การพัฒนาระบบการเมืองที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งได้แก่การรักษาระบบการเมืองการปกครองที่ดีไว้นั้น เป็นประเด็นปัญหาตั้งแต่สมัยโบราณ คำว่าระบบการเมืองที่ดีก็คือระบบการเมืองที่สามารถนำมาซึ่งความเป็นธรรมในสังคม (justice) ความเป็นธรรมในสังคมนั้นมีหลายมิติ ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การสร้างระบบการเมืองดังกล่าวจะต้องมองที่ 3 ส่วนด้วยกัน อันได้แก่ ประชาชน ระบบการเมืองหรือรัฐ และผู้ใช้อำนาจรัฐได้แก่รัฐบาลหรือผู้ปกครอง
ในเบื้องต้น รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องมีความชอบธรรมทางการเมือง ความชอบธรรมทางการเมืองนั้นอาจจะมีการอ้างสิทธิธรรมจากสวรรค์ ซึ่งในตะวันตกนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองอ้างว่าได้รับสิทธิธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า ในกรณีของจีนก็มีการอ้างถึงอาณัติจากสวรรค์ แต่ในกรณีของลัทธิเทวราชาและจักรพรรดิญี่ปุ่นไม่ใช่ระบบที่อ้างสิทธิธรรมจากสวรรค์หรืออาณัติจากสวรรค์ แต่ผู้ปกครองนั้นมีลักษณะเป็นเทพจากสรวงสวรรค์ ของญี่ปุ่นเสด็จลงมาจากสวรรค์ในฐานะเทพ ส่วนเทวราชานั้นเป็นการอวตารมาเป็นมนุษย์แต่ก็มีลักษณะกึ่งเทพกึ่งมนุษย์
การมีความชอบธรรมในทางการเมืองจึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ประชาชนจะให้การสนับสนุน แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือการสนับสนุนที่เกิดจากประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือผลงานของผู้ใช้อำนาจรัฐถ้ามีการปกครองบริหารที่ดี ประชาชนมีความสุขได้ผลประโยชน์ก็จะให้การสนับสนุน รัฐบาลก็จะมีความชอบธรรม
ผลที่สุดแล้วความชอบธรรมและการสนับสนุนก็คือ การคงอยู่ของความเป็นธรรมในสังคม ปัญหาเรื่องความเป็นธรรมจึงเป็นปัญหาหลักที่มีการพูดถึงตลอดโดยนักปราชญ์ที่มีอยู่ในการปกครองบริหาร แต่ปัญหามีอยู่ว่า การใช้อำนาจรัฐก็คือการที่บุคคลมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น และอำนาจนั้นตามที่ ลอร์ด แอคตัน ได้กล่าวไว้ มีแนวโน้มที่จะทำให้คนเสียคน โดยอำนาจที่เด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น การพูดถึงกลไกที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองกลายเป็นทรราชนั้นจึงเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมากตั้งแต่มีชุมชนการเมืองอุบัติมา ผลสุดท้ายก็ได้ข้อสรุปที่ว่า ระบบที่เลวน้อยที่สุดได้แก่ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะอำนาจอธิปไตยหรือความชอบธรรมทางการเมืองนั้นมาจากประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ให้อาณัติ โดยให้ผู้ซึ่งชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครอง ขณะเดียวกันก็จะมีระบบที่คอยถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบอำนาจโดยหลายฝ่ายอันเป็นที่ทราบกันว่าเป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลกันในกลุ่มอำนาจ ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่นำมาทดลองปฏิบัตินั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในหลายสังคมที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา
การที่จะทำให้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยสามารถพัฒนาเป็นระบบการเมืองที่ต่อเนื่องและยั่งยืนได้นั้น มีตัวแปรใหญ่ดังต่อไปนี้
1. ประชาชน : ปลอดจากความจนและความเขลา ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนผู้เสียภาษีและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือผู้ให้อาณัติกับผู้ใช้อำนาจรัฐหรือรัฐบาลมาปกครองบริหารบ้านเมืองโดยการลงคะแนนเสียง ซึ่งในส่วนนี้มีนักวิชาการได้กล่าวไว้ว่า สภาพสังคมเศรษฐกิจจะต้องเอื้ออำนวยจึงทำให้ประชาธิปไตยพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งได้แก่ การมีชนชั้นกลางมากพอ การมีสื่อมวลชนที่รับผิดชอบ สังคมเป็นชุมชนเมือง ฯลฯ แต่ถ้าจะมองดูจากสิ่งที่กล่าวมาเบื้องต้นก็พอสรุปได้ว่า ในส่วนของประชาชนนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ตัวแปรหลัก คือ เศรษฐกิจหรือความอยู่ดีกินดี และการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การมีประชาชนที่มีความรู้และได้รับข่าวสารข้อมูล ดังนั้น ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะต้องปลอดจากความชั่วแฝด คือความจนและความเขลา เพราะเมื่อยากจนก็ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา และเมื่อไม่มีการศึกษาก็เขลาเบาปัญญา การทำมาหากินก็ฝืดเคือง ก็จะยากจนต่อไป เป็นวงจรอุบาทว์ไม่สิ้นสุด ความจนและความเขลาจึงเป็นตัวแปรในส่วนลบที่จะทำให้ส่วนของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะเมื่อจนและเขลาก็ย่อมเป็นเหยื่อของนักการเมืองที่ชั่วและไม่บริสุทธิ์ใจได้ง่าย เนื่องจากการขายสิทธิ์ขายเสียง หรือถูกชักจูงจนไม่สามารถจะวิเคราะห์ความถูกความผิดเพราะขาดข้อมูลและความรู้ และขาดความเชื่อมั่น เมื่อใดที่คนยากจนและไร้การศึกษาจะขาดความเชื่อมั่นและขาดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ระบบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมที่คนส่วนใหญ่ไร้การศึกษาและยากจน
2. รัฐบาลที่ดี : อุดมการณ์และความรู้ความสามารถ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะต้องประกอบด้วยตัวบุคคลซึ่งเป็นนักการเมืองที่ดี เพื่อจะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มีคุณภาพ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของคนที่จะเป็นรัฐบาลอันจะนำไปสู่รัฐบาลที่ดีนั้น คือบุคคลที่เป็นนักการเมืองต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการคือ มีอุดมการณ์ทางการเมืองและมีความรู้ความสามารถ การใช้คนที่มีความรู้ความสามารถหรือคนเก่งที่บริหารประเทศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสังคมในยุคโลกาภิวัตน์เป็นสังคมที่ซับซ้อน ไม่สามารถจะใช้วิธีการแบบเก่าหรือใช้สามัญสำนึก ต้องมีความรู้ทางเทคนิคอันได้แก่ศาสตร์และศิลป์ การใช้คนที่ไม่มีความรู้ความสามารถจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง อาจจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติได้ ตัวแปรนี้จึงเป็นส่วนสำคัญของรัฐบาลที่ดี
แต่ยังมีตัวแปรอีกตัวแปรหนึ่งนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง อันประกอบด้วย หลักการทางการเมือง จริยธรรม การเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรู้ความสามารถแต่ขาดอุดมการณ์อาจจะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลได้ มีการโกงกินบ้านเมืองจนบ้านเมืองล่มจม ดังนั้น รัฐบาลที่ดีจะต้องมีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีอุดมการณ์ โดยมีรายละเอียดขยายความตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. ระบบการเมือง : ประโยชน์และยุติธรรม นอกจากตัวแปรที่หนึ่งและสองแล้ว ระบบการเมืองจะต้องเป็นระบบการเมืองที่มีลักษณะ 2 ประการดังต่อไปนี้ คือ เป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ และมีความยุติธรรม รัฐบาลบริหารประเทศในนามของประชาชน แต่ประชาชนจะต้องได้ประโยชน์ตามสัดส่วนของภาษีที่ตนเสียไป เพราะการคงอยู่ของรัฐบาลนั้นอยู่เพื่อประชาชน นโยบายประชานิยมจึงไม่ใช่นโยบายที่ผิด เพราะถ้าประชาชนไม่ได้ประโยชน์จากการบริหารก็ไม่ควรมีรัฐบาล และประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะไม่สนับสนุนรัฐบาล รัฐบาลที่หาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพรรคพวกจนไม่สามารถดูแลประชาชนก็ขาดความชอบธรรมตั้งแต่ต้น ระบบการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อประชาชนย่อมจะคงอยู่ไม่ได้
นอกจากผลประโยชน์แล้วจะต้องคงไว้ซึ่ง ความยุติธรรม ทั้งในหลักนิติธรรม การแจกแจงรายได้ ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุต่างๆ ที่สำคัญที่สุด ประชาชนต้องมีศรัทธาและไว้ใจระบบว่าเป็นระบบที่เอื้ออำนวยประโยชน์และธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ระบบการเมืองใดที่ขาดตัวแปรดังกล่าวนี้ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และระบบนั้นก็จะไม่มีความชอบธรรม
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาระบบการเมืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงขึ้นอยู่กับ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนของรัฐบาล ส่วนของประชาชน ส่วนของระบบ โดยส่วนของประชาชนต้องพยายามขจัดหรือบรรเทาความจนและความเขลา ในส่วนของรัฐบาลต้องบริหารประเทศโดยคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีอุดมการณ์ ในส่วนของระบบการเมืองต้องเอื้อประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่และธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม ระบบดังกล่าวนี้จะต้องนำไปสู่สภาวะที่พึงประสงค์ คือ บุคคลที่จนที่สุดในระบบดังกล่าวต้องสามารถธำรงไว้อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ อันได้แก่ การมีปัจจัยสี่ สิทธิเสรีภาพได้รับการประกันโดยรัฐธรรมนูญและการบังคับกฎหมาย และมีโอกาสขยับชั้นทางสังคมโดยการมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น เมื่อสภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น สังคมนั้น ระบบการเมืองนั้น ก็จะสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ และจะนำไปสู่ความเป็นธรรม (Justice) ในที่สุด
ในเบื้องต้น รัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องมีความชอบธรรมทางการเมือง ความชอบธรรมทางการเมืองนั้นอาจจะมีการอ้างสิทธิธรรมจากสวรรค์ ซึ่งในตะวันตกนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองอ้างว่าได้รับสิทธิธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า ในกรณีของจีนก็มีการอ้างถึงอาณัติจากสวรรค์ แต่ในกรณีของลัทธิเทวราชาและจักรพรรดิญี่ปุ่นไม่ใช่ระบบที่อ้างสิทธิธรรมจากสวรรค์หรืออาณัติจากสวรรค์ แต่ผู้ปกครองนั้นมีลักษณะเป็นเทพจากสรวงสวรรค์ ของญี่ปุ่นเสด็จลงมาจากสวรรค์ในฐานะเทพ ส่วนเทวราชานั้นเป็นการอวตารมาเป็นมนุษย์แต่ก็มีลักษณะกึ่งเทพกึ่งมนุษย์
การมีความชอบธรรมในทางการเมืองจึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ประชาชนจะให้การสนับสนุน แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือการสนับสนุนที่เกิดจากประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลหรือผลงานของผู้ใช้อำนาจรัฐถ้ามีการปกครองบริหารที่ดี ประชาชนมีความสุขได้ผลประโยชน์ก็จะให้การสนับสนุน รัฐบาลก็จะมีความชอบธรรม
ผลที่สุดแล้วความชอบธรรมและการสนับสนุนก็คือ การคงอยู่ของความเป็นธรรมในสังคม ปัญหาเรื่องความเป็นธรรมจึงเป็นปัญหาหลักที่มีการพูดถึงตลอดโดยนักปราชญ์ที่มีอยู่ในการปกครองบริหาร แต่ปัญหามีอยู่ว่า การใช้อำนาจรัฐก็คือการที่บุคคลมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น และอำนาจนั้นตามที่ ลอร์ด แอคตัน ได้กล่าวไว้ มีแนวโน้มที่จะทำให้คนเสียคน โดยอำนาจที่เด็ดขาดจะทำให้คนเสียคนเด็ดขาดยิ่งขึ้น การพูดถึงกลไกที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองกลายเป็นทรราชนั้นจึงเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างมากตั้งแต่มีชุมชนการเมืองอุบัติมา ผลสุดท้ายก็ได้ข้อสรุปที่ว่า ระบบที่เลวน้อยที่สุดได้แก่ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะอำนาจอธิปไตยหรือความชอบธรรมทางการเมืองนั้นมาจากประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ให้อาณัติ โดยให้ผู้ซึ่งชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครอง ขณะเดียวกันก็จะมีระบบที่คอยถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบอำนาจโดยหลายฝ่ายอันเป็นที่ทราบกันว่าเป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลกันในกลุ่มอำนาจ ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่นำมาทดลองปฏิบัตินั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในหลายสังคมที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา
การที่จะทำให้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยสามารถพัฒนาเป็นระบบการเมืองที่ต่อเนื่องและยั่งยืนได้นั้น มีตัวแปรใหญ่ดังต่อไปนี้
1. ประชาชน : ปลอดจากความจนและความเขลา ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนผู้เสียภาษีและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือผู้ให้อาณัติกับผู้ใช้อำนาจรัฐหรือรัฐบาลมาปกครองบริหารบ้านเมืองโดยการลงคะแนนเสียง ซึ่งในส่วนนี้มีนักวิชาการได้กล่าวไว้ว่า สภาพสังคมเศรษฐกิจจะต้องเอื้ออำนวยจึงทำให้ประชาธิปไตยพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งได้แก่ การมีชนชั้นกลางมากพอ การมีสื่อมวลชนที่รับผิดชอบ สังคมเป็นชุมชนเมือง ฯลฯ แต่ถ้าจะมองดูจากสิ่งที่กล่าวมาเบื้องต้นก็พอสรุปได้ว่า ในส่วนของประชาชนนั้นขึ้นอยู่กับ 2 ตัวแปรหลัก คือ เศรษฐกิจหรือความอยู่ดีกินดี และการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การมีประชาชนที่มีความรู้และได้รับข่าวสารข้อมูล ดังนั้น ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะต้องปลอดจากความชั่วแฝด คือความจนและความเขลา เพราะเมื่อยากจนก็ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา และเมื่อไม่มีการศึกษาก็เขลาเบาปัญญา การทำมาหากินก็ฝืดเคือง ก็จะยากจนต่อไป เป็นวงจรอุบาทว์ไม่สิ้นสุด ความจนและความเขลาจึงเป็นตัวแปรในส่วนลบที่จะทำให้ส่วนของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะเมื่อจนและเขลาก็ย่อมเป็นเหยื่อของนักการเมืองที่ชั่วและไม่บริสุทธิ์ใจได้ง่าย เนื่องจากการขายสิทธิ์ขายเสียง หรือถูกชักจูงจนไม่สามารถจะวิเคราะห์ความถูกความผิดเพราะขาดข้อมูลและความรู้ และขาดความเชื่อมั่น เมื่อใดที่คนยากจนและไร้การศึกษาจะขาดความเชื่อมั่นและขาดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ระบบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมที่คนส่วนใหญ่ไร้การศึกษาและยากจน
2. รัฐบาลที่ดี : อุดมการณ์และความรู้ความสามารถ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะต้องประกอบด้วยตัวบุคคลซึ่งเป็นนักการเมืองที่ดี เพื่อจะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มีคุณภาพ คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของคนที่จะเป็นรัฐบาลอันจะนำไปสู่รัฐบาลที่ดีนั้น คือบุคคลที่เป็นนักการเมืองต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการคือ มีอุดมการณ์ทางการเมืองและมีความรู้ความสามารถ การใช้คนที่มีความรู้ความสามารถหรือคนเก่งที่บริหารประเทศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสังคมในยุคโลกาภิวัตน์เป็นสังคมที่ซับซ้อน ไม่สามารถจะใช้วิธีการแบบเก่าหรือใช้สามัญสำนึก ต้องมีความรู้ทางเทคนิคอันได้แก่ศาสตร์และศิลป์ การใช้คนที่ไม่มีความรู้ความสามารถจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง อาจจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติได้ ตัวแปรนี้จึงเป็นส่วนสำคัญของรัฐบาลที่ดี
แต่ยังมีตัวแปรอีกตัวแปรหนึ่งนั่นคือ อุดมการณ์ทางการเมือง อันประกอบด้วย หลักการทางการเมือง จริยธรรม การเสียสละ ความซื่อสัตย์สุจริต คนที่มีความรู้ความสามารถแต่ขาดอุดมการณ์อาจจะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลได้ มีการโกงกินบ้านเมืองจนบ้านเมืองล่มจม ดังนั้น รัฐบาลที่ดีจะต้องมีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีอุดมการณ์ โดยมีรายละเอียดขยายความตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. ระบบการเมือง : ประโยชน์และยุติธรรม นอกจากตัวแปรที่หนึ่งและสองแล้ว ระบบการเมืองจะต้องเป็นระบบการเมืองที่มีลักษณะ 2 ประการดังต่อไปนี้ คือ เป็นระบบการเมืองที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ และมีความยุติธรรม รัฐบาลบริหารประเทศในนามของประชาชน แต่ประชาชนจะต้องได้ประโยชน์ตามสัดส่วนของภาษีที่ตนเสียไป เพราะการคงอยู่ของรัฐบาลนั้นอยู่เพื่อประชาชน นโยบายประชานิยมจึงไม่ใช่นโยบายที่ผิด เพราะถ้าประชาชนไม่ได้ประโยชน์จากการบริหารก็ไม่ควรมีรัฐบาล และประชาชนก็มีสิทธิ์ที่จะไม่สนับสนุนรัฐบาล รัฐบาลที่หาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพรรคพวกจนไม่สามารถดูแลประชาชนก็ขาดความชอบธรรมตั้งแต่ต้น ระบบการเมืองที่ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อประชาชนย่อมจะคงอยู่ไม่ได้
นอกจากผลประโยชน์แล้วจะต้องคงไว้ซึ่ง ความยุติธรรม ทั้งในหลักนิติธรรม การแจกแจงรายได้ ความเสมอภาค การไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุต่างๆ ที่สำคัญที่สุด ประชาชนต้องมีศรัทธาและไว้ใจระบบว่าเป็นระบบที่เอื้ออำนวยประโยชน์และธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ระบบการเมืองใดที่ขาดตัวแปรดังกล่าวนี้ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และระบบนั้นก็จะไม่มีความชอบธรรม
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาระบบการเมืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงขึ้นอยู่กับ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนของรัฐบาล ส่วนของประชาชน ส่วนของระบบ โดยส่วนของประชาชนต้องพยายามขจัดหรือบรรเทาความจนและความเขลา ในส่วนของรัฐบาลต้องบริหารประเทศโดยคนที่มีความรู้ความสามารถ และมีอุดมการณ์ ในส่วนของระบบการเมืองต้องเอื้อประโยชน์ให้กับคนส่วนใหญ่และธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม ระบบดังกล่าวนี้จะต้องนำไปสู่สภาวะที่พึงประสงค์ คือ บุคคลที่จนที่สุดในระบบดังกล่าวต้องสามารถธำรงไว้อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ อันได้แก่ การมีปัจจัยสี่ สิทธิเสรีภาพได้รับการประกันโดยรัฐธรรมนูญและการบังคับกฎหมาย และมีโอกาสขยับชั้นทางสังคมโดยการมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น เมื่อสภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น สังคมนั้น ระบบการเมืองนั้น ก็จะสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้ และจะนำไปสู่ความเป็นธรรม (Justice) ในที่สุด