นับว่าเป็นความโชคดีของประชาชนคนไทย 63 ล้านคน ที่ได้รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง แม้ว่าจะไม่เป็นที่ถูกใจคนไทยชั้นกลางมากเท่าใดนักก็ตาม แต่ก็เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และนายสมัคร สุนทรเวช ก็ได้นำคณะรัฐมนตรี 35 คน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี อันเป็นความสมบูรณ์ในระบอบประชาธิปไตยของไทยที่อำนาจอธิปไตยส่วนฝ่ายบริหารจะต้องปฏิบัติราชการต่างพระเนตรพระกรรณบำบัดทุกข์บำรุงสุขอาณาประชาราษฎรให้มีแต่ความมั่นคง บริบูรณ์ตามฐานะ
และในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทสรุปความว่า “คณะรัฐมนตรีทุกคนจะต้องรักษาสัจจะที่กล่าวปฏิญาณไว้ เพราะคำพูดเป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ และจะต้องนำไปปฏิบัติ และขอให้เสียสละปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และเป็นที่พึ่งของประชาชน 63 ล้านคน”
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ 1 สัปดาห์ นายสมัคร สุนทรเวช ออกมายอมรับว่าคณะรัฐมนตรีในภาพรวมอาจจะดูไม่สวยนัก “ขี้เหร่” นิดหน่อย ก็นับว่าเป็นการดีที่นายสมัครมีความเป็นลูกผู้ชายยอมรับความจริง และชี้แจงการขอรับควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม ด้วยหวังให้เกิดความสามัคคีในหมู่ทหาร โดยไม่ได้ดูเรื่องของรุ่นใดรุ่นหนึ่งและยืนยันว่าจะวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำงานของกองทัพ และสร้างความสามัคคี
แต่หากจะดูอีกนัยหนึ่งก็อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็นการแสดงอำนาจของตนเหนือหมู่ทหารที่ต่อต้านตัวเขา สมาชิกพรรคพลังประชาชน หรือคณะรัฐมนตรี และเป็นการแสดงออกถึงอำนาจรัฐตามระบอบประชาธิปไตยที่อยู่เหนือบารมีใดบารมีหนึ่งที่อาจจะแทรกแซงกองทัพได้ เช่น อิทธิพลของอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ แต่ในหมู่ผู้จงรักภักดีกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อาจจะมองว่านายสมัคร สุนทรเวช คือผู้กำหนดนโยบายกองทัพ และความมั่นคงตัวจริงไม่ใช่อำนาจบารมีของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่มักจะใช้โอกาสในวันปีใหม่ หรือวันสงกรานต์กล่าวโอวาทเชิงให้นโยบายกองทัพ หรือเมื่อกองทัพเชิญพล.อ.เปรม เป็นวิทยากรบรรยายในสถาบันการศึกษา คำบรรยายบางส่วนอาจถูกว่าเป็นนโยบายที่กองทัพมักจะยึดปฏิบัติ เช่น เหตุการณ์ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การบรรยายเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับ “ม้ากับจอกกี้” ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ดังนั้น ในสองนัยนี้กองทัพก็คาดหวังว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกลาโหม จะดำรงไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลไม่แทรกแซงในรายละเอียดของการบริหารจัดการกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งของนายทหารในกองทัพ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.ขณะที่ยังมีอำนาจก่อนการเปิดสภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพิจารณาบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง รมว.กลาโหม รมช.กลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และอดีตรัฐมนตรีกลาโหม พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ ยืนยันว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีนัยสำคัญคือการป้องกันแทรกแซงการปรับย้ายนายทหาร เพราะในอดีตกองทัพมีความรู้สึกว่าที่ผ่านมา กองทัพมีปัญหาเพราะการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแทรกแซง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโยกย้ายนายทหารหรือการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีกฎหมายรองรับ รมว.กลาโหมอาจจะใช้อำนาจรัฐกดดันกองทัพให้แต่งตั้งบุคคลที่ผู้ถืออำนาจเห็นสมควร แต่ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้บังคับหน่วยทหารที่ดีได้ แต่มาบัดนี้กฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามขั้นตอน
แต่ข้อพิจารณาที่สำคัญคงได้แก่ การที่มีกฎหมายนี้ทำให้การคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพ และบัญชีโยกย้ายในตำแหน่งที่สำคัญเป็นไปอย่างมีระบบ เป็นที่ยอมรับของเหล่าทหารให้เป็นผู้นำรับผิดชอบชีวิตพวกเขา และสนองต่อพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะจอมทัพไทยได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง
ในส่วนของ คมช.ก็ได้ปิดฉากตัวเองอย่าง “ผู้แพ้” ก็ว่าได้ เพราะพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.ได้กล่าวยอมรับว่า ทำงานไม่เข้าเป้าแม้ทำดีที่สุดแล้ว ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่แต่มีเงื่อนไขเวลาเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถเร่งรัดขบวนการยุติธรรมได้
แต่หากวิเคราะห์แล้วพบว่า การขาดเอกภาพและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของอดีตประธาน คมช.และสมาชิก คมช.ที่ตกหลุมพรางของนักยุทธศาสตร์ของกลุ่มอดีตอำนาจเก่ายุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำการต่อสู้กับ คมช.อย่างซึ่งๆ หน้า และลับหลังทั้งในเชิงยุทธศาสตร์การเมือง และยุทธศาสตร์มวลชนต่อต้านตัวแทนอำนาจของระบบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอ้างเสมอว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ”แทรกแซงอำนาจรัฐ ซึ่งอาจตีความได้มากกว่าหนึ่งนัย
และหนึ่งนัยนั้นคือ พล.อ.เปรม เป็น “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ”ทำให้ คมช.ขจัด “ตัวชน”ของตัวเอง ทำให้ยุทธศาสตร์ “ลูกล่อลูกชน” ของ คมช.ขาดประสิทธิภาพตกเป็นรองมาตลอด จน คมช.กลายเป็นองค์กรที่ทำให้กลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณผิดหวัง เพราะ “ตัวชน” เช่น พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และพล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ที่ไม่ใช่ คมช.แต่ต่อต้านระบอบทักษิณถูกลดบทบาทตามนัยทางการเมือง ด้วยการลดบทบาททางทหารทำให้ คมช.ขาด “ลูกชน” ที่เหมาะสมตามสถานการณ์ ดังนั้น การต่อรองทางการเมืองของฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ จึงมีชัยเหนือ คมช.มาตลอด 1 ปีที่ผ่านมาและทำให้พื้นที่ทางการเมืองตกเป็นของฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างเด่นชัดตั้งแต่ พล.อ.สพรั่ง พ้นจากกองทัพบกในวันที่ 1 ตุลาคม 2550
แต่หากมองในแง่ของรัฐศาสตร์ยุคใหม่ที่ต้องการขจัดการรัฐประหารออกจากทฤษฎีรัฐศาสตร์ เพราะการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งกลุ่มปัญญาชนชั้นกลางมองว่า “ไร้น้ำยา” และเสียเวลาเปล่า แถมยังทำให้ระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของไทยมีแรงเสียดทานจากกลุ่มประเทศประชาธิปไตยตะวันตก จึงคาดว่าการรัฐประหารในอนาคตคงจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าในอดีต และเงื่อนไขจะต้องร้ายแรงจริงๆ มิใช่เป็นเรื่องการบริหารทุจริตคดโกงบ้านเมือง หรือข้อกล่าวอ้างซึ่งพิสูจน์ไม่ได้หรือไม่กล้าพิสูจน์ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และหากขืนทำรัฐประหารอย่างไร้เหตุผลหรือต้องมีเงื่อนไขร้ายแรงมากกว่า 19 กันยายน 2549 หลายเท่าเพราะหากเหตุผลน้อยกว่าเงื่อนไข 19 กันยายน 2549 แล้ว ประชาชนจะลุกฮือต่อต้านทันที
จึงสรุปได้ว่า เหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 คมช.ล้มเหลวที่จะสำแดงผลให้ประชาชนเห็นว่า การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คุ้มค่าและในอนาคตคงไม่มีคณะรัฐมนตรีในฝันที่คณะรัฐประหารต้องการให้บริหารบ้านเมืองแทน เพราะทุกคนจะกลัวความล้มเหลวซ้ำรอย และนี่เป็นสิ่งที่นักประชาธิปไตยเรียกว่าเป็นผลพลอยได้ที่คุ้มค่า และเป็นความโชคดีของประเทศไทย
และสุดท้ายหวังว่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจะต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต คำพูดต้องเป็นที่เชื่อถือได้ และไว้วางใจได้ มั่นใจในเหตุผล กล้าหาญ อดทน รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวมส่วนใหญ่ของประเทศไทย ไม่ใช่เพื่อใครคนหนึ่ง จงรักภักดีต่อภารกิจโดยปราศจากการขัดแย้ง ไม่คล้อยตามลมปากของบริวารที่ประจบสอพลอ ยึดมั่นในศีลธรรม และสลัดคราบตัวแทนนอมินี ก็จะเป็นความโชคดีของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์
และในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทสรุปความว่า “คณะรัฐมนตรีทุกคนจะต้องรักษาสัจจะที่กล่าวปฏิญาณไว้ เพราะคำพูดเป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ และจะต้องนำไปปฏิบัติ และขอให้เสียสละปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และเป็นที่พึ่งของประชาชน 63 ล้านคน”
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ 1 สัปดาห์ นายสมัคร สุนทรเวช ออกมายอมรับว่าคณะรัฐมนตรีในภาพรวมอาจจะดูไม่สวยนัก “ขี้เหร่” นิดหน่อย ก็นับว่าเป็นการดีที่นายสมัครมีความเป็นลูกผู้ชายยอมรับความจริง และชี้แจงการขอรับควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม ด้วยหวังให้เกิดความสามัคคีในหมู่ทหาร โดยไม่ได้ดูเรื่องของรุ่นใดรุ่นหนึ่งและยืนยันว่าจะวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าไปก้าวก่ายการทำงานของกองทัพ และสร้างความสามัคคี
แต่หากจะดูอีกนัยหนึ่งก็อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็นการแสดงอำนาจของตนเหนือหมู่ทหารที่ต่อต้านตัวเขา สมาชิกพรรคพลังประชาชน หรือคณะรัฐมนตรี และเป็นการแสดงออกถึงอำนาจรัฐตามระบอบประชาธิปไตยที่อยู่เหนือบารมีใดบารมีหนึ่งที่อาจจะแทรกแซงกองทัพได้ เช่น อิทธิพลของอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ แต่ในหมู่ผู้จงรักภักดีกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อาจจะมองว่านายสมัคร สุนทรเวช คือผู้กำหนดนโยบายกองทัพ และความมั่นคงตัวจริงไม่ใช่อำนาจบารมีของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่มักจะใช้โอกาสในวันปีใหม่ หรือวันสงกรานต์กล่าวโอวาทเชิงให้นโยบายกองทัพ หรือเมื่อกองทัพเชิญพล.อ.เปรม เป็นวิทยากรบรรยายในสถาบันการศึกษา คำบรรยายบางส่วนอาจถูกว่าเป็นนโยบายที่กองทัพมักจะยึดปฏิบัติ เช่น เหตุการณ์ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การบรรยายเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับ “ม้ากับจอกกี้” ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ดังนั้น ในสองนัยนี้กองทัพก็คาดหวังว่านายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกลาโหม จะดำรงไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลไม่แทรกแซงในรายละเอียดของการบริหารจัดการกองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งของนายทหารในกองทัพ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.ขณะที่ยังมีอำนาจก่อนการเปิดสภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพิจารณาบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง รมว.กลาโหม รมช.กลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และอดีตรัฐมนตรีกลาโหม พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ ยืนยันว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีนัยสำคัญคือการป้องกันแทรกแซงการปรับย้ายนายทหาร เพราะในอดีตกองทัพมีความรู้สึกว่าที่ผ่านมา กองทัพมีปัญหาเพราะการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแทรกแซง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโยกย้ายนายทหารหรือการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีกฎหมายรองรับ รมว.กลาโหมอาจจะใช้อำนาจรัฐกดดันกองทัพให้แต่งตั้งบุคคลที่ผู้ถืออำนาจเห็นสมควร แต่ขาดคุณสมบัติที่จะเป็นผู้บังคับหน่วยทหารที่ดีได้ แต่มาบัดนี้กฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามขั้นตอน
แต่ข้อพิจารณาที่สำคัญคงได้แก่ การที่มีกฎหมายนี้ทำให้การคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพ และบัญชีโยกย้ายในตำแหน่งที่สำคัญเป็นไปอย่างมีระบบ เป็นที่ยอมรับของเหล่าทหารให้เป็นผู้นำรับผิดชอบชีวิตพวกเขา และสนองต่อพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะจอมทัพไทยได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง
ในส่วนของ คมช.ก็ได้ปิดฉากตัวเองอย่าง “ผู้แพ้” ก็ว่าได้ เพราะพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.ได้กล่าวยอมรับว่า ทำงานไม่เข้าเป้าแม้ทำดีที่สุดแล้ว ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่แต่มีเงื่อนไขเวลาเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถเร่งรัดขบวนการยุติธรรมได้
แต่หากวิเคราะห์แล้วพบว่า การขาดเอกภาพและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของอดีตประธาน คมช.และสมาชิก คมช.ที่ตกหลุมพรางของนักยุทธศาสตร์ของกลุ่มอดีตอำนาจเก่ายุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำการต่อสู้กับ คมช.อย่างซึ่งๆ หน้า และลับหลังทั้งในเชิงยุทธศาสตร์การเมือง และยุทธศาสตร์มวลชนต่อต้านตัวแทนอำนาจของระบบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอ้างเสมอว่า “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ”แทรกแซงอำนาจรัฐ ซึ่งอาจตีความได้มากกว่าหนึ่งนัย
และหนึ่งนัยนั้นคือ พล.อ.เปรม เป็น “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ”ทำให้ คมช.ขจัด “ตัวชน”ของตัวเอง ทำให้ยุทธศาสตร์ “ลูกล่อลูกชน” ของ คมช.ขาดประสิทธิภาพตกเป็นรองมาตลอด จน คมช.กลายเป็นองค์กรที่ทำให้กลุ่มต่อต้านระบอบทักษิณผิดหวัง เพราะ “ตัวชน” เช่น พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร และพล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ที่ไม่ใช่ คมช.แต่ต่อต้านระบอบทักษิณถูกลดบทบาทตามนัยทางการเมือง ด้วยการลดบทบาททางทหารทำให้ คมช.ขาด “ลูกชน” ที่เหมาะสมตามสถานการณ์ ดังนั้น การต่อรองทางการเมืองของฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ จึงมีชัยเหนือ คมช.มาตลอด 1 ปีที่ผ่านมาและทำให้พื้นที่ทางการเมืองตกเป็นของฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างเด่นชัดตั้งแต่ พล.อ.สพรั่ง พ้นจากกองทัพบกในวันที่ 1 ตุลาคม 2550
แต่หากมองในแง่ของรัฐศาสตร์ยุคใหม่ที่ต้องการขจัดการรัฐประหารออกจากทฤษฎีรัฐศาสตร์ เพราะการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งกลุ่มปัญญาชนชั้นกลางมองว่า “ไร้น้ำยา” และเสียเวลาเปล่า แถมยังทำให้ระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของไทยมีแรงเสียดทานจากกลุ่มประเทศประชาธิปไตยตะวันตก จึงคาดว่าการรัฐประหารในอนาคตคงจะเกิดขึ้นได้ยากกว่าในอดีต และเงื่อนไขจะต้องร้ายแรงจริงๆ มิใช่เป็นเรื่องการบริหารทุจริตคดโกงบ้านเมือง หรือข้อกล่าวอ้างซึ่งพิสูจน์ไม่ได้หรือไม่กล้าพิสูจน์ มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และหากขืนทำรัฐประหารอย่างไร้เหตุผลหรือต้องมีเงื่อนไขร้ายแรงมากกว่า 19 กันยายน 2549 หลายเท่าเพราะหากเหตุผลน้อยกว่าเงื่อนไข 19 กันยายน 2549 แล้ว ประชาชนจะลุกฮือต่อต้านทันที
จึงสรุปได้ว่า เหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 คมช.ล้มเหลวที่จะสำแดงผลให้ประชาชนเห็นว่า การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คุ้มค่าและในอนาคตคงไม่มีคณะรัฐมนตรีในฝันที่คณะรัฐประหารต้องการให้บริหารบ้านเมืองแทน เพราะทุกคนจะกลัวความล้มเหลวซ้ำรอย และนี่เป็นสิ่งที่นักประชาธิปไตยเรียกว่าเป็นผลพลอยได้ที่คุ้มค่า และเป็นความโชคดีของประเทศไทย
และสุดท้ายหวังว่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจะต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต คำพูดต้องเป็นที่เชื่อถือได้ และไว้วางใจได้ มั่นใจในเหตุผล กล้าหาญ อดทน รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวมส่วนใหญ่ของประเทศไทย ไม่ใช่เพื่อใครคนหนึ่ง จงรักภักดีต่อภารกิจโดยปราศจากการขัดแย้ง ไม่คล้อยตามลมปากของบริวารที่ประจบสอพลอ ยึดมั่นในศีลธรรม และสลัดคราบตัวแทนนอมินี ก็จะเป็นความโชคดีของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์