นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านกิจการการเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุม กกต. เมื่อวานนี้ (30 ม.ค.)ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาความเห็นของคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมือง ที่เสนอความเห็นด้านกฎหมาย กรณี กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย ถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ว่า พฤติกรรมดังกล่าวเข้าข่ายตามที่ พ.ร.บ.เลือกตั้ง มาตรา 103 กำหนด และกกต. ควรเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และหาก กกต. จะไม่เสนอเรื่อง ก็ต้องมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ว่า กรณีดังกล่าวไม่ส่งผลเปลี่ยนแปลงต่อการเลือกตั้ง และการเลือกตั้งเป็นโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม ซึ่ง กกต. พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อกฎหมายกำหนดในลักษณะดังกล่าว จึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ โดยมีหน้าที่รวบรวมหลักฐาน รวมทั้งให้สอบพยานเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า พรรคเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร เพราะในการชั้นการพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค ของ กกต. มีเพียงหลักฐานว่าหัวคะแนนไปกระทำการ และมีความเชื่อมโยงถึงผู้สมัครเท่านั้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนประกอบด้วย นายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธานคณะกรมการ พล.ต.อ. มีชัย นุกูลกิจ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ และนายธนิศร์ ศรีประเทศ เป็นกรรมการ ซึ่งกกต. ไม่กำหนดเวลาในการสอบ แต่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เมื่อถามว่า ก่อนเลือกตั้ง พรรคการเมืองได้ทำหนังสือแจ้ง ให้ผู้สมัครทุกคนไม่ทำผิดกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ความผิดมาถึงพรรค นายประพันธ์ กล่าวว่า คงไม่มีผล เพราะทุกพรรคก็กระทำเช่นนี้ แต่พรรคจะเกี่ยวหรือไม่ ต้องว่ากันไปตามข้อเท็จจริง กรณีนี้ก็เหมือนการออกประกาศของห้างสรรพสินค้าที่ระบุว่า หากรถหายในลานจอดรถเขาจะไม่รับผิดชอบ แต่ถามว่าหากเกิดเหตุดังกล่าวจริง ห้างสรรพสินค้าก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ซึ่งเรื่องการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามมาตรา 103 (2) ก็เขียนว่า หัวหน้าพรรค หรือ กรรมการบริหารพรรค มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย ก็ให้ถือว่าพรรคนั้นมีส่วนในการกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ เป็นเหตุให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการเรื่อง ยุบพรรค โดยกฎหมายก็เขียนแค่ กรรมการบริหารพรรค ไม่ได้เขียนว่า คณะกรรมการบริหารทั้งหมด ดังนั้นการกระทำของคนเพียงคนเดียว ก็เข้าข่ายตามมาตรานี้
"การจะยุบหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ และศาลจะดูว่า พฤติกรรมและความร้ายแรงที่เกิดขึ้น พรรคต้องเข้ามารับผิดชอบหรือไม่ ดังนั้นตอนนี้จึงไม่อยากให้ทั้ง 2 พรรค ตีโพยตีพาย ว่าเรามีธงมีเป้าอะไร เพราะกรณีแบบนี้ต่างจากกรณีจ้างพรรคเล็กลงสมัครเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยในอดีต ซึ่งหากไปดูในคำวินิจฉัยจะเห็นชัดถึงพฤติกรรมที่กระทำเป็นภาพกว้าง ว่าทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ แต่หากกรณีนี้ไม่ชัดว่า พรรครู้เห็นศาลก็คงวินิจฉัยไปอีกทาง แต่หากพบหลักฐาน เช่นมีการโอนเงินจากพรรคไปให้กรรมการบริหารพรรคคนนั้น อย่างนี้ก็ถือว่าชัดเจน"
ส่าวนกรณีของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร หาก กกต. เสนอให้ศาลฎีกาพิจารณา และมีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธจริง ก็ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาความผิดที่เกี่ยวกับพรรคในทำนองเดียวกัน แต่ทั้งนี้ การจะดำเนินการก็ต้องรอคำตัดสินของศาลฎีกาเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการสอบสวนสำนวนดังกล่าว ในการประชุม กกต. ก็ไม่ได้หารือกรณีที่นายยงยุทธ ต้องการให้นำซีดี 8 แผ่น ที่เป็นหลักฐานการทุจริตส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานพิจารณา ส่วนตัวคิดว่าควรเป็น ดุพินิจของคณะอนุกรรมการ ที่มีนายสุวิทย์ ธีรพงษ์ เป็นประธานมากกว่า
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงกรณีการจัดตั้ง ครม. ที่มีข่าวว่า อดีตกรรมการบริหารพรรค 111 คน เข้ามาเป็นผู้จัดโผ ว่า เรื่องเป็นนอมินี หรือตัวแทนเชิด กกต.ก็มีการตั้งอนุกรรมการสืบสวนอยู่ เมื่อมีข้อมูลลักษณะนี้เกิดขึ้น อนุกรรมการอาจจะนำเรื่องไปประกอบการพิจารณาด้วย แต่ที่เป็นปัญหาคือ เมื่อมีการพูดแล้ว พอ กกต. ขอข้อมูลไป หรือขอให้มาเป็นพยาน คนเหล่านั้นก็กลับบอกว่า ไม่เกี่ยวเหมือนช่วงก่อนเลือกตั้งที่ปรากฏว่ามีนักการเมืองระดับหัวหน้าพรรคคนหนึ่งออกมาพุดว่า มีการซื้อตัว ส.ส. สูงถึง 40 ล้านบาท กกต.ก็ส่งเจ้าหน้าที่ไปขอข้อมูล เขากลับบอกว่า เป็นเรื่องที่พูดต่อๆ กันมา ดังนั้นที่ปรากฏข่าวในขณะนี้ว่า อดีตกรรมการบบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ จัดเลี้ยง และเชิญ ส.ส.ไปคุยเพื่อจัดโผนั้น ก็ต้องมีข้อมูล หรือมีหลักฐานที่ชัดเจนมากกว่านี้ โดยอาจจะต้องหาคนที่ไปร่วมงานเลี้ยงมายืนยันว่า ให้คนนั้นคนนี้ ไปดำรงตำแหน่งใน ครม. หากมีหลักฐานขนาดนี้จึงจะถือว่าอดีตกรรมการบริหารพรรคคนนั้น กระทำการในหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรค และเข้าข่ายผิดตาม มาตรา 97 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง
เมื่อถามว่านายยงยุทธ จะตั้งสภาภาคประชาชน และดึงอดีตกรรมการบริหารพรรค 111 คน ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมาเข้าร่วม นายประพันธ์ กล่าวว่า ก็ต้องดูว่การเข้ามาช่วยงานการเมืองเป็นลักษณะงานของกรรมการบริหารพรรคที่ระบุไว้ในข้อบังคับพรรคหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ที่ กกต. ตีความว่า ห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ ขึ้นเวทีปราศรัย ก็เพราะเราเห็นว่า การปราศรัยเป็นการรณรงค์หาเสียง ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรค แต่หากเขาไปทำการในลักษณะให้ความรู้ทางวิชาการ ก็มองว่าสามารถทำได้ หรือการไปเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของรัฐมนตรี โดยที่ไม่มีชื่อเป็นทางการ ก็ทำได้
**ชี้ช่องยื่นตีความคุณสมบัติ"สมัคร"
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงกรณี ที่มีผู้จะเสนอยื่นให้ตีความคุณสมบัติการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากก่อนหน้านี้ต้องคำพิพากษาจำคุกว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค สาม ประกอบ มาตรา 91 และ 92 ที่ระบุเกี่ยวกับความสิ้นสุดลงของการเป็นรัฐมนตรี กำหนดให้ กกต. เป็นผู้ ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ดังนั้นหาก มีผู้มายื่นเรื่องกรณีดังกล่าว กกต.ก็ต้องตั้งคณะอนุกรรมการ ขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนที่จะเสนอศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
**ตั้งกก.สอบกรณีสำนวนรั่ว
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวภายหลังการประชุม กกต.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาความเห็นของสำนักกฎหมาย และคดี กกต. กรณีที่ นายวีระ สมความคิด ประธานคณะกรรมการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น ขอให้ตรวจสอบกรณี กกต.คนหนึ่งไม่คืนสำนวนทุจริตเลือกตั้งที่ จ.เชียงราย จนทำให้สำนวนรั่ว โดยสำนักกฎหมายและคดีเสนอความเห็นว่า เป็นอำนาจของป.ป.ช.ที่จะพิจารณา เพราะนายวีระ ก็ได้ยื่นผ่านช่องทางดังกล่าว แต่ในส่วนของข้อเท็จจริง กกต.ก็อยากให้มีความกระจ่างว่า สำนวนมีการรั่วจริงหรือไม่ จึงมีมติให้เลขาธิการ กกต.ไปดำเนินการ
ดังนั้นตนจึงจะตั้งคณะทำงานขึ้นมา มีผู้ตรวจการ กกต. เป็นประธาน และตัวแทนสำนักกฎหมายเป็นกรรมการโดยจะสอบย้อนกลับไปว่า ต้นตอของข่าวมาจากไหน และจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง รวมถึง พล.ต.ต. ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล รอง ผบ.ตร. สันติบาล และการสอบถามจาก กกต.ทั้ง 5 คน และตนที่เข้าร่วมประชุมในวันที่สันติบาลนำสำนวนดังกล่าวมาชี้แจง
อย่างไรก็ตาม การรั่วไหลของสำนวนไม่จำเป็นจะต้องเกิดจากการที่มีกกต.คนหนึ่งไม่คืนเอกสาร เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ถ้ามองย้อนกลับไปแล้ว สำนวนทุจริตจ.เชียงราย มีอยู่ทั้งที่ กกต.จ.เชียงรายบางส่วน กกต.กลาง และในมือของสันติบาล ซึ่งการสอบสวนไม่ได้กำหนดระยะเวลา แต่จะทำให้เสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้ คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนประกอบด้วย นายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธานคณะกรมการ พล.ต.อ. มีชัย นุกูลกิจ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ และนายธนิศร์ ศรีประเทศ เป็นกรรมการ ซึ่งกกต. ไม่กำหนดเวลาในการสอบ แต่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
เมื่อถามว่า ก่อนเลือกตั้ง พรรคการเมืองได้ทำหนังสือแจ้ง ให้ผู้สมัครทุกคนไม่ทำผิดกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ความผิดมาถึงพรรค นายประพันธ์ กล่าวว่า คงไม่มีผล เพราะทุกพรรคก็กระทำเช่นนี้ แต่พรรคจะเกี่ยวหรือไม่ ต้องว่ากันไปตามข้อเท็จจริง กรณีนี้ก็เหมือนการออกประกาศของห้างสรรพสินค้าที่ระบุว่า หากรถหายในลานจอดรถเขาจะไม่รับผิดชอบ แต่ถามว่าหากเกิดเหตุดังกล่าวจริง ห้างสรรพสินค้าก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ซึ่งเรื่องการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตามมาตรา 103 (2) ก็เขียนว่า หัวหน้าพรรค หรือ กรรมการบริหารพรรค มีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย ก็ให้ถือว่าพรรคนั้นมีส่วนในการกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ เป็นเหตุให้นายทะเบียนพรรคการเมืองดำเนินการเรื่อง ยุบพรรค โดยกฎหมายก็เขียนแค่ กรรมการบริหารพรรค ไม่ได้เขียนว่า คณะกรรมการบริหารทั้งหมด ดังนั้นการกระทำของคนเพียงคนเดียว ก็เข้าข่ายตามมาตรานี้
"การจะยุบหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ และศาลจะดูว่า พฤติกรรมและความร้ายแรงที่เกิดขึ้น พรรคต้องเข้ามารับผิดชอบหรือไม่ ดังนั้นตอนนี้จึงไม่อยากให้ทั้ง 2 พรรค ตีโพยตีพาย ว่าเรามีธงมีเป้าอะไร เพราะกรณีแบบนี้ต่างจากกรณีจ้างพรรคเล็กลงสมัครเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยในอดีต ซึ่งหากไปดูในคำวินิจฉัยจะเห็นชัดถึงพฤติกรรมที่กระทำเป็นภาพกว้าง ว่าทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ แต่หากกรณีนี้ไม่ชัดว่า พรรครู้เห็นศาลก็คงวินิจฉัยไปอีกทาง แต่หากพบหลักฐาน เช่นมีการโอนเงินจากพรรคไปให้กรรมการบริหารพรรคคนนั้น อย่างนี้ก็ถือว่าชัดเจน"
ส่าวนกรณีของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร หาก กกต. เสนอให้ศาลฎีกาพิจารณา และมีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธจริง ก็ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาความผิดที่เกี่ยวกับพรรคในทำนองเดียวกัน แต่ทั้งนี้ การจะดำเนินการก็ต้องรอคำตัดสินของศาลฎีกาเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการสอบสวนสำนวนดังกล่าว ในการประชุม กกต. ก็ไม่ได้หารือกรณีที่นายยงยุทธ ต้องการให้นำซีดี 8 แผ่น ที่เป็นหลักฐานการทุจริตส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานพิจารณา ส่วนตัวคิดว่าควรเป็น ดุพินิจของคณะอนุกรรมการ ที่มีนายสุวิทย์ ธีรพงษ์ เป็นประธานมากกว่า
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงกรณีการจัดตั้ง ครม. ที่มีข่าวว่า อดีตกรรมการบริหารพรรค 111 คน เข้ามาเป็นผู้จัดโผ ว่า เรื่องเป็นนอมินี หรือตัวแทนเชิด กกต.ก็มีการตั้งอนุกรรมการสืบสวนอยู่ เมื่อมีข้อมูลลักษณะนี้เกิดขึ้น อนุกรรมการอาจจะนำเรื่องไปประกอบการพิจารณาด้วย แต่ที่เป็นปัญหาคือ เมื่อมีการพูดแล้ว พอ กกต. ขอข้อมูลไป หรือขอให้มาเป็นพยาน คนเหล่านั้นก็กลับบอกว่า ไม่เกี่ยวเหมือนช่วงก่อนเลือกตั้งที่ปรากฏว่ามีนักการเมืองระดับหัวหน้าพรรคคนหนึ่งออกมาพุดว่า มีการซื้อตัว ส.ส. สูงถึง 40 ล้านบาท กกต.ก็ส่งเจ้าหน้าที่ไปขอข้อมูล เขากลับบอกว่า เป็นเรื่องที่พูดต่อๆ กันมา ดังนั้นที่ปรากฏข่าวในขณะนี้ว่า อดีตกรรมการบบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ จัดเลี้ยง และเชิญ ส.ส.ไปคุยเพื่อจัดโผนั้น ก็ต้องมีข้อมูล หรือมีหลักฐานที่ชัดเจนมากกว่านี้ โดยอาจจะต้องหาคนที่ไปร่วมงานเลี้ยงมายืนยันว่า ให้คนนั้นคนนี้ ไปดำรงตำแหน่งใน ครม. หากมีหลักฐานขนาดนี้จึงจะถือว่าอดีตกรรมการบริหารพรรคคนนั้น กระทำการในหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรค และเข้าข่ายผิดตาม มาตรา 97 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง
เมื่อถามว่านายยงยุทธ จะตั้งสภาภาคประชาชน และดึงอดีตกรรมการบริหารพรรค 111 คน ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมาเข้าร่วม นายประพันธ์ กล่าวว่า ก็ต้องดูว่การเข้ามาช่วยงานการเมืองเป็นลักษณะงานของกรรมการบริหารพรรคที่ระบุไว้ในข้อบังคับพรรคหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ที่ กกต. ตีความว่า ห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ ขึ้นเวทีปราศรัย ก็เพราะเราเห็นว่า การปราศรัยเป็นการรณรงค์หาเสียง ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรค แต่หากเขาไปทำการในลักษณะให้ความรู้ทางวิชาการ ก็มองว่าสามารถทำได้ หรือการไปเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของรัฐมนตรี โดยที่ไม่มีชื่อเป็นทางการ ก็ทำได้
**ชี้ช่องยื่นตีความคุณสมบัติ"สมัคร"
นายประพันธ์ ยังกล่าวถึงกรณี ที่มีผู้จะเสนอยื่นให้ตีความคุณสมบัติการดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช เนื่องจากก่อนหน้านี้ต้องคำพิพากษาจำคุกว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค สาม ประกอบ มาตรา 91 และ 92 ที่ระบุเกี่ยวกับความสิ้นสุดลงของการเป็นรัฐมนตรี กำหนดให้ กกต. เป็นผู้ ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ดังนั้นหาก มีผู้มายื่นเรื่องกรณีดังกล่าว กกต.ก็ต้องตั้งคณะอนุกรรมการ ขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนที่จะเสนอศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
**ตั้งกก.สอบกรณีสำนวนรั่ว
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวภายหลังการประชุม กกต.ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาความเห็นของสำนักกฎหมาย และคดี กกต. กรณีที่ นายวีระ สมความคิด ประธานคณะกรรมการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น ขอให้ตรวจสอบกรณี กกต.คนหนึ่งไม่คืนสำนวนทุจริตเลือกตั้งที่ จ.เชียงราย จนทำให้สำนวนรั่ว โดยสำนักกฎหมายและคดีเสนอความเห็นว่า เป็นอำนาจของป.ป.ช.ที่จะพิจารณา เพราะนายวีระ ก็ได้ยื่นผ่านช่องทางดังกล่าว แต่ในส่วนของข้อเท็จจริง กกต.ก็อยากให้มีความกระจ่างว่า สำนวนมีการรั่วจริงหรือไม่ จึงมีมติให้เลขาธิการ กกต.ไปดำเนินการ
ดังนั้นตนจึงจะตั้งคณะทำงานขึ้นมา มีผู้ตรวจการ กกต. เป็นประธาน และตัวแทนสำนักกฎหมายเป็นกรรมการโดยจะสอบย้อนกลับไปว่า ต้นตอของข่าวมาจากไหน และจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง รวมถึง พล.ต.ต. ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล รอง ผบ.ตร. สันติบาล และการสอบถามจาก กกต.ทั้ง 5 คน และตนที่เข้าร่วมประชุมในวันที่สันติบาลนำสำนวนดังกล่าวมาชี้แจง
อย่างไรก็ตาม การรั่วไหลของสำนวนไม่จำเป็นจะต้องเกิดจากการที่มีกกต.คนหนึ่งไม่คืนเอกสาร เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว ถ้ามองย้อนกลับไปแล้ว สำนวนทุจริตจ.เชียงราย มีอยู่ทั้งที่ กกต.จ.เชียงรายบางส่วน กกต.กลาง และในมือของสันติบาล ซึ่งการสอบสวนไม่ได้กำหนดระยะเวลา แต่จะทำให้เสร็จโดยเร็ว