นักวิชาการ ชี้รัฐบาล"หมัก 1" หวังรวบอำนวจเบ็ดเสร็จ ดึงโครงการระบบรถไฟฟ้า BTS เข้ามาบริหารจัดการเอง ชิงคะแนนเสียงคนเมืองหลวง เปิดมือประสาน อดีต 2 ผู้บริหารกทม. "สหัส-ธีระพล" คุมก่อสร้างรถไฟฟ้า เร่งสร้างผลงานในระยะสั้น เหตุดำเนินการได้ง่ายและคล่องตัวมากที่สุด คาดโครงการถไฟฟ้าใต้ดินของ รฟม.คงแตะไม่มาก เหตุใช้งบลงทุนสูง เห็นผลงานช้า จับตาผลประโยชน์แอบแฝงปั่นราคาที่ดินโซนมีนบุรี-สมุทรปราการ คนในวงการระบุที่ดินของค่ายแลนด์ฯ เคเอ็มซี และ "คีรี" ส้มหล่น มีที่ดินสะสมในพื้นที่หลายพันไร่ ด้าน "อาณัติ อาภาภิรม" ชี้รัฐฮุบ BTSไม่ง่าย ด้านเอกชนจี้สร้างเส้นทางเดิม 9 สายก่อน ด้านคลังรับลูกจ่อออกพันธบัตร สานฝันนายกฯ
จากการให้สัมภาษณ์ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาประกาศจะดำเนินนโยบายเร่งด่วนแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย รวมถึงส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS จาก 3 ปลายทางออกไปอีกปลายทางละ 30 กิโลเมตร (กม.) จากเส้นทางเดิม เพื่อให้มีระยะทางขั้นต่ำ 100 กิโลเมตร จากปัจจุบัน 23 กิโลเมตร นายสมัครอ้างว่าเพื่อไม่ให้ขาดทุน
รศ.มานพ พงศ์ทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาเคหะ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หรือ กูรูในวงการอสังหาริมทรัพย์ แสดงความเห็นว่า จากนี้ไปรัฐบาลชุดปัจจุบัน คงต้องเข้ามาดำเนินการและจัดการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 สายและส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS อย่างเบ็ดเสร็จ หรือรวบรัดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าในส่วนของรถไฟฟ้าBTS นั้น นายสมัครน่าจะดึงเข้ามารวมไว้ในส่วนกลาง เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและการเพิ่มส่วนต่อขยาย หลังจากที่ก่อนนี้ ในช่วงสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีความพยายามรวมเอารถไฟฟ้าBTSเข้ามาบริหารเอง โดยจะขอซื้อคืนสัมปทานการเดินรถและการบริหารจัดการทั้งหมดต่อจาก บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากขณะนั้น การบริหารประเทศมีลักษณะแบบประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง และบริษัทธนายงฯ ยืนยันไม่ต้องการขายสัมปทานคืนให้แก่รัฐบาล เพราะรัฐบาลขอซื้อคืนในจำนวนเงินต่ำกว่าเงินที่บริษัทได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน ในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ได้มีการอนุมัติให้ทางกรุงเทพฯ ทำหน้าที่รับผิดชอบและดูแลการก่อสร้างส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าBTS ด้านทิศตะวันออก เส้นอ่อนนุช- แบริ่ง ระยะทางประมาณ 5.25 กม และส่วนขยายรถไฟฟ้าBTSสายสีลม ระยะทาง2.2 กม.จากสถานีตากสินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามแนวเกาะกลางของถนนกรุงธนบุรี สิ้นสุดบริเวณถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางที่ดำเนินการได้ง่าย เพราะมีการก่อสร้างเส้นทางหลักไปแล้ว
**หวั่นผลประโยชน์แฝงปั่นราคาที่ดิน
สำหรับสาเหตุที่เชื่อว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะมีการจับรถไฟฟ้าBTS เข้ามารวมกับส่วนกลางนั้น เนื่องจากจะช่วยให้การดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายและการวางระบบเดินรถไฟฟ้าสามารถทำได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น เพราะคาดว่ารัฐบาลจะมีเทอมที่น้อย เนื่องจากความผันผวนทางด้านการเมืองที่มีอยู่ค่อนข้างมาก
" ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างส่วนต่อขยายระบบรถไฟฟ้าออกไปให้ได้ระยะทางรวม 100 กม. จึงต้องเลือกเส้นทางที่สามารถก่อสร้างและดำเนินการได้ทันที คือ ส่วนต่อขยายสายสีเขียว อ่อนนุช-สมุทรปราการ และสายที่มีการก่อสร้างแล้วคือ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ ที่มีเส้นทางผ่านย่านมีนบุรี ซึ่งต้องเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
นอกจากนี้ ยังมีส่วนต่อขยายสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ซึ่งมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบ มีความคล่องตัวในการก่อสร้างสร้าง เพราะไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดิน โดยสามารถใช้แนวเส้นทางของการรถไฟในการก่อสร้างได้ทันที ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างและดำเนินการได้รวดเร็ว ส่วนอีกสาย ที่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที เพราะมีการอนุมัติการก่อสร้างไปแล้วในช่วงก่อนหน้านั้น แต่มีการชะลอลการก่อสร้างออกไป คือ สายสีนำเงินที่จะเชื่อมจากสนามกีฬาไปยังฝั่งธนบุรี
" การเพิ่มส่วนต่อขยายดังกล่าว เป็นเรื่องเดิมไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในสมัยของรัฐบาล “ไทยรักไทย” เคยมีแผนที่จะขยายเส้นทางรถไฟฟ้า จาก 9 เส้นทางเป็น 11 เส้นทาง ส่วนหนึ่งจะเป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายในพื้นที่มีนบุรี – สมุทรปาการ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีการต้องจับตา เพราะมีการตัดผ่านที่ดินของกลุ่มนักการเมือง บริษัทอสังหาฯที่มีการซื้อที่ดินไว้ก่อนล่วงหน้าจำนวนมาก อาจจะมีการหาประโยชน์แอบแฝงทางราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย" รศ.มานพ กล่าวและว่า
สำหรับการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในรัฐบาลชุดนี้ มีความเป็นไปได้ ในการพัฒนาโครงการส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับรถไฟฟ้าBTSเป็นหลัก ส่วนในการก่อสร้างเส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของ บริษัท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น คาดว่าจะยังไม่มีการดำเนินการต่อ เพราะต้องใช้งบประมาณที่สูง
***นายกฯ คุมเบ็ดเสร็จ-ได้คะแนนเสียง
แหล่งข่าวรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตว่า การแต่งตั้ง นายสหัส บัณฑิตกุล อดีตรองผู้ว่ากรุงเทพฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ด้านการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า เนื่องจากเคยผ่านประสบการณ์ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าBTS และรู้รายละเอียดในโครงการรถไฟฟ้า เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น ทำให้มั่นใจว่านายกรัฐมนตรี เตรียมที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องของการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าด้วยต้นเอง
นอกจากนี้ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและดูแลงานเรื่องการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าอีกรายหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้นั่งตำแหน่งเลขาธิการหรือรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นั้นคือ นายธีระพล นพรัมภา อดีตเลขานุการนายสมัคร สุนทรเวช ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. ซึ่งนายธีระพล ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความรู้เรื่องโครงการรถไฟฟ้าอย่างละเอียด ซึ่งการดึงนายธีระพล นพรัมภา เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการหรือรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนั้น ก็ยิ่งเป็นการยืนยันว่า การก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าในรัฐบาลชุดนี้ นายกรัฐมนตรีน่าจะเข้าดูแลเองอย่างเบ็ดเสร็จแน่นอน
“ การที่จะรวบโครงการรถไฟฟ้าBTS เข้ามาเป็นของส่วนกลางนั้น อย่าลืมว่านายสมัคร เคยทำงามร่วมกันในช่วงการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS หากมีการพูดคุยและตกลงกัน โดยไม่เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของ บริษัท ธนายงฯ ความเป็นไปได้ที่จะดึงระบบรถไฟฟ้าBTSเข้ามาจัดการเอง ก็มีโอกาสมาก และอย่าลืมว่า ผลการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯไม่พอใจพรรคพลังประชาชน ”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเพิ่มอีก30 กิโลเมตร โดยเฉพาะในเส้นทางอ่อนนุช-สมุทรปราการและมีนบุรีนั้น เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ที่ซื้อที่ดินสะสมในพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลประโยชน์ จากการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินอย่างแน่นอน เท่าที่รับรู้ มีบริษัทรายใหญ่อยู่ 3 บริษัท คือ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ของนายอนันต์ อัศวโภคิน ที่มีสายสัมพันธ์กับอดีตพรรคไทยรักไทย ,นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) และบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน)
***เตือนนายกฯ อย่าหวังแค่"หัวคิว"
แหล่งข่าวรายหนึ่ง กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นภาพรวมแล้ว ย่อมเป็นเรื่องดีกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากขณะนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มชะลอตัว และจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากจีดีพีของไทยพึ่งพาการส่งออกถึง 70% ดังนั้น ภาครัฐควรที่จะเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการลงทุนโครงการขนาดใหญ่
" เราหวังและอยากเห็นให้เกิดการลงทุนโครงข่ายระบบรถไฟฟ้า ซึ่งการที่นายกรัฐมนตรีประกาศนโยบายที่จะผลักดันให้เกิดระบบรถไฟฟ้าสายต่างๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่การลงทุนของรัฐบาล ต้องเป็นการคืนผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ต้องคุ้มค่าทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด เช่น ดำเนินการรถไฟฟ้าใต้ดินสายที่เข้าถึงแหล่งชุมชน เพราะตรงนี้จะช่วยประหยัดค่าขนส่ง ประหยัดน้ำมัน และยังช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น แต่ไม่ใช่ไปเลือกเส้นทางที่กลุ่มทุนของตนเองหรือของนักการเมือง มีที่ดินอยู่จำนวนมาก เพื่อหวังเพียงค่าหัวคิวอย่างเดียว ตรงนี้ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศ แต่กำลังทำให้คนบางกลุ่มได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ " แหล่งข่าวกล่าว
***เตือนรัฐหวังฮุบ-BTSอยู่ระหว่างฟื้นฟู
นายอาณัติ อาภาภิรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากรัฐจะเข้ามาซื้อหนี้บีทีเอสเพื่อเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทนั้น ไม่แน่ใจว่าทำได้หรือไม่ เนื่องจากบริษัทฯอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ที่ผ่านมา เจ้าหนี้รายใหญ่เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว มีเพียงเจ้าหนี้รายเล็กไม่กี่รายที่ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลฯอยู่ ซึ่งแผนปรับโครงสร้างหนี้บีทีเอสจะมีทั้งการลดทุน/เพิ่มทุน การแปลงหนี้เป็นทุน รวมถึงการระดมทุนโดยขายหุ้นให้พันธมิตรและการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ หากเจ้าหนี้จะขายหนี้ก็สามารถกระทำได้ เพราะที่ผ่านมา เจ้าหนี้เดิมของบีทีเอสได้เปลี่ยนมือเป็นเจ้าหนี้รายใหม่แล้ว หากบีทีเอสปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จะกลายเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง เนื่องจากมูลหนี้และดอกเบี้ยจ่ายจะลดลงมาก ทำให้สามารถระดมทุนในตลาดหุ้นเพื่อนำเงินมาขยายธุรกิจเพิ่มเติมได้
ปัจจุบันบีทีเอสมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) ประมาณ 60%ของรายได้ในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าวันละ 9-10 ล้านบาท (วันธรรมดา) หรือประมาณ 5-6 ล้านบาทต่อวัน เนื่องจากขณะนี้บริษัทฯยังไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้กับเจ้าหนี้เพราะอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
**ขอ 9 เส้นทางเดิมก่อน
ด้านนายเมธา จันทร์แจ่มจรัส ประธานอำนวยการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า นโยบายของนายกรัฐมนตรี จะส่งผลดีต่อตลาดอสังหาฯ ทั้งโครงการบ้านจัดสรรและโครงการแนวสูงอย่างแน่นอน แต่การจะก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าBTS เพิ่ม 30 กิโลเมตรในทุกเส้นทางนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากเฉพาะในส่วนของโครงการเดิมที่มี 8-9 เส้นทางตามที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ก็ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่า 4-5 ปีอยู่แล้ว
" การก่อสร้างส่วนต่อขยายในทุกเส้นทางนั้น ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการอีกนาน นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของนโยบายการลงทุนในประเทศด้วย เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากเส้นทางเดิมทุกเส้นทางนั้น มีความเป็นไปได้ยากมาก และยังต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ที่สำคัญคือ ต้องสร้างรถไฟฟ้าในสายเดิม9เส้นทางตามแผนให้แล้วเสร็จก่อน แล้วจึงนำเรื่องส่วนต่อขยายมาพิจารณากันอีกครั้ง "
***หนุนออกบอนด์ยาว 30 ปีสร้างรถไฟฟ้า
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศผลักดันงานเร่งด่วนหลังรับตำแหน่ง โครงการระบบขนส่งมวลชน 9 เส้นทาง พร้อมรถไฟรางคู่ วงเงิน 500,000 ล้านบาท รวมทั้งโครงการวางระบบน้ำ ด้วยการผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามาในพื้นที่ภาคอีสานเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งว่า หากพิจารณาถึงภาพรวมฐานะการคลัง และสภาพคล่องในประเทศในขณะนี้ ยังเอื้ออำนวยให้รัฐบาลสามารถที่จะกู้เงินจากในตลาดมาใช้ในการดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่(เมกะโปรเจกต์)ได้อย่างไม่มีปัญหา โดยแนวทางที่เหมาะสมที่สุด คือ การออกพันธบัตรระยะยาวอายุ 30 ปี เพราะจะสอดคล้องกับความต้องการในการใช้เงินและความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลในอนาคต
“สบน.ได้มีการจัดทำแผนในการระดมเงิน 5 ปี ข้างหน้า เพื่อใช้ในโครงการเมกะโปรเจกต์ไว้แล้ว แต่ในแผนดังกล่าวยังไม่ได้รวมวงเงินในโครงการต่อขยายรถไฟรางคู่ การซื้อหุ้นบีทีเอส และการวางระบบท่อส่งน้ำจากแม่น้ำโขง ที่ท่านนายกได้ให้สัมภาษณ์ไว้ แต่หากวงเงินลงทุนมีจำนวน 5 แสนล้านบาทก็อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ในระยะเวลา 3 ปี ซึงหากพิจารณากรอบการออกพันธบัตรปีละประมาณ 2 แสนล้านบาทแล้วตลาดจะสามารถรองรับการออกพันธบัตรดังกล่าวได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด“ นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ระดับ 38% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่อยู่ที่ 50% ของจีดีพี ดังนั้นจึงมีช่องที่รัฐบาลจะสามารถกู้เพิ่มได้ถึง 8-9 แสนล้านบาท ประกอบกับในช่วงนี้ตลาดพันธบัตรมีอัตราผลตอบแทน(Yield) ที่ต่ำลงทำให้ต้นทุนในการระดมเงินผ่านตลาดพันธบัตรนั้นไม่สูงมากนัก หากสามารถระดมเงินในรูปพันธบัตรระยะยาว อายุ 30 ปี ได้ก็จะเป็นการดีทั้งการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง(Bench Mark ) และไม่เป็นภาระต่องบประมาณมากนัก
“เชื่อว่าหากมีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อใช้ในโครงการเมกะโปรเจกต์มา จะได้รับความสนใจจากตลาด เพราะสภาพตลาดขณะนี้มีแต่คนต้องการสินค้าคุณภาพดี ดังนั้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ก็จะถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภทกองทุนขนาดใหญ่ และบริษัทประกันที่มีวงเงินลงทุนจำนวนมาก เพราะประเทศไทยยังมีการออกพันธบัตรในลักษณะดังกล่าวมาก่อน”
สำหรับแนวทางในการหาเงินมาซื้อหนี้ รถไฟฟ้า BTS เพื่อเข้าไปถือหุ้น 89% ที่เป็นส่วนของกลุ่มเจ้าหนี้ เพื่อเข้าไปถือหุ้นใหญ่ และใช้สิทธิ์เดินรถระบบขนส่งมวลชน และยังสะดวกต่อการขยายเส้นทางต่างๆ นั้นถือเป็นแนวทางเดียวกับที่ทางธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือเจบิคในฐานะผู้ให้กู้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงพยายามเสนอให้ประเทศไทยดำเนินการอยู่แล้ว โดยทางเจบิคเห็นว่าการที่รัฐบาลตะเป็นเจ้าของระบบขนส่งมวลชนทั้งในแง่อำนาจการต่อรองการซื้อรถไฟฟ้า อะไหล่ และการบำรุงรักษา ในฐานะเจ้าของรายเดียว อีกทั้งการกำหนดราคา และการใช้ตั๋วและเทคโนโลยีร่วม และค่อยกระจายการบริหารงานแต่ละสายให้เอกชนรับไปดำเนินงานในรูปสัมปทาน ซึ่งแนวคิดในลักษณะ Public Private Partnership ( PPP) ดังกล่าวมีหลายประเทศที่นิยมใช้ในการดำเนินการระบบขนส่งมวลชน
*“อภิรักษ์” พร้อมให้ความร่วมมือ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีเพราะประชาชนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ โดยเฉพาะยุคภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ราคาน้ำมันแพง ซึ่งกทม.พร้อมให้ความร่วมมือในโครงการต่างๆของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ตนมีข้อเสนอแนะอยากฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ด้วยว่ารัฐบาลต้องกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างให้ชัดเจนรวมถึงการจัดซื้อที่โปร่งใส
จากการให้สัมภาษณ์ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาประกาศจะดำเนินนโยบายเร่งด่วนแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย รวมถึงส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS จาก 3 ปลายทางออกไปอีกปลายทางละ 30 กิโลเมตร (กม.) จากเส้นทางเดิม เพื่อให้มีระยะทางขั้นต่ำ 100 กิโลเมตร จากปัจจุบัน 23 กิโลเมตร นายสมัครอ้างว่าเพื่อไม่ให้ขาดทุน
รศ.มานพ พงศ์ทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาเคหะ คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หรือ กูรูในวงการอสังหาริมทรัพย์ แสดงความเห็นว่า จากนี้ไปรัฐบาลชุดปัจจุบัน คงต้องเข้ามาดำเนินการและจัดการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 9 สายและส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า BTS อย่างเบ็ดเสร็จ หรือรวบรัดเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกและง่ายมากขึ้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าในส่วนของรถไฟฟ้าBTS นั้น นายสมัครน่าจะดึงเข้ามารวมไว้ในส่วนกลาง เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและการเพิ่มส่วนต่อขยาย หลังจากที่ก่อนนี้ ในช่วงสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีความพยายามรวมเอารถไฟฟ้าBTSเข้ามาบริหารเอง โดยจะขอซื้อคืนสัมปทานการเดินรถและการบริหารจัดการทั้งหมดต่อจาก บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากขณะนั้น การบริหารประเทศมีลักษณะแบบประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง และบริษัทธนายงฯ ยืนยันไม่ต้องการขายสัมปทานคืนให้แก่รัฐบาล เพราะรัฐบาลขอซื้อคืนในจำนวนเงินต่ำกว่าเงินที่บริษัทได้ลงทุนไปเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน ในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ได้มีการอนุมัติให้ทางกรุงเทพฯ ทำหน้าที่รับผิดชอบและดูแลการก่อสร้างส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าBTS ด้านทิศตะวันออก เส้นอ่อนนุช- แบริ่ง ระยะทางประมาณ 5.25 กม และส่วนขยายรถไฟฟ้าBTSสายสีลม ระยะทาง2.2 กม.จากสถานีตากสินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามแนวเกาะกลางของถนนกรุงธนบุรี สิ้นสุดบริเวณถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางที่ดำเนินการได้ง่าย เพราะมีการก่อสร้างเส้นทางหลักไปแล้ว
**หวั่นผลประโยชน์แฝงปั่นราคาที่ดิน
สำหรับสาเหตุที่เชื่อว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะมีการจับรถไฟฟ้าBTS เข้ามารวมกับส่วนกลางนั้น เนื่องจากจะช่วยให้การดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายและการวางระบบเดินรถไฟฟ้าสามารถทำได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น เพราะคาดว่ารัฐบาลจะมีเทอมที่น้อย เนื่องจากความผันผวนทางด้านการเมืองที่มีอยู่ค่อนข้างมาก
" ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างส่วนต่อขยายระบบรถไฟฟ้าออกไปให้ได้ระยะทางรวม 100 กม. จึงต้องเลือกเส้นทางที่สามารถก่อสร้างและดำเนินการได้ทันที คือ ส่วนต่อขยายสายสีเขียว อ่อนนุช-สมุทรปราการ และสายที่มีการก่อสร้างแล้วคือ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ ที่มีเส้นทางผ่านย่านมีนบุรี ซึ่งต้องเร่งการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
นอกจากนี้ ยังมีส่วนต่อขยายสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ซึ่งมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รับผิดชอบ มีความคล่องตัวในการก่อสร้างสร้าง เพราะไม่จำเป็นต้องเวนคืนที่ดิน โดยสามารถใช้แนวเส้นทางของการรถไฟในการก่อสร้างได้ทันที ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างและดำเนินการได้รวดเร็ว ส่วนอีกสาย ที่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที เพราะมีการอนุมัติการก่อสร้างไปแล้วในช่วงก่อนหน้านั้น แต่มีการชะลอลการก่อสร้างออกไป คือ สายสีนำเงินที่จะเชื่อมจากสนามกีฬาไปยังฝั่งธนบุรี
" การเพิ่มส่วนต่อขยายดังกล่าว เป็นเรื่องเดิมไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากในสมัยของรัฐบาล “ไทยรักไทย” เคยมีแผนที่จะขยายเส้นทางรถไฟฟ้า จาก 9 เส้นทางเป็น 11 เส้นทาง ส่วนหนึ่งจะเป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายในพื้นที่มีนบุรี – สมุทรปาการ ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีการต้องจับตา เพราะมีการตัดผ่านที่ดินของกลุ่มนักการเมือง บริษัทอสังหาฯที่มีการซื้อที่ดินไว้ก่อนล่วงหน้าจำนวนมาก อาจจะมีการหาประโยชน์แอบแฝงทางราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย" รศ.มานพ กล่าวและว่า
สำหรับการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าในรัฐบาลชุดนี้ มีความเป็นไปได้ ในการพัฒนาโครงการส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับรถไฟฟ้าBTSเป็นหลัก ส่วนในการก่อสร้างเส้นทางที่อยู่ในความรับผิดชอบของ บริษัท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น คาดว่าจะยังไม่มีการดำเนินการต่อ เพราะต้องใช้งบประมาณที่สูง
***นายกฯ คุมเบ็ดเสร็จ-ได้คะแนนเสียง
แหล่งข่าวรายหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตว่า การแต่งตั้ง นายสหัส บัณฑิตกุล อดีตรองผู้ว่ากรุงเทพฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ด้านการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า เนื่องจากเคยผ่านประสบการณ์ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าBTS และรู้รายละเอียดในโครงการรถไฟฟ้า เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนั้น ทำให้มั่นใจว่านายกรัฐมนตรี เตรียมที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องของการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าด้วยต้นเอง
นอกจากนี้ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและดูแลงานเรื่องการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าอีกรายหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะได้รับการแต่งตั้งให้นั่งตำแหน่งเลขาธิการหรือรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นั้นคือ นายธีระพล นพรัมภา อดีตเลขานุการนายสมัคร สุนทรเวช ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการ กทม. ซึ่งนายธีระพล ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความรู้เรื่องโครงการรถไฟฟ้าอย่างละเอียด ซึ่งการดึงนายธีระพล นพรัมภา เข้ามาดำรงตำแหน่งเลขาธิการหรือรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนั้น ก็ยิ่งเป็นการยืนยันว่า การก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าในรัฐบาลชุดนี้ นายกรัฐมนตรีน่าจะเข้าดูแลเองอย่างเบ็ดเสร็จแน่นอน
“ การที่จะรวบโครงการรถไฟฟ้าBTS เข้ามาเป็นของส่วนกลางนั้น อย่าลืมว่านายสมัคร เคยทำงามร่วมกันในช่วงการก่อสร้างรถไฟฟ้า BTS หากมีการพูดคุยและตกลงกัน โดยไม่เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของ บริษัท ธนายงฯ ความเป็นไปได้ที่จะดึงระบบรถไฟฟ้าBTSเข้ามาจัดการเอง ก็มีโอกาสมาก และอย่าลืมว่า ผลการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯไม่พอใจพรรคพลังประชาชน ”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าเพิ่มอีก30 กิโลเมตร โดยเฉพาะในเส้นทางอ่อนนุช-สมุทรปราการและมีนบุรีนั้น เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ที่ซื้อที่ดินสะสมในพื้นที่ดังกล่าวได้รับผลประโยชน์ จากการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินอย่างแน่นอน เท่าที่รับรู้ มีบริษัทรายใหญ่อยู่ 3 บริษัท คือ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ของนายอนันต์ อัศวโภคิน ที่มีสายสัมพันธ์กับอดีตพรรคไทยรักไทย ,นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) และบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน)
***เตือนนายกฯ อย่าหวังแค่"หัวคิว"
แหล่งข่าวรายหนึ่ง กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นภาพรวมแล้ว ย่อมเป็นเรื่องดีกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากขณะนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มชะลอตัว และจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และส่งผลต่อเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากจีดีพีของไทยพึ่งพาการส่งออกถึง 70% ดังนั้น ภาครัฐควรที่จะเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการลงทุนโครงการขนาดใหญ่
" เราหวังและอยากเห็นให้เกิดการลงทุนโครงข่ายระบบรถไฟฟ้า ซึ่งการที่นายกรัฐมนตรีประกาศนโยบายที่จะผลักดันให้เกิดระบบรถไฟฟ้าสายต่างๆ เป็นเรื่องที่ดี แต่การลงทุนของรัฐบาล ต้องเป็นการคืนผลตอบแทนต่อเศรษฐกิจ ต้องคุ้มค่าทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด เช่น ดำเนินการรถไฟฟ้าใต้ดินสายที่เข้าถึงแหล่งชุมชน เพราะตรงนี้จะช่วยประหยัดค่าขนส่ง ประหยัดน้ำมัน และยังช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น แต่ไม่ใช่ไปเลือกเส้นทางที่กลุ่มทุนของตนเองหรือของนักการเมือง มีที่ดินอยู่จำนวนมาก เพื่อหวังเพียงค่าหัวคิวอย่างเดียว ตรงนี้ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศ แต่กำลังทำให้คนบางกลุ่มได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ " แหล่งข่าวกล่าว
***เตือนรัฐหวังฮุบ-BTSอยู่ระหว่างฟื้นฟู
นายอาณัติ อาภาภิรม ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากรัฐจะเข้ามาซื้อหนี้บีทีเอสเพื่อเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทนั้น ไม่แน่ใจว่าทำได้หรือไม่ เนื่องจากบริษัทฯอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ที่ผ่านมา เจ้าหนี้รายใหญ่เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว มีเพียงเจ้าหนี้รายเล็กไม่กี่รายที่ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลฯอยู่ ซึ่งแผนปรับโครงสร้างหนี้บีทีเอสจะมีทั้งการลดทุน/เพิ่มทุน การแปลงหนี้เป็นทุน รวมถึงการระดมทุนโดยขายหุ้นให้พันธมิตรและการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ หากเจ้าหนี้จะขายหนี้ก็สามารถกระทำได้ เพราะที่ผ่านมา เจ้าหนี้เดิมของบีทีเอสได้เปลี่ยนมือเป็นเจ้าหนี้รายใหม่แล้ว หากบีทีเอสปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ จะกลายเป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง เนื่องจากมูลหนี้และดอกเบี้ยจ่ายจะลดลงมาก ทำให้สามารถระดมทุนในตลาดหุ้นเพื่อนำเงินมาขยายธุรกิจเพิ่มเติมได้
ปัจจุบันบีทีเอสมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ค่าเสื่อมและภาษี (EBITDA) ประมาณ 60%ของรายได้ในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าวันละ 9-10 ล้านบาท (วันธรรมดา) หรือประมาณ 5-6 ล้านบาทต่อวัน เนื่องจากขณะนี้บริษัทฯยังไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้กับเจ้าหนี้เพราะอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
**ขอ 9 เส้นทางเดิมก่อน
ด้านนายเมธา จันทร์แจ่มจรัส ประธานอำนวยการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า นโยบายของนายกรัฐมนตรี จะส่งผลดีต่อตลาดอสังหาฯ ทั้งโครงการบ้านจัดสรรและโครงการแนวสูงอย่างแน่นอน แต่การจะก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าBTS เพิ่ม 30 กิโลเมตรในทุกเส้นทางนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากเฉพาะในส่วนของโครงการเดิมที่มี 8-9 เส้นทางตามที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ก็ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่า 4-5 ปีอยู่แล้ว
" การก่อสร้างส่วนต่อขยายในทุกเส้นทางนั้น ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการอีกนาน นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของนโยบายการลงทุนในประเทศด้วย เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าจากเส้นทางเดิมทุกเส้นทางนั้น มีความเป็นไปได้ยากมาก และยังต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ที่สำคัญคือ ต้องสร้างรถไฟฟ้าในสายเดิม9เส้นทางตามแผนให้แล้วเสร็จก่อน แล้วจึงนำเรื่องส่วนต่อขยายมาพิจารณากันอีกครั้ง "
***หนุนออกบอนด์ยาว 30 ปีสร้างรถไฟฟ้า
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศผลักดันงานเร่งด่วนหลังรับตำแหน่ง โครงการระบบขนส่งมวลชน 9 เส้นทาง พร้อมรถไฟรางคู่ วงเงิน 500,000 ล้านบาท รวมทั้งโครงการวางระบบน้ำ ด้วยการผันน้ำจากแม่น้ำโขงเข้ามาในพื้นที่ภาคอีสานเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งว่า หากพิจารณาถึงภาพรวมฐานะการคลัง และสภาพคล่องในประเทศในขณะนี้ ยังเอื้ออำนวยให้รัฐบาลสามารถที่จะกู้เงินจากในตลาดมาใช้ในการดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่(เมกะโปรเจกต์)ได้อย่างไม่มีปัญหา โดยแนวทางที่เหมาะสมที่สุด คือ การออกพันธบัตรระยะยาวอายุ 30 ปี เพราะจะสอดคล้องกับความต้องการในการใช้เงินและความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลในอนาคต
“สบน.ได้มีการจัดทำแผนในการระดมเงิน 5 ปี ข้างหน้า เพื่อใช้ในโครงการเมกะโปรเจกต์ไว้แล้ว แต่ในแผนดังกล่าวยังไม่ได้รวมวงเงินในโครงการต่อขยายรถไฟรางคู่ การซื้อหุ้นบีทีเอส และการวางระบบท่อส่งน้ำจากแม่น้ำโขง ที่ท่านนายกได้ให้สัมภาษณ์ไว้ แต่หากวงเงินลงทุนมีจำนวน 5 แสนล้านบาทก็อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ในระยะเวลา 3 ปี ซึงหากพิจารณากรอบการออกพันธบัตรปีละประมาณ 2 แสนล้านบาทแล้วตลาดจะสามารถรองรับการออกพันธบัตรดังกล่าวได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด“ นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ระดับ 38% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่อยู่ที่ 50% ของจีดีพี ดังนั้นจึงมีช่องที่รัฐบาลจะสามารถกู้เพิ่มได้ถึง 8-9 แสนล้านบาท ประกอบกับในช่วงนี้ตลาดพันธบัตรมีอัตราผลตอบแทน(Yield) ที่ต่ำลงทำให้ต้นทุนในการระดมเงินผ่านตลาดพันธบัตรนั้นไม่สูงมากนัก หากสามารถระดมเงินในรูปพันธบัตรระยะยาว อายุ 30 ปี ได้ก็จะเป็นการดีทั้งการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง(Bench Mark ) และไม่เป็นภาระต่องบประมาณมากนัก
“เชื่อว่าหากมีการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อใช้ในโครงการเมกะโปรเจกต์มา จะได้รับความสนใจจากตลาด เพราะสภาพตลาดขณะนี้มีแต่คนต้องการสินค้าคุณภาพดี ดังนั้นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ก็จะถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภทกองทุนขนาดใหญ่ และบริษัทประกันที่มีวงเงินลงทุนจำนวนมาก เพราะประเทศไทยยังมีการออกพันธบัตรในลักษณะดังกล่าวมาก่อน”
สำหรับแนวทางในการหาเงินมาซื้อหนี้ รถไฟฟ้า BTS เพื่อเข้าไปถือหุ้น 89% ที่เป็นส่วนของกลุ่มเจ้าหนี้ เพื่อเข้าไปถือหุ้นใหญ่ และใช้สิทธิ์เดินรถระบบขนส่งมวลชน และยังสะดวกต่อการขยายเส้นทางต่างๆ นั้นถือเป็นแนวทางเดียวกับที่ทางธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือเจบิคในฐานะผู้ให้กู้ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงพยายามเสนอให้ประเทศไทยดำเนินการอยู่แล้ว โดยทางเจบิคเห็นว่าการที่รัฐบาลตะเป็นเจ้าของระบบขนส่งมวลชนทั้งในแง่อำนาจการต่อรองการซื้อรถไฟฟ้า อะไหล่ และการบำรุงรักษา ในฐานะเจ้าของรายเดียว อีกทั้งการกำหนดราคา และการใช้ตั๋วและเทคโนโลยีร่วม และค่อยกระจายการบริหารงานแต่ละสายให้เอกชนรับไปดำเนินงานในรูปสัมปทาน ซึ่งแนวคิดในลักษณะ Public Private Partnership ( PPP) ดังกล่าวมีหลายประเทศที่นิยมใช้ในการดำเนินการระบบขนส่งมวลชน
*“อภิรักษ์” พร้อมให้ความร่วมมือ
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีเพราะประชาชนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ โดยเฉพาะยุคภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง ราคาน้ำมันแพง ซึ่งกทม.พร้อมให้ความร่วมมือในโครงการต่างๆของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ตนมีข้อเสนอแนะอยากฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ด้วยว่ารัฐบาลต้องกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างให้ชัดเจนรวมถึงการจัดซื้อที่โปร่งใส