การได้จาริกมาศึกษาในแผ่นดินถิ่นกำเนิดของพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนา มาให้ได้เห็นกับตา เมื่อเห็นภาพรวมทั้งหมดแล้วทำให้หวนคิด ไตร่ตรองอย่างมีสติและสมาธิ ทำให้รู้สึกรักภูมิใจในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพิ่มยิ่งขึ้นเป็นทวีคุณ การที่เราได้เกิดมาเป็นคนไทยถือได้ว่าเป็นความโชคดีที่สุด ประเทศไทยเราถือได้ว่าเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด มีพระพุทธศาสนาที่ให้มีปัญญาอันยิ่งเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ เรามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงธรรมเป็นธรรมิกราชที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา ทุกอย่างประเทศไทยเราดีพร้อมหมด แต่เราก็มีข้อเสียอย่างใหญ่หลวง นั่นคือเรากลับมีระบอบการเมืองมิจฉาทิฐิครอบงำมายาวนานเกินกว่า 75 ปีแล้ว และยากที่จะหยุดยั้งได้
ในตอนที่ 4 นี้ก็เป็นตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่ง ว่าด้วยสาระสำคัญอันยิ่ง และความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย
พระพุทธเจ้า ทรงเป็นแบบอย่างของการอุทิศตนเพื่อมวลมนุษยชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นแบบอย่างของพระโพธิสัตว์ในการอุทิศตนเพื่อชาติและพสกนิกร
“เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่เหล่าพสกนิกรชาวไทยและชาวต่างประเทศว่า พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยนั้นยิ่งใหญ่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ และพระบารมีเหนือสถาบันพระมหากษัตริย์ใดๆ ในประเทศทั้งปวง หลักสาระสำคัญแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย คือ ทศพิธราชธรรม ซึ่งสืบทอดมาแต่บรรพกาล”
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบแห่งรัฐ และเป็นสถาบันทรงความยุติธรรม ความเป็นมาของชาติไทยอันมีรากฐานอันมั่นคงและได้พัฒนาขึ้นเป็นอุดมการณ์แห่งชาติ คือ ชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งสามสถาบันต่างอิงอาศัยกันและกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน แยกกันไม่ได้ ดุจพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ในเชิงสารัตถะหรือแก่นสารที่แท้จริง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชสมภารเจ้า พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงปฏิบัติธรรม ตรงวิถีธรรมอันเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ พิสูจน์ได้ดังนี้
1. พระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นเอกภาพหรือศูนย์รวมของชาติ ส่วนพสกนิกรเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
2. พระเจ้าอยู่หัว ทรงแผ่พระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการ เป็นปัจจัยให้พสกนิกรซาบซึ้ง จงรักภักดีขึ้นตรงต่อพระเจ้าอยู่หัว เกิดความสัมพันธ์โดยธรรมคือแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพตามกฎธรรมชาติ
3. สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันแห่งธรรม ทรงธรรม เป็นธรรมาธิปไตย จึงมีลักษณะแผ่ความเป็นธรรม แผ่พระบรมเดชานุภาพ แผ่ความถูกต้อง แผ่ความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในประเทศ และทรงเอื้อเฟื้อต่อนานาประเทศ
4. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะปฐมภูมิ คือ ทรงถือและเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจอธิปไตยของชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจอื่นใดทั้งหมด เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ เป็นต้น
5. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นอำนาจที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อมคลาย หรือสูญหายไปไหน หรือไม่มีใครจะแย่งชิงไปได้ จึงเป็นอำนาจที่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ หรืออำนาจอื่นใดในประเทศ และอำนาจนั้นๆ จะต้องขึ้นตรงต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เสมอไป ดุจดาวเคราะห์ต้องขึ้นต่อดวงอาทิตย์เสมอไป หรือชาวพุทธต้องขึ้นตรงต่อพระรัตนตรัยเสมอไป
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ สถาบันอื่นๆ เช่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ พสกนิกร หรือประชาชนพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นเอกภาพหรือศูนย์รวมของชาติ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ อำนาจอธิปไตยของปวงชน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ องค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ กองทัพ (ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และกองกำลังอื่นๆ ของชาติทั้งหมด)
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ ข้าราชการ เป็นต้น
เพื่อทรงไว้ซึ่งลักษณะดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้าร่วมกัน ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ สถาบันอื่นๆ ซึ่งได้จัดความสัมพันธ์โดยธรรม เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ และขันธ์ 5 (ซึ่งได้กล่าวไว้ในตอนที่ 1, 2, 3) ใน 9 ลักษณะ โดยจะยกเอาข้อที่ 3 มาเป็นตัวอย่าง คือความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ องค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มาเป็นตัวอย่าง ส่วนข้ออื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ลักษณะเดียวกัน ดังนี้
1. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะดุจเดียวกับสภาวะอสังขตธรรม ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะดุจเดียวกับสภาวะสังขตธรรม อันจะเป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ
2. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวาระละ 4 ปี
3. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเป็นด้านทุติยภูมิ
4. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเอกภาพ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
5. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะทั่วไป (General) ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเฉพาะ (Individual) คือมีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
6. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจายครอบคลุมประชาชนทั้งหมด หรือส่วนที่เกี่ยวพันสัมพันธ์กันทั้งหมดในประเทศ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะรวมศูนย์ คือมุ่งตรง ขึ้นตรงต่อองค์เอกภาพของชาติคือองค์พระมหากษัตริย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพเช่นเดียวกับกฎธรรมชาติ
7. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ หมายความว่าสถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ล่มสลาย ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเกิด แก่เจ็บ ตาย หมายความว่าดำรงตำแหน่งได้ตามวาระที่กำหนดไว้วาระละ 4 ปี
8. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์หลัก ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์รอง หมายความว่ากระทำการใดๆ ในทางกฎหมายจะต้องไม่ละเมิด ไม่กระทบ ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสถาบันความมั่นคงแห่งชาติ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
9. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะดุจดาวเคราะห์ สัมพันธ์กันอย่างดุลยภาพใน 9 ลักษณะ
การจัดความสัมพันธ์โดยธรรมทั้ง 9 ลักษณะ ดังกล่าวนี้ คือเหตุปัจจัยที่จะทำให้ประเทศชาติ สถาบันแห่งความมั่นคงของชาติ (ชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์) ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ดำรงอยู่ดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่ง ความเป็นรัฐสมัยใหม่ พระมหากษัตริย์ทรงมีภารกิจอันสำคัญยิ่งที่จะทรงลืมไม่ได้ ในการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม หรือระบอบโดยธรรม และจัดให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้องโดยสอดคล้องกับหลักการปกครองโดยธรรมอันเป็นรากฐาน แก่นแท้ของชาติ เป็นบ่อเกิดแห่งการวิวัฒนาการก้าวหน้าโดยธรรม เช่น หลักธรรมาธิปไตย, หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยหรือแห่งรัฐ, หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชนหรือของชาติ, หลักเสรีภาพ, หลักความเสมอภาคทางโอกาส, หลักภราดรภาพ, หลักดุลยภาพ หลักเอกภาพ, หลักนิติธรรม เป็นต้น
ธรรม ปัญญาอันยิ่ง วิธีคิดโดยธรรม เป็นธรรมาธิปไตย คืออารยธรรมใหม่อันจะเป็นปัจจัยให้สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ระบอบการเมืองโดยธรรม ดำรงอยู่อย่างมั่นคงดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ (อ่านต่อตอนที่ 5 การสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ฯลฯ)
ในตอนที่ 4 นี้ก็เป็นตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่ง ว่าด้วยสาระสำคัญอันยิ่ง และความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย
พระพุทธเจ้า ทรงเป็นแบบอย่างของการอุทิศตนเพื่อมวลมนุษยชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นแบบอย่างของพระโพธิสัตว์ในการอุทิศตนเพื่อชาติและพสกนิกร
“เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่เหล่าพสกนิกรชาวไทยและชาวต่างประเทศว่า พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยนั้นยิ่งใหญ่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ และพระบารมีเหนือสถาบันพระมหากษัตริย์ใดๆ ในประเทศทั้งปวง หลักสาระสำคัญแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย คือ ทศพิธราชธรรม ซึ่งสืบทอดมาแต่บรรพกาล”
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบแห่งรัฐ และเป็นสถาบันทรงความยุติธรรม ความเป็นมาของชาติไทยอันมีรากฐานอันมั่นคงและได้พัฒนาขึ้นเป็นอุดมการณ์แห่งชาติ คือ ชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งสามสถาบันต่างอิงอาศัยกันและกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน แยกกันไม่ได้ ดุจพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ในเชิงสารัตถะหรือแก่นสารที่แท้จริง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชสมภารเจ้า พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงปฏิบัติธรรม ตรงวิถีธรรมอันเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ พิสูจน์ได้ดังนี้
1. พระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นเอกภาพหรือศูนย์รวมของชาติ ส่วนพสกนิกรเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
2. พระเจ้าอยู่หัว ทรงแผ่พระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการ เป็นปัจจัยให้พสกนิกรซาบซึ้ง จงรักภักดีขึ้นตรงต่อพระเจ้าอยู่หัว เกิดความสัมพันธ์โดยธรรมคือแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพตามกฎธรรมชาติ
3. สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันแห่งธรรม ทรงธรรม เป็นธรรมาธิปไตย จึงมีลักษณะแผ่ความเป็นธรรม แผ่พระบรมเดชานุภาพ แผ่ความถูกต้อง แผ่ความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมดในประเทศ และทรงเอื้อเฟื้อต่อนานาประเทศ
4. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะปฐมภูมิ คือ ทรงถือและเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจอธิปไตยของชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจอื่นใดทั้งหมด เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ เป็นต้น
5. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นอำนาจที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อมคลาย หรือสูญหายไปไหน หรือไม่มีใครจะแย่งชิงไปได้ จึงเป็นอำนาจที่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ หรืออำนาจอื่นใดในประเทศ และอำนาจนั้นๆ จะต้องขึ้นตรงต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เสมอไป ดุจดาวเคราะห์ต้องขึ้นต่อดวงอาทิตย์เสมอไป หรือชาวพุทธต้องขึ้นตรงต่อพระรัตนตรัยเสมอไป
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ สถาบันอื่นๆ เช่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ พสกนิกร หรือประชาชนพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นเอกภาพหรือศูนย์รวมของชาติ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ อำนาจอธิปไตยของปวงชน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ องค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ กองทัพ (ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และกองกำลังอื่นๆ ของชาติทั้งหมด)
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ ข้าราชการ เป็นต้น
เพื่อทรงไว้ซึ่งลักษณะดุลยภาพ มั่นคง ก้าวหน้าร่วมกัน ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ สถาบันอื่นๆ ซึ่งได้จัดความสัมพันธ์โดยธรรม เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ และขันธ์ 5 (ซึ่งได้กล่าวไว้ในตอนที่ 1, 2, 3) ใน 9 ลักษณะ โดยจะยกเอาข้อที่ 3 มาเป็นตัวอย่าง คือความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ กับ องค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มาเป็นตัวอย่าง ส่วนข้ออื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ลักษณะเดียวกัน ดังนี้
1. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะดุจเดียวกับสภาวะอสังขตธรรม ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะดุจเดียวกับสภาวะสังขตธรรม อันจะเป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพ
2. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวาระละ 4 ปี
3. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเป็นด้านปฐมภูมิ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเป็นด้านทุติยภูมิ
4. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเอกภาพ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
5. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะทั่วไป (General) ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเฉพาะ (Individual) คือมีลักษณะแตกต่างหลากหลาย
6. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะแผ่กระจาย หรือลักษณะแผ่กระจายครอบคลุมประชาชนทั้งหมด หรือส่วนที่เกี่ยวพันสัมพันธ์กันทั้งหมดในประเทศ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะรวมศูนย์ คือมุ่งตรง ขึ้นตรงต่อองค์เอกภาพของชาติคือองค์พระมหากษัตริย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพเช่นเดียวกับกฎธรรมชาติ
7. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะอยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์ หมายความว่าสถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ล่มสลาย ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเกิด แก่เจ็บ ตาย หมายความว่าดำรงตำแหน่งได้ตามวาระที่กำหนดไว้วาระละ 4 ปี
8. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์หลัก ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์รอง หมายความว่ากระทำการใดๆ ในทางกฎหมายจะต้องไม่ละเมิด ไม่กระทบ ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสถาบันความมั่นคงแห่งชาติ คือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
9. สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะอุปมาดุจดวงสุริยัน (พระอาทิตย์) ส่วนองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 (ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ) มีลักษณะดุจดาวเคราะห์ สัมพันธ์กันอย่างดุลยภาพใน 9 ลักษณะ
การจัดความสัมพันธ์โดยธรรมทั้ง 9 ลักษณะ ดังกล่าวนี้ คือเหตุปัจจัยที่จะทำให้ประเทศชาติ สถาบันแห่งความมั่นคงของชาติ (ชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์) ทรงไว้ซึ่งดุลยภาพ มั่นคง ดำรงอยู่ดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ
อีกนัยหนึ่ง ความเป็นรัฐสมัยใหม่ พระมหากษัตริย์ทรงมีภารกิจอันสำคัญยิ่งที่จะทรงลืมไม่ได้ ในการสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม หรือระบอบโดยธรรม และจัดให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้องโดยสอดคล้องกับหลักการปกครองโดยธรรมอันเป็นรากฐาน แก่นแท้ของชาติ เป็นบ่อเกิดแห่งการวิวัฒนาการก้าวหน้าโดยธรรม เช่น หลักธรรมาธิปไตย, หลักพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยหรือแห่งรัฐ, หลักอำนาจอธิปไตยของปวงชนหรือของชาติ, หลักเสรีภาพ, หลักความเสมอภาคทางโอกาส, หลักภราดรภาพ, หลักดุลยภาพ หลักเอกภาพ, หลักนิติธรรม เป็นต้น
ธรรม ปัญญาอันยิ่ง วิธีคิดโดยธรรม เป็นธรรมาธิปไตย คืออารยธรรมใหม่อันจะเป็นปัจจัยให้สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ระบอบการเมืองโดยธรรม ดำรงอยู่อย่างมั่นคงดุจเดียวกับกฎธรรมชาติ (อ่านต่อตอนที่ 5 การสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม ฯลฯ)