วานนี้(13 ก.พ.) คณะกรรมการสรรหา ส.ว. ที่มี นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานคณะกรรมการสรรหา ส.ว.ได้มีการประชุม เพื่อพิจารณารายชื่อผู้ได้การเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นส.ว. จาก 1,087 องค์กร
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้วางกรอบในการสรรหาแล้ว โดยในการคัดเลือกส.ว. ทั้ง 74 คน ที่มาจาก 5 ภาคส่วน คือ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ ภาครัฐ และภาคอื่นๆ นั้น จะคัดเลือกในสัดส่วน ภาคละ 15 คน ยกเว้นภาครัฐ ให้มี 14 คน เนื่องจากเป็นองค์กรที่เสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาน้อยกว่าภาคอื่นๆ
ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเริ่มคัดเลือกผู้เหมาะสมเป็น ส.ว.เป็นรายภาค ตั้งแต่วันนี้ (14 ก.พ.) โดยเริ่มจากภาควิชาการ ต่อด้วยภาควิชาชีพ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอื่น ซึ่งจะประชุมคัดเลือกทุกวันจนถึงวันที่ 18 ก.พ. เพื่อส่งรายชื่อ ส.ว.ทั้ง 74 คนให้กับ กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติ และประกาศผลในวันที่ 19 ก.พ.
ส่วนวิธีการลงคะแนนนั้น พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. กำหนดให้มีการลงคะแนนโดยเปิดเผย ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนน จากคณะกรมการฯไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 4 เสียงขึ้นไป วิธีการลงคะแนน คณะกรรมการฯจะใช้การลงคะแนนตามลำดับรายชื่อที่ถูกเสนอทมา จนครบทั้งหมด แล้วค่อยมาดูว่าใครได้คะแนนสูงสุดใน14-15 ลำดับแรก แต่หากได้ ส.ว.ไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ ในแต่ละภาค ก็จะนำคะแนนที่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง มาเริ่มใหม่ แต่หากผู้ที่ได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งมีมากว่าจำนวนที่กำหนดไว้ ก็ให้นำเอาคะแนนที่เกินกึ่งหนึ่งที่น้อยที่สุด มาลงคะแนนใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อได้ส.ว. ที่กกต. ประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้ว ประชาชนสามารถที่จะขอดูผลคะแนนได้ รวมทั้งยังสามารถร้องคัดค้านได้ภายใน 30 วัน และหาก กกต. ตรวจสอบพบว่ามีมูล ก็จะเสนอต่อศาลฎีกา เพื่อให้พ้นจากตำแหน่ง
ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณา กรณี สนช.จะเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ได้หรือไม่ โดยฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีการเสนอความเห็นข้อกฎหมาย และคณะกรรมการสรรหา ก็ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีความเห็นออกเป็น 2 แนวทาง โดยแนวทางที่เห็นว่าสามารถเข้ารับการสรรหาได้ ก็มองว่า รธน.มาตรา 293 วรรค 4 ได้อนุโลมไว้ แต่ก็มองว่า หากเข้ารับการสรรหาได้ภายใต้บทเฉพาะกาลนี้ ยังเป็นปัญหาว่า ต้องลาออกจากการเป็น สนช. ก่อนการถูกเสนอชื่อจากองค์ต่างๆหรือไม่ รวมทั้งมองว่า สนช. เป็นพนักงานของรัฐหรือไม่ หากเป็นโดยหลักแล้วก็ต้องลาออกก่อนถูกเสนอชื่อ ส่วนฝ่ายที่มองว่าไม่สามารถเข้ารับการสรรหากได้ เพราะเห็นว่า สนช. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ท้ายที่สุดที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป และเห็นว่ามีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง จึงจะรับไว้พิจารณาและยังไม่ได้มีการลงมติในเรื่องนี้
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯ กล่าวว่า ที่ประชุมได้วางกรอบในการสรรหาแล้ว โดยในการคัดเลือกส.ว. ทั้ง 74 คน ที่มาจาก 5 ภาคส่วน คือ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ ภาครัฐ และภาคอื่นๆ นั้น จะคัดเลือกในสัดส่วน ภาคละ 15 คน ยกเว้นภาครัฐ ให้มี 14 คน เนื่องจากเป็นองค์กรที่เสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาน้อยกว่าภาคอื่นๆ
ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเริ่มคัดเลือกผู้เหมาะสมเป็น ส.ว.เป็นรายภาค ตั้งแต่วันนี้ (14 ก.พ.) โดยเริ่มจากภาควิชาการ ต่อด้วยภาควิชาชีพ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอื่น ซึ่งจะประชุมคัดเลือกทุกวันจนถึงวันที่ 18 ก.พ. เพื่อส่งรายชื่อ ส.ว.ทั้ง 74 คนให้กับ กกต. ตรวจสอบคุณสมบัติ และประกาศผลในวันที่ 19 ก.พ.
ส่วนวิธีการลงคะแนนนั้น พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. กำหนดให้มีการลงคะแนนโดยเปิดเผย ผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนน จากคณะกรมการฯไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 4 เสียงขึ้นไป วิธีการลงคะแนน คณะกรรมการฯจะใช้การลงคะแนนตามลำดับรายชื่อที่ถูกเสนอทมา จนครบทั้งหมด แล้วค่อยมาดูว่าใครได้คะแนนสูงสุดใน14-15 ลำดับแรก แต่หากได้ ส.ว.ไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ ในแต่ละภาค ก็จะนำคะแนนที่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง มาเริ่มใหม่ แต่หากผู้ที่ได้คะแนนเกินกึ่งหนึ่งมีมากว่าจำนวนที่กำหนดไว้ ก็ให้นำเอาคะแนนที่เกินกึ่งหนึ่งที่น้อยที่สุด มาลงคะแนนใหม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ เมื่อได้ส.ว. ที่กกต. ประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้ว ประชาชนสามารถที่จะขอดูผลคะแนนได้ รวมทั้งยังสามารถร้องคัดค้านได้ภายใน 30 วัน และหาก กกต. ตรวจสอบพบว่ามีมูล ก็จะเสนอต่อศาลฎีกา เพื่อให้พ้นจากตำแหน่ง
ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณา กรณี สนช.จะเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ได้หรือไม่ โดยฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีการเสนอความเห็นข้อกฎหมาย และคณะกรรมการสรรหา ก็ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีความเห็นออกเป็น 2 แนวทาง โดยแนวทางที่เห็นว่าสามารถเข้ารับการสรรหาได้ ก็มองว่า รธน.มาตรา 293 วรรค 4 ได้อนุโลมไว้ แต่ก็มองว่า หากเข้ารับการสรรหาได้ภายใต้บทเฉพาะกาลนี้ ยังเป็นปัญหาว่า ต้องลาออกจากการเป็น สนช. ก่อนการถูกเสนอชื่อจากองค์ต่างๆหรือไม่ รวมทั้งมองว่า สนช. เป็นพนักงานของรัฐหรือไม่ หากเป็นโดยหลักแล้วก็ต้องลาออกก่อนถูกเสนอชื่อ ส่วนฝ่ายที่มองว่าไม่สามารถเข้ารับการสรรหากได้ เพราะเห็นว่า สนช. เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ท้ายที่สุดที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป และเห็นว่ามีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง จึงจะรับไว้พิจารณาและยังไม่ได้มีการลงมติในเรื่องนี้