หมอเลี้ยบประกาศแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ ศก.สัปดาห์หน้า เรียกประชุมหน่วยงานกระทรวงการคลังระดมข้อมูลก่อนถกผู้บริหารแบงก์ชาติยกเลิกมาตรการ 30% วันนี้ บิ๊ก สศค.เสนอให้ลดดอกเบี้ยชดเชย ป้องกันทุนต่างประเทศทะลัก ชี้ข้อดีช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน เชื่อไม่กดดันต่อเงินเฟ้อ ยันไม่ใช้มาตรการจัดเก็บภาษีขาออกเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศ (Exit Tax) ด้านตลาดทุนนิยามมาตรการ 30% "สัญลักษณ์ปิดประเทศ" จี้แบงก์ชาติยกเลิก อ้างกู้ความเชื่อมั่นในสายตาต่างชาติ ปชป.ลุ้นระทึกคลังตัดสินใจเลิก 30%
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง คาดว่า กระทรวงการคลังจะสามารถประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในราวปลายสัปดาห์หน้า หลังจากที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภาฯ แล้ว ส่วนมาตรการสำรอง 30% จะมีการยกเลิกหรือไม่ เป็นอิสระของ ธปท.ที่จะพิจารณาภายหลังจากแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระทรวงการคลัง
"มาตรการสำรอง 30% เป็นมาตรการที่ไม่ใช่ว่าคลังจะสั่งได้ แต่จะเป็นการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน สุดท้ายแล้วแบงก์ชาติจะเป็นผู้ตัดสินใจ และยืนยันว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงแน่นอน" น.พ.สุรพงษ์กล่าวและว่า หลังจากหารือกับผู้ว่าการ ธปท.แล้ว จะมีการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
น.พ.สุรพงษ์ ยังเปิดเผยว่า วานนี้ตัวแทนจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเซส ได้เข้ามาพบตามวาระปกติ เพื่อสอบถามแนวนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งได้แจ้งกับตัวแทนของมูดี้ส์ไปว่าทางการจะมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นโดยเฉพาะในด้านการลงทุนและการบริโภค เพราะเชื่อว่าหากทั้งสองตัวฟื้นก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า วันนี้ (12 ก.พ.) เวลา 14.00 น. นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.และผู้บริหารระดับสูง จะเข้าชี้แจงนโยบายของ ธปท.ต่อ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง โดยจะมีการหยิบยกประเด็นการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% รวมถึงการสรุปภาพรวมเศรษฐกิจ มาร่วมหารือกัน โดยข้อมูลที่ ธปท.จะเตรียมไปชี้แจงถึงความจำเป็นในการใช้มาตรการ 30% ได้แก่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าลดลงจาก 17% เมื่อปี 2549 เหลือ 7% ในปี 2550 และปี 2551 แข็งค่าแล้วเพียง 2.3% ขณะที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้าลดลงจาก 1.3 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 49 เหลือเพียง 2.7 พันล้านเหรียญ ในปี 2550 ทั้งนี้ เงินทุนไหลเข้า-ออกเริ่มสมดุลมากขึ้น
ขณะที่ วานนี้ น.พ.สุรพงษ์ ได้เรียกประชุมหน่วยงานในกระทรวงการคลัง เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจในการประเมินความจำเป็นในการใช้มาตรการกันสำรองเงินตราต่างประเทศ 30% ของ ธปท.ก่อนที่จะมีการหารือกับผู้บริหาร ธปท.ในวันนี้
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)เปิดเผยว่า ในระหว่างการหารือร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังได้รับฟังข้อมูลจากทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อประเมินสถานการณ์ โดยที่ประชุมได้สรุปท่าทีของกระทรวงการคลังให้รัฐมนตรีรับทราบว่าการยกเลิกมาตรการ 30% ควรจะมีมาตรการที่จะนำมาใช้ในการดูแลเงินไหลเข้า โดยจะมีเป้าหมายในการป้องกันเงินไหลเข้า
สำหรับมาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือการปรับลดดอกเบี้ยในประเทศลงเพื่อให้ส่วนต่างกับดอกเบี้ยต่างประเทศลดน้อยลง ส่วนจะลดลงเท่าใดนั้นคงจะต้องมีการหารือในรายละเอียดก่อน และยืนยันว่าทางการจะไม่ใช้มาตรการจัดเก็บภาษีขาออกเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศ (Exit Tax)
"การยกเลิกมาตรการ 30% คาดว่าน่าจะมีแน่นอน แต่หากยกเลิกทันทีจะมีผลกระทบ เพราะดอกเบี้ยของไทยยังสูงกว่าต่างประเทศ จะทำให้เกิดเงินทุนไหลเข้ามามาก และในที่สุดจะทำให้เงินบาทแข็ง ซึ่งน่าเป็นห่วง ดังนั้นหากจะยกเลิกมาตรการ 30% ก็ต้องลดดอกเบี้ยด้วย แต่จะเป็นลดในอัตราเท่าใดนั้นคงต้องขึ้นกับการหารือร่วมกับ ธปท." นายสมชัย กล่าว
อย่างไรก็ตามในแง่ของผลกระทบ จากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% นั้นอาจจะมีเงินไหลเข้าได้ หากอัตราดอกเบี้ยในประเทศและ ต่างประเทศมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นในการลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินไหลเข้า ก็ควรจะมีมาตรการเสริมในลักษณะของมาตรการบูรณาการ เพื่อช่วยเหลือและลดผลกระทบจาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จะมีต่อผู้ฝากเงิน ข้าราชการเกษียณอายุ ตลอดจนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการส่งเสริมให้มีการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศให้มากขึ้น
ส่วนที่มีหลายฝ่ายเป็นห่วงว่าการปรับลดดอกเบี้ยอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อในประเทศเกิดจากราคาน้ำมันเป็นหลัก ขณะที่การใช้จ่ายของประชาชนมีอัตราชะลอตัวลง ดังนั้น การปรับลดดอกเบี้ยจึงไม่น่าจะเป็นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ จึงทำให้มีช่องที่สามารถปรับลดดอกเบี้ยลงได้ เพื่อช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน
นอกจากนี้ ในแง่ผลกระทบของการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะต้องมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ด้วยเพื่อร่วมกันหามาตรการเสริมด้านการเงิน
"ถ้าจะเลิกมาตรการ 30% ดอกเบี้ยต้องลงด้วย เพราะเงินจะไหลเข้า เงินบาทก็จะแข็งค่าอีก ดังนั้นคงต้องคุยกันว่าจะมีอะไรออกมาเพิ่มเติม และบทบาทหลังจากนี้ของแบงก์ชาติในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นอย่างไร รวมทั้งการแทรกแซงค่าเงินจะทำได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด"นายสมชัย กล่าว
ตลาดทุนแบงก์ชาติยกเลิกโดยเร็ว
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวถึงมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ว่า มาตรการดังกล่าวเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงการไม่ต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนตัวอยากให้มีการยกเลิกเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้สะดวกขึ้น
ทั้งนี้ การประกาศใช้มาตรการดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมาถือว่าไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างที่ภาครัฐต้องการ เนื่องจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้างที่ไม่ได้มีการใช้มาตรการดังกล่าว
"การจะยกเลิกมาตรการคงทำได้ไม่ง่าย เพราะว่ามีการใช้มาตรการดังกล่าวมานานมาแล้ว ผมเห็นด้วยที่ไม่ต้องการเห็นการเก็งกำไรค่าเงินบาท เก็งกำไรราคาหุ้นแต่เราก็ฝืนการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ไม่ได้"
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ภาครัฐควรเร่งออกมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจ และความเข้าใจที่ถูกต้องกับการเข้ามาลงทุน คือ เปิดช่องทางให้นักลงทุนไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น นอกเหนือจากแค่อนุญาตให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) โดยที่ผ่านมาธปท.มักจะหยิบยกเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุนมาเป็นเหตุผลในการไม่อนุญาติให้นักลงทุนออกไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งความจริงควรจะให้นักลงทุนทำความเข้าใจและทดลองเพื่อให้มีทางเลือกการลงทุนมากขึ้น
สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประกาศยกเลิกหรือผ่อนผันมาตรการดังกล่าวเพิ่มเติม อาจจะรอให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อไม่ทำให้กระทบกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งที่ผ่านมาดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลก็ปรับตัวลดลงสะท้อนข่าวการประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวไปบ้างแล้ว
"แบงก์ชาติควรจะปล่อยให้นักลงทุนได้รับรู้ความเสี่ยงมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะมีนักลงทุนจำนวนมากที่มีความรู้ที่จะไปลงทุน ไม่ใช่คิดแทนนักลงทุนทุกอย่างที่ผ่านมาแบงก์ชาติมักจะดูแลความเสี่ยงมากจนเกินไป"นายก้องเกียรติกล่าว
เอกชนต้องปรับตัวตามโลก
ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการเพิ่มช่องทางในการลงทุนให้นักลงทุนไทยสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศแล้วผู้ประกอบการได้ควรยกระดับตัวเองเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ โดยที่ผ่านมาปัญหาของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะผู้ส่งออกที่มักจะพูดว่าได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท คือ ไม่ยอมที่จะซื้อประกันความเสี่ยงเนื่องจากถือว่าเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันไม่ยอมลงทุนในส่วนของการทดลองวิจัย รวมถึงการซื้อเครื่องจักรใหม่ๆที่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตอย่างที่ควรจะเป็น
ในส่วนของภาครัฐ การเร่งกระตุ้นการใช้จ่าย รวมถึงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เพื่อให้ภาคธุรกิจได้รับประโยชน์จากสิ่งที่จะเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในสภาวะชะลอตัวอย่างที่เป็นอยู่ โดยสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติยังรอคอย คือการประกาศนโนบายต่างๆของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตได้ง่ายขึ้น
"ณรงค์ชัย"ชี้ใช้ทุนสำรองให้เป็น
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บลจ.เอ็มเอฟซี เปิดเผยว่า สิ่งที่จำเป็นในเชิงนโยบายระดับชาติมี 2 เรื่องที่รัฐบาลควรทำและตัดสินใจให้เร็ว คือ การบริหารเงินสำรองของประเทศ ที่จะต้องปรับปรุงให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เงินออมล้นโลกในปัจจุบัน โดยหากมีการปรับปรุงดีๆ แล้ว ประเทศไทยจะสามารถเอาเงินออมที่ล้นโลกมาใช้ในการพัฒนาชาติได้อย่างมาก ส่วนนโยบายที่ 2 คือรัฐบาลต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ว่าจะทำในลักษณะใด เพราะรูปแบบเดิมใช้ไม่ได้
ทั้งนี้ การบริหารเงินสำรองของประเทศ เป็นเรื่องที่ธปท. ทำฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะเงินสำรองมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เอาไว้ใช้หนุนหลังธนบัตร และส่วนที่เอาไว้ใช้ซื้อของจากต่างประเทศ ซึ่งในส่วนนี้ต้องทำให้มีความสมดุลกัน ไม่ใช่เอามาให้อย่างเดียว โดยธปท.ไม่ใช่หน่วยงานที่ใช้เงินตราต่างประเทศ แต่ต้องเป็นประชาชน รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจใช้เพื่อลงทุน ซึ่งในส่วนนี้เหนืออำนาจของธปท. ที่จะไปสั่งการ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนซึ่งต้องตระหนักถึงการนำเงินตราต่างประเทศไปใช้ด้วย
"การที่มีเงินเข้ามาแล้วไม่มีใครใช้ ทำให้แบงก์ชาติต้องออกพันธบัตรมาดูดซับ ต้องเสียดอกเบี้ย เขาก็แพ้ลูกเดียวก็แย่ เพราะฉะนั้นการบริหารเงินสำรองในปัจจุบันมันใช้ไม่ได้ มันผิด เรื่องการบริหารเงินสำรองไม่ใช่เรื่องของแบงก์ชาติเพียงผู้เดียว มันเป็นเรื่องของทั้งรัฐบาลเพราะฉะนั้นรัฐบาลก็น่าที่จะมีทีมที่เข้ามาดูเรื่องนี้ จุดตั้งต้นที่อดีตรมว.คลังคนก่อนเริ่มเอาไว้ที่มีทีมร่วมระหว่างกระทรวงคลังกับแบงก์ชาติเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ถ้ารัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ทำทีมนี้ให้เป็นทีมที่มีอำนาจเพื่อเข้ามาดูแลเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพียงแต่ว่าอย่าใช้มั่วแล้วกัน ใช้เพื่อการลงทุน ใช้เพื่อประโยชน์ระยะยาว"นายณรงค์ชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในหลายประเทศที่มีเงินสำรองมากได้มีการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund : SWF) ขึ้นมาเพื่อนำเงินไปลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างจีนเองก็เพิ่งตั้งกองทุนลักษณะนี้ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแนวโน้มของโลกไปในแนวทางนั้น เพื่อให้เงินสำรองมันออกไปนอกประเทศได้ไม่กลายมาเป็นสภาพคล่องข้างในประเทศ โดยในทางบัญชีเงินสำรองที่นำไปลงทุนผ่านกองทุน SWF ก็ยังเป็นเงินสำรองอยู่ แต่อยู่ในรูปอื่นเท่านั้นเอง ซึ่งหากกองทุน SWF มีกำไรจากการลงทุน ก็สามารถนำกำไรนั้นมาใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เหมือนกัน
ในส่วนของมาตรการกันสำรอง 30% เป็นผลของการที่เราไม่ได้บริหารเงินตราต่างประเทศกันได้ดีพอ เพราะฉะนั้นมาตรการสำรอง 30% ไม่ควรจะมี โดยเฉพาะเมื่อมีรัฐบาลแล้วเรื่องการลงทุนคงจะมีอีกมาก ดังนั้นเราจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนซึ่งเมื่อจะใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้นก็ควรจะยกเลิกมาตรการสำรอง 30% เพื่อให้มีเงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรเพื่อระดมทุนไปใช้ในโครงการลงทุนต่างๆ ส่วนยกเลิก 30% แล้วบาทจะทำให้ค่าเงินแข็งก็ไม่มีทางเลือก แม้จะเห็นใจธปท. แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าเรื่องเงินสำรองไม่ใช่เรื่องของ ธปท.คนเดียว
เชื่อเลิก 30% ไม่กระทบหุ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า หากมีการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% จะส่งผลดีต่อตลาดพันธบัตร ตราสารหนี้ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีเม็ดเงินไหลต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนได้สะดวกมากขึ้น แต่จะไม่ได้มีผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นเพราะการลงทุนในตลาดหุ้นได้มีการยกเว้นมาตรการกันเงินสำรอง 30% อย่างไรก็ตามอาจจะมีผลทางอ้อมในด้านจิตวิทยาการลงทุนซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมในการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีการพิจารณาออกมาตรการอื่นๆ เพื่อดูแลการไหลเข้า-ออกของเงินทุนอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบรุนแรงต่อการลงทุน โดยการดูแลเงินทุนไหลเข้า-ออก และความผันผวนของค่าเงินบาทเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง ตลท.ไม่ห่วงว่าหากยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แล้วเงินทุนต่างชาติจะย้ายไปลงทุนตลาดหุ้นอื่น เพราะเป้าหมายสำคัญของการลงทุนเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน
สหพัฒน์หนุนเลิก 30%
นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า การที่ประเทศไทยได้รัฐบาลจากการเลือกตั้งมาบริหารประเทศย่อมดีกว่ารัฐบาลชุดเก่าที่มาจากการรัฐประหารอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีสไตล์การบริหารแบบพ่อค้า ส่วนชุดเก่าเป็นการบริหารงานจากข้าราชการและหลงทางต่างคนต่างทำคุยกันไม่รู้เรื่อง รู้สึกอึดอัดแทน
“เปรียบเหมือนกับขณะนี้รัฐบาลชุดใหม่ขับรถอยู่บนพื้นแล้วแต่ต้องขับโฟรวิลไดฟ์ ส่วนนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้น ต้องมุ่งเน้นสร้างรากหญ้าให้มีรายได้ที่ดีขึ้น และต้องทำอย่างมีเป้าหมาย โดยการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลง หรือกระทั่งส่งเสริมสินค้าโอทอปให้มากขึ้น เพราะถ้ารากหญ้ามีกำลังซื้อดีขึ้นทุกอย่างจะดีขึ้น”
การแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรการสำรองเงินบาท 30% เพราะมาตรการดังกล่าวทำให้ไม่มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ไม่มีนักลงทุนที่ไหนที่จะเอาเงินมากองไว้เปล่าๆต้อง 30% มันไม่เมกเซนส์มากเลย ดูแล้วไม่ได้ป้องกันแต่เป็นการเอาเงินคนอื่นถึง 30% มาตุนไว้เฉยๆ ถือว่าเป็นมาตรการที่เชยมากๆ แต่หลังจากที่ยกเลิกมาตรการสำรองเงินบาท 30% รัฐบาลก็ต้องมีมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เอาแค่ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็พอ ซึ่งต้องรอดูนโยบายกระทรวงการคลังว่าจะเป็นอย่างไร แต่ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศมีเชื่อมั่นกับไทยมากขึ้น
ทั้งนี้เพื่อรองรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและอ่อนตัวลง สหกรุ๊ปมุ่งเน้นการบริหารบาลานซ์กันระหว่างบริษัท ไลอ้อน ซึ่งจะได้รับผลดีจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาก ส่วนสหกรุ๊ปจะได้รับผลดีเมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ด้านราคาสินค้าหากไม่มีความจำเป็นจะไม่ปรับขึ้น ส่วนกรณีที่กระทรวงพาณิชย์วางแนวทางจะลดราคาสินค้า ในส่วนนี้ต้องมองต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น การไม่ขึ้นราคาอาจทำให้ผู้ประกอบการขาดทุน และอาจจะเป็นแนวทางที่ส่วนทางกัน ทำให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเก่า ขณะนี้ราคาวัตถุดิบกำลังปรับฐาน ผมว่ากระทรวงพาณิชย์ต้องช่วยทำอย่างไรเพื่อไม่ให้วัตถุดิบปรับราคาขึ้น
ปชป.ลุ้นระทึกคลังยุบ 30%
นายกรณ์ จาติกวาณิช รองเลขาธิการและรมว.คลัง(เงา)พรรคประชาธิปัตย์ กล่าววว่า อยากได้ยิน นพ. สุรพงษ์ ยืนยันถึงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้พรรคพลังประชาชนเคยพูดเอาไว้ว่าอยากเห็นอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นแบบตายตัว ซึ่งน่ากลัวมาก จนถึงวันนี้จะทำอย่างนั้นอีกหรือไม่ หรือจะให้เปิดเสรีและคิดถึงสถานการณ์และสภาพแวดล้อมขณะนี้เป็นอย่างไร เนื่องจากขณะนี้วิกฤติซับไพรม์รุนแรงขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯลดลงแล้วถึงร้อยละ1.25ภายใน 2 สัปดาห์ หากเป็นเช่นนี้เงินจะไหลมาสู่ประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งประเทศไทยก็จะเป็นประเทศหนึ่งที่เงินไหลเข้ามา ดังนั้นการแก้ปัญหาจะกำหนดเป็นสูตรสำเร็จไม่ได้ อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์พูดมาตลอดว่าควรยกเลิกมาตรการ 30 % และเมื่อรัฐบาลจะยกเงินมาตรการนี้เช่นกันก็ต้องอธิบายว่าจะมีอะไรดีกว่า โดยฉพาะรมว.คลังต้องตระหนักว่านโยบายดอกเบี้ยเป็นนโยบายของ ธปท.
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากแนวทางด้านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลและธปท.ไม่ตรงกันจะต้องปลดผู้ว่าฯ ธปท.หรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า การปลดผู้ว่าฯ ธปท.เป็นเรื่องใหญ่ ในอดีตก็มีการปลดทุกครั้ง แต่การจะปลดก็ต้องอธิบายเหตุผลให้ชัดเจนว่าปลดเพราะอะไร แต่ไม่ทราบว่าพ.ร.บ.ของธปท.ฉบับปัจจุบันได้ลดบทบาทรมว.คลังลงเหลือแค่ไหน หากปลดผู้ว่าฯโดยมีเหตุผลเพียงให้คนส่วนใหญ่คิดว่าต้องการนโยบายการเงินที่หละหลวมจะมีผลกระทบระยะยาว
“ถ้าเลิกมาตรการ 30%ต้องมีความชัดเจนว่าเลิกเพราะอะไร คิดถึงผลที่ตามมาหรือไม่และมีคำอธิบายถึงมาตรการที่จะออกมารองรับการยกเลิกอะไรบ้าง โดยเฉพาะเมื่อมีผลเสียหายจากการเลิกมาตรการนี้จะควบคุมอย่างไร”นายกรณ์ กล่าว
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง คาดว่า กระทรวงการคลังจะสามารถประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในราวปลายสัปดาห์หน้า หลังจากที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภาฯ แล้ว ส่วนมาตรการสำรอง 30% จะมีการยกเลิกหรือไม่ เป็นอิสระของ ธปท.ที่จะพิจารณาภายหลังจากแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระทรวงการคลัง
"มาตรการสำรอง 30% เป็นมาตรการที่ไม่ใช่ว่าคลังจะสั่งได้ แต่จะเป็นการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน สุดท้ายแล้วแบงก์ชาติจะเป็นผู้ตัดสินใจ และยืนยันว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงแน่นอน" น.พ.สุรพงษ์กล่าวและว่า หลังจากหารือกับผู้ว่าการ ธปท.แล้ว จะมีการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
น.พ.สุรพงษ์ ยังเปิดเผยว่า วานนี้ตัวแทนจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเซส ได้เข้ามาพบตามวาระปกติ เพื่อสอบถามแนวนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งได้แจ้งกับตัวแทนของมูดี้ส์ไปว่าทางการจะมุ่งเน้นการสร้างความเชื่อมั่นโดยเฉพาะในด้านการลงทุนและการบริโภค เพราะเชื่อว่าหากทั้งสองตัวฟื้นก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า วันนี้ (12 ก.พ.) เวลา 14.00 น. นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.และผู้บริหารระดับสูง จะเข้าชี้แจงนโยบายของ ธปท.ต่อ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง โดยจะมีการหยิบยกประเด็นการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% รวมถึงการสรุปภาพรวมเศรษฐกิจ มาร่วมหารือกัน โดยข้อมูลที่ ธปท.จะเตรียมไปชี้แจงถึงความจำเป็นในการใช้มาตรการ 30% ได้แก่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าลดลงจาก 17% เมื่อปี 2549 เหลือ 7% ในปี 2550 และปี 2551 แข็งค่าแล้วเพียง 2.3% ขณะที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้าลดลงจาก 1.3 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 49 เหลือเพียง 2.7 พันล้านเหรียญ ในปี 2550 ทั้งนี้ เงินทุนไหลเข้า-ออกเริ่มสมดุลมากขึ้น
ขณะที่ วานนี้ น.พ.สุรพงษ์ ได้เรียกประชุมหน่วยงานในกระทรวงการคลัง เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจในการประเมินความจำเป็นในการใช้มาตรการกันสำรองเงินตราต่างประเทศ 30% ของ ธปท.ก่อนที่จะมีการหารือกับผู้บริหาร ธปท.ในวันนี้
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)เปิดเผยว่า ในระหว่างการหารือร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังได้รับฟังข้อมูลจากทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อประเมินสถานการณ์ โดยที่ประชุมได้สรุปท่าทีของกระทรวงการคลังให้รัฐมนตรีรับทราบว่าการยกเลิกมาตรการ 30% ควรจะมีมาตรการที่จะนำมาใช้ในการดูแลเงินไหลเข้า โดยจะมีเป้าหมายในการป้องกันเงินไหลเข้า
สำหรับมาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือการปรับลดดอกเบี้ยในประเทศลงเพื่อให้ส่วนต่างกับดอกเบี้ยต่างประเทศลดน้อยลง ส่วนจะลดลงเท่าใดนั้นคงจะต้องมีการหารือในรายละเอียดก่อน และยืนยันว่าทางการจะไม่ใช้มาตรการจัดเก็บภาษีขาออกเงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศ (Exit Tax)
"การยกเลิกมาตรการ 30% คาดว่าน่าจะมีแน่นอน แต่หากยกเลิกทันทีจะมีผลกระทบ เพราะดอกเบี้ยของไทยยังสูงกว่าต่างประเทศ จะทำให้เกิดเงินทุนไหลเข้ามามาก และในที่สุดจะทำให้เงินบาทแข็ง ซึ่งน่าเป็นห่วง ดังนั้นหากจะยกเลิกมาตรการ 30% ก็ต้องลดดอกเบี้ยด้วย แต่จะเป็นลดในอัตราเท่าใดนั้นคงต้องขึ้นกับการหารือร่วมกับ ธปท." นายสมชัย กล่าว
อย่างไรก็ตามในแง่ของผลกระทบ จากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% นั้นอาจจะมีเงินไหลเข้าได้ หากอัตราดอกเบี้ยในประเทศและ ต่างประเทศมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นในการลดดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินไหลเข้า ก็ควรจะมีมาตรการเสริมในลักษณะของมาตรการบูรณาการ เพื่อช่วยเหลือและลดผลกระทบจาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จะมีต่อผู้ฝากเงิน ข้าราชการเกษียณอายุ ตลอดจนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการส่งเสริมให้มีการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศให้มากขึ้น
ส่วนที่มีหลายฝ่ายเป็นห่วงว่าการปรับลดดอกเบี้ยอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อในประเทศเกิดจากราคาน้ำมันเป็นหลัก ขณะที่การใช้จ่ายของประชาชนมีอัตราชะลอตัวลง ดังนั้น การปรับลดดอกเบี้ยจึงไม่น่าจะเป็นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ จึงทำให้มีช่องที่สามารถปรับลดดอกเบี้ยลงได้ เพื่อช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน
นอกจากนี้ ในแง่ผลกระทบของการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะต้องมีการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ด้วยเพื่อร่วมกันหามาตรการเสริมด้านการเงิน
"ถ้าจะเลิกมาตรการ 30% ดอกเบี้ยต้องลงด้วย เพราะเงินจะไหลเข้า เงินบาทก็จะแข็งค่าอีก ดังนั้นคงต้องคุยกันว่าจะมีอะไรออกมาเพิ่มเติม และบทบาทหลังจากนี้ของแบงก์ชาติในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นอย่างไร รวมทั้งการแทรกแซงค่าเงินจะทำได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด"นายสมชัย กล่าว
ตลาดทุนแบงก์ชาติยกเลิกโดยเร็ว
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวถึงมาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ว่า มาตรการดังกล่าวเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงการไม่ต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนตัวอยากให้มีการยกเลิกเพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้สะดวกขึ้น
ทั้งนี้ การประกาศใช้มาตรการดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมาถือว่าไม่ได้ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างที่ภาครัฐต้องการ เนื่องจากการแข็งค่าของค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้างที่ไม่ได้มีการใช้มาตรการดังกล่าว
"การจะยกเลิกมาตรการคงทำได้ไม่ง่าย เพราะว่ามีการใช้มาตรการดังกล่าวมานานมาแล้ว ผมเห็นด้วยที่ไม่ต้องการเห็นการเก็งกำไรค่าเงินบาท เก็งกำไรราคาหุ้นแต่เราก็ฝืนการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ไม่ได้"
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ภาครัฐควรเร่งออกมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจ และความเข้าใจที่ถูกต้องกับการเข้ามาลงทุน คือ เปิดช่องทางให้นักลงทุนไทยสามารถนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น นอกเหนือจากแค่อนุญาตให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF) โดยที่ผ่านมาธปท.มักจะหยิบยกเรื่องความเสี่ยงจากการลงทุนมาเป็นเหตุผลในการไม่อนุญาติให้นักลงทุนออกไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งความจริงควรจะให้นักลงทุนทำความเข้าใจและทดลองเพื่อให้มีทางเลือกการลงทุนมากขึ้น
สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการประกาศยกเลิกหรือผ่อนผันมาตรการดังกล่าวเพิ่มเติม อาจจะรอให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อไม่ทำให้กระทบกับเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งที่ผ่านมาดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลก็ปรับตัวลดลงสะท้อนข่าวการประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวไปบ้างแล้ว
"แบงก์ชาติควรจะปล่อยให้นักลงทุนได้รับรู้ความเสี่ยงมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะมีนักลงทุนจำนวนมากที่มีความรู้ที่จะไปลงทุน ไม่ใช่คิดแทนนักลงทุนทุกอย่างที่ผ่านมาแบงก์ชาติมักจะดูแลความเสี่ยงมากจนเกินไป"นายก้องเกียรติกล่าว
เอกชนต้องปรับตัวตามโลก
ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากการเพิ่มช่องทางในการลงทุนให้นักลงทุนไทยสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศแล้วผู้ประกอบการได้ควรยกระดับตัวเองเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ โดยที่ผ่านมาปัญหาของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะผู้ส่งออกที่มักจะพูดว่าได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท คือ ไม่ยอมที่จะซื้อประกันความเสี่ยงเนื่องจากถือว่าเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันไม่ยอมลงทุนในส่วนของการทดลองวิจัย รวมถึงการซื้อเครื่องจักรใหม่ๆที่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตอย่างที่ควรจะเป็น
ในส่วนของภาครัฐ การเร่งกระตุ้นการใช้จ่าย รวมถึงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เพื่อให้ภาคธุรกิจได้รับประโยชน์จากสิ่งที่จะเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในสภาวะชะลอตัวอย่างที่เป็นอยู่ โดยสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติยังรอคอย คือการประกาศนโนบายต่างๆของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตได้ง่ายขึ้น
"ณรงค์ชัย"ชี้ใช้ทุนสำรองให้เป็น
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บลจ.เอ็มเอฟซี เปิดเผยว่า สิ่งที่จำเป็นในเชิงนโยบายระดับชาติมี 2 เรื่องที่รัฐบาลควรทำและตัดสินใจให้เร็ว คือ การบริหารเงินสำรองของประเทศ ที่จะต้องปรับปรุงให้ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เงินออมล้นโลกในปัจจุบัน โดยหากมีการปรับปรุงดีๆ แล้ว ประเทศไทยจะสามารถเอาเงินออมที่ล้นโลกมาใช้ในการพัฒนาชาติได้อย่างมาก ส่วนนโยบายที่ 2 คือรัฐบาลต้องตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ว่าจะทำในลักษณะใด เพราะรูปแบบเดิมใช้ไม่ได้
ทั้งนี้ การบริหารเงินสำรองของประเทศ เป็นเรื่องที่ธปท. ทำฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะเงินสำรองมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เอาไว้ใช้หนุนหลังธนบัตร และส่วนที่เอาไว้ใช้ซื้อของจากต่างประเทศ ซึ่งในส่วนนี้ต้องทำให้มีความสมดุลกัน ไม่ใช่เอามาให้อย่างเดียว โดยธปท.ไม่ใช่หน่วยงานที่ใช้เงินตราต่างประเทศ แต่ต้องเป็นประชาชน รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจใช้เพื่อลงทุน ซึ่งในส่วนนี้เหนืออำนาจของธปท. ที่จะไปสั่งการ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนและการตัดสินใจลงทุนซึ่งต้องตระหนักถึงการนำเงินตราต่างประเทศไปใช้ด้วย
"การที่มีเงินเข้ามาแล้วไม่มีใครใช้ ทำให้แบงก์ชาติต้องออกพันธบัตรมาดูดซับ ต้องเสียดอกเบี้ย เขาก็แพ้ลูกเดียวก็แย่ เพราะฉะนั้นการบริหารเงินสำรองในปัจจุบันมันใช้ไม่ได้ มันผิด เรื่องการบริหารเงินสำรองไม่ใช่เรื่องของแบงก์ชาติเพียงผู้เดียว มันเป็นเรื่องของทั้งรัฐบาลเพราะฉะนั้นรัฐบาลก็น่าที่จะมีทีมที่เข้ามาดูเรื่องนี้ จุดตั้งต้นที่อดีตรมว.คลังคนก่อนเริ่มเอาไว้ที่มีทีมร่วมระหว่างกระทรวงคลังกับแบงก์ชาติเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ถ้ารัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ทำทีมนี้ให้เป็นทีมที่มีอำนาจเพื่อเข้ามาดูแลเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพียงแต่ว่าอย่าใช้มั่วแล้วกัน ใช้เพื่อการลงทุน ใช้เพื่อประโยชน์ระยะยาว"นายณรงค์ชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาในหลายประเทศที่มีเงินสำรองมากได้มีการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund : SWF) ขึ้นมาเพื่อนำเงินไปลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างจีนเองก็เพิ่งตั้งกองทุนลักษณะนี้ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแนวโน้มของโลกไปในแนวทางนั้น เพื่อให้เงินสำรองมันออกไปนอกประเทศได้ไม่กลายมาเป็นสภาพคล่องข้างในประเทศ โดยในทางบัญชีเงินสำรองที่นำไปลงทุนผ่านกองทุน SWF ก็ยังเป็นเงินสำรองอยู่ แต่อยู่ในรูปอื่นเท่านั้นเอง ซึ่งหากกองทุน SWF มีกำไรจากการลงทุน ก็สามารถนำกำไรนั้นมาใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้เหมือนกัน
ในส่วนของมาตรการกันสำรอง 30% เป็นผลของการที่เราไม่ได้บริหารเงินตราต่างประเทศกันได้ดีพอ เพราะฉะนั้นมาตรการสำรอง 30% ไม่ควรจะมี โดยเฉพาะเมื่อมีรัฐบาลแล้วเรื่องการลงทุนคงจะมีอีกมาก ดังนั้นเราจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนซึ่งเมื่อจะใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้นก็ควรจะยกเลิกมาตรการสำรอง 30% เพื่อให้มีเงินไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตรเพื่อระดมทุนไปใช้ในโครงการลงทุนต่างๆ ส่วนยกเลิก 30% แล้วบาทจะทำให้ค่าเงินแข็งก็ไม่มีทางเลือก แม้จะเห็นใจธปท. แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าเรื่องเงินสำรองไม่ใช่เรื่องของ ธปท.คนเดียว
เชื่อเลิก 30% ไม่กระทบหุ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า หากมีการยกเลิกมาตรการกันเงินสำรอง 30% จะส่งผลดีต่อตลาดพันธบัตร ตราสารหนี้ และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีเม็ดเงินไหลต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนได้สะดวกมากขึ้น แต่จะไม่ได้มีผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นเพราะการลงทุนในตลาดหุ้นได้มีการยกเว้นมาตรการกันเงินสำรอง 30% อย่างไรก็ตามอาจจะมีผลทางอ้อมในด้านจิตวิทยาการลงทุนซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมในการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีการพิจารณาออกมาตรการอื่นๆ เพื่อดูแลการไหลเข้า-ออกของเงินทุนอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบรุนแรงต่อการลงทุน โดยการดูแลเงินทุนไหลเข้า-ออก และความผันผวนของค่าเงินบาทเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง ตลท.ไม่ห่วงว่าหากยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แล้วเงินทุนต่างชาติจะย้ายไปลงทุนตลาดหุ้นอื่น เพราะเป้าหมายสำคัญของการลงทุนเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน
สหพัฒน์หนุนเลิก 30%
นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ เปิดเผยว่า การที่ประเทศไทยได้รัฐบาลจากการเลือกตั้งมาบริหารประเทศย่อมดีกว่ารัฐบาลชุดเก่าที่มาจากการรัฐประหารอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีสไตล์การบริหารแบบพ่อค้า ส่วนชุดเก่าเป็นการบริหารงานจากข้าราชการและหลงทางต่างคนต่างทำคุยกันไม่รู้เรื่อง รู้สึกอึดอัดแทน
“เปรียบเหมือนกับขณะนี้รัฐบาลชุดใหม่ขับรถอยู่บนพื้นแล้วแต่ต้องขับโฟรวิลไดฟ์ ส่วนนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ฟื้น ต้องมุ่งเน้นสร้างรากหญ้าให้มีรายได้ที่ดีขึ้น และต้องทำอย่างมีเป้าหมาย โดยการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลดลง หรือกระทั่งส่งเสริมสินค้าโอทอปให้มากขึ้น เพราะถ้ารากหญ้ามีกำลังซื้อดีขึ้นทุกอย่างจะดีขึ้น”
การแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรการสำรองเงินบาท 30% เพราะมาตรการดังกล่าวทำให้ไม่มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ไม่มีนักลงทุนที่ไหนที่จะเอาเงินมากองไว้เปล่าๆต้อง 30% มันไม่เมกเซนส์มากเลย ดูแล้วไม่ได้ป้องกันแต่เป็นการเอาเงินคนอื่นถึง 30% มาตุนไว้เฉยๆ ถือว่าเป็นมาตรการที่เชยมากๆ แต่หลังจากที่ยกเลิกมาตรการสำรองเงินบาท 30% รัฐบาลก็ต้องมีมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เอาแค่ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็พอ ซึ่งต้องรอดูนโยบายกระทรวงการคลังว่าจะเป็นอย่างไร แต่ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศมีเชื่อมั่นกับไทยมากขึ้น
ทั้งนี้เพื่อรองรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและอ่อนตัวลง สหกรุ๊ปมุ่งเน้นการบริหารบาลานซ์กันระหว่างบริษัท ไลอ้อน ซึ่งจะได้รับผลดีจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาก ส่วนสหกรุ๊ปจะได้รับผลดีเมื่อค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ด้านราคาสินค้าหากไม่มีความจำเป็นจะไม่ปรับขึ้น ส่วนกรณีที่กระทรวงพาณิชย์วางแนวทางจะลดราคาสินค้า ในส่วนนี้ต้องมองต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น การไม่ขึ้นราคาอาจทำให้ผู้ประกอบการขาดทุน และอาจจะเป็นแนวทางที่ส่วนทางกัน ทำให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเก่า ขณะนี้ราคาวัตถุดิบกำลังปรับฐาน ผมว่ากระทรวงพาณิชย์ต้องช่วยทำอย่างไรเพื่อไม่ให้วัตถุดิบปรับราคาขึ้น
ปชป.ลุ้นระทึกคลังยุบ 30%
นายกรณ์ จาติกวาณิช รองเลขาธิการและรมว.คลัง(เงา)พรรคประชาธิปัตย์ กล่าววว่า อยากได้ยิน นพ. สุรพงษ์ ยืนยันถึงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนว่าเป็นอย่างไร ทั้งนี้พรรคพลังประชาชนเคยพูดเอาไว้ว่าอยากเห็นอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นแบบตายตัว ซึ่งน่ากลัวมาก จนถึงวันนี้จะทำอย่างนั้นอีกหรือไม่ หรือจะให้เปิดเสรีและคิดถึงสถานการณ์และสภาพแวดล้อมขณะนี้เป็นอย่างไร เนื่องจากขณะนี้วิกฤติซับไพรม์รุนแรงขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯลดลงแล้วถึงร้อยละ1.25ภายใน 2 สัปดาห์ หากเป็นเช่นนี้เงินจะไหลมาสู่ประเทศที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า ซึ่งประเทศไทยก็จะเป็นประเทศหนึ่งที่เงินไหลเข้ามา ดังนั้นการแก้ปัญหาจะกำหนดเป็นสูตรสำเร็จไม่ได้ อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์พูดมาตลอดว่าควรยกเลิกมาตรการ 30 % และเมื่อรัฐบาลจะยกเงินมาตรการนี้เช่นกันก็ต้องอธิบายว่าจะมีอะไรดีกว่า โดยฉพาะรมว.คลังต้องตระหนักว่านโยบายดอกเบี้ยเป็นนโยบายของ ธปท.
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากแนวทางด้านนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลและธปท.ไม่ตรงกันจะต้องปลดผู้ว่าฯ ธปท.หรือไม่ นายกรณ์ กล่าวว่า การปลดผู้ว่าฯ ธปท.เป็นเรื่องใหญ่ ในอดีตก็มีการปลดทุกครั้ง แต่การจะปลดก็ต้องอธิบายเหตุผลให้ชัดเจนว่าปลดเพราะอะไร แต่ไม่ทราบว่าพ.ร.บ.ของธปท.ฉบับปัจจุบันได้ลดบทบาทรมว.คลังลงเหลือแค่ไหน หากปลดผู้ว่าฯโดยมีเหตุผลเพียงให้คนส่วนใหญ่คิดว่าต้องการนโยบายการเงินที่หละหลวมจะมีผลกระทบระยะยาว
“ถ้าเลิกมาตรการ 30%ต้องมีความชัดเจนว่าเลิกเพราะอะไร คิดถึงผลที่ตามมาหรือไม่และมีคำอธิบายถึงมาตรการที่จะออกมารองรับการยกเลิกอะไรบ้าง โดยเฉพาะเมื่อมีผลเสียหายจากการเลิกมาตรการนี้จะควบคุมอย่างไร”นายกรณ์ กล่าว