ผู้จัดการรายวัน - ธนาคารทิสโก้ประเดิมประกาศผลการดำเนินงานปี 50 มีกำไร 1,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.12% ระบุจากการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อเป็นหลัก โดยมีสินเชื่อโดยรวมโต 15.8%
นางอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล กรรมการและรองกรรมการอำนวยการ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)(TISCO) แจ้งผลการดำเนินงานของธนาคารในปี 2550 ว่า จากงบการเงินเฉพาะกิจการธนาคารงวด 1 ปีมีกำไรสุทธิ 1,292.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 179.48 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 16.12% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไร 1,113.42 ล้านบาท และคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 1.52 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้น 1.27 บาท
ส่วนงบการรวมปี 2550 ของธนาคารมีกำไรสุทธิ 1,651.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105.58 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.83% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไร 1,545.53 ล้านบาท และคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 2.01 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้น 1.87 บาท
ทั้งนี้ การอัตราการเติบโตของกำไรเป็นตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ประกอบกับการปรับตัวสูงขึ้นของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อจากร้อยละ 3.1 เป็นร้อยละ 3.5 ใน ปี 2550 ซึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารสามารถรักษาระดับอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อไว้ได้โดยการปรับสัดส่วนการให้เช่ารถมือสองมากขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมา ในขณะที่ต้นทุนเงินทุนของธนาคารลดลงตามภาวะตลาด โดยรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิของปี 2550 มีจำนวน 3,487.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 681.74 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24.3% จากสิ้นปี 2549 ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 557.13 ล้านบาท หรือคิดเป็น 19.2% ตามการขยายตัวของสินเชื่อที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 3.1% ในปี 2549 เป็น 3.5% ในปี 2550 โดยสาเหตุหลักมาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ทยอยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้ต้นทุนเงินทุนของธนาคารลดลงตามภาวะตลาด ประกอบกับธนาคารได้เริ่มใช้กลยุทธ์ในการปรับสัดส่วนการให้เช่ารถมือสองมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ทำให้สามารถรักษาระดับอัตราผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่อไว้ให้อยู่ในระดับสูงได้มาโดยตลอด
สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2550 มีจำนวน 2,438.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 145.17 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% จากปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ซึ่งมีจำนวน 1,194.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 307.28 ล้านบาท หรือคิดเป็น 34.6% ตามการเติบโตอย่างมากของธุรกิจในเครือต่างๆ ซึ่งรวมถึงธุรกิจประกันชีวิตธนกิจ และธุรกิจการจัดการกองทุนซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในแง่ของการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารและรายได้ค่าธรรมเนียมในการบริหารกองทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจวาณิชธนกิจตั้งแต่ไตรมาส 2 อันเป็นผลจากการปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปในตลาดทุน
และในส่วนของเงินให้สินเชื่อของธนาคารและบริษัทย่อยในปี 2550 มีจำนวน 86,420.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 11,779.18 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15.8% จากสิ้นปี 2549 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเช่าซื้อต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งโครงสร้างสินเชื่อของธนาคารและบริษัทย่อยแบ่งออกเป็น สินเชื่อธุรกิจ 18.1% สินเชื่อรายย่อย 77% และสินเชื่ออื่นๆ 4.9%
นางอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล กรรมการและรองกรรมการอำนวยการ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)(TISCO) แจ้งผลการดำเนินงานของธนาคารในปี 2550 ว่า จากงบการเงินเฉพาะกิจการธนาคารงวด 1 ปีมีกำไรสุทธิ 1,292.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 179.48 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 16.12% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไร 1,113.42 ล้านบาท และคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 1.52 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้น 1.27 บาท
ส่วนงบการรวมปี 2550 ของธนาคารมีกำไรสุทธิ 1,651.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 105.58 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.83% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีกำไร 1,545.53 ล้านบาท และคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 2.01 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรต่อหุ้น 1.87 บาท
ทั้งนี้ การอัตราการเติบโตของกำไรเป็นตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ ประกอบกับการปรับตัวสูงขึ้นของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อจากร้อยละ 3.1 เป็นร้อยละ 3.5 ใน ปี 2550 ซึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารสามารถรักษาระดับอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อไว้ได้โดยการปรับสัดส่วนการให้เช่ารถมือสองมากขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมา ในขณะที่ต้นทุนเงินทุนของธนาคารลดลงตามภาวะตลาด โดยรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิของปี 2550 มีจำนวน 3,487.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 681.74 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24.3% จากสิ้นปี 2549 ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 557.13 ล้านบาท หรือคิดเป็น 19.2% ตามการขยายตัวของสินเชื่อที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยเพิ่มขึ้นจาก 3.1% ในปี 2549 เป็น 3.5% ในปี 2550 โดยสาเหตุหลักมาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ทยอยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้ต้นทุนเงินทุนของธนาคารลดลงตามภาวะตลาด ประกอบกับธนาคารได้เริ่มใช้กลยุทธ์ในการปรับสัดส่วนการให้เช่ารถมือสองมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 ทำให้สามารถรักษาระดับอัตราผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่อไว้ให้อยู่ในระดับสูงได้มาโดยตลอด
สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2550 มีจำนวน 2,438.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 145.17 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% จากปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ ซึ่งมีจำนวน 1,194.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 307.28 ล้านบาท หรือคิดเป็น 34.6% ตามการเติบโตอย่างมากของธุรกิจในเครือต่างๆ ซึ่งรวมถึงธุรกิจประกันชีวิตธนกิจ และธุรกิจการจัดการกองทุนซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในแง่ของการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารและรายได้ค่าธรรมเนียมในการบริหารกองทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจวาณิชธนกิจตั้งแต่ไตรมาส 2 อันเป็นผลจากการปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปในตลาดทุน
และในส่วนของเงินให้สินเชื่อของธนาคารและบริษัทย่อยในปี 2550 มีจำนวน 86,420.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 11,779.18 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15.8% จากสิ้นปี 2549 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเช่าซื้อต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2549 ซึ่งโครงสร้างสินเชื่อของธนาคารและบริษัทย่อยแบ่งออกเป็น สินเชื่อธุรกิจ 18.1% สินเชื่อรายย่อย 77% และสินเชื่ออื่นๆ 4.9%