กก.สอบประวัติ ส.ว.ชุดวิชาชีพ พบผู้สมัครขาดคุณสมบัติเพียบ เหตุลาออกจากพรรคการเมืองไม่ถึง 5 ปี พร้อมตั้งข้อสังเกตให้ กก.ชุดใหญ่ 6 ก.พ.นี้ ด้าน “นักวิชาการ มธ.” สับ ส.ส.ร.เขียน รธน.ป้องกันสภาผัวเมีย จนเกินเลยไร้ขอบเขต
วันนี้ (2 ก.พ.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหา ส.ว.ภาคองค์กรภาควิชาชีพ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมมาแล้ว 6 ครั้ง โดยได้แบ่งกลุ่มสาขาอาชีพออกเป็น 13 กลุ่มอาชีพ
“โดยแยกเป็นแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ครู ผู้สอบบัญชี นักการบัญชี นักจัดรายการ สื่อสารมวลชน ทั้ง 12 กลุ่มอาชีพนี้มีจำนวน 68 คน และกลุ่มอาชีพอื่นๆ อาทิ นักเขียน นักวิชาการ นักธุรกิจ เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งกลุ่มอาชีพนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 76 คน รวมเป็น 144 คน เหตุที่เราต้องจำแนกออกมาเช่นนี้ โดยมองว่าเหตุที่ต้องแบ่งกลุ่มอาชีพออกมาเช่นนี้เพราะรายชื่อที่ถูกเสนอเข้ามานั้นค่อนข้างมีความหลากหลาย และเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณา” นายพิศิษฐ์ กล่าว
นายพิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร และประวัติของผู้ได้รับการเสนอว่าตรงตามคุณสมบัติที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ ซึ่งพบว่าหลายคนขาดคุณสมบัติ เพราะลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่ถึง 5 ปี รวมทั้งพบข้อมูลว่าบางคนถูกฟ้องล้มละลาย หรือบางคนอยู่ระหว่างดำเนินคดี บางคนก็มีความสัมพันธ์กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จะสรุปแผนงานเพื่อเสนอรายชื่อและการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ถูกเสนอในวันที่ 4 ก.พ. หลังจากนั้นก็จะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาฯ ชุดใหญ่ได้วันที่ 6 ก.พ.
รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังจากที่ได้ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการสรรหาการเป็น ส.ว.5 ชุด ประกอบด้วย ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคอื่นๆ พบว่า ทุกคณะอนุกรรมการฯ มีปัญหาในการตรวจสอบคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน แต่ที่เป็นปัญหามาก คือ ผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่เกิน 5 ปีและถูกเสนอชื่อซ้ำซ้อนจากหลายองค์กร
ขณะที่ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความจริงการกำหนดคุณสมบัติเช่นนี้ถือว่าค่อนข้างจะไปจำกัดสิทธิเกินไป เพราะเนื้อหาในรัฐธรรมนูญขัดกันเอง ซึ่งเข้าใจว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เขียนประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันการสภาผัวเมีย แต่การไปเขียนเข้มงวดเช่นนี้ ทำให้คนที่ลาออกจากพรรคการเมืองไม่ถึง 5 ปีขาดคุณสมบัติไป ทั้งๆ ที่บางครั้งอาจจะไม่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง เพราะขณะนี้มีผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองกว่า 20 ล้านคน ในขณะที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 45 ล้านคน แต่คนที่อายุเกิน 40 ปี และมีคุณสมบัติครบองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญก็มีอยู่ไม่มาก ดังนั้น ตรงนี้ตนจึงมองว่าประเด็นนี้ค่อนข้างจะเป็นปัญหา
“ผมมองว่าการสกัดไม่ให้วุฒิสภาเป็นสภาผัวเมียแล้วเขียนรัฐธรรมนูญออกมาเช่นนี้มีปัญหาตั้งแต่แรก ขณะนี้ก็เริ่มจะพบแล้วว่าเกิดปัญหาในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 50 มากขึ้น ซึ่งผมมองว่าการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น่าจะเป็นปัญหา แต่ในวันที่สมัคร ส.ว.ก็ไม่ควรเป็นสมาชิกพรรค เท่านั้นก็น่าจะเพียงพอ” นายปริญญา กล่าว
นายปริญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในช่วงที่คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ทั้ง 7 คนทำการคัดเลือก ส.ว.นั้น ตนคาดว่าจะเกิดคำถามถึงการใช้มาตรฐานในการคัดเลือก เพราะไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนว่าความเหมาะสมในการคัดเลือกของคณะกรรมการทั้ง 7 คนเป็นอย่างไร อีกทั้งจะเกิดปัญหาในภายหน้าได้ว่า กรรมการที่เป็นองค์กรตุลาการจะนำการเมืองเข้าสู่ศาล ซึ่งจะทำให้เสียระบบยุติธรรมได้” นายปริญญา กล่าว
วันนี้ (2 ก.พ.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหา ส.ว.ภาคองค์กรภาควิชาชีพ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้ประชุมมาแล้ว 6 ครั้ง โดยได้แบ่งกลุ่มสาขาอาชีพออกเป็น 13 กลุ่มอาชีพ
“โดยแยกเป็นแพทย์ สัตวแพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ครู ผู้สอบบัญชี นักการบัญชี นักจัดรายการ สื่อสารมวลชน ทั้ง 12 กลุ่มอาชีพนี้มีจำนวน 68 คน และกลุ่มอาชีพอื่นๆ อาทิ นักเขียน นักวิชาการ นักธุรกิจ เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งกลุ่มอาชีพนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 76 คน รวมเป็น 144 คน เหตุที่เราต้องจำแนกออกมาเช่นนี้ โดยมองว่าเหตุที่ต้องแบ่งกลุ่มอาชีพออกมาเช่นนี้เพราะรายชื่อที่ถูกเสนอเข้ามานั้นค่อนข้างมีความหลากหลาย และเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณา” นายพิศิษฐ์ กล่าว
นายพิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร และประวัติของผู้ได้รับการเสนอว่าตรงตามคุณสมบัติที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ ซึ่งพบว่าหลายคนขาดคุณสมบัติ เพราะลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่ถึง 5 ปี รวมทั้งพบข้อมูลว่าบางคนถูกฟ้องล้มละลาย หรือบางคนอยู่ระหว่างดำเนินคดี บางคนก็มีความสัมพันธ์กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ จะสรุปแผนงานเพื่อเสนอรายชื่อและการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ถูกเสนอในวันที่ 4 ก.พ. หลังจากนั้นก็จะสามารถเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาฯ ชุดใหญ่ได้วันที่ 6 ก.พ.
รายงานข่าวแจ้งว่า ภายหลังจากที่ได้ตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการสรรหาการเป็น ส.ว.5 ชุด ประกอบด้วย ภาคเอกชน ภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคอื่นๆ พบว่า ทุกคณะอนุกรรมการฯ มีปัญหาในการตรวจสอบคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน แต่ที่เป็นปัญหามาก คือ ผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่เกิน 5 ปีและถูกเสนอชื่อซ้ำซ้อนจากหลายองค์กร
ขณะที่ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความจริงการกำหนดคุณสมบัติเช่นนี้ถือว่าค่อนข้างจะไปจำกัดสิทธิเกินไป เพราะเนื้อหาในรัฐธรรมนูญขัดกันเอง ซึ่งเข้าใจว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เขียนประเด็นนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันการสภาผัวเมีย แต่การไปเขียนเข้มงวดเช่นนี้ ทำให้คนที่ลาออกจากพรรคการเมืองไม่ถึง 5 ปีขาดคุณสมบัติไป ทั้งๆ ที่บางครั้งอาจจะไม่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง เพราะขณะนี้มีผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองกว่า 20 ล้านคน ในขณะที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 45 ล้านคน แต่คนที่อายุเกิน 40 ปี และมีคุณสมบัติครบองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญก็มีอยู่ไม่มาก ดังนั้น ตรงนี้ตนจึงมองว่าประเด็นนี้ค่อนข้างจะเป็นปัญหา
“ผมมองว่าการสกัดไม่ให้วุฒิสภาเป็นสภาผัวเมียแล้วเขียนรัฐธรรมนูญออกมาเช่นนี้มีปัญหาตั้งแต่แรก ขณะนี้ก็เริ่มจะพบแล้วว่าเกิดปัญหาในการใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 50 มากขึ้น ซึ่งผมมองว่าการสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น่าจะเป็นปัญหา แต่ในวันที่สมัคร ส.ว.ก็ไม่ควรเป็นสมาชิกพรรค เท่านั้นก็น่าจะเพียงพอ” นายปริญญา กล่าว
นายปริญญา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ในช่วงที่คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ทั้ง 7 คนทำการคัดเลือก ส.ว.นั้น ตนคาดว่าจะเกิดคำถามถึงการใช้มาตรฐานในการคัดเลือก เพราะไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนว่าความเหมาะสมในการคัดเลือกของคณะกรรมการทั้ง 7 คนเป็นอย่างไร อีกทั้งจะเกิดปัญหาในภายหน้าได้ว่า กรรมการที่เป็นองค์กรตุลาการจะนำการเมืองเข้าสู่ศาล ซึ่งจะทำให้เสียระบบยุติธรรมได้” นายปริญญา กล่าว