อนุกลั่นกรองการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว. ส่ง 17 หน่วยงานสอบประวัติและคุณสมบัติผู้สมัคร คาด 6 ก.พ. รู้ใครโยงการเมือง ด้าน "สุทธิพล" เผยมีประชาชนส่งข้อมูลมาแล้วกว่า 100 เรื่อง
วานนี้ ( 28 ม.ค.) นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ และประธานคณะอนุกรรมการประสานงานและกลั่นกรองการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาวุฒิสภาชิก (ส.ว.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้หารือกันเพื่อติดตามความคืบหน้าการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเสนอจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 1,087 คน ที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติทั้ง 5 ชุด ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคอื่นๆ ที่ได้นำรายชื่อไปตรวจสอบ แต่ขณะนี้ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ทั้งนี้คณะกรรมการทั้ง 5 ชุดนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. อย่างเคร่งครัด อีกทั้ง กกต.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานประสานงานกลางก็ยังได้ส่งรายชื่อทั้ง 1,087 คน ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 17 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบคุณสมบัติร่วมด้วย
นายไพบูลย์ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้เรากำลังรอผลการตรวจสอบของทั้ง 17 หน่วยงาน คาดว่าในวันที่ 6 ก.พ.นี้จะได้รับข้อมูลจากการตรวจสอบดังกล่าว จากนั้นก็จะนำเสนอข้อมูลทั้งหมดต่อคณะกรรมการสรรหาพิจารณา ซึ่งการตรวจสอบนี้ก็จะต้องตรวจสอบด้วยว่า บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหานั้นมีความเกี่ยวพันกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่
"ทั้งนี้ต้องดูว่า ความเกี่ยวพันกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นเกี่ยวข้องอย่างไร โดยต้องดูว่า เป็นบุพการี บุตร คู่สมรส เป็นญาติพี่น้องด้วยหรือไม่ หากมีส่วนเกี่ยวพันที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่จะตรวจสอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุด คือ กระทรวงมหาดไทย เพราะไม่เพียงแต่ต้องดูว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับผู้ดำรงตำแหน่งระดับชาติเท่านั้นแต่ต้องดูความสัมพันธ์กับนักการเมืองท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้คิดว่าระยะเวลาในการตรวจสอบคุณสมบัตินี้จะไม่เป็นปัญหาต่อการตรวจสอบ เมื่อกฎหมายกำหนดมาแล้วก็ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งจะได้รายชื่อ ส.ว.สรรหาครบ 74 คนในวันที่ 19 ก.พ.นี้"
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ทางกกต.ได้ลงชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นส.ว.ทางหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปจะได้วิจารณ์ พิจารณา ตรวจสอบได้เชื่อว่า จะมีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ การทำงาน หรือเรื่องความไม่ชอบมาพากลทั้งหลาย กลับมายัง กกต. และเท่าที่ทราบข้อมูลในเบื้องต้นมีประมาณ 100 กว่าเรื่อง แต่เรายังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด ซึ่งบางเรื่องผู้แจ้งก็เปิดเผยชื่อ บางเรื่องผู้ที่ส่งข้อมูลก็ไม่เปิดเผยรายชื่อ ดังนั้นเรื่องนี้เราจะหารือในคณะกรรมการว่า กรณีที่มีข้อมูลในลักษณ์นี้ จะเชิญผู้ที่ถูกพาดพิงมาชี้แจงหรือไม่ เพื่อไม่ให้เป็นการฟังความข้างเดียว ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการสรรหา ส.ว. ส่วนในเรื่องความเหมาะสมทั้งทางบวก และทางลบ และให้ส่งมาที่เราตรวจสอบอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เรายังได้เปิดตู้ ปณ.71 และสายด่วน 1171 และยังมีเว็บไซต์ที่ยังมีทั้งรูป และรายชื่อ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ช่วยตรวจสอบ แต่ทั้งนี้อนุคณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจหน้าที่อะไรที่จะไปตัดสิทธิใดๆ ของผู้สมัครทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เรามาดูความชอบของคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามว่า มีอยู่อย่างไร จะได้ทำข้อสังเกตให้คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ต่อไป
วานนี้ ( 28 ม.ค.) นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ และประธานคณะอนุกรรมการประสานงานและกลั่นกรองการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาวุฒิสภาชิก (ส.ว.) กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้หารือกันเพื่อติดตามความคืบหน้าการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเสนอจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 1,087 คน ที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติทั้ง 5 ชุด ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคอื่นๆ ที่ได้นำรายชื่อไปตรวจสอบ แต่ขณะนี้ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ทั้งนี้คณะกรรมการทั้ง 5 ชุดนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. อย่างเคร่งครัด อีกทั้ง กกต.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานประสานงานกลางก็ยังได้ส่งรายชื่อทั้ง 1,087 คน ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 17 หน่วยงาน อาทิ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบคุณสมบัติร่วมด้วย
นายไพบูลย์ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้เรากำลังรอผลการตรวจสอบของทั้ง 17 หน่วยงาน คาดว่าในวันที่ 6 ก.พ.นี้จะได้รับข้อมูลจากการตรวจสอบดังกล่าว จากนั้นก็จะนำเสนอข้อมูลทั้งหมดต่อคณะกรรมการสรรหาพิจารณา ซึ่งการตรวจสอบนี้ก็จะต้องตรวจสอบด้วยว่า บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหานั้นมีความเกี่ยวพันกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่
"ทั้งนี้ต้องดูว่า ความเกี่ยวพันกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นเกี่ยวข้องอย่างไร โดยต้องดูว่า เป็นบุพการี บุตร คู่สมรส เป็นญาติพี่น้องด้วยหรือไม่ หากมีส่วนเกี่ยวพันที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่จะตรวจสอบเรื่องนี้ได้ดีที่สุด คือ กระทรวงมหาดไทย เพราะไม่เพียงแต่ต้องดูว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับผู้ดำรงตำแหน่งระดับชาติเท่านั้นแต่ต้องดูความสัมพันธ์กับนักการเมืองท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้คิดว่าระยะเวลาในการตรวจสอบคุณสมบัตินี้จะไม่เป็นปัญหาต่อการตรวจสอบ เมื่อกฎหมายกำหนดมาแล้วก็ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ซึ่งจะได้รายชื่อ ส.ว.สรรหาครบ 74 คนในวันที่ 19 ก.พ.นี้"
ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ทางกกต.ได้ลงชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นส.ว.ทางหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปจะได้วิจารณ์ พิจารณา ตรวจสอบได้เชื่อว่า จะมีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ การทำงาน หรือเรื่องความไม่ชอบมาพากลทั้งหลาย กลับมายัง กกต. และเท่าที่ทราบข้อมูลในเบื้องต้นมีประมาณ 100 กว่าเรื่อง แต่เรายังไม่ได้ลงไปในรายละเอียด ซึ่งบางเรื่องผู้แจ้งก็เปิดเผยชื่อ บางเรื่องผู้ที่ส่งข้อมูลก็ไม่เปิดเผยรายชื่อ ดังนั้นเรื่องนี้เราจะหารือในคณะกรรมการว่า กรณีที่มีข้อมูลในลักษณ์นี้ จะเชิญผู้ที่ถูกพาดพิงมาชี้แจงหรือไม่ เพื่อไม่ให้เป็นการฟังความข้างเดียว ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการสรรหา ส.ว. ส่วนในเรื่องความเหมาะสมทั้งทางบวก และทางลบ และให้ส่งมาที่เราตรวจสอบอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เรายังได้เปิดตู้ ปณ.71 และสายด่วน 1171 และยังมีเว็บไซต์ที่ยังมีทั้งรูป และรายชื่อ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ช่วยตรวจสอบ แต่ทั้งนี้อนุคณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจหน้าที่อะไรที่จะไปตัดสิทธิใดๆ ของผู้สมัครทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เรามาดูความชอบของคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามว่า มีอยู่อย่างไร จะได้ทำข้อสังเกตให้คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ต่อไป