ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนเตรียมของบ ครม.ใหม่ 370 ล้านบาทตามโครงการแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ในปี 2552 ขณะที่คุณภาพอากาศเชียงใหม่ยังปลอดภัย ส่วนลำปางน่าห่วงหลังปริมาณฝุ่นในอากาศเริ่มเกินค่ามาตรฐานใกล้เคียงปี 50
นายสมชัย เพียรสถาพร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยถึงการติดตาม ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551-2554 ที่จังหวัดเชียงใหม่ว่า การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ทุกขั้นตอนดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ตามแผนงานที่วางไว้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือปัญหาหมอกควันและไฟป่า ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจังเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
สำหรับการวางแผนการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกัน ปัญหาหมอกควันและไฟป่า แต่ละจังหวัดได้ออกประกาศจังหวัดกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน และแต่งตั้งคณะทำงานระดับต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลด เลิก การเผา ผ่านสื่อทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน พิจารณาปรับการใช้จ่ายงบประมาณปี 2551 เพื่อดำเนินตามแผนปฏิบัติการตามความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน
“ในปี 2551 งบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด งบประมาณกลางก็ไม่มีแล้ว ดังนั้น ให้ทุกจังหวัดเสนอแผนงานที่จำเป็นและเร่งด่วนก่อน โดยให้เสนอมาที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยขอให้เป็นไปตามพื้นฐานของความพอเพียงด้วย” นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของบประมาณประจำปี 2552 ได้สั่งการให้แต่ละจังหวัดเสนอเข้ามาก่อนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ ก่อนที่จะเสนอ คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป โดยขอให้จัดสรรงบประมาณภายใต้ชื่อเดียวกันคือ โครงการแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า
ทั้งนี้ เบื้องต้น 8 จังหวัดเสนอของบประมาณรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 370 ล้านบาท โดยจังหวัดเชียงใหม่เสนอ 55.44 ล้านบาท จังหวัดเชียงราย 33.52 ล้านบาท จังหวัดแม่ฮ่องสอน 36.84 ล้านบาท จังหวัดน่าน 77.79 ล้านบาท จังหวัดลำพูน 38.34 ล้านบาท จังหวัดลำปาง 33.78 ล้านบาท จังหวัดพะเยา 47.42 ล้านบาท และจังหวัดแพร่ 46.22 ล้านบาท
ด้านนายมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษฏ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในจังหวัดเชียงใหม่ 2 สถานี บริเวณศาลากลางจังหวัด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551-6 กุมภาพันธ์ 2551 ปริมาณฝุ่นละอองทั้ง 2 สถานีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้อยู่ในช่วง 16.2-98.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่ผ่านมาสูงถึง 162.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนจังหวัดลำปาง ปริมาณฝุ่นละอองทั้ง 4 สถานี ประกอบด้วย ศาลหลักเมือง สถานีอนามัยสบป้าด สถานีอนามัยท่าสี อำเภอแม่เมาะ และสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงวัดได้ 15.8-137.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปี 2550 ที่สูงถึง 174.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
“สำหรับจังหวัดลำปาง ในบางช่วงปริมาณฝุ่นจะสูงกว่าค่ามาตรฐาน ประมาณ 20% ของจำนวนครั้งที่ตรวจวัด โดยเฉพาะอำเภอแม่เมาะจากการตรวจวัด 22 ครั้ง มีถึง 5 ครั้งที่สูงเกินกว่ามาตรฐาน ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2550 ถือว่าใกล้เคียงกันมากและอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งจะเร่งหามาตรการแก้ไขต่อไป” นายมิ่งขวัญ กล่าว
นายสมชัย เพียรสถาพร รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยถึงการติดตาม ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าปี 2551-2554 ที่จังหวัดเชียงใหม่ว่า การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
ทุกขั้นตอนดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ตามแผนงานที่วางไว้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือปัญหาหมอกควันและไฟป่า ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีความรุนแรงน้อยกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจังเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้
สำหรับการวางแผนการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกัน ปัญหาหมอกควันและไฟป่า แต่ละจังหวัดได้ออกประกาศจังหวัดกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน และแต่งตั้งคณะทำงานระดับต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลด เลิก การเผา ผ่านสื่อทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้ ได้สั่งการให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน พิจารณาปรับการใช้จ่ายงบประมาณปี 2551 เพื่อดำเนินตามแผนปฏิบัติการตามความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน
“ในปี 2551 งบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด งบประมาณกลางก็ไม่มีแล้ว ดังนั้น ให้ทุกจังหวัดเสนอแผนงานที่จำเป็นและเร่งด่วนก่อน โดยให้เสนอมาที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง โดยขอให้เป็นไปตามพื้นฐานของความพอเพียงด้วย” นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของบประมาณประจำปี 2552 ได้สั่งการให้แต่ละจังหวัดเสนอเข้ามาก่อนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 นี้ ก่อนที่จะเสนอ คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป โดยขอให้จัดสรรงบประมาณภายใต้ชื่อเดียวกันคือ โครงการแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า
ทั้งนี้ เบื้องต้น 8 จังหวัดเสนอของบประมาณรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 370 ล้านบาท โดยจังหวัดเชียงใหม่เสนอ 55.44 ล้านบาท จังหวัดเชียงราย 33.52 ล้านบาท จังหวัดแม่ฮ่องสอน 36.84 ล้านบาท จังหวัดน่าน 77.79 ล้านบาท จังหวัดลำพูน 38.34 ล้านบาท จังหวัดลำปาง 33.78 ล้านบาท จังหวัดพะเยา 47.42 ล้านบาท และจังหวัดแพร่ 46.22 ล้านบาท
ด้านนายมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษฏ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษในจังหวัดเชียงใหม่ 2 สถานี บริเวณศาลากลางจังหวัด และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551-6 กุมภาพันธ์ 2551 ปริมาณฝุ่นละอองทั้ง 2 สถานีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้อยู่ในช่วง 16.2-98.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่ผ่านมาสูงถึง 162.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ส่วนจังหวัดลำปาง ปริมาณฝุ่นละอองทั้ง 4 สถานี ประกอบด้วย ศาลหลักเมือง สถานีอนามัยสบป้าด สถานีอนามัยท่าสี อำเภอแม่เมาะ และสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงวัดได้ 15.8-137.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าเมื่อเทียบกับปี 2550 ที่สูงถึง 174.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
“สำหรับจังหวัดลำปาง ในบางช่วงปริมาณฝุ่นจะสูงกว่าค่ามาตรฐาน ประมาณ 20% ของจำนวนครั้งที่ตรวจวัด โดยเฉพาะอำเภอแม่เมาะจากการตรวจวัด 22 ครั้ง มีถึง 5 ครั้งที่สูงเกินกว่ามาตรฐาน ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2550 ถือว่าใกล้เคียงกันมากและอาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งจะเร่งหามาตรการแก้ไขต่อไป” นายมิ่งขวัญ กล่าว