วานนี้(18 ก.พ.) คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวยอมรับว่า ได้ส่งเรื่องตีความการแต่งตั้งส.ส. มาดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันศุกร์ที่15 ก.พ. โดยได้ตีความว่า รัฐมนตรีสามารถแต่งตั้ง ส.ส.เขตและ ส.ส.ระบบสัดส่วนได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าปัญหาจะตามคือ หากมีผู้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก็จะเป็นเรื่องที่ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่สามารถชี้ขาดได้ คงจะเป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ
"ขอยืนยันว่า สามารถแต่งตั้งส.ส.เป็นเลขานุการและที่ปรึกษาฯได้ ตามระบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง แต่จะทำได้หรือไม่ตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คงจะเสนอครม. เพื่อประกอบการพิจารณาในวันพุธที่ 20 ก.พ.นี้ นอกจากนี้พรรคการเมืองต่างๆโดยเฉพาะพรรคพลังประชาชนก็คงจะได้รับทราบแล้ว"
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลเตรียมพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) และคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ขึ้นมาอีกครั้ง ภายหลังที่รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีมติให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับ
ทั้งนี้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แต่งตั้งหน่วยงานทั้ง 2 คณะขึ้นมา และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการแต่งตั้งเพื่อให้ประโยชน์กับนายทุนพรรค และผู้ที่ผิดหวังกับการไม่ได้เป็นรัฐมนตรี รวมทั้งประธานคณะกรรมาธิการ
อย่างไรก็ตาม หากแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดขึ้นมาก็จะไม่ขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ด้วย เนื่องจากมาตรา 265 ไม่ได้ห้าม ส.ส.ระบบสัดส่วน หรือ ส.ส.เขต มาเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และผู้แทนการค้าไทย
ก่อนหน้านั้นผู้แทนการค้าไทย หรือทีทีอาร์ ชุดล่าสุดที่ถูกยุบ ประกอบด้วย นายกันตธีร์ ศุภมงคล นายประจวบ ไชยสาส์น นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร นายประวิช รัตนเพียร นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และนายปานปรีย์ พหิทธานุกร โดยมีเงินเดือนและรถประจำตำแหน่งเทียบเท่ากับรัฐมนตรี ขณะที่กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ก็มีเงินเดือนเทียบเท่ารัฐมนตรีเช่นกัน
**ส.ส.ทำใจหมดหวังนั่งเลขา-ที่ปรึกษารมต.
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่คุณพรทิพย์ จาละ ระบุว่า ส.ส. สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ แต่ไม่รับรองขัดรธน.หรือไม่ว่า ขณะนี้ส.ส.ก็ได้ทำใจไปเยอะแล้ว ไม่มีใครติดใจที่จะดำรงตำแหน่ง และเชื่อว่าพรรคจะไม่นำรายชื่อมาทบทวน คงให้เป็นไปตามขั้นตอนนั้นก่อน คงไม่มีใครกล้า
ร.ท.กุเทพ ยังกล่าวถึงกรณีเว็บไฮทักษิณ นำเสนอบทความโจมตี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย รวมทั้งโจมตีบุตรชายว่า เรื่องนี้ไม่ได้มีการพูดคุยในพรรค เพราะว่าไม่ได้เป็นประเด็น พรรคก็ไม่ได้ติดใจประเด็นเหล่านี้ ซึ่งเว็บไฮทักษิณ ก็ถือเป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่ง มีสิทธิที่แสดงความเห็นแต่ว่าความคิดเห็นดังกล่าวไม่ใช่ของคนในพรรค
เมื่อถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเว็บไฮทักษิณ ได้รับการสนับสนุนจาก นายเนวิน ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ไม่น่าจะใช่เว็บไซต์ของนายเนวิน ซึ่งทางพรรคหากจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อะไร เราจะใช้สื่อแท้ ไม่ใช้สื่อเทียม เพราะว่าถ้าใช้สื่อเทียม จะมีปัญหามากกว่า
โฆษกพรรคพลังประชาชน ยังกล่าวถึงการหยิบยก ประเด็น 6 ตุลา 19 ขึ้นมาระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาลว่า ในการอภิปราย ผู้อภิปรายก็รู้อยู่แล้วว่ากรอบการอภิปรายเป็นอย่างไร และนายกฯ ก็ใช้สิทธิที่ถูกพาดพิง จากการที่ตนพูด ก็เห็นว่านายกฯ มีข้อมูลชัดเจนในเรื่องของประวัติศาตสร์ และไม่คิดว่านายกฯจะถูกรุม เท่าที่ตนได้ฟังป็นเรื่องของความคลาดเคลื่อน ซึ่งนายกฯ มีข้อมูลอยู่แล้ว ใครจะอธิบายแทนไม่ได้ และในพรรค ก็มีเพียงบางคนที่พูดคุยกันถึงเรื่องนี้ แต่ไม่เห็นว่า จะมีใครเพลี่ยงพล้ำ เพราะเป็นการพูดที่สมน้ำสมเนื้อ และไม่ได้มีการขุดคุ้ยอะไรขึ้นมา
เมื่อถามว่า จำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชำระ หรือไม่ ร.ท กุเทพ กล่าวว่า ในเรื่องนี้เคยมีการหารือมาแล้ว และนายกฯ อาจมีข้อมูลเพิ่มเติมอีก
ด้านนายพีรพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชน ในฐานะฝ่ายกฎหมาย พรรค กล่าวถึงกรณีเลขาธิการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่าส.ส.สามรถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ว่า เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปดูคำถามที่ ครม. ส่งไปว่าได้ถามว่า หาก ส.ส.ดำรงตำแหน่งแล้วจะพ้นจากสมาชิกภาพหรือไม่ เพราะกฤษฎีกาจะวินิจฉัยเฉพาะขอบเขตคำถามที่ได้ถามไปเท่านั้น ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ส.ส. สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หรือไม่ เพราะถ้าจะแต่งตั้งจริง ก็สามารถแจ่งตั้งได้อยู่แล้ว แต่ว่ากล้าที่จะเสี่ยงกับการพ้นสมาชิกภาพหรือไม่
"ขอยืนยันว่า สามารถแต่งตั้งส.ส.เป็นเลขานุการและที่ปรึกษาฯได้ ตามระบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง แต่จะทำได้หรือไม่ตามรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คงจะเสนอครม. เพื่อประกอบการพิจารณาในวันพุธที่ 20 ก.พ.นี้ นอกจากนี้พรรคการเมืองต่างๆโดยเฉพาะพรรคพลังประชาชนก็คงจะได้รับทราบแล้ว"
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลเตรียมพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) และคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ขึ้นมาอีกครั้ง ภายหลังที่รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีมติให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ฉบับ
ทั้งนี้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แต่งตั้งหน่วยงานทั้ง 2 คณะขึ้นมา และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการแต่งตั้งเพื่อให้ประโยชน์กับนายทุนพรรค และผู้ที่ผิดหวังกับการไม่ได้เป็นรัฐมนตรี รวมทั้งประธานคณะกรรมาธิการ
อย่างไรก็ตาม หากแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดขึ้นมาก็จะไม่ขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ด้วย เนื่องจากมาตรา 265 ไม่ได้ห้าม ส.ส.ระบบสัดส่วน หรือ ส.ส.เขต มาเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี และผู้แทนการค้าไทย
ก่อนหน้านั้นผู้แทนการค้าไทย หรือทีทีอาร์ ชุดล่าสุดที่ถูกยุบ ประกอบด้วย นายกันตธีร์ ศุภมงคล นายประจวบ ไชยสาส์น นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร นายประวิช รัตนเพียร นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และนายปานปรีย์ พหิทธานุกร โดยมีเงินเดือนและรถประจำตำแหน่งเทียบเท่ากับรัฐมนตรี ขณะที่กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ก็มีเงินเดือนเทียบเท่ารัฐมนตรีเช่นกัน
**ส.ส.ทำใจหมดหวังนั่งเลขา-ที่ปรึกษารมต.
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่คุณพรทิพย์ จาละ ระบุว่า ส.ส. สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ แต่ไม่รับรองขัดรธน.หรือไม่ว่า ขณะนี้ส.ส.ก็ได้ทำใจไปเยอะแล้ว ไม่มีใครติดใจที่จะดำรงตำแหน่ง และเชื่อว่าพรรคจะไม่นำรายชื่อมาทบทวน คงให้เป็นไปตามขั้นตอนนั้นก่อน คงไม่มีใครกล้า
ร.ท.กุเทพ ยังกล่าวถึงกรณีเว็บไฮทักษิณ นำเสนอบทความโจมตี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย รวมทั้งโจมตีบุตรชายว่า เรื่องนี้ไม่ได้มีการพูดคุยในพรรค เพราะว่าไม่ได้เป็นประเด็น พรรคก็ไม่ได้ติดใจประเด็นเหล่านี้ ซึ่งเว็บไฮทักษิณ ก็ถือเป็นสื่อมวลชนแขนงหนึ่ง มีสิทธิที่แสดงความเห็นแต่ว่าความคิดเห็นดังกล่าวไม่ใช่ของคนในพรรค
เมื่อถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเว็บไฮทักษิณ ได้รับการสนับสนุนจาก นายเนวิน ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ ไม่น่าจะใช่เว็บไซต์ของนายเนวิน ซึ่งทางพรรคหากจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อะไร เราจะใช้สื่อแท้ ไม่ใช้สื่อเทียม เพราะว่าถ้าใช้สื่อเทียม จะมีปัญหามากกว่า
โฆษกพรรคพลังประชาชน ยังกล่าวถึงการหยิบยก ประเด็น 6 ตุลา 19 ขึ้นมาระหว่างการแถลงนโยบายรัฐบาลว่า ในการอภิปราย ผู้อภิปรายก็รู้อยู่แล้วว่ากรอบการอภิปรายเป็นอย่างไร และนายกฯ ก็ใช้สิทธิที่ถูกพาดพิง จากการที่ตนพูด ก็เห็นว่านายกฯ มีข้อมูลชัดเจนในเรื่องของประวัติศาตสร์ และไม่คิดว่านายกฯจะถูกรุม เท่าที่ตนได้ฟังป็นเรื่องของความคลาดเคลื่อน ซึ่งนายกฯ มีข้อมูลอยู่แล้ว ใครจะอธิบายแทนไม่ได้ และในพรรค ก็มีเพียงบางคนที่พูดคุยกันถึงเรื่องนี้ แต่ไม่เห็นว่า จะมีใครเพลี่ยงพล้ำ เพราะเป็นการพูดที่สมน้ำสมเนื้อ และไม่ได้มีการขุดคุ้ยอะไรขึ้นมา
เมื่อถามว่า จำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชำระ หรือไม่ ร.ท กุเทพ กล่าวว่า ในเรื่องนี้เคยมีการหารือมาแล้ว และนายกฯ อาจมีข้อมูลเพิ่มเติมอีก
ด้านนายพีรพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคพลังประชาชน ในฐานะฝ่ายกฎหมาย พรรค กล่าวถึงกรณีเลขาธิการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่าส.ส.สามรถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ว่า เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปดูคำถามที่ ครม. ส่งไปว่าได้ถามว่า หาก ส.ส.ดำรงตำแหน่งแล้วจะพ้นจากสมาชิกภาพหรือไม่ เพราะกฤษฎีกาจะวินิจฉัยเฉพาะขอบเขตคำถามที่ได้ถามไปเท่านั้น ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ส.ส. สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หรือไม่ เพราะถ้าจะแต่งตั้งจริง ก็สามารถแจ่งตั้งได้อยู่แล้ว แต่ว่ากล้าที่จะเสี่ยงกับการพ้นสมาชิกภาพหรือไม่