ทุนนอกไหลทะลักเข้าไทยตามคาดหลังเฟดลดดอกเบี้ย ต่างชาติจุดพลุไล่เก็บหุ้นขนาดใหญ่อีกเกือบ 8.2 พันล้านบาท ทำสถิติซื้อสูงสุดในรอบ 21 เดือน ดันมูลค่าตลาดรวมทะลุ 4.2 หมื่นล้านบาท สูงสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีบวกเกือบ 27 จุด รวม 4 วันพุ่งแล้ว 66.5 จุด ขณะที่เงินบาทแข็งค่าหลุด 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ด้านโบรกเกอร์แหยง เตือนยังไม่น่าลงทุน รอสัปดาห์หน้าให้ฝรั่งปรับพอร์ตก่อน "ฉลองภพ" แนะแบงก์ชาตินัดประชุม กนง. ฉุกเฉิน เพื่อรับมือความผันผวนได้ทันสถานการณ์ พร้อมฝากขุนคลังคนใหม่ดูแลค่าเงินบาท หลังประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับใหม่
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (1ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน รวมแล้วกว่า 66.5 จุด หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 2 ครั้ง รวม 1.25% ทำให้มีเม็ดเงินจากต่างประเทศกลับเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยที่ได้รับอานิสงส์มากกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน เนื่องจากราคาหุ้นที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพื้นฐานค่อนข้างมาก
ขณะเดียวกัน นักลงทุนเริ่มตอบรับการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมาปิดที่ 810.86 จุด เพิ่มขึ้น 26.63 จุด หรือ 3.40% จุดสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 811.39 จุด และต่ำสุดอยู่ที่ 794.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 42,227.91 ล้านบาท นับเป็นมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในรอบกว่า 6 เดือน
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 8,155.52 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าซื้อขายสุทธิสูงสุดในรอบ 21 เดือน ขณะที่นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,463.14 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 6,692.38 ล้านบาท
นางสาวสิริณัฎฐา เตชะศิริวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไซรัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงนี้บริษัทยังไม่แนะนำให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น แม้ตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา แต่ควรรอให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับฐานก่อน ซึ่งมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มปรับพอร์ตการลงทุนในสัปดาห์หน้า
"การเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับปัจจัยบวกจากต่างประเทศที่เฟดปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.50% บวกกับแรงสนับสนุนจากปัจจัยทางการเมืองในประเทศทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจต่อการเข้ามาลงทุนมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมถึงผลการประชุมของกลุ่มผู้ค้าน้ำมัน(โอเปก) เนื่องจากเป็นปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนได้
นายทวีรัตน์ มัททวีวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากบริษัทประกันตราสารหนี้รายใหญ่อันดับ 1 ของสหรัฐฯ รายงานว่า บริษัทมีเงินสดมากพอที่จะดำเนินธุรกิจรับประกันการจ่ายเงินสำหรับหุ้นกู้ และตราสารหนี้ ทำให้นักลงทุนเริ่มคลายกังวลต่อปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) มากขึ้น
ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่ผ่านมาถึง 1.25% ทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลกลับเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น
**ยังเชื่อหุ้นปลายปีแตะพันจุด
นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้มีโอกาสปรับตัวทะลุ 962 จุดได้ เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย ประกอบพี/อี เรโช ตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่น่าสนใจจะเข้ามาลงทุน
สำหรับหุ้นที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งเน้นการหาลูกค้ารายย่อยมากขึ้น และพัฒนาปรับปรุงด้านการบริการกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ราคาเป้าหมายที่ 90 บาท กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) ซึ่งได้รับประโยชน์จากการสร้างคอนโดฯติดกับสถานีรถไฟฟ้า ราคาพื้นฐานที่ 9 บาท
**บัวหลวงคาดหุ้นปีหนี้แตะ 1,146 จุด
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นปีนี้จะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 1,146 จุดได้ เนื่องจากการลงทุนในหุ้นน่าจะได้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตร ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมจะโตจากปีก่อน 32% เพราะมั่นใจว่ารัฐบาลชุดใหม่น่าจะสานต่อโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยแนะนำซื้อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง อาทิ บมจ.อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ให้ราคาเป้าหมาย 10.50 บาท, บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) ราคาเป้าหมายที่ 10.80 บาท
นอกจากนี้ กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ คือ กลุ่มอุปโภคบริโภค ได้แก่ บมจ.ซีพีออลล์ (CPALL) เนื่องจากรัฐบาลจะเข้ามาใช้นโยบายในการกระตุ้นให้การใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ให้ราคาเป้าหมายที่ 13.80 บาท ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ถือว่ายังน่าสนใจ โดย แนะซื้อหุ้นที่เน้นการสร้างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ เช่น บมจ. เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (AP) ราคาเป้าหมาย 8.45 บาท และบมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) ราคาเป้าหมายที่ 9 บาท
**ตลท.ห่วงการขยายตัวของ ศก.
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึง ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ว่า ความเสี่ยงในเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะสูงกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ โดยในเรื่องดังกล่าวจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม
ทั้งนี้ ความเสี่ยงของเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นเพราะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงจากที่เคยอยู่ในระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง
"ในปีนี้อัตราดอกเบี้ยของเราสามารถลดลงได้ แต่คงต้องดูระดับอัตราเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจก่อนเพราะเศรษฐกิจอาจจะได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯอีกระยะ" นายกอบศักดิ์กล่าว
**ขุนคลังแนะ ธปท.ประชุมฉุกเฉิน
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาซับไพรม์ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว และค่อนข้างมาก เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ขณะที่ ธปท. ควรจะมีการดำเนินนโยบายการเงินอย่างยืดหยุ่น
ทั้งนี้ หากธปท.พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบวางกรอบนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สามารถเรียกประชุมได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงกำหนดเวลานัดประชุม
นายฉลองภพ กล่าวว่า หลังจากอำลาตำแหน่งรมว.คลัง ก็อยากฝากงานให้ รมว.คลังคนใหม่ เข้ามาดูแลเรื่องปัญหาค่าเงินบาท ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งช่วยลดความขัดแย้งในการทำงานเกี่ยวกับนโยบายการเงินระหว่างกระทรวงการคลังและ ธปท.
นายโชติชัย สุวรรณภรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ตอนนี้นักลงทุนต่างชาติกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจของไทย จึงลังเลไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุน และมีโอกาสน้อยที่จะกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ขณะที่บางส่วนต้องการรอฟังนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ โดยนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่หวังให้ยกเลิกมาตรการกันสำรองการลงทุน 30% ของธปท.
"จากการได้หารือกับผู้จัดการกองทุนต่างประเทศทั้งยุโรปและเอเชีย ส่วนใหญ่นักลงทุนยังมีคำถามคาใจอยู่มาก เช่น การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 51 จะเป็นเท่าไร เพราะประมาณการของหน่วยงานรัฐแต่ละ แห่งมีความแตกต่างกันมาก คือ คลัง 4.5-5.5% สำนักงานคณะคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 5% และธปท.อยู่ที่ 4-6%"
นอกจากนี้ นักลงทุนต้องการรู้ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะสูงขึ้นไปเท่าไร และทางการมีนโยบายแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร รวมถึงรัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง จะทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้น หรือจะมีมาตรการลดภาษี เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภคสหรัฐฯ หรือไม่
**ธปท.พยุงไม่ไหวบาทหลุด 33
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 33.02-33.04 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยแข็งค่าสุดที่ 32.93 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ 32.93-33.95 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐจากผู้ส่งออกค่อนข้างมาก ทำให้เงินบาทหลุดแนวรับที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ลงมา หลังจากแกว่งตัวในกรอบแคบมาตลอดสัปดาห์
"เงินบาทแข็งค่าขึ้นเกิดจากแรงขายดอลลาร์สหรัฐฯ จากผู้ส่งออกเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากเมื่อต้นสัปดาห์ คงจะชะลอเพื่อรอดูการตัดสินใจของเฟด แล้วพอรู้ผลชัดเจนเลยเทขายมากขึ้น เพราะเก็งว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าต่ออีก รวมทั้งอาจจะมีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นส่วนหนึ่ง เลยทำให้เงินบาทหลุด 33.00 บาท ซึ่งเชื่อว่าทางแบงก์ชาติดูแลอยู่ แต่แรงขายมีมาก จนพยุงไม่ไหวต้องปล่อยให้หลุด ขณะที่แนวโน้มสัปดาห์หน้า เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง โดยมีกรอบอยู่ที่ระดับ 32.75-32.95 บาทดอลลาร์สหรัฐ"
ด้านนายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ผู้ส่งออกเทขายดอลลาร์สหรัฐออกเพราะเกรงเงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าเร็วขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทแตะระดับ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐเร็วขึ้น หากธปท.ไม่เข้าแทรกแซงตลาด ประกอบกับบัญชีเดินสะพัดของไทยยังคงเกินดุลในระดับสูงอยู่ จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การดูแลค่าเงินบาทของธปท.คงต้องดูหลายปัจจัยในการบริหารเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป โดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อ ซึ่งตามความเห็นแล้วอยากให้ธปท.ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากกว่า
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (1ก.พ.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน รวมแล้วกว่า 66.5 จุด หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 2 ครั้ง รวม 1.25% ทำให้มีเม็ดเงินจากต่างประเทศกลับเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยที่ได้รับอานิสงส์มากกว่าตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน เนื่องจากราคาหุ้นที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพื้นฐานค่อนข้างมาก
ขณะเดียวกัน นักลงทุนเริ่มตอบรับการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมาปิดที่ 810.86 จุด เพิ่มขึ้น 26.63 จุด หรือ 3.40% จุดสูงสุดระหว่างวันอยู่ที่ 811.39 จุด และต่ำสุดอยู่ที่ 794.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 42,227.91 ล้านบาท นับเป็นมูลค่าการซื้อขายสูงสุดในรอบกว่า 6 เดือน
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 8,155.52 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าซื้อขายสุทธิสูงสุดในรอบ 21 เดือน ขณะที่นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,463.14 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 6,692.38 ล้านบาท
นางสาวสิริณัฎฐา เตชะศิริวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไซรัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ช่วงนี้บริษัทยังไม่แนะนำให้เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น แม้ตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา แต่ควรรอให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับฐานก่อน ซึ่งมีโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มปรับพอร์ตการลงทุนในสัปดาห์หน้า
"การเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับปัจจัยบวกจากต่างประเทศที่เฟดปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.50% บวกกับแรงสนับสนุนจากปัจจัยทางการเมืองในประเทศทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจต่อการเข้ามาลงทุนมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมถึงผลการประชุมของกลุ่มผู้ค้าน้ำมัน(โอเปก) เนื่องจากเป็นปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนได้
นายทวีรัตน์ มัททวีวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากบริษัทประกันตราสารหนี้รายใหญ่อันดับ 1 ของสหรัฐฯ รายงานว่า บริษัทมีเงินสดมากพอที่จะดำเนินธุรกิจรับประกันการจ่ายเงินสำหรับหุ้นกู้ และตราสารหนี้ ทำให้นักลงทุนเริ่มคลายกังวลต่อปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) มากขึ้น
ขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่ผ่านมาถึง 1.25% ทำให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลกลับเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น
**ยังเชื่อหุ้นปลายปีแตะพันจุด
นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล. เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในปีนี้มีโอกาสปรับตัวทะลุ 962 จุดได้ เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย ประกอบพี/อี เรโช ตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่น่าสนใจจะเข้ามาลงทุน
สำหรับหุ้นที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งเน้นการหาลูกค้ารายย่อยมากขึ้น และพัฒนาปรับปรุงด้านการบริการกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ราคาเป้าหมายที่ 90 บาท กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) ซึ่งได้รับประโยชน์จากการสร้างคอนโดฯติดกับสถานีรถไฟฟ้า ราคาพื้นฐานที่ 9 บาท
**บัวหลวงคาดหุ้นปีหนี้แตะ 1,146 จุด
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นปีนี้จะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 1,146 จุดได้ เนื่องจากการลงทุนในหุ้นน่าจะได้ผลตอบแทนดีกว่าพันธบัตร ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมจะโตจากปีก่อน 32% เพราะมั่นใจว่ารัฐบาลชุดใหม่น่าจะสานต่อโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยแนะนำซื้อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง อาทิ บมจ.อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ให้ราคาเป้าหมาย 10.50 บาท, บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) ราคาเป้าหมายที่ 10.80 บาท
นอกจากนี้ กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ คือ กลุ่มอุปโภคบริโภค ได้แก่ บมจ.ซีพีออลล์ (CPALL) เนื่องจากรัฐบาลจะเข้ามาใช้นโยบายในการกระตุ้นให้การใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ให้ราคาเป้าหมายที่ 13.80 บาท ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ถือว่ายังน่าสนใจ โดย แนะซื้อหุ้นที่เน้นการสร้างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ เช่น บมจ. เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (AP) ราคาเป้าหมาย 8.45 บาท และบมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH) ราคาเป้าหมายที่ 9 บาท
**ตลท.ห่วงการขยายตัวของ ศก.
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวถึง ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ว่า ความเสี่ยงในเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะสูงกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ โดยในเรื่องดังกล่าวจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือไม่ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม
ทั้งนี้ ความเสี่ยงของเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นเพราะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลงจากที่เคยอยู่ในระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง
"ในปีนี้อัตราดอกเบี้ยของเราสามารถลดลงได้ แต่คงต้องดูระดับอัตราเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจก่อนเพราะเศรษฐกิจอาจจะได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯอีกระยะ" นายกอบศักดิ์กล่าว
**ขุนคลังแนะ ธปท.ประชุมฉุกเฉิน
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาซับไพรม์ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว และค่อนข้างมาก เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ขณะที่ ธปท. ควรจะมีการดำเนินนโยบายการเงินอย่างยืดหยุ่น
ทั้งนี้ หากธปท.พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องรีบวางกรอบนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สามารถเรียกประชุมได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงกำหนดเวลานัดประชุม
นายฉลองภพ กล่าวว่า หลังจากอำลาตำแหน่งรมว.คลัง ก็อยากฝากงานให้ รมว.คลังคนใหม่ เข้ามาดูแลเรื่องปัญหาค่าเงินบาท ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งช่วยลดความขัดแย้งในการทำงานเกี่ยวกับนโยบายการเงินระหว่างกระทรวงการคลังและ ธปท.
นายโชติชัย สุวรรณภรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ตอนนี้นักลงทุนต่างชาติกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจของไทย จึงลังเลไม่กล้าที่จะเข้ามาลงทุน และมีโอกาสน้อยที่จะกลับเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ขณะที่บางส่วนต้องการรอฟังนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ โดยนักลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่หวังให้ยกเลิกมาตรการกันสำรองการลงทุน 30% ของธปท.
"จากการได้หารือกับผู้จัดการกองทุนต่างประเทศทั้งยุโรปและเอเชีย ส่วนใหญ่นักลงทุนยังมีคำถามคาใจอยู่มาก เช่น การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 51 จะเป็นเท่าไร เพราะประมาณการของหน่วยงานรัฐแต่ละ แห่งมีความแตกต่างกันมาก คือ คลัง 4.5-5.5% สำนักงานคณะคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 5% และธปท.อยู่ที่ 4-6%"
นอกจากนี้ นักลงทุนต้องการรู้ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะสูงขึ้นไปเท่าไร และทางการมีนโยบายแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร รวมถึงรัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง จะทำงบประมาณขาดดุลมากขึ้น หรือจะมีมาตรการลดภาษี เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภคสหรัฐฯ หรือไม่
**ธปท.พยุงไม่ไหวบาทหลุด 33
นักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 33.02-33.04 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยแข็งค่าสุดที่ 32.93 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ 32.93-33.95 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐจากผู้ส่งออกค่อนข้างมาก ทำให้เงินบาทหลุดแนวรับที่ระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ลงมา หลังจากแกว่งตัวในกรอบแคบมาตลอดสัปดาห์
"เงินบาทแข็งค่าขึ้นเกิดจากแรงขายดอลลาร์สหรัฐฯ จากผู้ส่งออกเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากเมื่อต้นสัปดาห์ คงจะชะลอเพื่อรอดูการตัดสินใจของเฟด แล้วพอรู้ผลชัดเจนเลยเทขายมากขึ้น เพราะเก็งว่าดอลลาร์จะอ่อนค่าต่ออีก รวมทั้งอาจจะมีเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นส่วนหนึ่ง เลยทำให้เงินบาทหลุด 33.00 บาท ซึ่งเชื่อว่าทางแบงก์ชาติดูแลอยู่ แต่แรงขายมีมาก จนพยุงไม่ไหวต้องปล่อยให้หลุด ขณะที่แนวโน้มสัปดาห์หน้า เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง โดยมีกรอบอยู่ที่ระดับ 32.75-32.95 บาทดอลลาร์สหรัฐ"
ด้านนายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การที่ผู้ส่งออกเทขายดอลลาร์สหรัฐออกเพราะเกรงเงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าเร็วขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทแตะระดับ 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐเร็วขึ้น หากธปท.ไม่เข้าแทรกแซงตลาด ประกอบกับบัญชีเดินสะพัดของไทยยังคงเกินดุลในระดับสูงอยู่ จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การดูแลค่าเงินบาทของธปท.คงต้องดูหลายปัจจัยในการบริหารเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป โดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อ ซึ่งตามความเห็นแล้วอยากให้ธปท.ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากกว่า