"บุช" แจก "ยาหอม" ให้ไทยที่มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับสหรัฐฯ มายาวนาน 175 ปี พร้อมปล่อย "มุก" สนใจอยากได้ "ช้างไทย" ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์แถลงนโยบายเกี่ยวกับเอเชีย ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์เช้าวานนี้ (7) อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีอเมริกัน ก็ได้ใช้โอกาสนี้มาตำหนิติเตียนทางการจีนอย่างรุนแรงที่กดขี่ประชาชนของตัวเอง นอกจากนั้นเขายังใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันสุดท้ายในประเทศไทยนี้ ในการแสดงความสนับสนุนผู้ลี้ภัยจากพม่า
"สวัสดีครับ" ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ เริ่มต้นสุนทรพจน์ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ด้วยการกล่าวคำทักทายเป็นภาษาไทยที่ค่อนข้างชัดเจน เรียกเสียงเฮและเสียงปรบมือกึกก้องจากผู้เข้าฟังหลายร้อยคน จากนั้นก็บอกว่า เขากับลอรา ภริยาของเขา รู้สึกยินดีที่ได้กลับมาเยือนกรุงเทพฯอีกครั้ง และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมกับถวายพระพรล่วงหน้าเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถด้วย
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่ผู้นำอเมริกันจะเดินทางมายังศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ เมื่อเวลา 08.00 น. วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ได้อัญเชิญดอกไม้พระราชทาน เป็นช่อดอกไม้และพวงมาลัยพระกร จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มามอบให้ประธานาธิบดีบุช และนางลอรา ภริยา โดยมี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เป็นผู้อัญเชิญมอบช่อดอกไม้ให้ ซึ่งพวงมาลัยพระกร จะมอบให้ประธานาธิบดี ส่วนช่อดอกไม้จะมอบให้กับภริยา แต่มีรายงานว่า นางลอรา ได้เดินทางไปยังค่ายผู้ลี้ภัยที่ จ.ตาก แล้วตั้งแต่เมื่อเวลา 06.00 น.
ในสุนทรพจน์คราวนี้ บุชได้กล่าวทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับไทยที่เริ่มต้นเมื่อ 175 ปี เมื่อประธานาธิบดีแอนดริว แจ๊กสัน ส่งคณะทูตมายังประเทศสยาม และสามารถแจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้ากันได้ หลังจากนั้นประเทศทั้งสองก็มีความสัมพันธ์ฉันมิตรอันใกล้ชิด
เขาพูดถึงเรื่องที่มีครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์ของไทย (ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ทรงเสนอที่จะพระราชทานช้างให้อเมริกา แต่ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ตอบปฏิเสธอย่างสุภาพ ถึงตรงนี้บุชก็ปล่อยมุกว่า เขาสงสัยว่าทางอเมริกาจะขอให้นำข้อเสนอนี้กลับมาวางบนโต๊ะได้ไหม ถึงแม้บ้านไร่ของเขาคงไม่ใหญ่พอที่จะเลี้ยงช้างได้
บุชกล่าวต่อไปว่า คุณค่าในเรื่องเสรีภาพและการเปิดกว้างซึ่งก่อกำเนิดความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯกับไทย ยังคงยืนยาวเรื่อยมาตลอดช่วงเวลานับร้อยๆ ปี พร้อมกับชี้ถึงเรื่องที่ทหารอเมริกันกับทหารไทยได้ร่วมรบเคียงกันในเกาหลี เวียดนาม จนถึงอัฟกานิสถาน และอิรัก ขณะที่เศรษฐกิจแบบตลาดเสรีของทั้งสองประเทศก็เจริญรุ่งเรืองผ่านกระแสการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยวก็เฟื่องฟู รวมทั้งเวลานี้มีคนอเมริกันเชื้อไทยอยู่ถึง 200,000 คน
ประธานาธิบดีสหรัฐฯบอกว่า ในวาระครบรอบ 175 ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง "อเมริกามองเห็นประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำรายหนึ่งในภูมิภาคนี้ และก็เป็นหุ้นส่วนรายหนึ่งในขอบเขตทั่วโลก" เขาจึงภูมิใจที่ได้แต่งตั้งให้ไทยมีฐานะเป็นชาติพันธมิตรนอกนาโต้ของสหรัฐฯ "และผมขอสดุดีประชาชนไทยในการฟื้นฟูประชาธิปไตย ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าอิสรภาพและกฎหมายคือผู้ปกครองเหนือดินแดนแห่งนี้ ใน ประเทศไทย- 'ดินแดนแห่งเสรีชน' "
ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ บุชย้อนกลับมาพูดถึงประเทศไทยอีกครั้ง โดยพูดถึงเรื่องสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่กองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นเข้ามาในไทย และเอกอัครราชทูตไทยประจำวอชิงตัน (ซึ่งคือ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช) ได้รับคำสั่งให้ประกาศสงครามกับสหรัฐฯ แต่เอกอัครราชทูตไทยผู้นี้ปฏิเสธ ทางอเมริกาก็จึงไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรูของตน และได้ช่วยคนไทยในอเมริการวมตัวกันเป็นขบวนการที่รู้จักกันในนาม "เสรีไทย"
อย่างไรก็ตาม ถึงตรงนี้ บุช "เสียมวย" โดยออกเสียง "เสรีไทย" เป็น "ซอรีไทย" 2 ครั้ง 2 ครา
สำหรับเนื้อหาของสุนทรพจน์ครั้งนี้ ซึ่งบอกกันว่าเป็น คำแถลงแสดงนโยบายเกี่ยวกับเอเชียครั้งสำคัญนั้น นอกจากส่วนที่กล่าวถึงประเทศไทยผู้เป็นเจ้าบ้านแล้ว บุชได้พูดแตะเรื่องต่างๆ หลายหลากอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่โครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ไปจนถึงความมั่นคงในภูมิภาค และการค้าในสองฟากฝั่งแปซิฟิก รวมทั้งการประกาศย้ำอีกครั้งว่า สหรัฐฯเป็น "ชาติแปซิฟิก"
แต่พร้อมๆ กับที่กล่าวยอมรับพลังทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งกำลังเติบโตขึ้นทุกที เขาก็ใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมาที่สุดครั้งหนึ่ง ในการตำหนิติเตียนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของจีน และแม้ในสุนทรพจน์ บุช เอ่ยถึงพม่าไม่มากนัก ทว่าก็ใช้คำแรง โดยเขากล่าวว่า "เราจะร่วมมือกันหาทางยุติระบบทรราชในพม่า ... อเมริกาขอย้ำการเรียกร้องของเราต่อคณะผู้นำทางทหารของพม่าอีกครั้ง ให้ปล่อยตัวนาง ออง ซาน ซู จี และนักโทษการเมืองอื่นๆ ทั้งหมด และเราจะทำงานอย่างต่อเนื่อง จนกว่าประชาชนของพม่าจะได้รับเสรีภาพอย่างที่พวกเขาสมควรจะได้รับ"
นอกจากนั้น เขาและภริยายังใช้เวลาจำนวนมากในวันสุดท้ายที่อยู่ในประเทศไทยเมื่อวานนี้ ในการแสดงความสนับสนุนผู้ลี้ภัยจากพม่า
ประธานาธิบดีบุชนั้น ได้พบปะกับผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลพม่า ตลอดจนอดีตนักโทษการเมืองชาวพม่าหลายคน ระหว่างที่ไปรับประทานอาหารกลางวันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ณ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โดยเขาได้กล่าวกับชาวพม่าเหล่านี้ว่า "ประชาชนชาวอเมริกันมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อประชาชนพม่า และฝันว่าสักวันหนึ่งประชาชนของพม่าจะได้เป็นเสรี"
ส่วนนางลอรา บุช ได้เดินทางโดยเครื่องบินไปถึงท่าอากาศยานแม่สอด จากนั้นได้เดินทางโดยรถยนต์ไปเยี่ยมชมศูนย์พักพิงชั่วคราวจากการสู้รบ บ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาก จังหวัดตาก ซึ่งมีผู้หลบหนีภัยชาวกะเหรี่ยงราว 60,000 คนอาศัยอยู่ ต่อจากนั้นก็ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการดำเนินงานที่ แม่ตามคลินิก อำเภอแม่สอด ของแพทย์หญิง ซินเธีย หม่อง ซึ่งให้บริการทางด้านสาธารณสุขและการศึกษาแก่ชาวพม่าผู้พลัดถิ่น ทั้งในและนอกประเทศ
แพทย์หญิงซินเธีย หม่อง ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชนดีเด่น จากการทำงานในการช่วยเหลือดูแลรักษาโรคแก่ผู้อพยพชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เปิดเผยก่อนพบเจรจากับนางลอรา ว่า จะขอให้ทางสหรัฐฯ ช่วยเจรจาและกดดันให้รัฐบาลทหารพม่า ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และนักโทษทางการเมือง รวมทั้งช่วยเหลือกดดันรัฐบาลทหารพม่า ให้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว
ประธานาธิบดีบุชและภริยา เสร็จสิ้นภารกิจในประเทศไทย และเดินทางออกจากสนามบินกองทัพอากาศ เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น เพื่อไปยังสาธารณรัฐประชาชน โดยจะเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งในวันนี้(8)
"สวัสดีครับ" ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯ เริ่มต้นสุนทรพจน์ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ด้วยการกล่าวคำทักทายเป็นภาษาไทยที่ค่อนข้างชัดเจน เรียกเสียงเฮและเสียงปรบมือกึกก้องจากผู้เข้าฟังหลายร้อยคน จากนั้นก็บอกว่า เขากับลอรา ภริยาของเขา รู้สึกยินดีที่ได้กลับมาเยือนกรุงเทพฯอีกครั้ง และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมกับถวายพระพรล่วงหน้าเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถด้วย
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่ผู้นำอเมริกันจะเดินทางมายังศูนย์ประชุมสิริกิตติ์ เมื่อเวลา 08.00 น. วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง ได้อัญเชิญดอกไม้พระราชทาน เป็นช่อดอกไม้และพวงมาลัยพระกร จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มามอบให้ประธานาธิบดีบุช และนางลอรา ภริยา โดยมี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เป็นผู้อัญเชิญมอบช่อดอกไม้ให้ ซึ่งพวงมาลัยพระกร จะมอบให้ประธานาธิบดี ส่วนช่อดอกไม้จะมอบให้กับภริยา แต่มีรายงานว่า นางลอรา ได้เดินทางไปยังค่ายผู้ลี้ภัยที่ จ.ตาก แล้วตั้งแต่เมื่อเวลา 06.00 น.
ในสุนทรพจน์คราวนี้ บุชได้กล่าวทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับไทยที่เริ่มต้นเมื่อ 175 ปี เมื่อประธานาธิบดีแอนดริว แจ๊กสัน ส่งคณะทูตมายังประเทศสยาม และสามารถแจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีและการค้ากันได้ หลังจากนั้นประเทศทั้งสองก็มีความสัมพันธ์ฉันมิตรอันใกล้ชิด
เขาพูดถึงเรื่องที่มีครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์ของไทย (ซึ่งก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ทรงเสนอที่จะพระราชทานช้างให้อเมริกา แต่ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ตอบปฏิเสธอย่างสุภาพ ถึงตรงนี้บุชก็ปล่อยมุกว่า เขาสงสัยว่าทางอเมริกาจะขอให้นำข้อเสนอนี้กลับมาวางบนโต๊ะได้ไหม ถึงแม้บ้านไร่ของเขาคงไม่ใหญ่พอที่จะเลี้ยงช้างได้
บุชกล่าวต่อไปว่า คุณค่าในเรื่องเสรีภาพและการเปิดกว้างซึ่งก่อกำเนิดความเป็นพันธมิตรระหว่างสหรัฐฯกับไทย ยังคงยืนยาวเรื่อยมาตลอดช่วงเวลานับร้อยๆ ปี พร้อมกับชี้ถึงเรื่องที่ทหารอเมริกันกับทหารไทยได้ร่วมรบเคียงกันในเกาหลี เวียดนาม จนถึงอัฟกานิสถาน และอิรัก ขณะที่เศรษฐกิจแบบตลาดเสรีของทั้งสองประเทศก็เจริญรุ่งเรืองผ่านกระแสการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยวก็เฟื่องฟู รวมทั้งเวลานี้มีคนอเมริกันเชื้อไทยอยู่ถึง 200,000 คน
ประธานาธิบดีสหรัฐฯบอกว่า ในวาระครบรอบ 175 ปีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง "อเมริกามองเห็นประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำรายหนึ่งในภูมิภาคนี้ และก็เป็นหุ้นส่วนรายหนึ่งในขอบเขตทั่วโลก" เขาจึงภูมิใจที่ได้แต่งตั้งให้ไทยมีฐานะเป็นชาติพันธมิตรนอกนาโต้ของสหรัฐฯ "และผมขอสดุดีประชาชนไทยในการฟื้นฟูประชาธิปไตย ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าอิสรภาพและกฎหมายคือผู้ปกครองเหนือดินแดนแห่งนี้ ใน ประเทศไทย- 'ดินแดนแห่งเสรีชน' "
ในตอนท้ายของสุนทรพจน์ บุชย้อนกลับมาพูดถึงประเทศไทยอีกครั้ง โดยพูดถึงเรื่องสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่กองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นเข้ามาในไทย และเอกอัครราชทูตไทยประจำวอชิงตัน (ซึ่งคือ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช) ได้รับคำสั่งให้ประกาศสงครามกับสหรัฐฯ แต่เอกอัครราชทูตไทยผู้นี้ปฏิเสธ ทางอเมริกาก็จึงไม่ถือว่าไทยเป็นศัตรูของตน และได้ช่วยคนไทยในอเมริการวมตัวกันเป็นขบวนการที่รู้จักกันในนาม "เสรีไทย"
อย่างไรก็ตาม ถึงตรงนี้ บุช "เสียมวย" โดยออกเสียง "เสรีไทย" เป็น "ซอรีไทย" 2 ครั้ง 2 ครา
สำหรับเนื้อหาของสุนทรพจน์ครั้งนี้ ซึ่งบอกกันว่าเป็น คำแถลงแสดงนโยบายเกี่ยวกับเอเชียครั้งสำคัญนั้น นอกจากส่วนที่กล่าวถึงประเทศไทยผู้เป็นเจ้าบ้านแล้ว บุชได้พูดแตะเรื่องต่างๆ หลายหลากอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่โครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ไปจนถึงความมั่นคงในภูมิภาค และการค้าในสองฟากฝั่งแปซิฟิก รวมทั้งการประกาศย้ำอีกครั้งว่า สหรัฐฯเป็น "ชาติแปซิฟิก"
แต่พร้อมๆ กับที่กล่าวยอมรับพลังทางเศรษฐกิจของจีนซึ่งกำลังเติบโตขึ้นทุกที เขาก็ใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมาที่สุดครั้งหนึ่ง ในการตำหนิติเตียนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของจีน และแม้ในสุนทรพจน์ บุช เอ่ยถึงพม่าไม่มากนัก ทว่าก็ใช้คำแรง โดยเขากล่าวว่า "เราจะร่วมมือกันหาทางยุติระบบทรราชในพม่า ... อเมริกาขอย้ำการเรียกร้องของเราต่อคณะผู้นำทางทหารของพม่าอีกครั้ง ให้ปล่อยตัวนาง ออง ซาน ซู จี และนักโทษการเมืองอื่นๆ ทั้งหมด และเราจะทำงานอย่างต่อเนื่อง จนกว่าประชาชนของพม่าจะได้รับเสรีภาพอย่างที่พวกเขาสมควรจะได้รับ"
นอกจากนั้น เขาและภริยายังใช้เวลาจำนวนมากในวันสุดท้ายที่อยู่ในประเทศไทยเมื่อวานนี้ ในการแสดงความสนับสนุนผู้ลี้ภัยจากพม่า
ประธานาธิบดีบุชนั้น ได้พบปะกับผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลพม่า ตลอดจนอดีตนักโทษการเมืองชาวพม่าหลายคน ระหว่างที่ไปรับประทานอาหารกลางวันเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ณ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ โดยเขาได้กล่าวกับชาวพม่าเหล่านี้ว่า "ประชาชนชาวอเมริกันมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อประชาชนพม่า และฝันว่าสักวันหนึ่งประชาชนของพม่าจะได้เป็นเสรี"
ส่วนนางลอรา บุช ได้เดินทางโดยเครื่องบินไปถึงท่าอากาศยานแม่สอด จากนั้นได้เดินทางโดยรถยนต์ไปเยี่ยมชมศูนย์พักพิงชั่วคราวจากการสู้รบ บ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาก จังหวัดตาก ซึ่งมีผู้หลบหนีภัยชาวกะเหรี่ยงราว 60,000 คนอาศัยอยู่ ต่อจากนั้นก็ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการดำเนินงานที่ แม่ตามคลินิก อำเภอแม่สอด ของแพทย์หญิง ซินเธีย หม่อง ซึ่งให้บริการทางด้านสาธารณสุขและการศึกษาแก่ชาวพม่าผู้พลัดถิ่น ทั้งในและนอกประเทศ
แพทย์หญิงซินเธีย หม่อง ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชนดีเด่น จากการทำงานในการช่วยเหลือดูแลรักษาโรคแก่ผู้อพยพชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เปิดเผยก่อนพบเจรจากับนางลอรา ว่า จะขอให้ทางสหรัฐฯ ช่วยเจรจาและกดดันให้รัฐบาลทหารพม่า ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และนักโทษทางการเมือง รวมทั้งช่วยเหลือกดดันรัฐบาลทหารพม่า ให้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว
ประธานาธิบดีบุชและภริยา เสร็จสิ้นภารกิจในประเทศไทย และเดินทางออกจากสนามบินกองทัพอากาศ เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น เพื่อไปยังสาธารณรัฐประชาชน โดยจะเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งในวันนี้(8)