หลายปีมาแล้ว เจ้าของโรงเรียนในเชียงใหม่โทรศัพท์มาว่าอยากขอคำปรึกษาจากผม เมื่อพบกันเธอเล่าว่ามีลูกสองคน คนโตกำลังทำปริญญาเอก ลูกชายคนเล็กอายุ 14 ปี ไม่ยอมไปโรงเรียนถึงไปก็หนีออกไปเล่นเกม เธอไปปรึกษาแพทย์ หมอบอกว่าเด็กเป็นโรค “School Phobia” คือโรค “กลัวโรงเรียน”
ผมขอพบเด็กซึ่งไม่ค่อยช่างพูด ผมได้แนะนำให้ส่งเด็กไปโรงเรียนที่นิวซีแลนด์ ครูใหญ่ดีใจหายรับเด็กไว้ ผมเกรงว่าจะไปมีปัญหาอีก จึงบอกครูใหญ่ไว้ก่อน
เมื่อไปอยู่โรงเรียนที่นิวซีแลนด์ ครูใหญ่เล่าว่าเด็กคนนี้ไม่มีปัญหาเลย เขาเก่งคอมพิวเตอร์จนโรงเรียนแจ้งว่า ความรู้ของเขามีเกินกว่าที่ครูจะสอนได้
ที่โรงเรียนนี้มีกิจกรรมพิเศษคือ ให้เด็กทำภาพยนตร์สั้นๆ ใช้กล้องวิดีโอถ่าย เด็กไทยคนที่ว่านี้ทำภาพยนตร์เข้าประกวดได้ที่หนึ่ง หนังสือพิมพ์ลงข่าวเกรียวกราว เมื่อจบชั้นมัธยมปลายเขาก็ไปเรียนถ่ายหนัง ซึ่งไม่ได้เป็นการเรียนเอาปริญญา แต่จบแล้วก็มีงานรออยู่เลย เวลานี้เขาทำงานอยู่ในโรงถ่ายภาพยนตร์ในกรุงเวลลิงตัน
ผมไม่เชื่อว่าเด็กจะ “กลัวโรงเรียน” น่าจะเรียกว่า “เบื่อโรงเรียน” มากกว่า การที่เด็กเบื่อโรงเรียนก็เพราะมีการสอนที่น่าเบื่อ ส่วนมากจะเป็นการบรรยายในห้องเรียนโดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ได้น้อยมาก เด็กที่ชอบคอมพิวเตอร์หรือเล่นเกมต่างๆ จึงหันไปให้ความสนใจกับสิ่งที่สนุกกว่า
ตอนผมเด็กๆ ผมชอบทำข้าวผัด จริงๆ แล้วเป็นการเล่นชนิดหนึ่งที่เราทำเองกินเองสนุกมาก เวลาพี่ๆ น้องๆ มาบ้าน ผมก็จะผัดข้าวผัดเลี้ยง เรารู้สึกว่ามันเอร็ดอร่อยมากเพราะเป็นฝีมือของเราเอง ลูกศิษย์ของผมคนหนึ่ง เล่นรักบี้เก่งมาก แต่ไม่ชอบเรียนหนังสือ เรียนมหาวิทยาลัยอยู่หลายปี เวลานี้ไปเรียนทำอาหารที่กอร์ดอง เบลอ เขาจะต้องเป็นพ่อครัวที่เก่งต่อไป เพราะเขาชอบทำมากกว่าชอบเรียนแบบนั่งฟังอย่างเดียว
ในหลักสูตร เราน่าจะแบ่งการสอนออกเป็นสองแบบ คือ สอนทางวิชาการผ่านการบรรยาย ซึ่งในการเรียนแบบนี้อาจมีการท่องจำได้ เพราะยังจำเป็นอยู่ การเรียนอีกแบบหนึ่งคือ การเรียนผ่านกิจกรรม คือการทำหรือการเล่นนั่นเอง การเรียนที่เพลิดเพลินไม่จำเป็นต้องเป็นการเล่น แต่เป็นการลงมือทำ โรงเรียนในอังกฤษและอเมริกามีวิชาทำครัว มีครัวเล็กๆ ให้เด็กทำอาหาร การเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมนี้ โรงเรียนน่าจะมีอย่างน้อยก็ 20% ของการเรียนที่เน้นการบรรยายในห้องเรียน
กิจกรรมที่ว่านี้อาจเป็นการให้เด็กทำหนังสือพิมพ์ของชั้นก็ได้ เด็กเรียนรู้ภาษาไทยผ่านกิจกรรมนี้ในหนังสือพิมพ์ ยังมีการวาดภาพประกอบได้ เด็กๆ ที่มีทักษะต่างกันสามารถมีส่วนร่วมได้
กิจกรรมนอกสถานที่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรส่งเสริมเด็กสามารถเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาพชนบทได้เป็นอย่างดี หากมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม แต่ปัญหาก็คือ การจัดตารางสอน แม้ในระดับมหาวิทยาลัย นักศึกษาก็หาโอกาสออกไปทำกิจกรรมนอกห้องเรียนได้ยาก เพราะไม่มีเวลา
ดังนั้น หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมจึงต้องเริ่มต้นด้วยการจัดตารางสอนเสียใหม่ ควรเว้นการสอนในวันศุกร์จะได้ให้เด็กและครูมีเวลาไปนอกโรงเรียน หากจะไปต่างจังหวัดก็จะมีเวลาถึง 3 วัน
ครูส่วนใหญ่จะเคยชินกับการสอน และการจัดตารางสอนแบบเก่า การคิดกิจกรรมเป็นเรื่องใหม่ แต่เมื่อเริ่มทำไปแล้วก็จะเกิดความคิดใหม่ และชอบการเรียนการสอนแบบนี้
ครูสมัยใหม่ต้องพบกับการท้าทายจากแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ แต่เดิมโรงเรียนและครูเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเดียวเมื่อคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเข้ามา แหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นมากมาย ที่สำคัญก็คือมีความหลากหลาย มีการจัดข้อมูลความรู้ที่กระชับไม่เยิ่นเย้อ มีการคัดสรรเลือกเอาเฉพาะสาระ ผู้เล่นคอมพิวเตอร์สามารถเลือกเวลา และมีจังหวะการเรียนรู้ที่ตนเองสามารถควบคุมได้
โรงเรียนและครูสมัยใหม่จึงต้องปรับตัวเอง วิธีที่ดีและง่ายก็คือ นำเอาสิ่งที่มีในอินเทอร์เน็ตมาเป็นส่วนประกอบของการสอน แต่จะต้องให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและการนำเสนอ ไม่ใช่ไปลอกมาทั้งหมด
ถ้าครูรู้จักใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ เด็กก็จะเบื่อการเรียนน้อยลง นอกจากนั้นครูควรคิดด้วยว่ามีอะไรบ้างที่คอมพิวเตอร์ไม่มี แล้วครูก็จะนำเสนอบอกเล่าสิ่งเหล่านั้นให้เด็กฟัง
ผมหวังว่าคงมีเด็กที่เบื่อโรงเรียนน้อยลง เรามีเด็กที่เบื่อโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก บางคนถึงกับหยุดไปโรงเรียนเลยก็มี แต่มีผู้ให้ความสนใจเรื่องนี้น้อยลง ส่วนใหญ่มักจะพาลูกไปหาหมอแล้ว หมอก็บอกว่า “ลูกคุณสมาธิสั้น” ให้ยามากิน ผมพบเด็กที่หมอบอกว่าสมาธิสั้นหลายคน แต่พอให้ไปเล่นกีฬาหรือเล่นดนตรีก็อยู่ได้นานๆ ดังนั้น ผมจึงได้ข้อสรุปว่าคงเป็นเพราะเด็กเบื่อโรงเรียนมากกว่า
การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ ระบบการศึกษาก็เทอะทะ หลักสูตรก็เปลี่ยนแปลงยาก ดังนั้นเราจึงต้องหาจุดเหวี่ยงของการเปลี่ยนแปลงให้ได้ จะได้พ้นจากวังวนแห่งปัญหาที่ซับซ้อน ข้อเหวี่ยงที่ว่านี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครูนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ผมจึงเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องมุ่งไปที่การพัฒนาครูซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่เห็นความสำคัญ และความสนใจใคร่รู้ของเด็กๆ แทนที่จะท่องคาถา “เด็กเป็นศูนย์กลาง” แต่เพียงอย่างเดียว
ผมขอพบเด็กซึ่งไม่ค่อยช่างพูด ผมได้แนะนำให้ส่งเด็กไปโรงเรียนที่นิวซีแลนด์ ครูใหญ่ดีใจหายรับเด็กไว้ ผมเกรงว่าจะไปมีปัญหาอีก จึงบอกครูใหญ่ไว้ก่อน
เมื่อไปอยู่โรงเรียนที่นิวซีแลนด์ ครูใหญ่เล่าว่าเด็กคนนี้ไม่มีปัญหาเลย เขาเก่งคอมพิวเตอร์จนโรงเรียนแจ้งว่า ความรู้ของเขามีเกินกว่าที่ครูจะสอนได้
ที่โรงเรียนนี้มีกิจกรรมพิเศษคือ ให้เด็กทำภาพยนตร์สั้นๆ ใช้กล้องวิดีโอถ่าย เด็กไทยคนที่ว่านี้ทำภาพยนตร์เข้าประกวดได้ที่หนึ่ง หนังสือพิมพ์ลงข่าวเกรียวกราว เมื่อจบชั้นมัธยมปลายเขาก็ไปเรียนถ่ายหนัง ซึ่งไม่ได้เป็นการเรียนเอาปริญญา แต่จบแล้วก็มีงานรออยู่เลย เวลานี้เขาทำงานอยู่ในโรงถ่ายภาพยนตร์ในกรุงเวลลิงตัน
ผมไม่เชื่อว่าเด็กจะ “กลัวโรงเรียน” น่าจะเรียกว่า “เบื่อโรงเรียน” มากกว่า การที่เด็กเบื่อโรงเรียนก็เพราะมีการสอนที่น่าเบื่อ ส่วนมากจะเป็นการบรรยายในห้องเรียนโดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ได้น้อยมาก เด็กที่ชอบคอมพิวเตอร์หรือเล่นเกมต่างๆ จึงหันไปให้ความสนใจกับสิ่งที่สนุกกว่า
ตอนผมเด็กๆ ผมชอบทำข้าวผัด จริงๆ แล้วเป็นการเล่นชนิดหนึ่งที่เราทำเองกินเองสนุกมาก เวลาพี่ๆ น้องๆ มาบ้าน ผมก็จะผัดข้าวผัดเลี้ยง เรารู้สึกว่ามันเอร็ดอร่อยมากเพราะเป็นฝีมือของเราเอง ลูกศิษย์ของผมคนหนึ่ง เล่นรักบี้เก่งมาก แต่ไม่ชอบเรียนหนังสือ เรียนมหาวิทยาลัยอยู่หลายปี เวลานี้ไปเรียนทำอาหารที่กอร์ดอง เบลอ เขาจะต้องเป็นพ่อครัวที่เก่งต่อไป เพราะเขาชอบทำมากกว่าชอบเรียนแบบนั่งฟังอย่างเดียว
ในหลักสูตร เราน่าจะแบ่งการสอนออกเป็นสองแบบ คือ สอนทางวิชาการผ่านการบรรยาย ซึ่งในการเรียนแบบนี้อาจมีการท่องจำได้ เพราะยังจำเป็นอยู่ การเรียนอีกแบบหนึ่งคือ การเรียนผ่านกิจกรรม คือการทำหรือการเล่นนั่นเอง การเรียนที่เพลิดเพลินไม่จำเป็นต้องเป็นการเล่น แต่เป็นการลงมือทำ โรงเรียนในอังกฤษและอเมริกามีวิชาทำครัว มีครัวเล็กๆ ให้เด็กทำอาหาร การเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมนี้ โรงเรียนน่าจะมีอย่างน้อยก็ 20% ของการเรียนที่เน้นการบรรยายในห้องเรียน
กิจกรรมที่ว่านี้อาจเป็นการให้เด็กทำหนังสือพิมพ์ของชั้นก็ได้ เด็กเรียนรู้ภาษาไทยผ่านกิจกรรมนี้ในหนังสือพิมพ์ ยังมีการวาดภาพประกอบได้ เด็กๆ ที่มีทักษะต่างกันสามารถมีส่วนร่วมได้
กิจกรรมนอกสถานที่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรส่งเสริมเด็กสามารถเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสภาพชนบทได้เป็นอย่างดี หากมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม แต่ปัญหาก็คือ การจัดตารางสอน แม้ในระดับมหาวิทยาลัย นักศึกษาก็หาโอกาสออกไปทำกิจกรรมนอกห้องเรียนได้ยาก เพราะไม่มีเวลา
ดังนั้น หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมจึงต้องเริ่มต้นด้วยการจัดตารางสอนเสียใหม่ ควรเว้นการสอนในวันศุกร์จะได้ให้เด็กและครูมีเวลาไปนอกโรงเรียน หากจะไปต่างจังหวัดก็จะมีเวลาถึง 3 วัน
ครูส่วนใหญ่จะเคยชินกับการสอน และการจัดตารางสอนแบบเก่า การคิดกิจกรรมเป็นเรื่องใหม่ แต่เมื่อเริ่มทำไปแล้วก็จะเกิดความคิดใหม่ และชอบการเรียนการสอนแบบนี้
ครูสมัยใหม่ต้องพบกับการท้าทายจากแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ แต่เดิมโรงเรียนและครูเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างเดียวเมื่อคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตเข้ามา แหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นมากมาย ที่สำคัญก็คือมีความหลากหลาย มีการจัดข้อมูลความรู้ที่กระชับไม่เยิ่นเย้อ มีการคัดสรรเลือกเอาเฉพาะสาระ ผู้เล่นคอมพิวเตอร์สามารถเลือกเวลา และมีจังหวะการเรียนรู้ที่ตนเองสามารถควบคุมได้
โรงเรียนและครูสมัยใหม่จึงต้องปรับตัวเอง วิธีที่ดีและง่ายก็คือ นำเอาสิ่งที่มีในอินเทอร์เน็ตมาเป็นส่วนประกอบของการสอน แต่จะต้องให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและการนำเสนอ ไม่ใช่ไปลอกมาทั้งหมด
ถ้าครูรู้จักใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ เด็กก็จะเบื่อการเรียนน้อยลง นอกจากนั้นครูควรคิดด้วยว่ามีอะไรบ้างที่คอมพิวเตอร์ไม่มี แล้วครูก็จะนำเสนอบอกเล่าสิ่งเหล่านั้นให้เด็กฟัง
ผมหวังว่าคงมีเด็กที่เบื่อโรงเรียนน้อยลง เรามีเด็กที่เบื่อโรงเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก บางคนถึงกับหยุดไปโรงเรียนเลยก็มี แต่มีผู้ให้ความสนใจเรื่องนี้น้อยลง ส่วนใหญ่มักจะพาลูกไปหาหมอแล้ว หมอก็บอกว่า “ลูกคุณสมาธิสั้น” ให้ยามากิน ผมพบเด็กที่หมอบอกว่าสมาธิสั้นหลายคน แต่พอให้ไปเล่นกีฬาหรือเล่นดนตรีก็อยู่ได้นานๆ ดังนั้น ผมจึงได้ข้อสรุปว่าคงเป็นเพราะเด็กเบื่อโรงเรียนมากกว่า
การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ ระบบการศึกษาก็เทอะทะ หลักสูตรก็เปลี่ยนแปลงยาก ดังนั้นเราจึงต้องหาจุดเหวี่ยงของการเปลี่ยนแปลงให้ได้ จะได้พ้นจากวังวนแห่งปัญหาที่ซับซ้อน ข้อเหวี่ยงที่ว่านี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครูนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ผมจึงเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องมุ่งไปที่การพัฒนาครูซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่เห็นความสำคัญ และความสนใจใคร่รู้ของเด็กๆ แทนที่จะท่องคาถา “เด็กเป็นศูนย์กลาง” แต่เพียงอย่างเดียว