“จักรมณฑ์” แนะรัฐบาลใหม่ไม่ควรประกาศล่วงหน้ายกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ชี้ธปท.เห็นเหมาะสมจะยกเลิกทันทีเมื่อใดก็ได้ ยันระยะสั้นนี้ยังไม่เหมาะที่จะยกเลิก พร้อมแย้มกนง.ลดดอกเบี้ยลงหรือไม่ไม่เกี่ยวกับเฟด ด้านเอกชนหนุนคงไว้ก่อนรอดูท่าทีซับไพร์มให้ชัดอย่างน้อยไตรมาส 2 ส่วนการมาตรการขยายเวลาถือครองดอลลาร์เป็น 360 วันมองช่วยได้จิ๊บจ๊อยเหตุผู้ส่งออกส่วนหนึ่งต้องแลกบาทเพื่อซื้อวัตถุดิบหรือลงทุนต่อ
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า มาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ออกมานั้นระยะสั้นช่วงนี้เห็นว่าไม่ควรจะยกเลิกจนกว่าจะเห็นทิศทางการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์ของสหรัฐอเมริกาได้ชัดเจนกว่านี้ก่อน ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรจะประกาศยกเลิกเพราะมาตรการดังกล่าวไปล่วงหน้าทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะการจะยกเลิกทันทีเมื่อใดก็ได้หากทางธปท.เห็นว่าเหมาะสม
สำหรับปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐนั้นมีผลกระทบการส่งออกของไทยไม่มากนักเพราะเอกชนมีการปรับตัวพึ่งพิงตลาดอื่นแทนแต่ต้องติดตามว่าจะมีผลกระทบการส่งออกทางอ้อมที่ประเทศไทยส่งชิ้นส่วนไปยังประเทศอื่นๆเพื่อส่งออกไปสหรัฐอีกทอดหนึ่งหรือไม่ซึ่งขณะนี้ภาพยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นยังกระทบกับการไหลเข้ามาของเงินทุนส่งผลให้บาทมีการแข็งค่าขึ้นซึ่งก็ถือว่าสะท้อนตามกลไกไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด
ทั้งนี้การประชุมกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง. 27 ก.พ.นี้ นายจักรมณฑ์ในฐานะกรรมการกนง. กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวนั้นการที่กนง.จะลดดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่คงจะไม่เกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดปรับลดลงไปรวมแล้วถึง 1.25% แต่อย่างใดเพราะการที่เฟดปรับลดลงแรงเนื่องจากต้องการแก้ไขปัญหาความถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐโดยตรง ส่วนหากไทยจะปรับลดลงเพราะเหตุผลในการกระตุ้นการบริโภคจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งแต่ก็มีนักการเงินหลายฝ่ายมองว่าการกระตุ้นบริโภคดีสุดคือการใช้นโยบายทางการคลัง
“ ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าสหรัฐ 0.25% แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่ากลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูซะอีกหากยังมี 30% ก็ไม่มีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยลงในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแต่หากจะทำเพื่ออย่างอื่นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง”นายจักรมณฑ์กล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสายงานเศรษฐกิจสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทมีทิศทางผันผวนจึงไม่เหมาะสมที่จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ในช่วงที่ค่าเงินบาทผันผวนซึ่งหากทำก่อนหน้านี้ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่าบาทมีเสถียรภาพคงไม่เป็นปัญหาอะไรแต่เมื่อมีปัญหาซับไพร์มแล้วเห็นว่าทิศทางบาทจะยังคงผันผวนเพราะคาดว่าเงินทุนจะไหลเข้ามาอีกดังนั้นรัฐบาลใหม่ควรจะรอดูความชัดเจนก่อนอย่างน้อยในไตรมาส 2
เพิ่มถือครองดอลลาร์ช่วยไม่มาก
สำหรับกรณีที่ธปท.ออกประกาศเรื่องการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติมด้วยการขยายเวลาถือครองดอลลาร์เพิ่มเป็น 360 วันนั้นเห็นว่าไม่ใช่นโยบายในการที่จะสกัดเงินทุนไหลเข้าแต่อย่างใด หากเพียงชะลอการแข็งค่าของบาทได้เล็กน้อยเท่านั้นเพราะในอดีตการผ่อนผัน 120 วันนั้นก็ไม่ได้ทำให้บาทอ่อนค่าได้มากเนื่องจากต้องยอมรับว่าผู้ส่งออกเองส่วนหนึ่งต้องแปลงเป็นเงินบาทเพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบหรือลงทุนอื่นอีกไม่ได้รวยพอที่จะถือครองไว้และยังเสี่ยงต่อการขาดทุน
“ดอกเบี้ยของไทยที่ต่ำกว่าสหรัฐนั้นมีส่วนทำให้เงินทุนไหลเข้ามามากด้วย ดังนั้นการลดดอกเบี้ยลงจะมีส่วนช่วยได้มากในการสกัดเงินทุนไหลเข้าแต่หากจะลดลงเพียง 0.25% ก็คงไม่มีผลเว้นแต่จะกล้าลง 0.5% “นายธนิตกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีที่ธปท.ออกประกาศเรื่องการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติมด้วยการขยายเวลาถือครองดอลลาร์เพิ่มเป็น 360 วันนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะสิ่งนี้เอกชนได้เคยเสนอไปนานแล้วแต่หากเป็นไปได้น่าจะพิจารณาการทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้าหรือฟอร์เวิร์ดรัฐควรพิจารณาให้นำไปหักรายจ่ายได้ 2 เท่าก็จะทำให้การนำเงินสกุลอื่นไปแลกบาทลดลง อย่างไรก็ตามการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% นั้น เวลานี้ไม่ควรยกเลิกวันแต่เห็นว่ามีเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาดูแลแทนได้
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า มาตรการกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ออกมานั้นระยะสั้นช่วงนี้เห็นว่าไม่ควรจะยกเลิกจนกว่าจะเห็นทิศทางการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือซับไพรม์ของสหรัฐอเมริกาได้ชัดเจนกว่านี้ก่อน ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่ควรจะประกาศยกเลิกเพราะมาตรการดังกล่าวไปล่วงหน้าทั้งที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะการจะยกเลิกทันทีเมื่อใดก็ได้หากทางธปท.เห็นว่าเหมาะสม
สำหรับปัญหาซับไพรม์ของสหรัฐนั้นมีผลกระทบการส่งออกของไทยไม่มากนักเพราะเอกชนมีการปรับตัวพึ่งพิงตลาดอื่นแทนแต่ต้องติดตามว่าจะมีผลกระทบการส่งออกทางอ้อมที่ประเทศไทยส่งชิ้นส่วนไปยังประเทศอื่นๆเพื่อส่งออกไปสหรัฐอีกทอดหนึ่งหรือไม่ซึ่งขณะนี้ภาพยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นยังกระทบกับการไหลเข้ามาของเงินทุนส่งผลให้บาทมีการแข็งค่าขึ้นซึ่งก็ถือว่าสะท้อนตามกลไกไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด
ทั้งนี้การประชุมกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง. 27 ก.พ.นี้ นายจักรมณฑ์ในฐานะกรรมการกนง. กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวนั้นการที่กนง.จะลดดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่คงจะไม่เกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดปรับลดลงไปรวมแล้วถึง 1.25% แต่อย่างใดเพราะการที่เฟดปรับลดลงแรงเนื่องจากต้องการแก้ไขปัญหาความถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐโดยตรง ส่วนหากไทยจะปรับลดลงเพราะเหตุผลในการกระตุ้นการบริโภคจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งแต่ก็มีนักการเงินหลายฝ่ายมองว่าการกระตุ้นบริโภคดีสุดคือการใช้นโยบายทางการคลัง
“ ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าสหรัฐ 0.25% แต่ก็ยังถือว่าต่ำกว่ากลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูซะอีกหากยังมี 30% ก็ไม่มีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยลงในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแต่หากจะทำเพื่ออย่างอื่นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง”นายจักรมณฑ์กล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสายงานเศรษฐกิจสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ค่าเงินบาทมีทิศทางผันผวนจึงไม่เหมาะสมที่จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ในช่วงที่ค่าเงินบาทผันผวนซึ่งหากทำก่อนหน้านี้ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ค่าบาทมีเสถียรภาพคงไม่เป็นปัญหาอะไรแต่เมื่อมีปัญหาซับไพร์มแล้วเห็นว่าทิศทางบาทจะยังคงผันผวนเพราะคาดว่าเงินทุนจะไหลเข้ามาอีกดังนั้นรัฐบาลใหม่ควรจะรอดูความชัดเจนก่อนอย่างน้อยในไตรมาส 2
เพิ่มถือครองดอลลาร์ช่วยไม่มาก
สำหรับกรณีที่ธปท.ออกประกาศเรื่องการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติมด้วยการขยายเวลาถือครองดอลลาร์เพิ่มเป็น 360 วันนั้นเห็นว่าไม่ใช่นโยบายในการที่จะสกัดเงินทุนไหลเข้าแต่อย่างใด หากเพียงชะลอการแข็งค่าของบาทได้เล็กน้อยเท่านั้นเพราะในอดีตการผ่อนผัน 120 วันนั้นก็ไม่ได้ทำให้บาทอ่อนค่าได้มากเนื่องจากต้องยอมรับว่าผู้ส่งออกเองส่วนหนึ่งต้องแปลงเป็นเงินบาทเพื่อนำไปซื้อวัตถุดิบหรือลงทุนอื่นอีกไม่ได้รวยพอที่จะถือครองไว้และยังเสี่ยงต่อการขาดทุน
“ดอกเบี้ยของไทยที่ต่ำกว่าสหรัฐนั้นมีส่วนทำให้เงินทุนไหลเข้ามามากด้วย ดังนั้นการลดดอกเบี้ยลงจะมีส่วนช่วยได้มากในการสกัดเงินทุนไหลเข้าแต่หากจะลดลงเพียง 0.25% ก็คงไม่มีผลเว้นแต่จะกล้าลง 0.5% “นายธนิตกล่าว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีที่ธปท.ออกประกาศเรื่องการผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติมด้วยการขยายเวลาถือครองดอลลาร์เพิ่มเป็น 360 วันนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะสิ่งนี้เอกชนได้เคยเสนอไปนานแล้วแต่หากเป็นไปได้น่าจะพิจารณาการทำประกันความเสี่ยงล่วงหน้าหรือฟอร์เวิร์ดรัฐควรพิจารณาให้นำไปหักรายจ่ายได้ 2 เท่าก็จะทำให้การนำเงินสกุลอื่นไปแลกบาทลดลง อย่างไรก็ตามการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% นั้น เวลานี้ไม่ควรยกเลิกวันแต่เห็นว่ามีเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาดูแลแทนได้