เอเอฟพี - สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยชื่อดังในสหรัฐฯเผยแพร่เอกสารลับ ชี้รัฐบาลวอชิงตันในช่วงที่ผ่านๆมา สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตอย่างเต็มที่ ถึงแม้ซูฮาร์โตจะถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือประชาธิปไตยก็ตาม อีกทั้งยังไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านคัดค้านซูฮาร์โตที่นำกำลังบุกยึดติมอร์ตะวันออก เมื่อปี1975
เอกสารเหล่านี้ซึ่งถูกลดชั้นความลับ ตามคำร้องภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร ชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้ใช้อำนาจของตนบีบให้ซูฮาร์โต อดีตผู้นำจอมเผด็จการแห่งอินโดนีเซีย ต้องชดใช้ความผิดพลาดของตนที่เกิดขึ้นระหว่างบริหารประเทศ 32 ปี จวบจนถึงช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนถูกบีบให้ลงจากตำแหน่ง
แบรด ซิมป์สัน แห่งศูนย์เก็บเอกสารด้านความมั่นคงแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพี ว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดจากเอกสารเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับซูฮาร์โต ระหว่างปี1966 - 1998 ซึ่งถูกลดชั้นความลับนั้น ก็คือ ไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯใช้อำนาจอิทธิพลสูงสุดบีบรัฐบาลของซูฮาร์โตแก้ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนและกระบวนการประชาธิปไตย
ศูนย์ดังกล่าวซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ไม่ได้สังกัดรัฐบาล แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ได้เก็บรวบรวมและเผยแพร่เอกสารที่ถูกลดชั้นความลับ ที่ทางศูนย์ได้มาภายใต้รัฐบัญญัติเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ เอกสารลับที่นำมาเปิดเผยในครั้งนี้มีอาทิเช่น บันทึกบทสนทนาระหว่างซูฮาร์โตประชุมหารือกับอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน, เจรัลด์ ฟอร์ด, โรนัลด์ เรแกน และเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
ซิมป์สัน กล่าวว่า มีเพียงครั้งเดียวที่รัฐบาลสหรัฐฯเข้าแทรกแซงอย่างแข็งขันต่อรัฐบาลอินโดนีเซีย ในปี1998 ซึ่งในช่วงนั้นอินโดนีเซียโซซัดโซเซอย่างหนักในระหว่างที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในเอเชีย ขณะที่เกิดเหตุจลาจลและการประท้วงครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย
เอกสารที่ถูกลดชั้นความลับเหล่านี้ระบุว่า อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงเวลานั้น โทรศัพท์หาซูฮาร์โตหลายครั้ง เพื่อกดดันให้อดีตผู้นำอินโดนีเซียดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ตามข้อเรียกร้องของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ
ซูฮาร์โตเดินทางเยือนสหรัฐฯในฐานะผู้นำประเทศเป็นครั้งแรกในปี1970 ท่ามกลางกระแสข่าวการคอร์รัปชั่นอย่างครึกโครมและการปราบปรามกลุ่มการเมืองครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย แต่ในระหว่างการหารือที่ทำเนียบขาวนั้น นิกสันซึ่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯในสมัยนั้น กลับกล่าวว่าซูฮาร์โตกำลังปกครองชาติที่เป็นหนึ่งในประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เอกสารลับเหล่านี้ยังเผยว่า 5 ปีหลังจากนั้น ในระหว่างที่ซูฮาร์โตหารือกับประธานาธิบดีเจรัลด์ ฟอร์ด ซูฮาร์โตได้ยกประเด็นคำถามเรื่องที่ติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราชจากโปรตุเกส และประกาศว่า "หนทางเดียวก็คือ การผนวกดินแดนนี้เข้ากับอินโดนีเซีย"
เอกสารดังกล่าวระบุว่า ฟอร์ดไม่มีท่าทีสนองใดๆต่อคำประกาศของซูฮาร์โต
นอกจากนี้ ในช่วงที่ประธานาธิบดี จอร์จ บุช ผู้พ่อ เยือนอินโดนีเซีย ซึ่งระหว่างนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกกันว่าเป็นการสังหารหมู่ประชาชนหลายร้อยคนในติมอร์ตะวันออกและการสังหารอย่างลึกลับในอินโดนีเซีย ประเด็นที่บุชผู้พ่อหารือกับซูฮาร์โต ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียตและจีน
เอกสารเหล่านี้ซึ่งถูกลดชั้นความลับ ตามคำร้องภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร ชี้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้ใช้อำนาจของตนบีบให้ซูฮาร์โต อดีตผู้นำจอมเผด็จการแห่งอินโดนีเซีย ต้องชดใช้ความผิดพลาดของตนที่เกิดขึ้นระหว่างบริหารประเทศ 32 ปี จวบจนถึงช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนถูกบีบให้ลงจากตำแหน่ง
แบรด ซิมป์สัน แห่งศูนย์เก็บเอกสารด้านความมั่นคงแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพี ว่า สิ่งที่เห็นได้ชัดจากเอกสารเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับซูฮาร์โต ระหว่างปี1966 - 1998 ซึ่งถูกลดชั้นความลับนั้น ก็คือ ไม่มีช่วงเวลาใดเลยที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯใช้อำนาจอิทธิพลสูงสุดบีบรัฐบาลของซูฮาร์โตแก้ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนและกระบวนการประชาธิปไตย
ศูนย์ดังกล่าวซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่ไม่ได้สังกัดรัฐบาล แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ได้เก็บรวบรวมและเผยแพร่เอกสารที่ถูกลดชั้นความลับ ที่ทางศูนย์ได้มาภายใต้รัฐบัญญัติเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ เอกสารลับที่นำมาเปิดเผยในครั้งนี้มีอาทิเช่น บันทึกบทสนทนาระหว่างซูฮาร์โตประชุมหารือกับอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน, เจรัลด์ ฟอร์ด, โรนัลด์ เรแกน และเฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
ซิมป์สัน กล่าวว่า มีเพียงครั้งเดียวที่รัฐบาลสหรัฐฯเข้าแทรกแซงอย่างแข็งขันต่อรัฐบาลอินโดนีเซีย ในปี1998 ซึ่งในช่วงนั้นอินโดนีเซียโซซัดโซเซอย่างหนักในระหว่างที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในเอเชีย ขณะที่เกิดเหตุจลาจลและการประท้วงครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย
เอกสารที่ถูกลดชั้นความลับเหล่านี้ระบุว่า อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงเวลานั้น โทรศัพท์หาซูฮาร์โตหลายครั้ง เพื่อกดดันให้อดีตผู้นำอินโดนีเซียดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ตามข้อเรียกร้องของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ
ซูฮาร์โตเดินทางเยือนสหรัฐฯในฐานะผู้นำประเทศเป็นครั้งแรกในปี1970 ท่ามกลางกระแสข่าวการคอร์รัปชั่นอย่างครึกโครมและการปราบปรามกลุ่มการเมืองครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย แต่ในระหว่างการหารือที่ทำเนียบขาวนั้น นิกสันซึ่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯในสมัยนั้น กลับกล่าวว่าซูฮาร์โตกำลังปกครองชาติที่เป็นหนึ่งในประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เอกสารลับเหล่านี้ยังเผยว่า 5 ปีหลังจากนั้น ในระหว่างที่ซูฮาร์โตหารือกับประธานาธิบดีเจรัลด์ ฟอร์ด ซูฮาร์โตได้ยกประเด็นคำถามเรื่องที่ติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราชจากโปรตุเกส และประกาศว่า "หนทางเดียวก็คือ การผนวกดินแดนนี้เข้ากับอินโดนีเซีย"
เอกสารดังกล่าวระบุว่า ฟอร์ดไม่มีท่าทีสนองใดๆต่อคำประกาศของซูฮาร์โต
นอกจากนี้ ในช่วงที่ประธานาธิบดี จอร์จ บุช ผู้พ่อ เยือนอินโดนีเซีย ซึ่งระหว่างนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกกันว่าเป็นการสังหารหมู่ประชาชนหลายร้อยคนในติมอร์ตะวันออกและการสังหารอย่างลึกลับในอินโดนีเซีย ประเด็นที่บุชผู้พ่อหารือกับซูฮาร์โต ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับสหภาพโซเวียตและจีน