ททท.เร่งหาทางออกกรณีต้องคืนเงินโบนัสกว่า 150 ล้านบาท ให้สำนักงบประมาณ ระบุต้องให้พนักงานเดือดร้อนน้อยที่สุด และพร้อมที่จะเจรจากับกฤษฎีกา เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ด้านที่ปรึกษา 11 ททท. เผยททท.มี 2 จุดด้อย ไม่มีบำนาญเหมือนราชการ และไม่มีโบนัสเหมือนรัฐวิสาหกิจ ระบุ ก.พ.ร.เคยฟันธงมาแล้วว่า ททท.เหมาะเป็นองค์กรมหาชนมากกว่า
แหล่งข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ททท.กำลังหาทางออกที่ถูกต้องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน ททท. ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นยืนยันตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ ททท.นำเงินโบนัสที่จ่ายให้พนักงาน ททท. ทั้งองค์กรรวมประมาณ 1,000 คน ในระหว่างปี 2546-2548 รวม 150 ล้านบาท โดยฝ่ายบริหารและฝ่ายกฏหมายต้องมาหารือร่วมกัน เบื้องต้นเชื่อว่าจะมีทางออกที่ดีและไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน ททท.มากนัก ซึ่งภาคผู้บริหารเข้าใจดีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ความผิดของพนักงานโดยตรง
อย่างไรก็ตามยอมรับว่า หากการพิจารณาถึงที่สุดแล้ว ยังยืนยันว่า ททท.ต้องคืนเงินโบนัสที่ได้มาในจำนวนดังกล่าวจริง ก็คงต้องหาเงินไปคืนสำนักงบประมาณให้ได้ในที่สุดแต่จะด้วยรูปแบบใด ก็ต้องมาหารือร่วมกัน แต่เบื้องต้น คงต้องมีการร้องขอให้มีการทบทวนมติการตัดสินดังกล่าวของทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะเข้าใจดีว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำงานในลักษณะเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลอยู่แล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติให้มากที่สุด แต่ ททท.ก็ไม่ได้ตั้งใจที่กระกระทำผิด และการได้มาของโบนัสก็ได้ผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นด้วย ยอมรับว่ากรณีนี้ส่งผลต่อกำลังใจการทำงานของพนักงานเช่นกัน
ทางด้านพนักงาน ททท. โดยเฉพาะระดับปฎิบัติการ ต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า เงินโบนัส ที่ได้มาในช่วงเวลา 3 ปีดังกล่าว ได้นำไปใช้จ่ายหมดแล้ว หาก ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่สำนักงบประมาณ ก็ไม่ทราบว่าจะหาเงินมาจากส่วนใด ซึ่งเมื่อการตัดสินออกมาเช่นนี้ ก็รู้สึกน้อยใจ เพราะ ที่ผ่านมา พนักงาน ททท.ทุกคนทำงานหนักมาก หากย้อนไปดูในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ตั้งแต่ปี 2546-2548 จะพบว่า มีหลายเหตุการณ์ที่กระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น ไข้หวัดนก ซาร์ส สึนามิ และภัยก่อการร้ายต่างๆ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ ททท.จะต้องทำงานหนักเป็นสองเท่า เพื่อบรรลุเป้าหมายรายได้และจำนวนของนักท่องเที่ยว เช่น การพลิกแพลงกลยุทธ์หาตลาดใหม่ๆเข้ามาเสริมเพิ่มเติม ซึ่งโบนัสที่ได้ บางปีก็ได้เพียง 1.5 เดือนเท่านั้น ไม่ถึง 2 เดือนตามที่เป็นข่าว
ทางด้านนายภราเดช พยัฆควิเชียร ที่ปรึกษา 11 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ อดีตผู้ว่าการ ททท. กล่าวยอมรับว่า หากตีความตาม พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ ททท.จะไม่มีสิทธิ์ได้รับโบนัส เพราะพ.ร.บ.ดังกล่าวระบุไว้ว่า จะได้โบนัสก็ต้องดูจากรายได้และกำไรด้วย แต่ ททท.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีรายได้ แต่มีหน้าที่ทำงานด้านการตลาด และ การพัฒนาให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งล่าสุด การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ได้มีการพิจารณาถึงรัฐวิสาหกิจที่ไม่เหมาะจะเป็นรัฐวิสาหกิจไว้ด้วยโดย ททท.ก็เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจ ที่ ก.พ.ร. ระบุไว้ เนื่องจากทำงานด้านส่งเสริมการตลาด จึงไม่มีรายได้ ซึ่งลักษณะงาน ควรเป็นองค์กรมหาชน หรือ หน่วยงานอิสระอื่นที่มีกฏหมายเป็นของตัวเอง เพราะหากเป็นรัฐวิสาหกิจก็ต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ ซึ่งจุดด้อยของ ททท. คือ ไม่สามารถรับโบนัสได้เหมือนรัฐวิสาหกิจ และไม่มีบำนาญเหมือนข้าราชการ แต่ต้องทำงานหนัก
แหล่งข่าวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ททท.กำลังหาทางออกที่ถูกต้องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพนักงาน ททท. ในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นยืนยันตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ ททท.นำเงินโบนัสที่จ่ายให้พนักงาน ททท. ทั้งองค์กรรวมประมาณ 1,000 คน ในระหว่างปี 2546-2548 รวม 150 ล้านบาท โดยฝ่ายบริหารและฝ่ายกฏหมายต้องมาหารือร่วมกัน เบื้องต้นเชื่อว่าจะมีทางออกที่ดีและไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน ททท.มากนัก ซึ่งภาคผู้บริหารเข้าใจดีว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ความผิดของพนักงานโดยตรง
อย่างไรก็ตามยอมรับว่า หากการพิจารณาถึงที่สุดแล้ว ยังยืนยันว่า ททท.ต้องคืนเงินโบนัสที่ได้มาในจำนวนดังกล่าวจริง ก็คงต้องหาเงินไปคืนสำนักงบประมาณให้ได้ในที่สุดแต่จะด้วยรูปแบบใด ก็ต้องมาหารือร่วมกัน แต่เบื้องต้น คงต้องมีการร้องขอให้มีการทบทวนมติการตัดสินดังกล่าวของทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพราะเข้าใจดีว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำงานในลักษณะเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลอยู่แล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติให้มากที่สุด แต่ ททท.ก็ไม่ได้ตั้งใจที่กระกระทำผิด และการได้มาของโบนัสก็ได้ผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นด้วย ยอมรับว่ากรณีนี้ส่งผลต่อกำลังใจการทำงานของพนักงานเช่นกัน
ทางด้านพนักงาน ททท. โดยเฉพาะระดับปฎิบัติการ ต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า เงินโบนัส ที่ได้มาในช่วงเวลา 3 ปีดังกล่าว ได้นำไปใช้จ่ายหมดแล้ว หาก ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่สำนักงบประมาณ ก็ไม่ทราบว่าจะหาเงินมาจากส่วนใด ซึ่งเมื่อการตัดสินออกมาเช่นนี้ ก็รู้สึกน้อยใจ เพราะ ที่ผ่านมา พนักงาน ททท.ทุกคนทำงานหนักมาก หากย้อนไปดูในช่วงเวลาดังกล่าว คือ ตั้งแต่ปี 2546-2548 จะพบว่า มีหลายเหตุการณ์ที่กระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว เช่น ไข้หวัดนก ซาร์ส สึนามิ และภัยก่อการร้ายต่างๆ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ ททท.จะต้องทำงานหนักเป็นสองเท่า เพื่อบรรลุเป้าหมายรายได้และจำนวนของนักท่องเที่ยว เช่น การพลิกแพลงกลยุทธ์หาตลาดใหม่ๆเข้ามาเสริมเพิ่มเติม ซึ่งโบนัสที่ได้ บางปีก็ได้เพียง 1.5 เดือนเท่านั้น ไม่ถึง 2 เดือนตามที่เป็นข่าว
ทางด้านนายภราเดช พยัฆควิเชียร ที่ปรึกษา 11 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ อดีตผู้ว่าการ ททท. กล่าวยอมรับว่า หากตีความตาม พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ ททท.จะไม่มีสิทธิ์ได้รับโบนัส เพราะพ.ร.บ.ดังกล่าวระบุไว้ว่า จะได้โบนัสก็ต้องดูจากรายได้และกำไรด้วย แต่ ททท.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีรายได้ แต่มีหน้าที่ทำงานด้านการตลาด และ การพัฒนาให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งล่าสุด การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ได้มีการพิจารณาถึงรัฐวิสาหกิจที่ไม่เหมาะจะเป็นรัฐวิสาหกิจไว้ด้วยโดย ททท.ก็เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจ ที่ ก.พ.ร. ระบุไว้ เนื่องจากทำงานด้านส่งเสริมการตลาด จึงไม่มีรายได้ ซึ่งลักษณะงาน ควรเป็นองค์กรมหาชน หรือ หน่วยงานอิสระอื่นที่มีกฏหมายเป็นของตัวเอง เพราะหากเป็นรัฐวิสาหกิจก็ต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจ ซึ่งจุดด้อยของ ททท. คือ ไม่สามารถรับโบนัสได้เหมือนรัฐวิสาหกิจ และไม่มีบำนาญเหมือนข้าราชการ แต่ต้องทำงานหนัก