกินความจำเป็น โดยแนวทางที่ตลาดต้องการนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นตัวเลข เพียงแต่เป็นแนวคิดหรือยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนก็พอ รวมถึงทิศทางอัตราและเปลี่ยนด้วยที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกันดูแล
นายประสาร กล่าวอีกว่า ในส่วนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้นหากปรับลดในอัตราที่มากก็อาจจะมีผลข้างเคียงกับเศรษฐกิจได้ เพราะตอนนี้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบอยู่ ตัวอย่างเช่น นับถอยหลังไป 10 ปีที่แล้ว สหรัฐฯได้มีการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำนานถึง 18 เดือน ซึ่งผลข้างเคียงที่ออกมาคือการเกิดปัญหาซับไพรม์ในปัจจุบันนั่นเอง ดังนั้น หากทางการไทยจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้นจึงไม่ควรจะลดในเวลาที่ยาวมากนักและต่อจากนั้นก็ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาด
**บาทแข็งต่อเนื่องแตะ 32.50**
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตตลาดวานนี้ (18 ก.พ.) ที่ระดับ 32.52-32.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเช้าเปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 32.50-32.53 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ โดยมีการปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปรับตัวอ่อนค่าที่สุดที่ระดับ 32.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ (19 ก.พ.) คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.50-32.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยบรรยากาศโดยรวมจะยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบเช่นเดิม
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินเงินบาทสัปดาห์นี้มีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 32.45-32.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่ควรจับตาได้แก่ ความชัดเจนในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง 30% แรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐ ของผู้ส่งออก การเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างชาติ และสัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของธปท. ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจัดทำโดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจัดทำโดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนกุมภาพันธ์ ตลอดจนดัชนีราคาผู้บริโภค ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านการอนุญาตก่อสร้าง และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจัดทำโดย Conference Board เดือนมกราคม
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ในขณะนี้ถือว่ายังเป็นจังหวะเวลาที่ยังไม่เหมาะสม เพราะเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องยังไม่เอื้ออำนวย โดยการที่ธนาคารกลางสหรัฐมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจำนวนมาก ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง จะทำให้มีผลต่อการเคลื่อนย้ายของเงิน ซึ่งเงินดังกล่าวคาดว่าจะไหลเข้ามาภูมิภาคเอเชียและอาจทำให้เกิดการเก็งกำไรได้
ทั้งนี้ หากรัฐบาลที่เข้ามาใหม่ต้องการที่จะให้มีการยกเลิกมาตรการสำรอง 30% ก็ควรจะพิจารณาถึงเป้าหมายของการยกเลิกว่าคืออะไรและควรจะมียุทธศาสตร์หรือมาตรการที่จะมาดูแลเกี่ยวกับเรื่องของค่าเงินอย่างไร เพราะการปล่อยให้มีเงินไหลเข้านั้นถือเป็นเรื่องดีต่อบรรยากาศการลงทุนแต่จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้น การยกเลิกมาตรการดังกล่าวจึงควรดูถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสม
"ยังยืนยันว่าในช่วงครึ่งปีหลังถึงจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการยกเลิกมาตรการสำรอง 30% และต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่หากมีการยกเลิกมาตรการนี้แล้วใช้วิธีเก็บภาษีขาออกแทน ก็ถือว่าหนักพอๆกัน เพราะเดิมนักลงทุนต่างประเทศคิดว่าเรายินดีต้อนรับ แต่พอมีมาตรการ 30%ออกมาก็เหมือนกันต้อนรับแต่ขอตบแก้มซ้าย และถ้ายกเลิกและใช้เรื่องภาษีแทนก็เหมือนกันเปลี่ยนจากตบแก้มซ้ายมาเป็นแก้มขวาก็เจ็บพอๆ กัน" นายประสารกล่าว
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลังควรจะมีการปรึกษากันและหาแนวทางที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะความคลุมเครือนั้นทำให้เกิดความไม่แน่นอนใจตลาดและจะนำมาซึ่งความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเกินความจำเป็น โดยแนวทางที่ตลาดต้องการนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นตัวเลข เพียงแต่เป็นแนวคิดหรือยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนก็พอ รวมถึงทิศทางอัตราและเปลี่ยนด้วยที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องรวมกันดูแล
นายประสาร กล่าวอีกว่า ในส่วนของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้นหากปรับลดในอัตราที่มากก็อาจจะมีผลข้างเคียงกับเศรษฐกิจได้ เพราะตอนนี้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบอยู่ ตัวอย่างเช่น นับถอยหลังไป 10 ปีที่แล้ว สหรัฐฯได้มีการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำนานถึง 18 เดือน ซึ่งผลข้างเคียงที่ออกมาคือการเกิดปัญหาซับไพรม์ในปัจจุบันนั่นเอง ดังนั้น หากทางการไทยจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้นจึงไม่ควรจะลดในเวลาที่ยาวมากนักและต่อจากนั้นก็ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาด
**บาทแข็งต่อเนื่องแตะ 32.50**
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทปิดตตลาดวานนี้ (18 ก.พ.) ที่ระดับ 32.52-32.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากช่วงเช้าเปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 32.50-32.53 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ โดยมีการปรับตัวแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.51 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปรับตัวอ่อนค่าที่สุดที่ระดับ 32.54 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ (19 ก.พ.) คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.50-32.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยบรรยากาศโดยรวมจะยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบเช่นเดิม
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินเงินบาทสัปดาห์นี้มีกรอบการเคลื่อนไหวที่ 32.45-32.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่ควรจับตาได้แก่ ความชัดเจนในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการกันสำรอง 30% แรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐ ของผู้ส่งออก การเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างชาติ และสัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของธปท. ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะขึ้นกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญประกอบด้วย ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยจัดทำโดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) และผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจจัดทำโดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนกุมภาพันธ์ ตลอดจนดัชนีราคาผู้บริโภค ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านการอนุญาตก่อสร้าง และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจจัดทำโดย Conference Board เดือนมกราคม