ผู้จัดการรายวัน - ค่าเช่าท่อก๊าซ ปตท.วุ่นไม่เลิก หลัง "ปิยสวัสดิ์" บุกกระทรวงคลัง ให้คำนวณค่าเช่าท่อก๊าซโดยไม่ต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง รองปลัดคลังยอมรับวันนี้ยังไม่เข้า ครม. ต้องเลื่อนไปอีก 1 สัปดาห์ เพราะไม่สามารถเสนอหลักเกณฑ์การเก็บ เนื่องจากมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องของฐานรายได้ ที่นำมาใช้ในการคำนวณ
วานนี้ (21 ม.ค.) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกะทรวงพลังงาน และผู้บริหารของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ได้เดินทางเข้าพบนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือถึงอัตราค่าเช่าท่อก๊าช ปตท.ที่ต้องจ่ายให้กับกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะสรุปและเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะครบกำหนดรายงานให้ ครม.รับทราบ
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการร่วมหารือว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มกราคมนี้ กระทรวงการคลังจะยังไม่เสนอแนวทางการคิดค่าเช่าท่อส่งก๊าซ ปตท.ให้แก่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบ เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปฐานรายได้ที่ชัดเจนได้ โดยคาดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะรายงานความคืบหน้าของการกำหนดค่าเช่าท่อก๊าซที่ทางการจะคิดกับ บมจ.ปตท.เพื่อขอขยายเวลาการหาข้อสรุปออกไปอีก 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการสรุปเรื่องค่าเช่าท่อก๊าซของ ปตท.จะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้อย่างแน่นอน
"การประชุมระหว่างกระทรวงการคลัง และ ปตท.ไม่จบ เพราะยังสรุปฐานรายได้ไม่ได้ แต่คงไม่ยืดเยื้อไปถึงรัฐบาลใหม่ น่าจะเสร็จ ทันภายในสัปดาห์หน้า" นายสถิตย์ กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การกำหนดค่าเช่าที่ราชพัสดุและท่อส่งก๊าซราย บมจ.ปตท. ได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาแนวทางการจัดเก็บค่าเช่าท่อก๊าซที่ 10% ของรายได้ในอนาคตที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 4.5 พันล้านบาทต่อปี ส่วนการคำนวณค่าเช่าจากฐานรายได้ตั้งแต่ปี 2545-2549 นั้นมีการลดฐานรายได้ลงเหลือ 4.5 พันล้าน บาทต่อปี จากเดิมที่กระทรวงการคลังมองว่ารายได้น่าจะอยู่ที่ 5.7 พันล้านบาทต่อปี และคิดในอัตรา 10% เช่นกัน โดยการปรับลดฐานราย ได้ในการคำนวณดังกล่าว เนื่องจากทาง ปตท.ได้เสนอขอเปลี่ยนฐานรายได้เหลือเพียงในการประชุมครั้งล่าสุด ที่ 3.6 พันล้านบาทต่อปี ขณะที่ตัวเลข จริงที่ออกมาเป็น 5.7 พันล้านบาท จึงมีการตกลงร่วมกันที่จะกำหนดฐานรายได้ออกมาที่ 4.5 พันล้านบาทต่อปี
"ในการประชุมร่วมกันมาหลายรอบพบว่าตัวเลขของ ปตท.เปลี่ยนทุกวัน ทำให้คณะทำงานจึงต้องเสนอเป็นเงื่อนไข สำหรับรายได้ในอนาคต ตั้งแต่ปี 2551 ไป ให้ใช้ตัวเลขที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รับรองแต่ละปีเป็นฐานเพราะถือว่าเป็นตัวเลขที่เป็นที่สุด และอนุญาติให้เอาเงินลงทุน ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการขาย การบำรุงรักษาท่อมาหักออกได้ โดยคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาทต่อปี และคิดอัตรา ค่าเช่าที่ 10% บนฐานรายได้ ซึ่งแม้จะใช้าสูตรนี้แล้วหลังจากจ่ายค่าเช่าให้กับกระทรวการคลังแล้ว ปตท.ก็ยังมีผลตอแทบต่อสินทรัพย์ หรือ ROA อยู่ที่ 12% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น้อย และถือว่าเป็นธรรมกับ ปตท.ด้วย" แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าว
อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่อจากนี้ ต้องขึ้นกับการเจรจาระหว่างนายฉลองภพและนายปิยสวัสดิ์ ว่าจะสามารถตกลงกันได้ และยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวหรือไม่ หรือจะเลือกให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตัดสินว่า จะรับแนวทางดังกล่าวหรือไม่
สำหรับภาระภาษีของปตท.นั้น นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพสากร กล่าวว่า เหลือ เพียงการให้นำค่าเช่าไปหักเป็นค่าใช้จ่าย ก่อนที่จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก่อน หน้านี้ตั้งแต่ปี 2545-49 ก็คงจะมีการคำนวณใหม่ และคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย ของ ปตท. มากนัก พร้อมทั้งจะงดเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มให้กับ ปตท.ด้วย
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานอยากให้คำนวณค่าเช่าท่อก๊าซแบบตรงไปตรงมา ไม่ต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยนำอัตราค่าเช่าท่อก๊าซคูณกับปริมาณก๊าซที่ผ่านท่อก๊าซ เฉพาะในส่วนที่เป็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งมองว่าเป็นวิธีที่ง่ายกว่าข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ที่จะใช้วิธีนำรายได้จากการผ่านท่อก๊าซโดยรวม หักรายได้ค่าผ่านท่อก๊าซที่ไม่ใช่ส่วนของกระทรวงการคลัง เช่น ท่อก๊าซในทะเล มาคูณกับอัตราค่าเช่าท่อก๊าซ อย่างไรก็ตามมองว่าเรื่องดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังสามารถประกาศได้ทันที
***ดึงเงินสำรวจปิโตรเลียม 2.4 พันลบ.
วันเดียวกันนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาให้สัมปทานเพื่อสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเขตพื้นที่แปลงสำรวจบนบกและทะเลอ่าวไทยจากการเปิดให้เอกชนยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 20 จำนวน 11 สัมปทาน 13 แปลงสำรวจโดยแบ่งเป็นแปลงสำรวจบนบก 11 แปลง ทะเลอ่าวไทย 2 แปลง
สำหรับการให้สัมปทานครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/50 ให้แก่บริษัทเพิร์ล ออย(ปิโตรเลียม) จำกัด 2. แปลงสำรวจอ่าวไทยหมายเลข G3/50 และแปลงสำรวจบนบก L19/50 ให้แก่บริษัท Sita Oil Exploration House,Inc 3.แปลงสำรวจบนบก L1/50 และ L2/50 แก่บริษัทนอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย(ประเทศไทย) จำกัด 4. แปลงสำรวจบนบกเลข L15/50 แก่บริษัท Salamander Energy 5. แปลงสำรวจบนบก L18/50 ให้แก่บ.สยามมารีน จำกัด 6. แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L20/50 แก่บริษัท Carnarvon Petroleum และบริษัท Sun Resources NL 7. แปลงสำรวจบนบกเลข L 21/50 ให้แก่บ.เพิร์ล ออย (รีซอสเซส) จำกัด 8. แปลงบนบก 22/50 ให้แก่บริษัท Adani Welspun Exploration 9. แปลงสำรวจบนบก L45/50 และ L46/50 ให้แก่ บ. Mitra Energy 10. แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L16/50 ให้แก่ บ. Tatex Thailand
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า การให้สัมปทานครั้งนี้จะทำให้เกิดการลงทุนด้านการสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทยอีก 3 ปีข้างหน้าเป็นเงินประมาณ 71 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 2,485 ล้านบาทและได้รับผลประโยชน์ในรูปโบนัส ทุนการศึกษา เป็นเงิน 98 ล้านบาท และหากสำรวจพบปิโตรเลียมจะมีการลงทุนช่วงที่สองคือสามปีต่อมาเป็นเงินประมาณ 46.7 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 1,635 ล้านบาท
“การเปิดสัมปทานรอบ 20 มีผู้สนใจยื่นมากถึง 58 คำขอ ใน 38 แปลงสำรวจซึ่งก่อนหน้าได้อนุมัติให้ไปแล้ว 8 แปลงสำรวจ” นายปิยสวัสดิ์กล่าว.
วานนี้ (21 ม.ค.) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกะทรวงพลังงาน และผู้บริหารของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ได้เดินทางเข้าพบนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือถึงอัตราค่าเช่าท่อก๊าช ปตท.ที่ต้องจ่ายให้กับกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะสรุปและเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะครบกำหนดรายงานให้ ครม.รับทราบ
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการร่วมหารือว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 22 มกราคมนี้ กระทรวงการคลังจะยังไม่เสนอแนวทางการคิดค่าเช่าท่อส่งก๊าซ ปตท.ให้แก่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบ เนื่องจากยังไม่สามารถสรุปฐานรายได้ที่ชัดเจนได้ โดยคาดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะรายงานความคืบหน้าของการกำหนดค่าเช่าท่อก๊าซที่ทางการจะคิดกับ บมจ.ปตท.เพื่อขอขยายเวลาการหาข้อสรุปออกไปอีก 1 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการสรุปเรื่องค่าเช่าท่อก๊าซของ ปตท.จะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้อย่างแน่นอน
"การประชุมระหว่างกระทรวงการคลัง และ ปตท.ไม่จบ เพราะยังสรุปฐานรายได้ไม่ได้ แต่คงไม่ยืดเยื้อไปถึงรัฐบาลใหม่ น่าจะเสร็จ ทันภายในสัปดาห์หน้า" นายสถิตย์ กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คณะทำงานพิจารณาหลักเกณฑ์การกำหนดค่าเช่าที่ราชพัสดุและท่อส่งก๊าซราย บมจ.ปตท. ได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาแนวทางการจัดเก็บค่าเช่าท่อก๊าซที่ 10% ของรายได้ในอนาคตที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 4.5 พันล้านบาทต่อปี ส่วนการคำนวณค่าเช่าจากฐานรายได้ตั้งแต่ปี 2545-2549 นั้นมีการลดฐานรายได้ลงเหลือ 4.5 พันล้าน บาทต่อปี จากเดิมที่กระทรวงการคลังมองว่ารายได้น่าจะอยู่ที่ 5.7 พันล้านบาทต่อปี และคิดในอัตรา 10% เช่นกัน โดยการปรับลดฐานราย ได้ในการคำนวณดังกล่าว เนื่องจากทาง ปตท.ได้เสนอขอเปลี่ยนฐานรายได้เหลือเพียงในการประชุมครั้งล่าสุด ที่ 3.6 พันล้านบาทต่อปี ขณะที่ตัวเลข จริงที่ออกมาเป็น 5.7 พันล้านบาท จึงมีการตกลงร่วมกันที่จะกำหนดฐานรายได้ออกมาที่ 4.5 พันล้านบาทต่อปี
"ในการประชุมร่วมกันมาหลายรอบพบว่าตัวเลขของ ปตท.เปลี่ยนทุกวัน ทำให้คณะทำงานจึงต้องเสนอเป็นเงื่อนไข สำหรับรายได้ในอนาคต ตั้งแต่ปี 2551 ไป ให้ใช้ตัวเลขที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รับรองแต่ละปีเป็นฐานเพราะถือว่าเป็นตัวเลขที่เป็นที่สุด และอนุญาติให้เอาเงินลงทุน ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการขาย การบำรุงรักษาท่อมาหักออกได้ โดยคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาทต่อปี และคิดอัตรา ค่าเช่าที่ 10% บนฐานรายได้ ซึ่งแม้จะใช้าสูตรนี้แล้วหลังจากจ่ายค่าเช่าให้กับกระทรวการคลังแล้ว ปตท.ก็ยังมีผลตอแทบต่อสินทรัพย์ หรือ ROA อยู่ที่ 12% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น้อย และถือว่าเป็นธรรมกับ ปตท.ด้วย" แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าว
อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่อจากนี้ ต้องขึ้นกับการเจรจาระหว่างนายฉลองภพและนายปิยสวัสดิ์ ว่าจะสามารถตกลงกันได้ และยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวหรือไม่ หรือจะเลือกให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตัดสินว่า จะรับแนวทางดังกล่าวหรือไม่
สำหรับภาระภาษีของปตท.นั้น นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพสากร กล่าวว่า เหลือ เพียงการให้นำค่าเช่าไปหักเป็นค่าใช้จ่าย ก่อนที่จะคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก่อน หน้านี้ตั้งแต่ปี 2545-49 ก็คงจะมีการคำนวณใหม่ และคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่าย ของ ปตท. มากนัก พร้อมทั้งจะงดเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มให้กับ ปตท.ด้วย
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานอยากให้คำนวณค่าเช่าท่อก๊าซแบบตรงไปตรงมา ไม่ต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยนำอัตราค่าเช่าท่อก๊าซคูณกับปริมาณก๊าซที่ผ่านท่อก๊าซ เฉพาะในส่วนที่เป็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งมองว่าเป็นวิธีที่ง่ายกว่าข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ที่จะใช้วิธีนำรายได้จากการผ่านท่อก๊าซโดยรวม หักรายได้ค่าผ่านท่อก๊าซที่ไม่ใช่ส่วนของกระทรวงการคลัง เช่น ท่อก๊าซในทะเล มาคูณกับอัตราค่าเช่าท่อก๊าซ อย่างไรก็ตามมองว่าเรื่องดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังสามารถประกาศได้ทันที
***ดึงเงินสำรวจปิโตรเลียม 2.4 พันลบ.
วันเดียวกันนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาให้สัมปทานเพื่อสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเขตพื้นที่แปลงสำรวจบนบกและทะเลอ่าวไทยจากการเปิดให้เอกชนยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 20 จำนวน 11 สัมปทาน 13 แปลงสำรวจโดยแบ่งเป็นแปลงสำรวจบนบก 11 แปลง ทะเลอ่าวไทย 2 แปลง
สำหรับการให้สัมปทานครั้งนี้ประกอบด้วย 1. แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/50 ให้แก่บริษัทเพิร์ล ออย(ปิโตรเลียม) จำกัด 2. แปลงสำรวจอ่าวไทยหมายเลข G3/50 และแปลงสำรวจบนบก L19/50 ให้แก่บริษัท Sita Oil Exploration House,Inc 3.แปลงสำรวจบนบก L1/50 และ L2/50 แก่บริษัทนอร์ธเทิร์น กัลฟ์ ออย(ประเทศไทย) จำกัด 4. แปลงสำรวจบนบกเลข L15/50 แก่บริษัท Salamander Energy 5. แปลงสำรวจบนบก L18/50 ให้แก่บ.สยามมารีน จำกัด 6. แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L20/50 แก่บริษัท Carnarvon Petroleum และบริษัท Sun Resources NL 7. แปลงสำรวจบนบกเลข L 21/50 ให้แก่บ.เพิร์ล ออย (รีซอสเซส) จำกัด 8. แปลงบนบก 22/50 ให้แก่บริษัท Adani Welspun Exploration 9. แปลงสำรวจบนบก L45/50 และ L46/50 ให้แก่ บ. Mitra Energy 10. แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L16/50 ให้แก่ บ. Tatex Thailand
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า การให้สัมปทานครั้งนี้จะทำให้เกิดการลงทุนด้านการสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทยอีก 3 ปีข้างหน้าเป็นเงินประมาณ 71 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 2,485 ล้านบาทและได้รับผลประโยชน์ในรูปโบนัส ทุนการศึกษา เป็นเงิน 98 ล้านบาท และหากสำรวจพบปิโตรเลียมจะมีการลงทุนช่วงที่สองคือสามปีต่อมาเป็นเงินประมาณ 46.7 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 1,635 ล้านบาท
“การเปิดสัมปทานรอบ 20 มีผู้สนใจยื่นมากถึง 58 คำขอ ใน 38 แปลงสำรวจซึ่งก่อนหน้าได้อนุมัติให้ไปแล้ว 8 แปลงสำรวจ” นายปิยสวัสดิ์กล่าว.