เอเอฟพี/รอยเตอร์/ผู้จัดการรายวัน - หุ้นทั่วโลกยังคงกังวลใจไม่เลิก เรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังถลำลงสู่ภาวะถดถอย ทำให้แถบยุโรปและหลายตลาดในเอเชียวานนี้(23) ยังคงติดลบหรือขึ้นแดนบวกแบบระวังตัวมาก แม้เฟดประกาศลดดอกเบี้ยแบบเซอร์ไพรซ์รวดเดียว 0.75% ด้าน "จอร์จ โซรอส" เตือน วิกฤตคราวนี้ร้ายแรงที่สุดในรอบ 60 ปี ขณะที่ไอเอ็มเอฟประเมิน เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวอย่างหลีกหนีไม่พ้น ด้านหุ้นไทยก็เคลื่อนไหวผันผวนตลอดทั้งวัน โดยตอนเช้าบวกกว่า 18 จุด แต่ปิดตลาดติดลบ
บรรดานักวิเคราะห์พูดกันว่า การที่เฟดประกาศในวันอังคาร(22) ลดอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรตลงมาอยู่ที่ 3.5% ดูเหมือนจะทำให้ตลาดซึ่งกำลังปั่นป่วนมาก เกิดความสงบลงได้ในระยะสั้น ทว่ามาตรการนี้ก็ถูกมองด้วยว่าไม่อาจแก้ปัญหาระยะยาว โดยเฉพาะการช่วยประคับประคองให้เศรษฐกิจรอดพ้นภาวะถดถอย แถมยังอาจจะเคลื่อนไหวช้าเกินไปแล้วด้วย
"การฟื้นตัวของความกล้าเสี่ยง ภายหลังจากที่เฟดดอกเบี้ย ดูจะเป็นไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น" นีลส์ ฟรอม นักยุทธศาสตร์ด้านเงินตราแห่ง เดรสด์เนอร์ ไคลน์เวิร์ต ในแฟรงเฟิร์ต ให้ความเห็น
"หลังจากย่อยข่าวนี้แล้ว ตลาดต่างๆ ก็ได้ข้อสรุปว่า มันจะไม่แก้ปัญหาในเศรษฐกิจสหรัฐฯหรอก ..." เขากล่าวต่อ
ขณะที่ มาร์ติน สลานีย์ นักวิเคราะห์แห่ง จีเอฟที โกลบอล มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า "เราคาดหมายว่าอาการเหวี่ยงตัวอย่างเลวร้ายในทิศทางของตลาดยังจะเกิดขึ้นต่อไปอีก"
"โดยภาพรวมแล้ว ความเชื่อมั่นของตลาดมีอยู่ต่ำมาก การทะยานขึ้นทุกๆ ครั้งที่เราเห็นในช่วงหลังๆ มานี้ ต่างก็ตามมาด้วยการเทขาย ซึ่งเข้าสู่สัญญาณคลาสสิกที่ว่า เรากำลังเข้าไปในดินแดนตลาดหมีแล้ว ถ้าหากไม่ใช่ว่าเรากำลังอยู่ในนั้นแล้วนะ"
หลังจากความเคลื่อนไหวลดดอกเบี้ยของเฟด ในวันอังคาร หุ้นแถบยุโรปสามารถดีดตัวกลับไปปิดในแดนบวกได้เป็นแถว โดยลอนดอน +2.90% , ปารีส +2.07%, ทว่าแฟรงเฟิร์ตยังคง -0.31%
ทางด้านวอลล์สตรีทวันอังคาร ข่าวนี้เพียงช่วยให้ราคาหุ้นไม่ลงลึกนักในแดนสีแดงเถือก โดยจากตอนเปิดตลาดซึ่งติดลบกว่า 400 จุด ในตอนปิด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ก็เหลือ -128.11 จุด หรือ 1.06% อยู่ที่ 11,971.19 นับเป็นการปิดในระดับต่ำกว่า 12,000 จุดเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2006 ส่วนดัชนีหุ้นสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ 500 ก็ลดลง 1.11% และดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดแนสแดค หายไป 2.04%
ครั้นถึงเมื่อวานนี้ หุ้นเอเชียในช่วงเปิดต่างเริงร่าโลดลิ่ว ก่อนที่หลายตลาดจะชะลอตัวเมื่อเวลาผ่านไป จนถึงตอนปิด มีหลายตลาดที่ยังบวกแรงๆ โดยเฉพาะฮ่องกงซึ่งพุ่งทะยานขึ้นมาถึง 10.7% ส่วนหนึ่งเป็นการชดเชยการไหลรูดอย่างแรงถึง 8.7% ในวันอังคาร นอกจากนั้น สิงคโปร์ก็บวก 4.08% และจาการ์ตา บวก 7.9%, มุมไบ บวก 5.17%, และเซี่ยงไฮ้ บวก 3.14%
แต่สำหรับโตเกียวซึ่งช่วงเปิดตลาดบวกขึ้นมา 3.7% ถึงตอนปิดเหลือบวกอยู่ 2.04% โดยดีลเลอร์ชี้ว่า เนื่องจากการลดดอกเบี้ยของเฟด ได้ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หุ้นของบริษัทส่งออกญี่ปุ่นจึงถูกเทขาย
เช่นเดียวกับตลาดหุ้นซิดนีย์ที่ตอนเปิด ไต่ขึ้น 6.5% แต่ตอนปิดไหลลงเหลือ บวก 4.4% ขณะที่ไทเปนั้นปิดในแดนลบ ที่ 2.29%
ยิ่งในตลาดแถบยุโรปวานนี้ด้วยแล้ว สามารถอยู่ในแดนบวกได้เพียงช่วงต้นๆ ตลาดเท่านั้น จากนั้นก็พากันตกลงสู่แดนลบกันเป็นแถว โดยถึงตอนบ่าย ลอนดอน ลบอยู่ราว 2.77%, แฟรงเฟิร์ต ลบ 4.45%, และปารีส ลบเกือบ 4.00%
บรรดาดีลเลอร์บอกว่า การที่กลับทรุดลงมาเช่นนี้ เกิดขึ้นหลังจาก ฌอง-โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ไปกล่าวปราศรัยโดยย้ำว่า อีซีบียังคงยึดมั่นกับเรื่องการมุ่งสกัดกั้นอัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรโซน เขาบอกว่า ยิ่งในสถานการณ์อันยุ่งยากลำบากในปัจจุบันด้วยแล้ว การให้ยาขนานนี้ถือว่าดีที่สุดสำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวต่อไปทีเดียว
วิจารณ์เฟดแตกตื่นลดดอกเบี้ย
หลังจากการหั่นดอกเบี้ยลงถึง 0.75% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) บรรดานักวิเคราะห์ได้ออกมาวิจารณ์ว่า จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกาที่กำลังย่ำแย่ ทว่าไม่ถึงขั้นสามารถทำให้หลีกพ้นภาวะถดถอยได้อยู่ดี ขณะเดียวกัน ผู้รู้และสื่อทรงอิทธิพลหลายรายก็ข้องใจว่า เฟดออกมาตรการแบบฉุกเฉินคราวนี้ แสดงถึงการตกอยู่ใต้อิทธิพลความแตกตื่นของตลาดการเงินโดยแท้ รวมทั้งสะท้อนว่าประธาน เบน เบอร์นันกี ตามไม่ทันสถานการณ์
คีธ เฮมเบร หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ เฟิร์สต์ อเมริกัน ฟันด์ บอกว่า การลดดอกเบี้ยเช่นนี้เป็น "ความเคลื่อนไหวที่น่ายินดี" ทว่ายังไม่เพียงพอที่จะสกัดกั้นเบี่ยงเบนไม่ให้เศรษฐกิจถอยหลังลงได้
"คำทำนายของเราก็คือ เรายังน่าที่จะเจอภาวะถดถอย และเฟดจำเป็นต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริง (ภายหลังปรับลดอัตราเงินเฟ้อ) ของตนลงมาเหลือเท่ากับ 0" เขาบอกพร้อมกับแนะว่า เฟดฟันด์เรตควรจะลงมาเหลือราว 2.5% เท่านั้น
"นโยบายการเงินจะส่งผลต่อเศรษฐกิจได้ก็ต้องหลังจากผ่านช่วงเวลาไปพอสมควรแล้ว ดังนั้นนี่จึงจะไม่ได้ทำอะไรให้หลีกพ้นความลำบากทางเศรษฐกิจในปี 2008 ได้ แต่มันควรจะเป็นการตระเตรียมพื้นฐานสำหรับภาวะแวดล้อมอันดีเยี่ยมในปี 2009" เฮมเบรบอก
ทางด้าน เบอร์นาร์ด บาวโมห์ล กรรมการผู้จัดการแห่ง ดิ อีโคโนมิก เอาต์ลุค กรุ๊ป ก็เห็นว่า เฟดจะไม่สามารถสกัดกั้นการทรุดตัวซึ่งกำลังกระจายไปทั่วโลกได้
"สิ่งที่กำลังผลักดันเศรษฐกิจทั่วโลกไปสู่ภาวะถดถอย ... ก็คือการเสื่อมทรุดอย่างรวดเร็วของระบบการเงินโลก" เขาบอก "สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นในฐานะเป็นปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทซับไพรม์ในสหรัฐฯซึ่งสามารถควบคุมกันไว้ได้ เวลานี้ได้ระเบิดออกกลายเป็นสินเชื่อตึงตัวทั่วโลกอย่างเต็มเหนี่ยว และมันยังไม่มีสัญญาณใดๆ เลยที่แสดงให้เห็นว่ามันจะจบลงเมื่อใด"
สำหรับ นูเรียล รูบินี ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งทำนายมาหลายเดือนแล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยแน่ กล่าวให้ความเห็นว่า การทรุดตัวของตลาดการเงินแสดงให้เห็นว่า พวกนักลงทุนกำลังตื่นขึ้นมายอมรับปัญหาอันหนักหน่วงในสหรัฐฯและทั่วโลก
"ภาวะถดถอยของสหรัฐฯเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่ได้แล้ว และมันก็เริ่มต้นขึ้นมาแล้วด้วย ภาวะถดถอยคราวนี้จะน่าเกลียด ลงลึก และสาหัส จะสาหัสยิ่งกว่านักหนาเมื่อเปรียบกับภาวะถดถอยอ่อนๆ ระยะ 8 เดือนในปี 1990-91 และ 2001" รูบินีบอก
สำหรับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ชี้ว่า การตัดลดอย่างแรงๆ เช่นนี้สมเหตุสมผล ทว่าประธานเฟด เบน เบอร์นันกี กำลังเสี่ยงในการลงมือปฏิบัติที่เหมือนกับเป็นปฏิกิริยาสนองตอบตลาด
"จากการที่มันคือการหั่นลดแบบ 'ฉุกเฉิน' ซึ่งกระทำเพียง 1 สัปดาห์ก่อนจะมีการประชุมตามที่กำหนดไว้แล้ว จึงเป็นการเสี่ยงที่จะสร้างความประทับใจขึ้นมาว่า เฟดนั้นกำลังแตกตื่นตระหนก"
ขณะที่ วอลล์สตรีทเจอร์นัลกล่าวว่า การตัดรถดอกเบี้ยไม่ควรเป็นความพยายามที่จะปกปิดปัญหาอันแท้จริงในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อีกทั้งประธานเฟดก็ไม่ควรพยายามเอาอกเอาใจตลาดด้วย
"โซรอส"บอกวิกฤตร้ายสุดในรอบ 60 ปี
ทางด้าน จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินคนดังของโลก ได้เขียนบทความตีพิมพ์ในไฟแนนเชียลไทมส์ฉบับวานนี้ ระบุว่า วิกฤตการเงินในปัจจุบัน ถือเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 60 ปี เพราะ "วิกฤตในปัจจุบันเป็นหลักหมายแสดงถึงการสิ้นสุดของยุคแห่งการขยายตัวทางสินเชื่อที่อิงอาศัยเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศ" ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
เขายังทำนายด้วยว่า "ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในโลกพัฒนาแล้ว เวลานี้อย่างไรเสียก็คงเป็นสิ่งหลีกหนีไม่พ้น แต่สำหรับจีน, อินเดีย, และบางประเทศผู้ผลิตน้ำมัน กลับกำลังอยู่ในฐานะที่สามารถสวนกระแสได้อย่างเข้มแข็ง ดังนั้น วิกฤตทางการเงินในปัจจุบันจึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก แต่น่าจะทำให้เกิดการปรับตัวกันอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจระดับโลกมากกว่า โดยที่สหรัฐฯจะเสื่อมถอยลงโดยเปรียบเทียบ และจีนกับประเทศอื่นๆ ในโลกกำลังพัฒนาจะผงาดพุ่งขึ้น"
IMF ชี้เศรษฐกิจชะลอหนักทั่วโลกแน่
มาซูด อะห์เหม็ด โฆษกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวในวันอังคาร(22) ชื่นชมการตัดสินใจลดดอกเบี้ยของเฟด ว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์
เขาบอกว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ประสบภาวะอ่อนแอวูบวาบในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ตอกย้ำให้เห็นว่า ความผันผวนของตลาดการเงินกำลังทำให้ทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคตมีความยุ่งยากมากขึ้น
"ดังนั้น การที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างมากในปีนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และความเสี่ยงในแง่ลบยังคงมีอิทธิพลอยู่" โฆษกไอเอ็มเอฟ กล่าว
"ปกรณ์"ออกโรงเตือนรายย่อย
ด้าน ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (23 ม.ค.) ตลอดทั้งดัชนีเคลื่อนไหวอย่างผันผวน โดยช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 18 จุด แต่ดัชนีกลับปรับตัวลดลงปิดตลาดในช่วงเช้าติดลบ ก่อนที่จะมีแรงซื้อเข้ามาในช่วงบ่าย และกลับมีแรงเทขาออกมาอีกครั้งในช่วงก่อนปิดตลาด ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 740.65 จุด ลดลง 0.89 จุด หรือ 0.12% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 759.82 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 739.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 22,233.33 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,915.32 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,488.59 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 426.73 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นอย่างผันผวนในตลาดหุ้นภูมิภาคช่วงนี้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งเกิดจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นกับมาตรการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ
ทั้งนี้ แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงจากสิ้นปี 2550 ประมาณ 13% แต่ถือว่ายังมีเสถียรภาพมากกว่าตลาดหุ้นอีกหลายประเทศ โดยเชื่อว่าอีกไม่นานปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้เลวร้าย บวกกับการรีบาวน์ทางเทคนิคในหลายตลาด รวมทั้งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งน่าจะช่วยทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนมากขึ้น
"เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการลงทุน ขอให้นักลงทุนโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อยติดตามข้อมูลต่างๆอย่างใกล้ชิด และขอให้ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้เหตุผล โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้นนั้นๆ เป็นหลัก" นายปกรณ์ กล่าว
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า จากนี้ไปนักลงทุนต้องติดตามผลการแก้ไขปัญหาสินเชื่อภาคอสังริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ว่าจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้จะได้รับปัจจัยบวกจากการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเฟด 0.75% แต่ไม่มากนนัก ก่อนที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงในช่วงก่อนปิดตลาดเล็กน้อย
"ผมเชื่อว่าเฟดจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในช่วง 2-3 เดือนนี้ไม่ต่ำกว่า 0.5-1% ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาปี 2003 เฟดเคยลดอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 1% และส่วนตัวเชื่อว่าเฟดพร้อมที่จะใช้นโยบายทางด้านการเงินเพื่อที่จะมาบรรเทาปัญหาซับไพรม์และเศรษฐกิจ"
บรรดานักวิเคราะห์พูดกันว่า การที่เฟดประกาศในวันอังคาร(22) ลดอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรตลงมาอยู่ที่ 3.5% ดูเหมือนจะทำให้ตลาดซึ่งกำลังปั่นป่วนมาก เกิดความสงบลงได้ในระยะสั้น ทว่ามาตรการนี้ก็ถูกมองด้วยว่าไม่อาจแก้ปัญหาระยะยาว โดยเฉพาะการช่วยประคับประคองให้เศรษฐกิจรอดพ้นภาวะถดถอย แถมยังอาจจะเคลื่อนไหวช้าเกินไปแล้วด้วย
"การฟื้นตัวของความกล้าเสี่ยง ภายหลังจากที่เฟดดอกเบี้ย ดูจะเป็นไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น" นีลส์ ฟรอม นักยุทธศาสตร์ด้านเงินตราแห่ง เดรสด์เนอร์ ไคลน์เวิร์ต ในแฟรงเฟิร์ต ให้ความเห็น
"หลังจากย่อยข่าวนี้แล้ว ตลาดต่างๆ ก็ได้ข้อสรุปว่า มันจะไม่แก้ปัญหาในเศรษฐกิจสหรัฐฯหรอก ..." เขากล่าวต่อ
ขณะที่ มาร์ติน สลานีย์ นักวิเคราะห์แห่ง จีเอฟที โกลบอล มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า "เราคาดหมายว่าอาการเหวี่ยงตัวอย่างเลวร้ายในทิศทางของตลาดยังจะเกิดขึ้นต่อไปอีก"
"โดยภาพรวมแล้ว ความเชื่อมั่นของตลาดมีอยู่ต่ำมาก การทะยานขึ้นทุกๆ ครั้งที่เราเห็นในช่วงหลังๆ มานี้ ต่างก็ตามมาด้วยการเทขาย ซึ่งเข้าสู่สัญญาณคลาสสิกที่ว่า เรากำลังเข้าไปในดินแดนตลาดหมีแล้ว ถ้าหากไม่ใช่ว่าเรากำลังอยู่ในนั้นแล้วนะ"
หลังจากความเคลื่อนไหวลดดอกเบี้ยของเฟด ในวันอังคาร หุ้นแถบยุโรปสามารถดีดตัวกลับไปปิดในแดนบวกได้เป็นแถว โดยลอนดอน +2.90% , ปารีส +2.07%, ทว่าแฟรงเฟิร์ตยังคง -0.31%
ทางด้านวอลล์สตรีทวันอังคาร ข่าวนี้เพียงช่วยให้ราคาหุ้นไม่ลงลึกนักในแดนสีแดงเถือก โดยจากตอนเปิดตลาดซึ่งติดลบกว่า 400 จุด ในตอนปิด ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ก็เหลือ -128.11 จุด หรือ 1.06% อยู่ที่ 11,971.19 นับเป็นการปิดในระดับต่ำกว่า 12,000 จุดเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2006 ส่วนดัชนีหุ้นสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ 500 ก็ลดลง 1.11% และดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดแนสแดค หายไป 2.04%
ครั้นถึงเมื่อวานนี้ หุ้นเอเชียในช่วงเปิดต่างเริงร่าโลดลิ่ว ก่อนที่หลายตลาดจะชะลอตัวเมื่อเวลาผ่านไป จนถึงตอนปิด มีหลายตลาดที่ยังบวกแรงๆ โดยเฉพาะฮ่องกงซึ่งพุ่งทะยานขึ้นมาถึง 10.7% ส่วนหนึ่งเป็นการชดเชยการไหลรูดอย่างแรงถึง 8.7% ในวันอังคาร นอกจากนั้น สิงคโปร์ก็บวก 4.08% และจาการ์ตา บวก 7.9%, มุมไบ บวก 5.17%, และเซี่ยงไฮ้ บวก 3.14%
แต่สำหรับโตเกียวซึ่งช่วงเปิดตลาดบวกขึ้นมา 3.7% ถึงตอนปิดเหลือบวกอยู่ 2.04% โดยดีลเลอร์ชี้ว่า เนื่องจากการลดดอกเบี้ยของเฟด ได้ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินเยน หุ้นของบริษัทส่งออกญี่ปุ่นจึงถูกเทขาย
เช่นเดียวกับตลาดหุ้นซิดนีย์ที่ตอนเปิด ไต่ขึ้น 6.5% แต่ตอนปิดไหลลงเหลือ บวก 4.4% ขณะที่ไทเปนั้นปิดในแดนลบ ที่ 2.29%
ยิ่งในตลาดแถบยุโรปวานนี้ด้วยแล้ว สามารถอยู่ในแดนบวกได้เพียงช่วงต้นๆ ตลาดเท่านั้น จากนั้นก็พากันตกลงสู่แดนลบกันเป็นแถว โดยถึงตอนบ่าย ลอนดอน ลบอยู่ราว 2.77%, แฟรงเฟิร์ต ลบ 4.45%, และปารีส ลบเกือบ 4.00%
บรรดาดีลเลอร์บอกว่า การที่กลับทรุดลงมาเช่นนี้ เกิดขึ้นหลังจาก ฌอง-โคลด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ไปกล่าวปราศรัยโดยย้ำว่า อีซีบียังคงยึดมั่นกับเรื่องการมุ่งสกัดกั้นอัตราเงินเฟ้อของเขตยูโรโซน เขาบอกว่า ยิ่งในสถานการณ์อันยุ่งยากลำบากในปัจจุบันด้วยแล้ว การให้ยาขนานนี้ถือว่าดีที่สุดสำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวต่อไปทีเดียว
วิจารณ์เฟดแตกตื่นลดดอกเบี้ย
หลังจากการหั่นดอกเบี้ยลงถึง 0.75% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) บรรดานักวิเคราะห์ได้ออกมาวิจารณ์ว่า จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอเมริกาที่กำลังย่ำแย่ ทว่าไม่ถึงขั้นสามารถทำให้หลีกพ้นภาวะถดถอยได้อยู่ดี ขณะเดียวกัน ผู้รู้และสื่อทรงอิทธิพลหลายรายก็ข้องใจว่า เฟดออกมาตรการแบบฉุกเฉินคราวนี้ แสดงถึงการตกอยู่ใต้อิทธิพลความแตกตื่นของตลาดการเงินโดยแท้ รวมทั้งสะท้อนว่าประธาน เบน เบอร์นันกี ตามไม่ทันสถานการณ์
คีธ เฮมเบร หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ เฟิร์สต์ อเมริกัน ฟันด์ บอกว่า การลดดอกเบี้ยเช่นนี้เป็น "ความเคลื่อนไหวที่น่ายินดี" ทว่ายังไม่เพียงพอที่จะสกัดกั้นเบี่ยงเบนไม่ให้เศรษฐกิจถอยหลังลงได้
"คำทำนายของเราก็คือ เรายังน่าที่จะเจอภาวะถดถอย และเฟดจำเป็นต้องทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริง (ภายหลังปรับลดอัตราเงินเฟ้อ) ของตนลงมาเหลือเท่ากับ 0" เขาบอกพร้อมกับแนะว่า เฟดฟันด์เรตควรจะลงมาเหลือราว 2.5% เท่านั้น
"นโยบายการเงินจะส่งผลต่อเศรษฐกิจได้ก็ต้องหลังจากผ่านช่วงเวลาไปพอสมควรแล้ว ดังนั้นนี่จึงจะไม่ได้ทำอะไรให้หลีกพ้นความลำบากทางเศรษฐกิจในปี 2008 ได้ แต่มันควรจะเป็นการตระเตรียมพื้นฐานสำหรับภาวะแวดล้อมอันดีเยี่ยมในปี 2009" เฮมเบรบอก
ทางด้าน เบอร์นาร์ด บาวโมห์ล กรรมการผู้จัดการแห่ง ดิ อีโคโนมิก เอาต์ลุค กรุ๊ป ก็เห็นว่า เฟดจะไม่สามารถสกัดกั้นการทรุดตัวซึ่งกำลังกระจายไปทั่วโลกได้
"สิ่งที่กำลังผลักดันเศรษฐกิจทั่วโลกไปสู่ภาวะถดถอย ... ก็คือการเสื่อมทรุดอย่างรวดเร็วของระบบการเงินโลก" เขาบอก "สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นในฐานะเป็นปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทซับไพรม์ในสหรัฐฯซึ่งสามารถควบคุมกันไว้ได้ เวลานี้ได้ระเบิดออกกลายเป็นสินเชื่อตึงตัวทั่วโลกอย่างเต็มเหนี่ยว และมันยังไม่มีสัญญาณใดๆ เลยที่แสดงให้เห็นว่ามันจะจบลงเมื่อใด"
สำหรับ นูเรียล รูบินี ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ซึ่งทำนายมาหลายเดือนแล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยแน่ กล่าวให้ความเห็นว่า การทรุดตัวของตลาดการเงินแสดงให้เห็นว่า พวกนักลงทุนกำลังตื่นขึ้นมายอมรับปัญหาอันหนักหน่วงในสหรัฐฯและทั่วโลก
"ภาวะถดถอยของสหรัฐฯเป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่ได้แล้ว และมันก็เริ่มต้นขึ้นมาแล้วด้วย ภาวะถดถอยคราวนี้จะน่าเกลียด ลงลึก และสาหัส จะสาหัสยิ่งกว่านักหนาเมื่อเปรียบกับภาวะถดถอยอ่อนๆ ระยะ 8 เดือนในปี 1990-91 และ 2001" รูบินีบอก
สำหรับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ชี้ว่า การตัดลดอย่างแรงๆ เช่นนี้สมเหตุสมผล ทว่าประธานเฟด เบน เบอร์นันกี กำลังเสี่ยงในการลงมือปฏิบัติที่เหมือนกับเป็นปฏิกิริยาสนองตอบตลาด
"จากการที่มันคือการหั่นลดแบบ 'ฉุกเฉิน' ซึ่งกระทำเพียง 1 สัปดาห์ก่อนจะมีการประชุมตามที่กำหนดไว้แล้ว จึงเป็นการเสี่ยงที่จะสร้างความประทับใจขึ้นมาว่า เฟดนั้นกำลังแตกตื่นตระหนก"
ขณะที่ วอลล์สตรีทเจอร์นัลกล่าวว่า การตัดรถดอกเบี้ยไม่ควรเป็นความพยายามที่จะปกปิดปัญหาอันแท้จริงในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อีกทั้งประธานเฟดก็ไม่ควรพยายามเอาอกเอาใจตลาดด้วย
"โซรอส"บอกวิกฤตร้ายสุดในรอบ 60 ปี
ทางด้าน จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินคนดังของโลก ได้เขียนบทความตีพิมพ์ในไฟแนนเชียลไทมส์ฉบับวานนี้ ระบุว่า วิกฤตการเงินในปัจจุบัน ถือเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 60 ปี เพราะ "วิกฤตในปัจจุบันเป็นหลักหมายแสดงถึงการสิ้นสุดของยุคแห่งการขยายตัวทางสินเชื่อที่อิงอาศัยเงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินตราสำรองระหว่างประเทศ" ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
เขายังทำนายด้วยว่า "ถึงแม้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในโลกพัฒนาแล้ว เวลานี้อย่างไรเสียก็คงเป็นสิ่งหลีกหนีไม่พ้น แต่สำหรับจีน, อินเดีย, และบางประเทศผู้ผลิตน้ำมัน กลับกำลังอยู่ในฐานะที่สามารถสวนกระแสได้อย่างเข้มแข็ง ดังนั้น วิกฤตทางการเงินในปัจจุบันจึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก แต่น่าจะทำให้เกิดการปรับตัวกันอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจระดับโลกมากกว่า โดยที่สหรัฐฯจะเสื่อมถอยลงโดยเปรียบเทียบ และจีนกับประเทศอื่นๆ ในโลกกำลังพัฒนาจะผงาดพุ่งขึ้น"
IMF ชี้เศรษฐกิจชะลอหนักทั่วโลกแน่
มาซูด อะห์เหม็ด โฆษกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวในวันอังคาร(22) ชื่นชมการตัดสินใจลดดอกเบี้ยของเฟด ว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์
เขาบอกว่า การที่ตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ประสบภาวะอ่อนแอวูบวาบในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ตอกย้ำให้เห็นว่า ความผันผวนของตลาดการเงินกำลังทำให้ทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคตมีความยุ่งยากมากขึ้น
"ดังนั้น การที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างมากในปีนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และความเสี่ยงในแง่ลบยังคงมีอิทธิพลอยู่" โฆษกไอเอ็มเอฟ กล่าว
"ปกรณ์"ออกโรงเตือนรายย่อย
ด้าน ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (23 ม.ค.) ตลอดทั้งดัชนีเคลื่อนไหวอย่างผันผวน โดยช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 18 จุด แต่ดัชนีกลับปรับตัวลดลงปิดตลาดในช่วงเช้าติดลบ ก่อนที่จะมีแรงซื้อเข้ามาในช่วงบ่าย และกลับมีแรงเทขาออกมาอีกครั้งในช่วงก่อนปิดตลาด ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 740.65 จุด ลดลง 0.89 จุด หรือ 0.12% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 759.82 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 739.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 22,233.33 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,915.32 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,488.59 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 426.73 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นอย่างผันผวนในตลาดหุ้นภูมิภาคช่วงนี้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งเกิดจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นกับมาตรการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ
ทั้งนี้ แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงจากสิ้นปี 2550 ประมาณ 13% แต่ถือว่ายังมีเสถียรภาพมากกว่าตลาดหุ้นอีกหลายประเทศ โดยเชื่อว่าอีกไม่นานปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้เลวร้าย บวกกับการรีบาวน์ทางเทคนิคในหลายตลาด รวมทั้งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งน่าจะช่วยทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนมากขึ้น
"เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการลงทุน ขอให้นักลงทุนโดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อยติดตามข้อมูลต่างๆอย่างใกล้ชิด และขอให้ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้เหตุผล โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้นนั้นๆ เป็นหลัก" นายปกรณ์ กล่าว
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า จากนี้ไปนักลงทุนต้องติดตามผลการแก้ไขปัญหาสินเชื่อภาคอสังริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ว่าจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้จะได้รับปัจจัยบวกจากการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเฟด 0.75% แต่ไม่มากนนัก ก่อนที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงในช่วงก่อนปิดตลาดเล็กน้อย
"ผมเชื่อว่าเฟดจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในช่วง 2-3 เดือนนี้ไม่ต่ำกว่า 0.5-1% ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาปี 2003 เฟดเคยลดอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 1% และส่วนตัวเชื่อว่าเฟดพร้อมที่จะใช้นโยบายทางด้านการเงินเพื่อที่จะมาบรรเทาปัญหาซับไพรม์และเศรษฐกิจ"