แบงก์จ่อขึ้นดอกเบี้ยกู้อ้างต้นทุนเพิ่มจากการระดมเงินฝากในช่วงที่ผ่านมา คาดปรับขึ้นในอัตรา 0.25% "กรุงไทย"ยันไม่เป็นผู้นำในการปรับรอตลาดขยับก่อน ด้านการปล่อยสินเชื่อปีนี้มีโอกาสเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัยทะลุเป้าในเดือนกันยายนนี้
นายธีรินทร์ เต่าทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารกลุ่ม กลุ่มผลิตภัณฑ์บุคคล สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB เปิดเผยว่า ในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆคงอยู่ในช่วงของการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้มีการแข่งขันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องในตลาดเริ่มมีการลดลง ทำให้ธนาคารมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถจะตอบได้ว่าจะมีการปรับขึ้นเมื่อไหร่ ส่วนของธนาคารกรุงไทยยืนยันว่าจะไม่เป็นผู้นำในการปรับขึ้นแน่นอน
"ในส่วนของแบงก์กรุงไทยตอนนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แต่เชื่อว่าในระยะต่อไปก็คงต้องมีการนำเรื่องนี้มาดู ส่วนอัตราที่น่าจะเห็นในตลาดปรับขึ้นกันก็น่าจะประมาณ 0.25% เพราะจะไม่กระทบลูกค้า แต่หากขึ้นทีละ 0.25% ติดต่อกันเกินไปก็อาจจะกระทบ และที่แบงก์ยังไม่อยากปรับในช่วงนี้ก็เพราะไม่อยากจะเพิ่มภาระให้ลูกค้า ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากก็คงต้องแข่งกันอยู่ตามตลาด โดยจะเห็นว่าดอกเบี้ยที่เสนอนั้นแบงก์เล็กจะให้อัตราที่สูงกว่าแบงก์ใหญ่"
สำหรับการปล่อยสินเชื่อรายย่อยของธนาคารกรุงไทยในปีนี้คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงมีการควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ดี โดยในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งปีได้ในเดือนกันยายนนี้ โดยจะมียอดการปล่อยสินเชื่อใหม่อยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อสุทธิ 20,000 ล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 153,000-155,000 บาท
และภายในสิ้นปีคาดว่าจะมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 160,000 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2-2.5%
ทั้งนี้ในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของทั้งระบบนั้นได้มีการชะลอตัวลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัว รวมถึงมีความไม่แน่นอนในภาคการเมือง และทางสำนักวิจัยจากหลายแห่งประเมินว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยจะลดลง ทำให้เกิดความไม่มั่นใจของผู้บริโภค แต่จากการที่ภาครัฐมีนโยบายด้านภาษีจึงยังเป็นส่วนช่วยให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังพอไปได้
"สินเชื่อบ้านเราปล่อยออกไปเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ซึ่งแม้จะมีปัจจัยลบบ้างแต่การปล่อยสินเชื่อในไตรมาส 2 และ 3 ยอดเรายังไม่ตก กลยุทธ์ที่เราใช้ก็คือการแข่งเรื่องราคา การบริการทำให้ยอดเรายังดี ส่วนปีหน้าในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายสินเชื่อบ้านจะขยายตัวอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท"
นายธีรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาลูกค้าที่มักจะมีปัญหาเรื่องการผ่อนชำระในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนั้นมักจะเป็นผู้ประกอบการอาชีพอิสระ และกลุ่มที่ทำงานกับบริษัทที่ไม่มั่นคง แต่ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณลูกค้าที่มีปัญหาชัดเท่ากับปีก่อน
อย่างไรก็ตามธนาคารได้มีการติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเศรษฐกิจระยะยาวน่าจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน และหากปัจจัยการเมืองยืดเยื้อก็จะกระทบต่อการท่องเที่ยว และจะมีการไหลออกของเงิน รวมถึงการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกส์ที่มีท่าทีว่าจะชะลออกไปอีกก็จะเป็นปัญหาต่อการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ดังนั้นธนาคารจึงได้มีแผนรองรับหากเกิดปัญหาขึ้นก็คือหากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวธนาคารจะมีการดูแลลูกค้าเก่าเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับเอ็นพีแอลมากขึ้น โดยลูกค้าสามารถเข้ามาเจรจาได้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวในขณะนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้น
นายธีรินทร์ เต่าทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบริหารกลุ่ม กลุ่มผลิตภัณฑ์บุคคล สายงานบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB เปิดเผยว่า ในขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆคงอยู่ในช่วงของการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้มีการแข่งขันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องในตลาดเริ่มมีการลดลง ทำให้ธนาคารมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถจะตอบได้ว่าจะมีการปรับขึ้นเมื่อไหร่ ส่วนของธนาคารกรุงไทยยืนยันว่าจะไม่เป็นผู้นำในการปรับขึ้นแน่นอน
"ในส่วนของแบงก์กรุงไทยตอนนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แต่เชื่อว่าในระยะต่อไปก็คงต้องมีการนำเรื่องนี้มาดู ส่วนอัตราที่น่าจะเห็นในตลาดปรับขึ้นกันก็น่าจะประมาณ 0.25% เพราะจะไม่กระทบลูกค้า แต่หากขึ้นทีละ 0.25% ติดต่อกันเกินไปก็อาจจะกระทบ และที่แบงก์ยังไม่อยากปรับในช่วงนี้ก็เพราะไม่อยากจะเพิ่มภาระให้ลูกค้า ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากก็คงต้องแข่งกันอยู่ตามตลาด โดยจะเห็นว่าดอกเบี้ยที่เสนอนั้นแบงก์เล็กจะให้อัตราที่สูงกว่าแบงก์ใหญ่"
สำหรับการปล่อยสินเชื่อรายย่อยของธนาคารกรุงไทยในปีนี้คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงมีการควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ดี โดยในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้นคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งปีได้ในเดือนกันยายนนี้ โดยจะมียอดการปล่อยสินเชื่อใหม่อยู่ที่ 40,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อสุทธิ 20,000 ล้านบาท ทำให้ยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 153,000-155,000 บาท
และภายในสิ้นปีคาดว่าจะมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 160,000 ล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2-2.5%
ทั้งนี้ในส่วนของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของทั้งระบบนั้นได้มีการชะลอตัวลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงชะลอตัว รวมถึงมีความไม่แน่นอนในภาคการเมือง และทางสำนักวิจัยจากหลายแห่งประเมินว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยจะลดลง ทำให้เกิดความไม่มั่นใจของผู้บริโภค แต่จากการที่ภาครัฐมีนโยบายด้านภาษีจึงยังเป็นส่วนช่วยให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังพอไปได้
"สินเชื่อบ้านเราปล่อยออกไปเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ซึ่งแม้จะมีปัจจัยลบบ้างแต่การปล่อยสินเชื่อในไตรมาส 2 และ 3 ยอดเรายังไม่ตก กลยุทธ์ที่เราใช้ก็คือการแข่งเรื่องราคา การบริการทำให้ยอดเรายังดี ส่วนปีหน้าในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายสินเชื่อบ้านจะขยายตัวอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท"
นายธีรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาลูกค้าที่มักจะมีปัญหาเรื่องการผ่อนชำระในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนั้นมักจะเป็นผู้ประกอบการอาชีพอิสระ และกลุ่มที่ทำงานกับบริษัทที่ไม่มั่นคง แต่ช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณลูกค้าที่มีปัญหาชัดเท่ากับปีก่อน
อย่างไรก็ตามธนาคารได้มีการติดตามลูกค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเศรษฐกิจระยะยาวน่าจะต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน และหากปัจจัยการเมืองยืดเยื้อก็จะกระทบต่อการท่องเที่ยว และจะมีการไหลออกของเงิน รวมถึงการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกส์ที่มีท่าทีว่าจะชะลออกไปอีกก็จะเป็นปัญหาต่อการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ดังนั้นธนาคารจึงได้มีแผนรองรับหากเกิดปัญหาขึ้นก็คือหากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวธนาคารจะมีการดูแลลูกค้าเก่าเป็นหลัก และให้ความสำคัญกับเอ็นพีแอลมากขึ้น โดยลูกค้าสามารถเข้ามาเจรจาได้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวในขณะนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้น