ผู้จัดการรายวัน - "ทั่นยุทธ" หน้าแตกพาพวกแต่งตัวรอโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งประธานสภาเก้อ โพลชี้ "สมัคร" นั่งนายกฯอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี มีม็อบไล่แน่ "สมพงษ์"โวยถูกปล่อยข่าวไม่รับตำแหน่ง รมต. ยันอยากเป็นใจจะขาดแต่ไม่มีใครให้ ขณะที่ ส.ส.อีสานรวมพลกดดัน พปช.ขอเก้าอี้ รมต. ระบุเป็นเสียงส่วนใหญ่พรรค บอกได้"รมช.เกษตรฯ-รมช.คมนาคม-รมช.มหาดไทย" เหมาะสมที่สุด แฉ ส.ส.พปช. แห่ไปฮ่องกงขอเก้าอี้ "ทักษิณ" เพราะมีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจ "บรรหาร" ไม่ตอบโหวตให้ "ยงยุทธ"หรือไม่ ฟันธง ครม.ใหม่เสร็จหลังตรุษจีน ชี้ อัตราส่วนโควตา รมต.น่าจะ 5 ต่อ 1 หรือ 6 ต่อ 1 ไม่ใช่ 9 ต่อ 1 ตามที่ "หมอเลี้ยบ" เสนอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 ม.ค.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำรายชื่อ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนทน์ และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามขึ้นทูลเกล้าฯ หลังที่ประชุมสภาฯมีมติเลือกบุคคลทั้ง 3
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าเจ้าหน้าที่พรรคพลังประชาชนได้ประสานมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้ไปจัดสถานที่สำหรับการรับพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ซอยนวมินทร์ 81 ย่านบางกะปิ
ที่รัฐสภ วันเดียวกัน บริเวณหน้าห้องทำงานของว่าที่ประธานสภาฯ นายยงยุทธ ติยะไพรัช บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวนมาก มารวมตัวกัน เช่น ร.ต.ท.เชาวริน ลักษศักดิ์ศิริ นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ แต่งกายด้วยชุดชาวเพื่อร่วมพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ โดยตั้งแต่เช้าได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดเตรียมสถานที่เพื่อรอรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พร้อมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในรัฐสภา โดยมีการแจงให้สื่อมวลชนรับทราบเพื่อรายงานข่าวอย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่รอพระบรมราชโองการฯ นายยงยุทธมีอาการตื่นเต้น อย่างเห็นได้ชัด มีการเดินเข้าออกห้องทำงานตลดเวลา พร้อมกับโทรศัพท์ประสานไปยังทำเนียบรัฐบาลจนเมื่อเวลา 16.30 น.ได้รับแจ้งจาก ทางทำเนียบรัฐบาลฯว่ายังไม่มีการโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ ลงมาเนื่องจาก ได้ทูลเกล้าฯในช่วงบ่ายของวันที่ 23 ม.ค. ทำให้ ส.ส.ที่มาร่วมแสดงความยินดีกับนายยงยุทธ ต่างนำชุดสูทมาสวมทับ พร้อมแยกต่ายกันกลับ โดยได้นัดรวมตัวกันอีกครั้งเวลา 19.30 น. วันนี้ (24 ม.ค.)
"สมัคร"นั่งนายกฯรัฐบาลอยู่ได้ไม่เกิน1ปี
ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา ผอ.ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยรังสิต แถลงผลสำรวจความเห็นประชาชนในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด 1,410 คน ว่า ร้อยละ 44.33 คาดว่านายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน น่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ร้อยละ 21.06 คาดว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็นนายกฯ ร้อยละ 21.06 คาดว่านายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย จะได้เป็นนายกฯ
ส่วนอายุการบริหารประเทศ ประชาชนร้อยละ 24.18 เชื่อว่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี ร้อยละ 20.71 เชื่อว่าจะบริหารงานจนครบ 4 ปี และ ร้อยละ 18.5 เชื่อว่าจะอยู่ไม่เกิน 2 ปี
สำหรับผลสำรวจในเชิงลึกถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ เชื่อว่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี เพราจะมีม็อบกดดัน แต่เศรษฐกิจจะดีขึ้น โดยผลสำรวจระบุว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.65 คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะดี อีก 50.89 คิดว่าสภาพสังคมและการเมืองน่าจะแย่ลง และร้อยละ 59.59 คิดว่าอาจจะมีม็อบขับไล่ทำให้เกิดความวุ่นวาย
ส่วนถ้า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชนได้เป็นนายกฯ ประชาชนร้อยละ 52.54 เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น แต่สภาพสังคม และการเมืองน่าจะแย่ลง โดยร้อยละ 50.66 เชื่อว่า จะมีม็อบขับไล่ เช่นเดียวกับกรณีที่นายสมัคร
"สมพงษ์"โวยถูกปล่อยข่าวไม่รับรมต.
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานวิปรัฐบาลชั่วคราว กล่าวถึงข่าวที่ว่าจะไม่ขอรับตำแหน้งรัฐมนตรีเนื่องจากทำหน้าที่ประธานวิปรัฐบาลว่า ที่ยังไม่รับเพราะยังไม่มีคนให้ ถ้าให้ก็รับ ตนไม่ทราบว่าใครเจาะยางตน ความจริงรอโอกาสรอนานแล้ว
นายสมพงษ์ ยังกล่าวในฐานะวิปรัฐบาลว่า อยากเรียกร้องให้ ส.ส.ทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำงานในสภาและมีความปรองดองกัน หากทุกฝ่ายเอื้ออาทร อะลุ้มอะล่วยกันและกัน เรื่องต่อสู้ดุเดือด ในสภาฯ ก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นในการโหวตเลือกประธานสภาฯเมื่อวันที่ 22 ม.ค. พรรคประชาธิปัตย์แรงมา เราก็อ่อนโยนกลับไป
ส่วนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น คงไม่จำเป็นให้ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องแสดงวิสัยทัศน์ เพราะส.ส.480 คนในสภาแน่ทุกคนคือหมาย ถึงเก่งกาจทุกคนและที่ผ่านมาไม่เคยมีประเพณีปฏิบัติมาก่อน
ส.ส.อีสานบี้พปช.ให้ตำแหน่งรมต.
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลง โควตารัฐมนตรีของ ส.ส.ภาคอีสานนั้นจะต้องมีตามสัดสวนที่เหมาะสม มิเช่นนั้นจะตอบคำามสังคมในภาคอีสานไม่ได้ เนื่องจากภาคอีสาน ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.เข้ามามากที่สุด ถ้าหากรัฐมนตรีไปอยู่ที่อื่นหมดแล้วจะตอบกับชาวบ้านในอีสานอย่างไร
ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ในการพิจารณาจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีนั้นผู้บริหารพรรคควรคำนึงถึงจำนวน ส.ส. ภาคอีสาน ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างล้นหลาม เพื่อพรรคจะได้สร้างงานการเมือง ให้เป็นประโยชน์กับประชาชน ฉะนั้นครั้งนี้จะเป็นโอกาสดีเพื่อพัฒนาพื้นที่อีสาน ให้สอดคล้องกับการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ ซึ่งก่อนการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง ส.ส.อีสานได้หารือเรื่องนี้ตลอด จึงเชื่อว่า ผู้บริหารพรรคจะพิจารณาเพื่อให้เป็นหน้า เป็นตากับตัวแทนอีสาน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะสร้างความภาคภูมิใจได้ ส่วนจะได้กี่ที่นั่งนั้น ส.ส.อีสานไม่ได้สนใจ แต่ยืนยันว่า บุคลากรที่มีอยู่ไม่ได้เป็นสองรองใคร ซึ่ง ครม.ชุดใหม่ควรผสมผสานกันระหว่างมืออาชีพ และ ตัวแทนจากในพื้นที่เลือกตั้งอย่างเหมาะสม
นัดชุมนุมกดดันเป็นระยะ
รายงานข่าวจากกลุ่ม ส.ส.อีสาน พรรคพลังประชาชนว่า ขณะนี้ได้มีการนัดประชุมกันเป็นระยะถึงโควตารัฐมนตรีที่กลุ่ม ส.ส.อีสานที่ควรจะได้รับ โดยเชื่อว่า พรรคจะพิจารณาให้ตำแหน่งรัฐมนตรีมากกว่าเดิม แต่คงไม่มากตามโควตาที่ เลขาธิการพรรคระบุไว้ว่า 9 ส.ส. ต่อ 1 ตำแหน่งเนื่องจากรัฐบาลใหม่ต้องมีรัฐมนตรีที่มีหน้าตาพอสมควร
อย่างไรก็ตาม จากท่าทีของพรรคที่ลงมติเลือกประธานสภาฯและรองประธานสภาฯ ที่ออกมาแสดงว่า พรรคฟังเสียงส.ส.มากกว่าสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย โดยบุคคลที่เหมาะสม คือ นายศรีเมือง เจริญศิริ นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ นายไพจิต ศรีวรขาน นพ.ประสงค์ บรูณพงศ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี ในโควตานายเนวิน ชิดชอบ นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา ซึ่งมี น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ น้องสาว เป็น ส.ส.ชัยภูมิ เป็นต้น
สำหรับกระทรวงที่เห็นว่า เหมาะสมนั้นเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น รมช.เกษตร รมช.คมนาคม รมช.มหาดไทย เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้โควต้ารัฐมนตรีตามที่ ส.ส อีสาน เสนอมา ก็จะเสนอให้พรรคพิจารณาจัดสรรตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาให้กับ ส.ส.อีสาน อย่างสมน้ำสมเนื้อ
นอกจากนี้ในส่วนของ ส.ส.ภาคเหนือ ได้หารือถึงโควตาประธานกรรมาธิการ สามัญประจำสภาเช่นกัน โดยเห็นว่า ควรจะสลับเปลี่ยนในการดำรงตำแหน่งคนละ 1-2 ปี เพื่อความเท่าเทียมกันด้วย
ส.ส.พปช.วิ่งเข้าหา"แม้ว"ขอตำแหน่ว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าที่ผ่านมา ส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวนมาก ได้เดินทางไปยังฮ่องกง เพื่อพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อวิ่งเต้น ขอตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมือง เพราะรู้ดีว่า ผู้ที่จะตัดสินใจสูงสุดในพรรคพลังประชาชนคือ พ.ต.ท.ทักษิณ หากมัวแต่วิ่งเข้าหาแกนนำพรรคในปัจจุบันเพื่อขอตำแหน่ งอาจไม่ได้รับการพิจารณา แต่หากไปขอกับ พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะมีโอกาสได้รับตำแหน่งมากที่สุด
มั่นใจโหวตนายกฯเปิดเผยไม่ถูกเบี้ยว
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ในฐานะคณะทำงาน ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงข้อกังวลในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเสียงพรรคร่วมรัฐบาลอาจจะแตกว่า ขั้นตอนการโหวตเลือกประธานสภาฯกับ นายกรัฐมนตรีแตกต่างกัน การเลือกนายกฯเป็นการโหวตเปิดเผย โดยมีชื่อสมาชิกเสนอชื่อมีผู้รังรอบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด จึงไม่น่าเป็นปัญหา จากนั้นจึงนำรายชื่อ ของผู้ที่ได้เลือกนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยมีประธานสภาฯเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ส่วนที่พรรคร่วมรัฐบาลเสียงแตกในการเลือกประธานสภาฯนั้นเพราะต้องการแสดงบทบาทและบารมีใช่หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากวิจารณ์เพราะเป็นเรื่องภายในของแต่ละพรรคที่ไม่ลงตัว ส่วนจะมีจุดประสงค์อะไรหรือต้องการต่อรอง เก้าอี้รัฐมนตรีหรือไม่ตนไม่ขอออกความเห็น
"ถ้าการประชุมโหวตเลือกนายกฯไม่กระทำขัดรัฐธรรมนูญที่ให้โหวต อย่างเปิดเผย เชื่อว่าเหตุการณ์ลักษณะเดียวกับการเลือกประธานสภาฯคงไม่เกิดขึ้น"
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า มั่นใจหรือไม่ว่าสมาชิกจะสนับสนุนทั้ง 315 เสียง นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูว่ามีสมาชิกมาร่วมประชุมเท่าไหร่ ซึ่งในภาพรวมตนเชื่อว่าจะไม่มีเสียงแตก
"เติ้ง"ให้คิดเองโหวตให้"ยงยุทธ"หรือไม่
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าการที่ คมช.ประกาศยุติบทบาทถือเป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะตอนนี้เปิดรัฐสภาและเลือกประธานสภาและรองประธานสภาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะมีการเลือกนายกฯและตั้งครม. ซึ่งไม่ใช่แต่ คมช. แม้แต่รัฐบาลก็ประกาศว่ามีการประชุมครม.นัดสุดท้ายแล้ว คิดว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เชื่อว่าทุกอย่างน่าจะเรียบร้อย เพราะมีรัฐบาลแล้ว
ส่วนเสียงการลงมติเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ของพรรคร่วมรัฐบาลมีแตกไปลงให้ฝ่ายค้านนั้น นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะมีการลงคะแนนลับ ตอบไม่ได้ แต่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.แต่ละคน อย่าไปคิดอะไรมากเลย
ส่วนที่วิจารณ์กันว่าเป็นเสียงของนายบรรหารด้วยเสียงหนึ่ง นายบรรหาร ก หัวเราะก่อนจะกล่าวว่า คิดเอาเองก็แล้วกัน ส่วนทำไมต้องพุ่งเป้ามาที่ตนนั้น ตนไม่รู้ตอบไม่ได้ เมื่อถามว่าพรรคพลังประชาชนระบุว่าเป็นการต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ตอบ ไม่มีความเห็น
ชท.ชี้สูตรรมต.ควรเป็น5ต่อ1
ส่วนที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน ระบุว่าครม.เริ่มลงตัวแล้วใช้สูตร 9 ต่อ 1 พรรคชาติไทยได้รับทราบเรื่องสัดส่วนบ้างหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ยังต้องมีการเสนอชื่อคนเป็นนายกฯก่อน และเมื่อได้ตัวนายกฯจึงค่อยมาดูกันว่าพรรคไหนจะได้กี่ที่นั่งอะไรบ้าง ตอนนี้ยังไม่มี ยังไม่ได้คุยกัน ทางพรรคชาติไทยก็ยังไม่รู้ว่าได้นั่งกระทรวงใดบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคชาติไทยแจ้งความจำนงไปหรือไม่ว่าต้องการดูแลกระทรวงด้านใดบ้าง เช่น สังคม การศึกษา นายบรรหาร กล่าวว่า เขายังไม่ได้บอกเรามา เราก็ยังไม่ได้แจ้ง เพราะเมื่อมีตัวนายกฯแล้ว เราก็ต้องบอกเขาไปว่าจะเอาอะไรบ้าง แล้วก็ดูอัตราส่วน อาจจะ 5 ต่อ 1 หรือ 6 ต่อ 1 ส่วนพรรคชาติไทยจะได้กระทรวงใดบ้าง เมื่อถึงเวลาค่อยว่ากันอีกครั้ง และเมื่อแต่ละพรรคทราบว่าจะได้ดูแลกระทรวงใดบ้าง ค่อยเสนอชื่อตัวบุคคลเข้าไป
"ต้องรู้ก่อนว่าเขาให้เรากี่ตำแหน่งแล้วเราค่อยขอไปว่าจะมีกระทรวงใดบ้าง แล้วจะชนกับพรรคอื่นบ้างหรือเปล่า ถ้าชนก็ต้องหารือกันก่อนว่าจะพอหลีกกันได้หรือไม่ ต้องเกี้ยเซี้ยะกันยังมีเวลา ที่สำคัญคือต้องมีนายกฯก่อน แต่ในใจผมไม่ได้คิดว่าจะไปดูกระทรวงไหน เพราะทำงานได้ทุกกระทรวง ให้กระทรวงอะไรก็ทำได้หมด ส่วนจะได้กระทรวงที่ถนัดหรือไม่ค่อยว่าอีกที ยังตอบไม่ได้ สำหรับข่าวที่ลงชื่อว่าคนในพรรค ได้นั่งกระทรวงนั้น กระทรวงนี้ ผิดหมดถ้าเกิดไปลงชื่อแล้วถ้าเกิดเขาไม่ได้เป็นเขาก็จะเสียใจแย่"
ฟันธงตั้งครม.เสร็จหลังตรุษจีน
นายบรรหาร ไม่เชื่อว่าจะประชุม ครม.นัดแรกในวันที่ 29 ม.ค. เพราะเมื่อ โปรดเกล้าฯประธานสภาฯแล้ว ประธานสภาฯต้องเรียกประชุมเพื่อคัดเลือกตัวนายกฯ จากนั้นนายกฯจึงฟอร์ม ครม. เมื่อฟอร์มเสร็จจึงเข้าถวายสัตย์ปฎิญาณตน จากนั้นจึงจะมีการประชุม ครม.นัดแรก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นหลังตรุษจีน ยังมีเวลา ไปตรุษจีนกันก่อนก็ทัน ซึ่งในวันที่ 7 ก.พ.นี้ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีก็จัดงานตรุษจีนเช่นกัน และตนก็จะเดินทางไปร่วมงานด้วย
"จองชัย"ปัดขัดแย่ง"ประภัตร"
ด้าน นายจองชัย เที่ยงธรรม รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวปฏิเสธข่าวความขัดแย้งกับนายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทยในตำแหน่งรัฐมนตรีว่า ตนไม่เคยมีปัญหาขัดแย้งกับนายประภัตร ซึ่งเราก็อยู่จังหวัดเดียวกัน ยืนยันว่าพรรคชาติไทยไม่มีกลุ่มหรือตั้งกลุ่มเพื่อที่จะต่อรองตำแหน่งใดๆอยู่ที่การตัดสินใจของนายบรรหาร และการได้เป็นรัฐมนตรี 2 ครั้งที่ผ่านมาหัวหน้าพรรคชาติไทยก็ให้ความเมตตา ตนไม่เคยต่อล้อต่อเถียงเพื่อต่อรองตำแหน่ง และระมัดระวังไม่อยากให้หัวหน้าเกิดความไม่สบายใจ ไม่เช่นนั้นท่านจะเครียด จึงขอความเป็นธรรมให้ท่านด้วย
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าได้มีการพูดคุยกับสมาชิกในพรรค ซึ่งเป็นเพียงการรับประทานอาหารร่วมกัน และไม่ใช่เฉพาะส.ส.ในพรรค ส.ส.พรรคอื่นก็ได้มาร่วมรับประทานอาหารและพูดคุยกันอยู่บ่อยครั้ง มีแต่ตั้งคำถามว่าทำไมพรรคเราได้น้อยและคุยว่าจะพัฒนาพรรคกันอย่างไร
ส่วนที่มีชื่อตนจะได้เป็นรัฐมนตรีก็แล้วแต่ท่านหัวหน้าพรรคจะตัดสินใจ ถ้าได้ก็ถือว่าเป็นโชควาสนา ยืนยันว่าตนไม่เคยไปต่อรองในเรื่องตำแหน่งใดๆทั้งสิ้น
พปช.โต้"ชวน"ให้ไปสอน"อภิสิทธิ์"
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงถึงกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนปิดประชุมว่า พรรคพลังประชาชนไม่ควรเตรียมการประชุมก่อนมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ขณะนี้นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ออกมาพูดย้ำอีกทำให้เกิดความสับสน จึงอยากชี้แจงว่า นายชวน หยิบเรื่องมาพูดทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่มีใครชี้แจง ขอยืนยันว่ากระบวนการดังกล่าว นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชนรู้ขั้นตอนว่าสิ่งใดสมควรทำ และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้าก่อนมีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรลงมา ไม่มีใครจะไปก้าวก่ายอย่างแน่นอน
ร.ท.กุเทพ ระบุว่า สิ่งที่นายชวนพูดเหมือนเป็นการตีปลาหน้าไซ เป็นสิ่งที่ ไม่เหมาะสม หากลูกพรรคไม่ไปขยายต่อก็ไม่มีปัญหา จึงอยากเสนอนายชวนว่า ควรจะไปสอนหัวหน้าพรรคตัวเองที่เคยขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานจนได้ฉายา มาร์ค ม.7 และการที่พรรคประชาธิปัตย์พูดถึงเสียงสนับสนุน 3 เสียงจากรัฐบาลในการเลือก ประธานสภาฯนั้น อยากให้เล่นเกมในสภา เพราะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ไม่อยากให้นำ เรื่องเล็กน้อยมาเอาเปรียบคนอื่น
"ยอมรับว่าต้องมีการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งคณะรัฐบาล เราไม่ได้มุ่งหวังว่าทุกคนจะมาสนับสนุนทั้งหมด เพราะเป็นเอกสิทธิ์ในการตัดสินใจ และเชื่อมั่นว่าในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะไม่มีปัญหา เพราะเป็นการออกเสียงอย่างเปิดเผย"
สำหรับการตั้งคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาลชั่วคราวนั้น ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ขณะนี้นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ยังเป็นประธานวิปชั่วคราว เป็นเพียงการเตรียมการขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะมีการเลือกวิปรัฐบาลอีกครั้งหลังจากที่มีการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสร็จสิ้นแล้ว
มั่นใจ"หมอเลี้ยบ"เป็นขุนคลังได้
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า ไม่มีใครต้องการจะร่วมสังฆกรรมกับ พรรคพลังประชาชนจนทำให้การสรรหาตัวรมว.คลังไม่ลงตัวนั้น ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีอคติ ที่ระบุว่าหาใครไม่ได้จึงให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการ พรรคพลังประชาชนมารับตำแหน่ง ยืนยันว่า นพ.สุรพงษ์มีความสามารถ มีความคิด เรื่องนโยบายที่ดี สามารถที่จะอยู่ในตำแหน่งใดก็ได้ อีกทั้งพรรคพลังประชาชนก็ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ ฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์อย่าด่วนสรุป รวมทั้งมีข้อจำกัดในข้อกฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรง ทำให้ผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวต้องคิด ให้ถี่ถ้วน และการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ เพราะพรรคพลังประชาชนจะมาเป็นผู้บริหารบ้านเมือง
แค่แนะให้ความสำคัญพระราชโองการ
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงท่าทีของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ว่าที่ประธานสภาผู้แทนราษฏรคนใหม่ ว่า ยังวิจารณ์อะไรไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เพียงแต่เรื่องเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมาตนได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลชุดนี้ ได้มองข้ามความสำคัญของพระราชโองการฯ จึงได้สั่งการไปก่อนที่จะมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธาน และรองประธานรัฐสภาฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด แต่ครั้งนั้นตนเข้าใจว่าเป็นความฮึกเฮิม ที่เห็นเรื่องของตัวเอง เห็นฤกษ์งามของตนสำคัญกว่าพระบรมราชโองการ
อย่างไรก็ตามเชื่อว่ารัฐสภาชุดนี้จะไม่ทำอีกแต่เรื่องในที่ประชุม ไม่เกี่ยวกับเรื่องของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เพราะเป็นเรื่องของรัฐบาล ที่เอาฤกษ์งามของตนสำคัญกว่าการให้ความสำคัญกว่าที่พระมหากษัตริย์จะลงพระปรมาภิไธย ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรอง 75 ปี และหวังว่าครั้งนี้จะไม่มีแล้ว เพราะเขายอมรับแล้วว่าจะไม่ทำเช่นนั้น
เชื่อปธ.สภาไม่ครอบงำสภาไร้ปัญหา
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำงานในสภา ที่จะทำให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าทั้งหมดอยู่ที่หลักคิด ในการปฏิบัติหน้าที่คือ งานฝ่ายนิติบัญญัติต้องทำงานให้เป็นไปตามเจตารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นถ้าประธานสภาฯวางตัวเป็นกลาง และไม่ได้มีวาระทางการเมือง ไม่มีการครอบงำจากพรรคการเมืองหรือจากที่ไหนก็ตาม คิดว่าโอกาสที่จะสร้างความสมานฉันท์ในการทำงานในสภาก็เป็นได้ แต่ถ้าหากยังถูกครบงำอยู่ ยังกลัวการตรวจสอบ และยังคิดว่าต้องเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารก็เกิดความสมานฉันท์ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องติดตามดูต่อไปว่า การปฏิบัติหน้าที่ใช้หลักคิดอะไร และคงเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น ตั้งแต่เรื่องการทำงานของกรรมาธิการว่าจะให้บทบาทกับฝ่าย ต่างๆ อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมอย่างไรหรือไม่ ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวชี้วัดเป็นตัวแรก
"ประธานและรองประธานสภาฯ เมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ก็ต้องเข้าใจบทบาท ของฝ่ายนิติบัญญัติ และที่รัฐธรรมนูญให้ออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค ก็เพราะต้องการให้วางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริง และให้การทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติสมประโยชน์ และกระบวนการของการเริ่มต้นให้ยึดความถูกต้อง"
ส่วน การทำงานในกรรมาธิการชุดต่างๆ จะต้องทำให้เกิดความเรียบร้อย และเป็นธรรม ที่ผ่านมามีปัญหา เพราะฝ่ายบริหารเข้ามาแทรกแซงเนื่องจากกลัวการ ตรวจสอบ หากจัดสรรรกันตามสัดส่วน และมีวิธีการตกลงกันได้อยู่แล้ว ตนเชื่อว่าส.ส. ด้วยกันเองพูดกันรู้เรื่อง อย่าให้มีธงจากข้างนอกเข้ามาแทรกแซงก็แล้วกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากการประชุมเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมามีการอ้างความ ปรองดองค่อนข้างมากเป็นห่วงหรือไม่ว่า จะนำความปรองดองมาอ้างหากถูก ตรวจสอบ หัวหน้าพรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ถ้าอ้างให้ถูกก็ไม่เป็นไร การตรวจสอบไม่ได้แปลว่าไม่ปรองดอง แต่ต้องตรวจสอบบนเหตุผลและข้อเท็จจริง และทุกคนต้องเคารพข้อบังคับกติกากฎหมาย ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีปัญหากับความปรองดอง และตนเห็นว่าตัวอย่างที่ดีของการประชุมสภาเมื่อวันที่ 22 ม.ค.คือ เมื่อมีการทักท้วงในเรื่องของการลงคะแนนที่ไม่เป็นความลับ และฝ่ายเสียงข้างมาก บอกว่ามีเหตุมีผลอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าเราใช้เหตุ ใช้ผลกัน
ส่วนที่มีเสียงมาเพิ่มให้กับพรรคประชาธิปัตย์ในการโหวตเลือกประธานและรองประธานสภานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องของบุคคล อีกส่วนคิดว่าทางพรรครัฐบาลคงต้องไปพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในส่วนของเขาเอง ส่วนจะมีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น เห็นว่าการลงคะแนนเลือกนายกฯ ถ้ามีก็เป็นการลงคะแนนแบบเปิดเผย ไม่เหมือนกันการเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ที่เป็นการลงคะแนนลับ ซึ่งก็อยู่ที่ สมาชิกแต่ละคน แต่แน่นอนว่าการลงคะแนนเปิดเผยใครที่ลงคะแนนไม่เหมือนกับเพื่อนก็คงจะถูกจับตาเป็นพิเศษ
แนะพปช.เร่วโชว์วิสัยทัศน์แก้เศรษฐกิจ
นายอภิสิทธิ์ยังเรียกร้องให้พรรคพลังประชาชนในฐานะแกนนำรัฐบาลมีท่าทีชัดเจนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ เพราะประชาชนคาดหวังว่าจะมีรัฐบาลมาแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ยังมองไม่เห็นว่า รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ และไม่ช่วยเร่งความเชื่อมั่น
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากเป็นนพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน มาเป็นรมว.คลัง จะสร้างความเชื่อมั่นได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าว ตนไม่ขอวิจารณ์ตัวบุคคล หากยังไม่เรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 ม.ค.) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้นำรายชื่อ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนทน์ และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามขึ้นทูลเกล้าฯ หลังที่ประชุมสภาฯมีมติเลือกบุคคลทั้ง 3
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าเจ้าหน้าที่พรรคพลังประชาชนได้ประสานมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อขอให้ไปจัดสถานที่สำหรับการรับพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ที่บ้านพักนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ซอยนวมินทร์ 81 ย่านบางกะปิ
ที่รัฐสภ วันเดียวกัน บริเวณหน้าห้องทำงานของว่าที่ประธานสภาฯ นายยงยุทธ ติยะไพรัช บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวนมาก มารวมตัวกัน เช่น ร.ต.ท.เชาวริน ลักษศักดิ์ศิริ นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ แต่งกายด้วยชุดชาวเพื่อร่วมพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ โดยตั้งแต่เช้าได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่จัดเตรียมสถานที่เพื่อรอรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พร้อมพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในรัฐสภา โดยมีการแจงให้สื่อมวลชนรับทราบเพื่อรายงานข่าวอย่างใกล้ชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่รอพระบรมราชโองการฯ นายยงยุทธมีอาการตื่นเต้น อย่างเห็นได้ชัด มีการเดินเข้าออกห้องทำงานตลดเวลา พร้อมกับโทรศัพท์ประสานไปยังทำเนียบรัฐบาลจนเมื่อเวลา 16.30 น.ได้รับแจ้งจาก ทางทำเนียบรัฐบาลฯว่ายังไม่มีการโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ ลงมาเนื่องจาก ได้ทูลเกล้าฯในช่วงบ่ายของวันที่ 23 ม.ค. ทำให้ ส.ส.ที่มาร่วมแสดงความยินดีกับนายยงยุทธ ต่างนำชุดสูทมาสวมทับ พร้อมแยกต่ายกันกลับ โดยได้นัดรวมตัวกันอีกครั้งเวลา 19.30 น. วันนี้ (24 ม.ค.)
"สมัคร"นั่งนายกฯรัฐบาลอยู่ได้ไม่เกิน1ปี
ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา ผอ.ศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงบูรณาการ มหาวิทยาลัยรังสิต แถลงผลสำรวจความเห็นประชาชนในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด 1,410 คน ว่า ร้อยละ 44.33 คาดว่านายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน น่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ร้อยละ 21.06 คาดว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็นนายกฯ ร้อยละ 21.06 คาดว่านายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย จะได้เป็นนายกฯ
ส่วนอายุการบริหารประเทศ ประชาชนร้อยละ 24.18 เชื่อว่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี ร้อยละ 20.71 เชื่อว่าจะบริหารงานจนครบ 4 ปี และ ร้อยละ 18.5 เชื่อว่าจะอยู่ไม่เกิน 2 ปี
สำหรับผลสำรวจในเชิงลึกถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนใหญ่ เชื่อว่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี เพราจะมีม็อบกดดัน แต่เศรษฐกิจจะดีขึ้น โดยผลสำรวจระบุว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.65 คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะดี อีก 50.89 คิดว่าสภาพสังคมและการเมืองน่าจะแย่ลง และร้อยละ 59.59 คิดว่าอาจจะมีม็อบขับไล่ทำให้เกิดความวุ่นวาย
ส่วนถ้า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชนได้เป็นนายกฯ ประชาชนร้อยละ 52.54 เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น แต่สภาพสังคม และการเมืองน่าจะแย่ลง โดยร้อยละ 50.66 เชื่อว่า จะมีม็อบขับไล่ เช่นเดียวกับกรณีที่นายสมัคร
"สมพงษ์"โวยถูกปล่อยข่าวไม่รับรมต.
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานวิปรัฐบาลชั่วคราว กล่าวถึงข่าวที่ว่าจะไม่ขอรับตำแหน้งรัฐมนตรีเนื่องจากทำหน้าที่ประธานวิปรัฐบาลว่า ที่ยังไม่รับเพราะยังไม่มีคนให้ ถ้าให้ก็รับ ตนไม่ทราบว่าใครเจาะยางตน ความจริงรอโอกาสรอนานแล้ว
นายสมพงษ์ ยังกล่าวในฐานะวิปรัฐบาลว่า อยากเรียกร้องให้ ส.ส.ทุกคน ให้ความร่วมมือในการทำงานในสภาและมีความปรองดองกัน หากทุกฝ่ายเอื้ออาทร อะลุ้มอะล่วยกันและกัน เรื่องต่อสู้ดุเดือด ในสภาฯ ก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นในการโหวตเลือกประธานสภาฯเมื่อวันที่ 22 ม.ค. พรรคประชาธิปัตย์แรงมา เราก็อ่อนโยนกลับไป
ส่วนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น คงไม่จำเป็นให้ผู้ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องแสดงวิสัยทัศน์ เพราะส.ส.480 คนในสภาแน่ทุกคนคือหมาย ถึงเก่งกาจทุกคนและที่ผ่านมาไม่เคยมีประเพณีปฏิบัติมาก่อน
ส.ส.อีสานบี้พปช.ให้ตำแหน่งรมต.
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลง โควตารัฐมนตรีของ ส.ส.ภาคอีสานนั้นจะต้องมีตามสัดสวนที่เหมาะสม มิเช่นนั้นจะตอบคำามสังคมในภาคอีสานไม่ได้ เนื่องจากภาคอีสาน ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.เข้ามามากที่สุด ถ้าหากรัฐมนตรีไปอยู่ที่อื่นหมดแล้วจะตอบกับชาวบ้านในอีสานอย่างไร
ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ในการพิจารณาจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีนั้นผู้บริหารพรรคควรคำนึงถึงจำนวน ส.ส. ภาคอีสาน ที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างล้นหลาม เพื่อพรรคจะได้สร้างงานการเมือง ให้เป็นประโยชน์กับประชาชน ฉะนั้นครั้งนี้จะเป็นโอกาสดีเพื่อพัฒนาพื้นที่อีสาน ให้สอดคล้องกับการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ ซึ่งก่อนการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง ส.ส.อีสานได้หารือเรื่องนี้ตลอด จึงเชื่อว่า ผู้บริหารพรรคจะพิจารณาเพื่อให้เป็นหน้า เป็นตากับตัวแทนอีสาน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะสร้างความภาคภูมิใจได้ ส่วนจะได้กี่ที่นั่งนั้น ส.ส.อีสานไม่ได้สนใจ แต่ยืนยันว่า บุคลากรที่มีอยู่ไม่ได้เป็นสองรองใคร ซึ่ง ครม.ชุดใหม่ควรผสมผสานกันระหว่างมืออาชีพ และ ตัวแทนจากในพื้นที่เลือกตั้งอย่างเหมาะสม
นัดชุมนุมกดดันเป็นระยะ
รายงานข่าวจากกลุ่ม ส.ส.อีสาน พรรคพลังประชาชนว่า ขณะนี้ได้มีการนัดประชุมกันเป็นระยะถึงโควตารัฐมนตรีที่กลุ่ม ส.ส.อีสานที่ควรจะได้รับ โดยเชื่อว่า พรรคจะพิจารณาให้ตำแหน่งรัฐมนตรีมากกว่าเดิม แต่คงไม่มากตามโควตาที่ เลขาธิการพรรคระบุไว้ว่า 9 ส.ส. ต่อ 1 ตำแหน่งเนื่องจากรัฐบาลใหม่ต้องมีรัฐมนตรีที่มีหน้าตาพอสมควร
อย่างไรก็ตาม จากท่าทีของพรรคที่ลงมติเลือกประธานสภาฯและรองประธานสภาฯ ที่ออกมาแสดงว่า พรรคฟังเสียงส.ส.มากกว่าสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย โดยบุคคลที่เหมาะสม คือ นายศรีเมือง เจริญศิริ นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ นายไพจิต ศรีวรขาน นพ.ประสงค์ บรูณพงศ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี ในโควตานายเนวิน ชิดชอบ นายสุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา ซึ่งมี น.ส.ปาริชาติ ชาลีเครือ น้องสาว เป็น ส.ส.ชัยภูมิ เป็นต้น
สำหรับกระทรวงที่เห็นว่า เหมาะสมนั้นเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น รมช.เกษตร รมช.คมนาคม รมช.มหาดไทย เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้โควต้ารัฐมนตรีตามที่ ส.ส อีสาน เสนอมา ก็จะเสนอให้พรรคพิจารณาจัดสรรตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาให้กับ ส.ส.อีสาน อย่างสมน้ำสมเนื้อ
นอกจากนี้ในส่วนของ ส.ส.ภาคเหนือ ได้หารือถึงโควตาประธานกรรมาธิการ สามัญประจำสภาเช่นกัน โดยเห็นว่า ควรจะสลับเปลี่ยนในการดำรงตำแหน่งคนละ 1-2 ปี เพื่อความเท่าเทียมกันด้วย
ส.ส.พปช.วิ่งเข้าหา"แม้ว"ขอตำแหน่ว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าที่ผ่านมา ส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวนมาก ได้เดินทางไปยังฮ่องกง เพื่อพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อวิ่งเต้น ขอตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมือง เพราะรู้ดีว่า ผู้ที่จะตัดสินใจสูงสุดในพรรคพลังประชาชนคือ พ.ต.ท.ทักษิณ หากมัวแต่วิ่งเข้าหาแกนนำพรรคในปัจจุบันเพื่อขอตำแหน่ งอาจไม่ได้รับการพิจารณา แต่หากไปขอกับ พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะมีโอกาสได้รับตำแหน่งมากที่สุด
มั่นใจโหวตนายกฯเปิดเผยไม่ถูกเบี้ยว
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ในฐานะคณะทำงาน ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงข้อกังวลในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเสียงพรรคร่วมรัฐบาลอาจจะแตกว่า ขั้นตอนการโหวตเลือกประธานสภาฯกับ นายกรัฐมนตรีแตกต่างกัน การเลือกนายกฯเป็นการโหวตเปิดเผย โดยมีชื่อสมาชิกเสนอชื่อมีผู้รังรอบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมด จึงไม่น่าเป็นปัญหา จากนั้นจึงนำรายชื่อ ของผู้ที่ได้เลือกนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยมีประธานสภาฯเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ส่วนที่พรรคร่วมรัฐบาลเสียงแตกในการเลือกประธานสภาฯนั้นเพราะต้องการแสดงบทบาทและบารมีใช่หรือไม่ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากวิจารณ์เพราะเป็นเรื่องภายในของแต่ละพรรคที่ไม่ลงตัว ส่วนจะมีจุดประสงค์อะไรหรือต้องการต่อรอง เก้าอี้รัฐมนตรีหรือไม่ตนไม่ขอออกความเห็น
"ถ้าการประชุมโหวตเลือกนายกฯไม่กระทำขัดรัฐธรรมนูญที่ให้โหวต อย่างเปิดเผย เชื่อว่าเหตุการณ์ลักษณะเดียวกับการเลือกประธานสภาฯคงไม่เกิดขึ้น"
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า มั่นใจหรือไม่ว่าสมาชิกจะสนับสนุนทั้ง 315 เสียง นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ต้องดูว่ามีสมาชิกมาร่วมประชุมเท่าไหร่ ซึ่งในภาพรวมตนเชื่อว่าจะไม่มีเสียงแตก
"เติ้ง"ให้คิดเองโหวตให้"ยงยุทธ"หรือไม่
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่าการที่ คมช.ประกาศยุติบทบาทถือเป็นเวลาที่เหมาะสม เพราะตอนนี้เปิดรัฐสภาและเลือกประธานสภาและรองประธานสภาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะมีการเลือกนายกฯและตั้งครม. ซึ่งไม่ใช่แต่ คมช. แม้แต่รัฐบาลก็ประกาศว่ามีการประชุมครม.นัดสุดท้ายแล้ว คิดว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เชื่อว่าทุกอย่างน่าจะเรียบร้อย เพราะมีรัฐบาลแล้ว
ส่วนเสียงการลงมติเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ของพรรคร่วมรัฐบาลมีแตกไปลงให้ฝ่ายค้านนั้น นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่ทราบ เพราะมีการลงคะแนนลับ ตอบไม่ได้ แต่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.แต่ละคน อย่าไปคิดอะไรมากเลย
ส่วนที่วิจารณ์กันว่าเป็นเสียงของนายบรรหารด้วยเสียงหนึ่ง นายบรรหาร ก หัวเราะก่อนจะกล่าวว่า คิดเอาเองก็แล้วกัน ส่วนทำไมต้องพุ่งเป้ามาที่ตนนั้น ตนไม่รู้ตอบไม่ได้ เมื่อถามว่าพรรคพลังประชาชนระบุว่าเป็นการต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี นายบรรหาร กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ตอบ ไม่มีความเห็น
ชท.ชี้สูตรรมต.ควรเป็น5ต่อ1
ส่วนที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน ระบุว่าครม.เริ่มลงตัวแล้วใช้สูตร 9 ต่อ 1 พรรคชาติไทยได้รับทราบเรื่องสัดส่วนบ้างหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ยังต้องมีการเสนอชื่อคนเป็นนายกฯก่อน และเมื่อได้ตัวนายกฯจึงค่อยมาดูกันว่าพรรคไหนจะได้กี่ที่นั่งอะไรบ้าง ตอนนี้ยังไม่มี ยังไม่ได้คุยกัน ทางพรรคชาติไทยก็ยังไม่รู้ว่าได้นั่งกระทรวงใดบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคชาติไทยแจ้งความจำนงไปหรือไม่ว่าต้องการดูแลกระทรวงด้านใดบ้าง เช่น สังคม การศึกษา นายบรรหาร กล่าวว่า เขายังไม่ได้บอกเรามา เราก็ยังไม่ได้แจ้ง เพราะเมื่อมีตัวนายกฯแล้ว เราก็ต้องบอกเขาไปว่าจะเอาอะไรบ้าง แล้วก็ดูอัตราส่วน อาจจะ 5 ต่อ 1 หรือ 6 ต่อ 1 ส่วนพรรคชาติไทยจะได้กระทรวงใดบ้าง เมื่อถึงเวลาค่อยว่ากันอีกครั้ง และเมื่อแต่ละพรรคทราบว่าจะได้ดูแลกระทรวงใดบ้าง ค่อยเสนอชื่อตัวบุคคลเข้าไป
"ต้องรู้ก่อนว่าเขาให้เรากี่ตำแหน่งแล้วเราค่อยขอไปว่าจะมีกระทรวงใดบ้าง แล้วจะชนกับพรรคอื่นบ้างหรือเปล่า ถ้าชนก็ต้องหารือกันก่อนว่าจะพอหลีกกันได้หรือไม่ ต้องเกี้ยเซี้ยะกันยังมีเวลา ที่สำคัญคือต้องมีนายกฯก่อน แต่ในใจผมไม่ได้คิดว่าจะไปดูกระทรวงไหน เพราะทำงานได้ทุกกระทรวง ให้กระทรวงอะไรก็ทำได้หมด ส่วนจะได้กระทรวงที่ถนัดหรือไม่ค่อยว่าอีกที ยังตอบไม่ได้ สำหรับข่าวที่ลงชื่อว่าคนในพรรค ได้นั่งกระทรวงนั้น กระทรวงนี้ ผิดหมดถ้าเกิดไปลงชื่อแล้วถ้าเกิดเขาไม่ได้เป็นเขาก็จะเสียใจแย่"
ฟันธงตั้งครม.เสร็จหลังตรุษจีน
นายบรรหาร ไม่เชื่อว่าจะประชุม ครม.นัดแรกในวันที่ 29 ม.ค. เพราะเมื่อ โปรดเกล้าฯประธานสภาฯแล้ว ประธานสภาฯต้องเรียกประชุมเพื่อคัดเลือกตัวนายกฯ จากนั้นนายกฯจึงฟอร์ม ครม. เมื่อฟอร์มเสร็จจึงเข้าถวายสัตย์ปฎิญาณตน จากนั้นจึงจะมีการประชุม ครม.นัดแรก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นหลังตรุษจีน ยังมีเวลา ไปตรุษจีนกันก่อนก็ทัน ซึ่งในวันที่ 7 ก.พ.นี้ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีก็จัดงานตรุษจีนเช่นกัน และตนก็จะเดินทางไปร่วมงานด้วย
"จองชัย"ปัดขัดแย่ง"ประภัตร"
ด้าน นายจองชัย เที่ยงธรรม รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวปฏิเสธข่าวความขัดแย้งกับนายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทยในตำแหน่งรัฐมนตรีว่า ตนไม่เคยมีปัญหาขัดแย้งกับนายประภัตร ซึ่งเราก็อยู่จังหวัดเดียวกัน ยืนยันว่าพรรคชาติไทยไม่มีกลุ่มหรือตั้งกลุ่มเพื่อที่จะต่อรองตำแหน่งใดๆอยู่ที่การตัดสินใจของนายบรรหาร และการได้เป็นรัฐมนตรี 2 ครั้งที่ผ่านมาหัวหน้าพรรคชาติไทยก็ให้ความเมตตา ตนไม่เคยต่อล้อต่อเถียงเพื่อต่อรองตำแหน่ง และระมัดระวังไม่อยากให้หัวหน้าเกิดความไม่สบายใจ ไม่เช่นนั้นท่านจะเครียด จึงขอความเป็นธรรมให้ท่านด้วย
อย่างไรก็ตามยอมรับว่าได้มีการพูดคุยกับสมาชิกในพรรค ซึ่งเป็นเพียงการรับประทานอาหารร่วมกัน และไม่ใช่เฉพาะส.ส.ในพรรค ส.ส.พรรคอื่นก็ได้มาร่วมรับประทานอาหารและพูดคุยกันอยู่บ่อยครั้ง มีแต่ตั้งคำถามว่าทำไมพรรคเราได้น้อยและคุยว่าจะพัฒนาพรรคกันอย่างไร
ส่วนที่มีชื่อตนจะได้เป็นรัฐมนตรีก็แล้วแต่ท่านหัวหน้าพรรคจะตัดสินใจ ถ้าได้ก็ถือว่าเป็นโชควาสนา ยืนยันว่าตนไม่เคยไปต่อรองในเรื่องตำแหน่งใดๆทั้งสิ้น
พปช.โต้"ชวน"ให้ไปสอน"อภิสิทธิ์"
ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงถึงกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวก่อนปิดประชุมว่า พรรคพลังประชาชนไม่ควรเตรียมการประชุมก่อนมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ขณะนี้นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ออกมาพูดย้ำอีกทำให้เกิดความสับสน จึงอยากชี้แจงว่า นายชวน หยิบเรื่องมาพูดทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่มีใครชี้แจง ขอยืนยันว่ากระบวนการดังกล่าว นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชนรู้ขั้นตอนว่าสิ่งใดสมควรทำ และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการเตรียมการเอาไว้ล่วงหน้าก่อนมีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรลงมา ไม่มีใครจะไปก้าวก่ายอย่างแน่นอน
ร.ท.กุเทพ ระบุว่า สิ่งที่นายชวนพูดเหมือนเป็นการตีปลาหน้าไซ เป็นสิ่งที่ ไม่เหมาะสม หากลูกพรรคไม่ไปขยายต่อก็ไม่มีปัญหา จึงอยากเสนอนายชวนว่า ควรจะไปสอนหัวหน้าพรรคตัวเองที่เคยขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานจนได้ฉายา มาร์ค ม.7 และการที่พรรคประชาธิปัตย์พูดถึงเสียงสนับสนุน 3 เสียงจากรัฐบาลในการเลือก ประธานสภาฯนั้น อยากให้เล่นเกมในสภา เพราะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ไม่อยากให้นำ เรื่องเล็กน้อยมาเอาเปรียบคนอื่น
"ยอมรับว่าต้องมีการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งคณะรัฐบาล เราไม่ได้มุ่งหวังว่าทุกคนจะมาสนับสนุนทั้งหมด เพราะเป็นเอกสิทธิ์ในการตัดสินใจ และเชื่อมั่นว่าในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะไม่มีปัญหา เพราะเป็นการออกเสียงอย่างเปิดเผย"
สำหรับการตั้งคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาลชั่วคราวนั้น ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ขณะนี้นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ยังเป็นประธานวิปชั่วคราว เป็นเพียงการเตรียมการขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะมีการเลือกวิปรัฐบาลอีกครั้งหลังจากที่มีการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสร็จสิ้นแล้ว
มั่นใจ"หมอเลี้ยบ"เป็นขุนคลังได้
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า ไม่มีใครต้องการจะร่วมสังฆกรรมกับ พรรคพลังประชาชนจนทำให้การสรรหาตัวรมว.คลังไม่ลงตัวนั้น ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีอคติ ที่ระบุว่าหาใครไม่ได้จึงให้ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการ พรรคพลังประชาชนมารับตำแหน่ง ยืนยันว่า นพ.สุรพงษ์มีความสามารถ มีความคิด เรื่องนโยบายที่ดี สามารถที่จะอยู่ในตำแหน่งใดก็ได้ อีกทั้งพรรคพลังประชาชนก็ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ ฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์อย่าด่วนสรุป รวมทั้งมีข้อจำกัดในข้อกฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรง ทำให้ผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวต้องคิด ให้ถี่ถ้วน และการที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาแสดงความคิดเห็นเช่นนี้ เพราะพรรคพลังประชาชนจะมาเป็นผู้บริหารบ้านเมือง
แค่แนะให้ความสำคัญพระราชโองการ
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงท่าทีของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ว่าที่ประธานสภาผู้แทนราษฏรคนใหม่ ว่า ยังวิจารณ์อะไรไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เพียงแต่เรื่องเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมาตนได้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลชุดนี้ ได้มองข้ามความสำคัญของพระราชโองการฯ จึงได้สั่งการไปก่อนที่จะมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธาน และรองประธานรัฐสภาฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด แต่ครั้งนั้นตนเข้าใจว่าเป็นความฮึกเฮิม ที่เห็นเรื่องของตัวเอง เห็นฤกษ์งามของตนสำคัญกว่าพระบรมราชโองการ
อย่างไรก็ตามเชื่อว่ารัฐสภาชุดนี้จะไม่ทำอีกแต่เรื่องในที่ประชุม ไม่เกี่ยวกับเรื่องของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เพราะเป็นเรื่องของรัฐบาล ที่เอาฤกษ์งามของตนสำคัญกว่าการให้ความสำคัญกว่าที่พระมหากษัตริย์จะลงพระปรมาภิไธย ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรอง 75 ปี และหวังว่าครั้งนี้จะไม่มีแล้ว เพราะเขายอมรับแล้วว่าจะไม่ทำเช่นนั้น
เชื่อปธ.สภาไม่ครอบงำสภาไร้ปัญหา
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำงานในสภา ที่จะทำให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าทั้งหมดอยู่ที่หลักคิด ในการปฏิบัติหน้าที่คือ งานฝ่ายนิติบัญญัติต้องทำงานให้เป็นไปตามเจตารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้นถ้าประธานสภาฯวางตัวเป็นกลาง และไม่ได้มีวาระทางการเมือง ไม่มีการครอบงำจากพรรคการเมืองหรือจากที่ไหนก็ตาม คิดว่าโอกาสที่จะสร้างความสมานฉันท์ในการทำงานในสภาก็เป็นได้ แต่ถ้าหากยังถูกครบงำอยู่ ยังกลัวการตรวจสอบ และยังคิดว่าต้องเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารก็เกิดความสมานฉันท์ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องติดตามดูต่อไปว่า การปฏิบัติหน้าที่ใช้หลักคิดอะไร และคงเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น ตั้งแต่เรื่องการทำงานของกรรมาธิการว่าจะให้บทบาทกับฝ่าย ต่างๆ อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมอย่างไรหรือไม่ ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวชี้วัดเป็นตัวแรก
"ประธานและรองประธานสภาฯ เมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ก็ต้องเข้าใจบทบาท ของฝ่ายนิติบัญญัติ และที่รัฐธรรมนูญให้ออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรค ก็เพราะต้องการให้วางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริง และให้การทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติสมประโยชน์ และกระบวนการของการเริ่มต้นให้ยึดความถูกต้อง"
ส่วน การทำงานในกรรมาธิการชุดต่างๆ จะต้องทำให้เกิดความเรียบร้อย และเป็นธรรม ที่ผ่านมามีปัญหา เพราะฝ่ายบริหารเข้ามาแทรกแซงเนื่องจากกลัวการ ตรวจสอบ หากจัดสรรรกันตามสัดส่วน และมีวิธีการตกลงกันได้อยู่แล้ว ตนเชื่อว่าส.ส. ด้วยกันเองพูดกันรู้เรื่อง อย่าให้มีธงจากข้างนอกเข้ามาแทรกแซงก็แล้วกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า จากการประชุมเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมามีการอ้างความ ปรองดองค่อนข้างมากเป็นห่วงหรือไม่ว่า จะนำความปรองดองมาอ้างหากถูก ตรวจสอบ หัวหน้าพรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ถ้าอ้างให้ถูกก็ไม่เป็นไร การตรวจสอบไม่ได้แปลว่าไม่ปรองดอง แต่ต้องตรวจสอบบนเหตุผลและข้อเท็จจริง และทุกคนต้องเคารพข้อบังคับกติกากฎหมาย ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีปัญหากับความปรองดอง และตนเห็นว่าตัวอย่างที่ดีของการประชุมสภาเมื่อวันที่ 22 ม.ค.คือ เมื่อมีการทักท้วงในเรื่องของการลงคะแนนที่ไม่เป็นความลับ และฝ่ายเสียงข้างมาก บอกว่ามีเหตุมีผลอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าเราใช้เหตุ ใช้ผลกัน
ส่วนที่มีเสียงมาเพิ่มให้กับพรรคประชาธิปัตย์ในการโหวตเลือกประธานและรองประธานสภานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องของบุคคล อีกส่วนคิดว่าทางพรรครัฐบาลคงต้องไปพูดคุยกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ในส่วนของเขาเอง ส่วนจะมีผลต่อการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น เห็นว่าการลงคะแนนเลือกนายกฯ ถ้ามีก็เป็นการลงคะแนนแบบเปิดเผย ไม่เหมือนกันการเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ที่เป็นการลงคะแนนลับ ซึ่งก็อยู่ที่ สมาชิกแต่ละคน แต่แน่นอนว่าการลงคะแนนเปิดเผยใครที่ลงคะแนนไม่เหมือนกับเพื่อนก็คงจะถูกจับตาเป็นพิเศษ
แนะพปช.เร่วโชว์วิสัยทัศน์แก้เศรษฐกิจ
นายอภิสิทธิ์ยังเรียกร้องให้พรรคพลังประชาชนในฐานะแกนนำรัฐบาลมีท่าทีชัดเจนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ เพราะประชาชนคาดหวังว่าจะมีรัฐบาลมาแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ยังมองไม่เห็นว่า รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ และไม่ช่วยเร่งความเชื่อมั่น
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากเป็นนพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน มาเป็นรมว.คลัง จะสร้างความเชื่อมั่นได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าว ตนไม่ขอวิจารณ์ตัวบุคคล หากยังไม่เรียบร้อย