กกต.รับรอง ส.ส.แล้ว 397 คนไม่ประกาศรับรอง 83 คน แยกเป็น พปช. 65 คน ปชป. 6 พผ. 6 ชท. 4 มฌ. และ รช. เจออย่างละ 1 คน ขณะที่ภูเก็ต หนองคาย แพร่ ยังไม่ประกาศยกจังหวัด ส่งผลให้เสียงจัดตั้ง "รัฐบาลหมัก" แบบโดดเดี่ยว ปชป. ในขณะนี้เหลือแค่ 238 เสียง ไม่ถึงครึ่งสภาฯ ขณะที่ 5 เสือ กกต. ขัดแย้งหนัก "สมชัย"แฉเอกสารตั้งสันติบาลเข้าร่วมงานสืบสวนสอบสวนแบบลัดขั้นตอน ระบุ "อภิชาต"เซ็นตั้งเอง โดยไม่ผ่านศูนย์ปฏิบัติงานเลือกตั้งของ สตช. ด้าน คมช. ส่งทหารคุ้มครอง ผู้ว่าฯ-กกต.บุรีรัมย์ รับมือ ม็อบเนวิน วันนี้
วานนี้( 3 ม.ค) คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ทั้ง 5 คนนำโดย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ได้ร่วมกันแถลงประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียน รวมทั้งสิ้น 397 คน แบ่งเป็น ส.ส. แบบสัดส่วน ประกาศรับรอง 76 คน ไม่รับรอง 4 คน เป็นว่าที่ ส.ส. พรรคพลังประชาชน 3 คน คือนายยงยุทธ ติยะไพรัช ว่าที่ ส.ส. กลุ่มที่ 1 นายชวลิต วิชยสุทธิ์ และนายธนเทพ ทิมสุวรรณ ว่าที่ ส.ส. กลุ่ม 3
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มี 1 คนคือ นายไพฑูรย์แก้วทอง ว่าที่ ส.ส. กลุ่ม 2 ซึ่งทั้งหมดโดนข้อหาแจกทรัพย์สินและแจกเงิน
ส่วน ส.ส. แบบแบ่งเขต ประกาศรับรองแล้ว 321 คน ไม่ประกาศรับรอง 79 คน แยกเป็นพรรคพลังประชาชน 62 คน ประชาธิปัตย์ 5 คน ชาติไทย 4 คน เพื่อแผ่นดิน 6 มัชฌิมาธิปไตย 1 คน รวมใจไทยชาติพัฒนา 1 คน รวมทั้งระบบสัดส่วน และเขตเลือกตั้งที่กกต.ไม่ประกาศรับรอง แยกเป็น พรรคพลังประชาชน 65 คน ประชาธิปัตย์ 6 คน ชาติไทย 4 คน เพื่อแผ่นดิน 6 คน มัชฌิมาธิปไตย 1 คน และรวมใจไทยชาติพัฒนา 1 คน
หลังจากนี้ กกต. จะเร่งทำหนังสือรับรอง และ ส.ส. ที่ได้รับการรับรอง สามารถมารับหนังสือรับรองเพื่อนำไปแสดงตนต่อสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งแต่วันนี้ (4 ม.ค.)
นายอภิชาต ยืนยันว่า การประกาศรับรองผล ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งหรือจ้องที่จะไม่ประกาศพรรคไหน เพราะเราไม่คำนึงว่าเป็นพรรคไหนอย่างไรแต่ดูเป็นรายบุคคล โดยเริ่มพิจารณาจาก จังหวัดที่มี ส.ส. น้อยที่สุดอย่าง จ.ระนอง ไปจนถึง ที่มี ส.ส. มากที่สุดอย่าง กทม. และตรวจเช็คข้อมูลระหว่างด้านสืบสวนสอบสวน และด้านบริหารเลือกตั้งเพื่อให้ชัดเจนว่า ทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียนค้างอยู่ถึง 3 รอบด้วยกัน
ส่วนที่ยังไม่ได้รับรอง กกต. ก็ได้ตรวจสอบไปยังเจ้าหน้าที่เจ้าของสำนวนว่า เรื่องอยู่ขั้นตอนใด รวมทั้งได้กำหนดวันแล้วเสร็จของแต่ละสำนวน เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำเสนอสำนวนเข้าที่สู้ที่ประชุม กกต. ตามเวลาที่กำหนด โดยมีเวลาพิจารณาในส่วนที่เหลือได้ถึงกลางเดือนนี้ หากไม่แล้วเสร็จก็อาจจะต้องประกาศรับรองไปก่อนเพื่อให้สามารถเปิดสภาได้
ส่วนกรณีของนายบรรหาร ศิลปอาชา ว่าที่ ส.ส. เขต 1 สุพรรณบุรี ที่ กกต. มีมติให้สอบสวนเพิ่มเนื่องจาก กรรมการประจำหน่วย วางตัวไม่เป็นกลางนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้รับรองไปก่อน เนื่องจากเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของ เจ้าหน้าที่ แต่หากผลการสอบสวนในเวลาต่อมาพบว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรมก็สามารถสั่งให้เลือกตั้งใหม่ได้
นายอภิชาต ยังกล่าวถึงกรณีที่ศาลฎีกา มีคำสั่งรับคำฟ้องของนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ผู้สมัคร ส.ส. บุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ ไว้พิจารณา ว่าไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการประกาศรับรองผลเลือกตั้งของ กกต. เพราะทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง เราต้องดูว่าอะไรที่เข้าหลักเกณฑ์ อะไรที่อยู่ในอำนาจของ กกต. เราก็ประกาศรับรองไป และที่ กกต. เพิ่งจะแถลงก็ไม่ใช่เพราะรอผลการพิจารณาของศาลฯ แต่เรื่องเข้ามาให้พิจารณาช่วงบ่าย และจนถึงขณะนี้ก็ไม่ทราบว่าศาลมีคำสั่งอย่างไร และกกต. ก็คงไม่ต้องไปประสานกับทางศาล หากมีการพาดพิงมา เราก็แก้ข้อกล่าวหาไป เชื่อว่าศาลคงพิจารณาไปตามพยานหลักฐาน
ในส่วนของ 83 ว่าที่ ส.ส. ที่ยังไม่รับรอง หากมีการประวิงเวลาโดยไม่เข้าชี้แจงจะทำอย่างไร นาย ประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารเลือกตั้ง กล่าวว่า อยากให้มาชี้แจง เพราะถ้าไม่ชี้แจง แล้ว กกต.ประกาศรับรองไปก่อน แล้วมาพบหลักฐานในภายหลังว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต กกต.ก็ต้องส่งเรื่องไปที่ศาล และเมื่อถึงตอนนั้นก็จะมีโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งห้าปี ดังนั้น ถ้าถูกแจ้งข้อกล่าวหาก็ควรมาชี้แจง เรื่องจะได้ยุติ
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า เท่าที่ดูสำนวน ก็เชื่อได้ว่า กกต. จะสามารถพิจารณารับรอง ส.ส. ได้เพียงพอต่อการเปิดประชุมสภา และขณะนี้ก็เหลือเพียง 59 คน เท่านั้น ส่วนกรณีของ นายยงยุทธ ที่ยังไม่ได้รับรอง หากนายยงยุทธ มาชี้แจงในวันที่ 8 ม.ค. คิดว่าในวันที่ 10 ม.ค. นี้ กกต.ก็จะตัดสินได้เลยว่าจะได้ใบขาว ใบเหลือง หรือใบแดง แต่ถ้านายยงยุทธไม่มา ก็จะเสียสิทธิ และทำให้การพิจารณาของ กกต. ล่าช้าออกไปอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ กกต.ไม่ประกาศรับรองส.ส.อีก 83 คนนั้น เมื่อนำมาหักกับจำนวนส.ส. ที่แต่ละพรรคได้รับเลือกตั้งโดยพรรคพลังประชาชนได้ 233 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 165 คน พรรคชาติไทยได้ 37 คน พรรคเพื่อแผ่นดินได้ 24 คน พรรคมัชฌิมาธิปไตยได้ 7 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้ 9 คน ประชาราช 5 คน แล้วจะเท่ากับว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชน มีส.ส. 168 คน ประชาธิปัตย์ 159 คน ชาติไทย 33 คน เพื่อแผ่นดิน 18 คน มัชฌิมาธิปไตย 6 คน รวมใจไทยชาติพัฒนา 8 คน ประชาราช 5 คน และเมื่อพิจารณาถึงจำนวนเสียงที่เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน โดยทุกพรรคเข้าร่วม ปล่อยโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียว ก็จะมีเสียงจัดตั้งรัฐบาล แค่ 238 เสียงเท่านั้น
**ร้องระงับการรับรอง30ว่าที่ส.ส.พปช.
วันเดียวกัน นายถาวร เสนเนียม และนายเจือ ราชสีห์ ว่าที่ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และขอให้ระงับการประกาศรับรองผลว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน รวม 30 คน ด้วยเหตุผลว่า ทั้งหมดถูกร้องว่า ร่วมกันแจกแผ่นซีดีทักษิณ ประกอบด้วย น.ส.อรุณี ชำนาญยา เขต 1 พะเยา นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายสถาพร มณีรัตน์ นายสงวน พงษ์มณี เขต 1 ลำพูน นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ นายกฤษฎาภรณ์ เสียมภักดี เขต 1 เชียงใหม่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ นายวิทยา ทรงคำ นายนพคุณ รัฐไผท เขต 2 เชียงใหม่ นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ นายสรรภัญูญู ศิริไปล์ เขต 2 มหาสารคาม
นาง จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ นาย โสภณ โกชุม นาย ประสิทธิ์ วุฒินันท์ชัย เขต 3 เชียงใหม่ นาย วารุจ ศิริวัฒน์ เขต 1 อุตรดิตถ์ นาย จิรพันธ์ สิ้มสกุลศิริรัตน์ นาย นที สุทินเผือก เขต 2 สมุทรปราการ นาย อนันท์ ผลอำนวย นาย ปริญญา ฤกษ์หร่าย เขต 1 กำแพงเพชร นาย ธเนศ เครือรัตน์ นาย สุรชาติ ชาญประดิษฐ์ นาย ปวีณ แซ่จึง เขต 1 ศรีสะเกษ นาย วิวัฒชัย โหตระไวศยะ นาย อมรเทพ สมหมาย นาย ธีระ ไตรสรณกุล เขต 3 ศรีสะเกษ นาย กิตติกร โล่สุนทร นาย ธนาธร โลห์สุนทร นาย วาสิต พยัคฆบุตร เขต 1 ลำปาง
ทั้งนี้ นายถาวร กล่าวว่า ที่ขอให้ระงับการประกาศรับรอง เพราะหากต้องมาสอยภายหลังจะส่งผลต่อการ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่ต้องเป็นไปอย่างใสสะอาด แม้จะทำให้การเปิดสภาต้องล่าช้าไปกว่า 30 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็ตามก็ไม่มีความสำคัญกว่าความโปร่งใสในการโหวตเลือกนายกฯ
** "สมชัย"งัดเอกสารสู้ 4 กกต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยได้ นำเอกสารเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่นำมาแจกต่อสื่อมวลชน โดย เอกสารดังกล่าวมี 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1. มติ กกต. ครั้งที่ 98/2550 ลงวันที่ 13 พ.ย. 50 มีเนื้อหาเกี่ยวกํบเรื่องการสรรหาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในการเลือกตั้งส.ส. โดย กกต.ได้พิจารณาเรื่องสรรหาบุคลากรตามที่ผู้แทนด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยโดยเห็นชอบให้แต่งตั้งตำรวจจำนวน 1,200นาย เป็นคณะกรรมการสืบสวน มีหน้าที่สืบสวนเรื่องคัดค้านในพื้นที่เขตเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการสืบสวนที่ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยให้รองเลขาธิการด้านสืบสวน และผอ.สำนักสืบสวนควบคุมดูแลประสานงานในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสืบสวน
ในมติ มีการระบุว่า " อนึ่ง ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่จะเปลี่ยนตัวคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน หรือแต่งตั้งเพิ่มเติมให้ กกต. ( นายสมชัย จึงประเสริฐ) ซึ่งดูแลกำกับด้านกิจการสืบสอนสอบสวนและวินิจฉัย พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม และความจำเป็น"
ทั้งนี้ มติดังกล่าว กกต. ลงนาม เพียง 4 คน ขาดนางสดศรี สัตยธรรม ที่ลาการประชุมในช่วงบ่าย เนื่องจากติดภารกิจ
ส่วนเอกสารฉบับที่ 2 เป็น คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ 300 / 50 ลงนามโดยนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ลงวันที่ 14 พ.ย. 50 ซึ่งเป็นเอกสารคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน ตามมติ กกต. ข้างต้น
ทั้งนี้ ก่อนหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนทั้ง 1,200 นายนั้น ทางด้านกิจการสืบสวนสอบสวน โดยพ.ต.อ. จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการ กกต. ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ลต 0202/ ว 1043 ลงวันที่ 16 ต.ค. 50 เรื่องการสรรหาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง ส.ส. อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งเอกสารดังกล่าวส่งถึงประธาน กกต.ทุกจังหวัด และ กทม. เพื่อให้ประธานกกต.จังหวัดทุกจังหวัดสรรหาบุคลากรในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและเป็นกลางทางการเมือง จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย
1. ชุดสืบสวนสอบสวนพิจารณาสรรหาจากตำรวจชั้นสัญญาบัตร ทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน (สป.1-3) หรือ พนักงานสอบสวนผู้ที่เคยผ่านการอบรมเป็นอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนที่เคยช่วยปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง และเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมเป็นกลางทางการเมือง โดยแบ่งเป็นชุดละ 3 คน ต่อ ส.ส. แบบแบ่งเขต 1 คน
2. ชุดป้องปรามและหาข่าวพิจารณาสรรหาจากตำรวจฝ่ายปกครอง อาสาสมัคร และผู้มีความเหมาะสมและเป็นกลางทางการเมือง โดยแบ่งเป็นชุดละ 2 คนต่อ ส.ส. แบบแบ่งเขต 1 คน และ 3. ชุดประจำศูนย์ประสานงานประจำจังหวัดพิจารณาขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดๆ ละ 1 ชุด ชุดละ 5 คน และให้จัดการอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 1,200 นาย
อีกทั้ง ภายหลังจากที่ได้รับรายชื่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนจากทางจังหวัดทั้ง 1,200 นายแล้ว ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนยังมีคำสั่งให้ตรวจสอบในทางลับว่า คณะกรรมการสืบสวนที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น มีความสัมพันธ์กับผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนตามคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว ในช่วงก่อนวันเลือกตั้งไม่กี่วัน ถูก กกต. 4 คน มองว่าไม่มีประสิทธิภาพ และได้ขอมีกำลังจากตำรวจสันติบาลมาช่วย ทำให้นายสมชัย ไม่พอใจ เพราะเห็นว่าการเข้ามาของตำรวจสันติบาลไม่ถูกต้อง ทำให้ต่อมาเมื่อมีการเสนอสำนวนทุจริตของตำรวจสันติบาล นายสมชัย ก็จะไม่เข้าประชุม
**แฉตั้งสันติบาลข้ามขั้นตอน
สำหรับ มติที่ กกต.ให้ตำรวจสันติบาลเข้ามาสนับสนุนงานของ กกต. มีรายงานว่า เป็นมติ วันที่ 18 ธ.ค. ระบุว่า ที่ประชุมกกต. เห็นว่าสันติบาลมีกำลังอยู่ทั่วประเทศ และปฏิบัติงานในทางลับได้ น่าที่จะสนับสนุนภารกิจในการสืบข่าวการทุจริตการเลือกตั้ง โดยให้แต่งตั้งสันติบาลจำนวน 708 นาย ให้เป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติงานเลือกตั้ง เพื่อสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดและมติดังกล่าว มีกกต.เพียง 4 คนร่วมประชุม โดยขาด นายสมชัย ซึ่งต่อมานายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. ก็ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งสันติบาลเข้ามาสนับสนุนงาน กกต.ในวันที่ 20 ธ.ค. 50 ซึ่งการขอกำลังตำรวจสันติบาลมาช่วย กกต.เพิ่มเติมในครั้งนี้ กลับมิได้ผ่านความเห็นชอบของนายสมชัย ทั้งๆ ที่ มติ กกต. ครั้งวันที่ 13 พ.ย. ระบุให้นายสมชัย เป็นคนรับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า วันที่ 21 ธ.ค. ทางสำนักงาน กกต.ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล เกี่ยวกับการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล ที่ช่วยปฏิบัติงาน โดยอ้างคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ 358/2550 เรื่องการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ระบุให้ ทางตำรวจสันติบาล ที่ได้รับการแต่ตั้ง ไปรายงานตัว ทั้งนี้ หนังสือยังระบุว่า ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผ่านผู้อำนวยการศูนย์การรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบโดยตรง ส่วนหนึ่งแล้ว
เมื่อหนังสือมาถึงมือ พล.ต.ท. ระพีพัฒน์ ปาละวงศ์ ผบช.ส. ในวันที่ 27 ธ.ค. 50 ทาง ผบช.ส. ก็ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึง พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศรส.ลต.ตร). ทันที โดยมีเนื้อหาระบุว่า การแต่งตั้ง ตำรวจจากสันติบาลมาช่วยงานดังกล่าว ไม่มีการเซ็นรับทราบจาก ผอ. ศรส.ลต.ตร. แต่อย่างใด
ทั้งนี้การตั้ง ศรส.ลต.ตร. ก็เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการควบคุม และสั่งการ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยการเลือกตั้ง และสนับสนุน กกต. ดังนั้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ศรส.ลต.ตร. ควรมีส่วนได้พิจารณาตกลงใจก่อนทุกครั้ง
ดังนั้นการแต่งตั้งตำรวจสันติบาลเพื่อมาช่วยงานกกต. ด้านสืบสวนสอบสวนนั้น ไม่ได้ผ่าน ศรส.ลต.ตร. และการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ดังกล่าว แต่เป็นการหารือร่วมกันระหว่าง กกต. และ ตำรวจสันติบาลโดยตรง และบุคคลที่มาช่วยงาน ก็ไม่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
** ส่งทหารคุ้มครองผู้ว่าฯ-กกต.บุรีรัมย์
เมื่อเวลา 8.00 น. วานนี้ (3 ม.ค.) พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และพล.อ. บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ได้ร่วมรับประทานอาหารเช้า และหารือกับ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จากนั้น คมช. ได้ประชุมร่วมกันโดยมีพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. และรักษาการประธาน คมช. เป็นประธาน
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุม คมช. มีการหารือถึงกรณีที่ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ถูกข่มขู่ ซึ่งมีข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ รายงานให้ คมช. ทราบว่ามีอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ได้ว่าจ้างหัวคะแนน และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ จัดเกณฑ์ประชาชนจำนวน 10,000 คน มาชุมนุมเคลื่อนไหว กดดันการทำงานของ ผวจ.บุรีรัมย์ และ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ ที่หน้าศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ ในเวลา 10.00 น. วันนี้ (4 ม.ค.) เพื่อเป็นการประท้วงที่ กกต. แจกใบแดง 3 ว่าที่ ส.ส.บุรีรัมย์ ของพรรคพลังประชาชน นอกจากนี้ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตของนางกรุณา ชิดชอบ ภริยานายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังพิจารณาคดีอยู่ ทำให้เชื่อได้ว่า การออกมาจัดตั้งม็อบครั้งนี้ เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ และการพิจารณาของกกต.ด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า คมช. มีมติเห็นตรงกัน ให้กำลังทหารในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ที่ได้จัดส่งเพื่อสนับสนุนการทำงานของ กกต. เข้าไปดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ที่จะมีการชุมนุมในวันนี้ และให้ส่งกำลังทหารเข้าไปดูแลความปลอดภัย ของผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ และ กกต. เพื่อให้ความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชอบธรรม เพราะขณะนี้มีเพียงพื้นที่จ.บุรีรัมย์ ที่เจ้าหน้าที่ยอมต่อสู้กับอิทธิพลของกลุ่มอำนาจเก่า ดังนั้นคมช. ต้องให้ความคุ้มกันและรับรองความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ นอกจากนี้ คมช. พิจารณาแล้วเห็นว่า หากการต่อสู้ทาการเมืองในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ มีความรุนแรง อาจจำเป็นที่จะเสนอให้ครม. ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ เพิ่มเติมอีกได้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในเบื้องต้น คมช. ยังต้องการให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร. ใช้กำลังจากกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ไปรักษาความสงบเรียบร้อย และขอความร่วมมือไม่ให้ชาวบ้านมาชุมนุม เพราะขณะนี้ประเทศอยู่ในช่วงที่กำลังโศกเศร้า และประกอบพระพิธีศพ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อีกทั้ง คมช. ยังเห็นว่า การเคลื่อนไหวกดดันดังกล่าว นอกจากดดันกรณีการร้องเรียนทุจริต ภรรยานายเนวิน แล้วยังต้องการสร้างกระแสกดดันให้ กกต.จังหวัด ในพื้นที่อื่นที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามา ไม่กล้าส่งเรื่องเข้ามา กกต.ใหญ่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความล่าช้าในการทำงานของ กกต.
**เตรียมปรับปรุงการทำงานกกต.
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวถึงกรณีที่มีการแจ้งการข่มขู่ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า เมื่อวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมาได้โทรศัพท์คุยกับประธาน กกต.บุรีรัมย์ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร ประธาน กกต.บุรีรัมย์ ก็พร้อมจะสู้ ไม่หวั่นไหว เพราะมันมีข่าวไม่ดี ข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงเกิดขึ้นไปทั่ว แต่ กกต.เองก็จะตั้งใจทำงานให้ตรงไปตรงมา ให้ถูกต้องที่สุด ส่วนเรื่องการรักษาความปลอดภัย ก็ทำกันอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงกรณีที่นาย สมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย ระบุว่า จะกลับไปอยู่ศาลยุติธรรม นายอภิชาต กล่าวว่า คงไม่ต้องปรับความเข้าใจ เพราะนายสมชัย ก็บอกแล้วว่าไม่มีความขัดแย้งอะไร ความคิดเห็นที่แตกต่างกันคงไม่ทำให้พวกเราทะเลาะกัน ทุกคนเป็นมิตรที่ดีต่อกัน และทำงานร่วมกันได้
อย่างไรก็ตาม ในการทำงานของ กกต.จะต้องมีการปรับปรุงงานแน่นอนอยู่แล้ว ซึ่งเราอาจจะเปลี่ยนวิธีการเป็นอย่างอื่น แต่ก็ต้องพูดกันทั้ง 5 คน ถ้าสับเปลี่ยนก็สับเปลี่ยนทุกคน อาจเปลี่ยนงานความรับผิดชอบ เหมือนข้าราชการทั่วไป ที่ต้องย้าย ถ้าเราทำงานกันวาระอยู่ถึง 7 ปี ก็ต้องมีการปรับบ้าง
เมื่อถามต่อว่า แสดงว่าจะมีการเปลี่ยนงานในความรับผิดชอบของ กกต.ใช่หรือไม่ นายอภิชาต กล่าวว่า ถือเป็นการสับเปลี่ยนกัน เพราะงานของ กกต. มี 5 ด้าน เท่ากับ กกต. 5 คน ถ้าเปลี่ยนแปลงก็คือ การสลับตำแหน่ง แต่ละคนก็รับผิดชอบกันอีกด้าน
เมื่อถามว่าสนใจที่จะรับผิดชอบงานด้านสืบสวนสอบสวนหรือไม่ นายอภิชาต กล่าวว่า ตนทำได้ทุกอย่าง อย่างที่รับผิดชอบด้านบริหารจัดการทั่วไปก็เพราะให้คนอื่นเลือกก่อน เมื่อเหลือด้านเดียว ตนก็รับผิดชอบไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้คุยกัน ซึ่งเห็นว่า เวลาที่เหมาะสมในการปรับปรุงงานรับผิดชอบคือหลังช่วงเลือกตั้งส.ว.
**แจงขั้นตอนเลือกปธ.สภา-นายกฯ
นายพิฑูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อรับการแสดงตนของ ส.ส. ว่า หลังจาก กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งแล้ว ขอเชิญ ส.ส.มาแสดงตนที่บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา 1 ตั้งแต่เวลา 08.30 - 20.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
สำหรับการเปิดประชุมรัฐสภาที่ต้องเปิดประชุมให้ได้ภายใน 30 วัน หลังการเลือกตั้ง คือภายในวันที่ 22 ม.ค.นั้น เมื่อมีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ครบ 95 % แล้วทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร จะประสานกับสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชกฤษฏีกา ขอเปิดสมัยประชุมรัฐสภา จากนั้นจะจัดให้มีรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ซึ่งการเปิดประชุมสภาในสมัยนี้จะมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา เมื่อเปิดสมัยประชุมสภาแล้ว 3 วัน จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นจึงไปสู่กระบวนการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น สนช.จะทำหน้าที่วุฒิสภารักษาการ โดยประธาน สนช.จะทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา.
วานนี้( 3 ม.ค) คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ทั้ง 5 คนนำโดย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ได้ร่วมกันแถลงประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียน รวมทั้งสิ้น 397 คน แบ่งเป็น ส.ส. แบบสัดส่วน ประกาศรับรอง 76 คน ไม่รับรอง 4 คน เป็นว่าที่ ส.ส. พรรคพลังประชาชน 3 คน คือนายยงยุทธ ติยะไพรัช ว่าที่ ส.ส. กลุ่มที่ 1 นายชวลิต วิชยสุทธิ์ และนายธนเทพ ทิมสุวรรณ ว่าที่ ส.ส. กลุ่ม 3
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มี 1 คนคือ นายไพฑูรย์แก้วทอง ว่าที่ ส.ส. กลุ่ม 2 ซึ่งทั้งหมดโดนข้อหาแจกทรัพย์สินและแจกเงิน
ส่วน ส.ส. แบบแบ่งเขต ประกาศรับรองแล้ว 321 คน ไม่ประกาศรับรอง 79 คน แยกเป็นพรรคพลังประชาชน 62 คน ประชาธิปัตย์ 5 คน ชาติไทย 4 คน เพื่อแผ่นดิน 6 มัชฌิมาธิปไตย 1 คน รวมใจไทยชาติพัฒนา 1 คน รวมทั้งระบบสัดส่วน และเขตเลือกตั้งที่กกต.ไม่ประกาศรับรอง แยกเป็น พรรคพลังประชาชน 65 คน ประชาธิปัตย์ 6 คน ชาติไทย 4 คน เพื่อแผ่นดิน 6 คน มัชฌิมาธิปไตย 1 คน และรวมใจไทยชาติพัฒนา 1 คน
หลังจากนี้ กกต. จะเร่งทำหนังสือรับรอง และ ส.ส. ที่ได้รับการรับรอง สามารถมารับหนังสือรับรองเพื่อนำไปแสดงตนต่อสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งแต่วันนี้ (4 ม.ค.)
นายอภิชาต ยืนยันว่า การประกาศรับรองผล ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งหรือจ้องที่จะไม่ประกาศพรรคไหน เพราะเราไม่คำนึงว่าเป็นพรรคไหนอย่างไรแต่ดูเป็นรายบุคคล โดยเริ่มพิจารณาจาก จังหวัดที่มี ส.ส. น้อยที่สุดอย่าง จ.ระนอง ไปจนถึง ที่มี ส.ส. มากที่สุดอย่าง กทม. และตรวจเช็คข้อมูลระหว่างด้านสืบสวนสอบสวน และด้านบริหารเลือกตั้งเพื่อให้ชัดเจนว่า ทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่มีเรื่องร้องเรียนค้างอยู่ถึง 3 รอบด้วยกัน
ส่วนที่ยังไม่ได้รับรอง กกต. ก็ได้ตรวจสอบไปยังเจ้าหน้าที่เจ้าของสำนวนว่า เรื่องอยู่ขั้นตอนใด รวมทั้งได้กำหนดวันแล้วเสร็จของแต่ละสำนวน เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำเสนอสำนวนเข้าที่สู้ที่ประชุม กกต. ตามเวลาที่กำหนด โดยมีเวลาพิจารณาในส่วนที่เหลือได้ถึงกลางเดือนนี้ หากไม่แล้วเสร็จก็อาจจะต้องประกาศรับรองไปก่อนเพื่อให้สามารถเปิดสภาได้
ส่วนกรณีของนายบรรหาร ศิลปอาชา ว่าที่ ส.ส. เขต 1 สุพรรณบุรี ที่ กกต. มีมติให้สอบสวนเพิ่มเนื่องจาก กรรมการประจำหน่วย วางตัวไม่เป็นกลางนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้รับรองไปก่อน เนื่องจากเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของ เจ้าหน้าที่ แต่หากผลการสอบสวนในเวลาต่อมาพบว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรมก็สามารถสั่งให้เลือกตั้งใหม่ได้
นายอภิชาต ยังกล่าวถึงกรณีที่ศาลฎีกา มีคำสั่งรับคำฟ้องของนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ผู้สมัคร ส.ส. บุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ ไว้พิจารณา ว่าไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการประกาศรับรองผลเลือกตั้งของ กกต. เพราะทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง เราต้องดูว่าอะไรที่เข้าหลักเกณฑ์ อะไรที่อยู่ในอำนาจของ กกต. เราก็ประกาศรับรองไป และที่ กกต. เพิ่งจะแถลงก็ไม่ใช่เพราะรอผลการพิจารณาของศาลฯ แต่เรื่องเข้ามาให้พิจารณาช่วงบ่าย และจนถึงขณะนี้ก็ไม่ทราบว่าศาลมีคำสั่งอย่างไร และกกต. ก็คงไม่ต้องไปประสานกับทางศาล หากมีการพาดพิงมา เราก็แก้ข้อกล่าวหาไป เชื่อว่าศาลคงพิจารณาไปตามพยานหลักฐาน
ในส่วนของ 83 ว่าที่ ส.ส. ที่ยังไม่รับรอง หากมีการประวิงเวลาโดยไม่เข้าชี้แจงจะทำอย่างไร นาย ประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารเลือกตั้ง กล่าวว่า อยากให้มาชี้แจง เพราะถ้าไม่ชี้แจง แล้ว กกต.ประกาศรับรองไปก่อน แล้วมาพบหลักฐานในภายหลังว่าการเลือกตั้งไม่สุจริต กกต.ก็ต้องส่งเรื่องไปที่ศาล และเมื่อถึงตอนนั้นก็จะมีโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งห้าปี ดังนั้น ถ้าถูกแจ้งข้อกล่าวหาก็ควรมาชี้แจง เรื่องจะได้ยุติ
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า เท่าที่ดูสำนวน ก็เชื่อได้ว่า กกต. จะสามารถพิจารณารับรอง ส.ส. ได้เพียงพอต่อการเปิดประชุมสภา และขณะนี้ก็เหลือเพียง 59 คน เท่านั้น ส่วนกรณีของ นายยงยุทธ ที่ยังไม่ได้รับรอง หากนายยงยุทธ มาชี้แจงในวันที่ 8 ม.ค. คิดว่าในวันที่ 10 ม.ค. นี้ กกต.ก็จะตัดสินได้เลยว่าจะได้ใบขาว ใบเหลือง หรือใบแดง แต่ถ้านายยงยุทธไม่มา ก็จะเสียสิทธิ และทำให้การพิจารณาของ กกต. ล่าช้าออกไปอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ กกต.ไม่ประกาศรับรองส.ส.อีก 83 คนนั้น เมื่อนำมาหักกับจำนวนส.ส. ที่แต่ละพรรคได้รับเลือกตั้งโดยพรรคพลังประชาชนได้ 233 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 165 คน พรรคชาติไทยได้ 37 คน พรรคเพื่อแผ่นดินได้ 24 คน พรรคมัชฌิมาธิปไตยได้ 7 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาได้ 9 คน ประชาราช 5 คน แล้วจะเท่ากับว่า ขณะนี้พรรคพลังประชาชน มีส.ส. 168 คน ประชาธิปัตย์ 159 คน ชาติไทย 33 คน เพื่อแผ่นดิน 18 คน มัชฌิมาธิปไตย 6 คน รวมใจไทยชาติพัฒนา 8 คน ประชาราช 5 คน และเมื่อพิจารณาถึงจำนวนเสียงที่เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน โดยทุกพรรคเข้าร่วม ปล่อยโดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียว ก็จะมีเสียงจัดตั้งรัฐบาล แค่ 238 เสียงเท่านั้น
**ร้องระงับการรับรอง30ว่าที่ส.ส.พปช.
วันเดียวกัน นายถาวร เสนเนียม และนายเจือ ราชสีห์ ว่าที่ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง และขอให้ระงับการประกาศรับรองผลว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน รวม 30 คน ด้วยเหตุผลว่า ทั้งหมดถูกร้องว่า ร่วมกันแจกแผ่นซีดีทักษิณ ประกอบด้วย น.ส.อรุณี ชำนาญยา เขต 1 พะเยา นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ นายสถาพร มณีรัตน์ นายสงวน พงษ์มณี เขต 1 ลำพูน นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ นายกฤษฎาภรณ์ เสียมภักดี เขต 1 เชียงใหม่ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ นายวิทยา ทรงคำ นายนพคุณ รัฐไผท เขต 2 เชียงใหม่ นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร นายไชยวัฒน์ ติณรัตน์ นายสรรภัญูญู ศิริไปล์ เขต 2 มหาสารคาม
นาง จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ นาย โสภณ โกชุม นาย ประสิทธิ์ วุฒินันท์ชัย เขต 3 เชียงใหม่ นาย วารุจ ศิริวัฒน์ เขต 1 อุตรดิตถ์ นาย จิรพันธ์ สิ้มสกุลศิริรัตน์ นาย นที สุทินเผือก เขต 2 สมุทรปราการ นาย อนันท์ ผลอำนวย นาย ปริญญา ฤกษ์หร่าย เขต 1 กำแพงเพชร นาย ธเนศ เครือรัตน์ นาย สุรชาติ ชาญประดิษฐ์ นาย ปวีณ แซ่จึง เขต 1 ศรีสะเกษ นาย วิวัฒชัย โหตระไวศยะ นาย อมรเทพ สมหมาย นาย ธีระ ไตรสรณกุล เขต 3 ศรีสะเกษ นาย กิตติกร โล่สุนทร นาย ธนาธร โลห์สุนทร นาย วาสิต พยัคฆบุตร เขต 1 ลำปาง
ทั้งนี้ นายถาวร กล่าวว่า ที่ขอให้ระงับการประกาศรับรอง เพราะหากต้องมาสอยภายหลังจะส่งผลต่อการ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่ต้องเป็นไปอย่างใสสะอาด แม้จะทำให้การเปิดสภาต้องล่าช้าไปกว่า 30 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ก็ตามก็ไม่มีความสำคัญกว่าความโปร่งใสในการโหวตเลือกนายกฯ
** "สมชัย"งัดเอกสารสู้ 4 กกต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันนี้ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยได้ นำเอกสารเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่นำมาแจกต่อสื่อมวลชน โดย เอกสารดังกล่าวมี 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1. มติ กกต. ครั้งที่ 98/2550 ลงวันที่ 13 พ.ย. 50 มีเนื้อหาเกี่ยวกํบเรื่องการสรรหาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในการเลือกตั้งส.ส. โดย กกต.ได้พิจารณาเรื่องสรรหาบุคลากรตามที่ผู้แทนด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยโดยเห็นชอบให้แต่งตั้งตำรวจจำนวน 1,200นาย เป็นคณะกรรมการสืบสวน มีหน้าที่สืบสวนเรื่องคัดค้านในพื้นที่เขตเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการสืบสวนที่ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยให้รองเลขาธิการด้านสืบสวน และผอ.สำนักสืบสวนควบคุมดูแลประสานงานในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสืบสวน
ในมติ มีการระบุว่า " อนึ่ง ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่จะเปลี่ยนตัวคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน หรือแต่งตั้งเพิ่มเติมให้ กกต. ( นายสมชัย จึงประเสริฐ) ซึ่งดูแลกำกับด้านกิจการสืบสอนสอบสวนและวินิจฉัย พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม และความจำเป็น"
ทั้งนี้ มติดังกล่าว กกต. ลงนาม เพียง 4 คน ขาดนางสดศรี สัตยธรรม ที่ลาการประชุมในช่วงบ่าย เนื่องจากติดภารกิจ
ส่วนเอกสารฉบับที่ 2 เป็น คำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ 300 / 50 ลงนามโดยนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ลงวันที่ 14 พ.ย. 50 ซึ่งเป็นเอกสารคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน ตามมติ กกต. ข้างต้น
ทั้งนี้ ก่อนหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนทั้ง 1,200 นายนั้น ทางด้านกิจการสืบสวนสอบสวน โดยพ.ต.อ. จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการ กกต. ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ลต 0202/ ว 1043 ลงวันที่ 16 ต.ค. 50 เรื่องการสรรหาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง ส.ส. อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งเอกสารดังกล่าวส่งถึงประธาน กกต.ทุกจังหวัด และ กทม. เพื่อให้ประธานกกต.จังหวัดทุกจังหวัดสรรหาบุคลากรในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและเป็นกลางทางการเมือง จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย
1. ชุดสืบสวนสอบสวนพิจารณาสรรหาจากตำรวจชั้นสัญญาบัตร ทำหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน (สป.1-3) หรือ พนักงานสอบสวนผู้ที่เคยผ่านการอบรมเป็นอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนที่เคยช่วยปฏิบัติงานในการเลือกตั้ง และเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมเป็นกลางทางการเมือง โดยแบ่งเป็นชุดละ 3 คน ต่อ ส.ส. แบบแบ่งเขต 1 คน
2. ชุดป้องปรามและหาข่าวพิจารณาสรรหาจากตำรวจฝ่ายปกครอง อาสาสมัคร และผู้มีความเหมาะสมและเป็นกลางทางการเมือง โดยแบ่งเป็นชุดละ 2 คนต่อ ส.ส. แบบแบ่งเขต 1 คน และ 3. ชุดประจำศูนย์ประสานงานประจำจังหวัดพิจารณาขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดๆ ละ 1 ชุด ชุดละ 5 คน และให้จัดการอบรมแก่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 1,200 นาย
อีกทั้ง ภายหลังจากที่ได้รับรายชื่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนจากทางจังหวัดทั้ง 1,200 นายแล้ว ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนยังมีคำสั่งให้ตรวจสอบในทางลับว่า คณะกรรมการสืบสวนที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น มีความสัมพันธ์กับผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการสืบสวนตามคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว ในช่วงก่อนวันเลือกตั้งไม่กี่วัน ถูก กกต. 4 คน มองว่าไม่มีประสิทธิภาพ และได้ขอมีกำลังจากตำรวจสันติบาลมาช่วย ทำให้นายสมชัย ไม่พอใจ เพราะเห็นว่าการเข้ามาของตำรวจสันติบาลไม่ถูกต้อง ทำให้ต่อมาเมื่อมีการเสนอสำนวนทุจริตของตำรวจสันติบาล นายสมชัย ก็จะไม่เข้าประชุม
**แฉตั้งสันติบาลข้ามขั้นตอน
สำหรับ มติที่ กกต.ให้ตำรวจสันติบาลเข้ามาสนับสนุนงานของ กกต. มีรายงานว่า เป็นมติ วันที่ 18 ธ.ค. ระบุว่า ที่ประชุมกกต. เห็นว่าสันติบาลมีกำลังอยู่ทั่วประเทศ และปฏิบัติงานในทางลับได้ น่าที่จะสนับสนุนภารกิจในการสืบข่าวการทุจริตการเลือกตั้ง โดยให้แต่งตั้งสันติบาลจำนวน 708 นาย ให้เป็นเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติงานเลือกตั้ง เพื่อสืบสวนสอบสวนการกระทำความผิดและมติดังกล่าว มีกกต.เพียง 4 คนร่วมประชุม โดยขาด นายสมชัย ซึ่งต่อมานายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. ก็ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งสันติบาลเข้ามาสนับสนุนงาน กกต.ในวันที่ 20 ธ.ค. 50 ซึ่งการขอกำลังตำรวจสันติบาลมาช่วย กกต.เพิ่มเติมในครั้งนี้ กลับมิได้ผ่านความเห็นชอบของนายสมชัย ทั้งๆ ที่ มติ กกต. ครั้งวันที่ 13 พ.ย. ระบุให้นายสมชัย เป็นคนรับผิดชอบ
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า วันที่ 21 ธ.ค. ทางสำนักงาน กกต.ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล เกี่ยวกับการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล ที่ช่วยปฏิบัติงาน โดยอ้างคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ 358/2550 เรื่องการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ระบุให้ ทางตำรวจสันติบาล ที่ได้รับการแต่ตั้ง ไปรายงานตัว ทั้งนี้ หนังสือยังระบุว่า ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผ่านผู้อำนวยการศูนย์การรักษาความสงบเรียบร้อยในการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบโดยตรง ส่วนหนึ่งแล้ว
เมื่อหนังสือมาถึงมือ พล.ต.ท. ระพีพัฒน์ ปาละวงศ์ ผบช.ส. ในวันที่ 27 ธ.ค. 50 ทาง ผบช.ส. ก็ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ถึง พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รอง ผบ.ตร หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศรส.ลต.ตร). ทันที โดยมีเนื้อหาระบุว่า การแต่งตั้ง ตำรวจจากสันติบาลมาช่วยงานดังกล่าว ไม่มีการเซ็นรับทราบจาก ผอ. ศรส.ลต.ตร. แต่อย่างใด
ทั้งนี้การตั้ง ศรส.ลต.ตร. ก็เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการควบคุม และสั่งการ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยการเลือกตั้ง และสนับสนุน กกต. ดังนั้นการดำเนินการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ศรส.ลต.ตร. ควรมีส่วนได้พิจารณาตกลงใจก่อนทุกครั้ง
ดังนั้นการแต่งตั้งตำรวจสันติบาลเพื่อมาช่วยงานกกต. ด้านสืบสวนสอบสวนนั้น ไม่ได้ผ่าน ศรส.ลต.ตร. และการปฏิบัติหน้าที่ จึงไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์ดังกล่าว แต่เป็นการหารือร่วมกันระหว่าง กกต. และ ตำรวจสันติบาลโดยตรง และบุคคลที่มาช่วยงาน ก็ไม่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
** ส่งทหารคุ้มครองผู้ว่าฯ-กกต.บุรีรัมย์
เมื่อเวลา 8.00 น. วานนี้ (3 ม.ค.) พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และพล.อ. บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ได้ร่วมรับประทานอาหารเช้า และหารือกับ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จากนั้น คมช. ได้ประชุมร่วมกันโดยมีพล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. และรักษาการประธาน คมช. เป็นประธาน
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุม คมช. มีการหารือถึงกรณีที่ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ถูกข่มขู่ ซึ่งมีข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ รายงานให้ คมช. ทราบว่ามีอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ได้ว่าจ้างหัวคะแนน และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ จัดเกณฑ์ประชาชนจำนวน 10,000 คน มาชุมนุมเคลื่อนไหว กดดันการทำงานของ ผวจ.บุรีรัมย์ และ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ ที่หน้าศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ ในเวลา 10.00 น. วันนี้ (4 ม.ค.) เพื่อเป็นการประท้วงที่ กกต. แจกใบแดง 3 ว่าที่ ส.ส.บุรีรัมย์ ของพรรคพลังประชาชน นอกจากนี้ขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องร้องเรียนการทุจริตของนางกรุณา ชิดชอบ ภริยานายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังพิจารณาคดีอยู่ ทำให้เชื่อได้ว่า การออกมาจัดตั้งม็อบครั้งนี้ เพื่อกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ และการพิจารณาของกกต.ด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า คมช. มีมติเห็นตรงกัน ให้กำลังทหารในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ที่ได้จัดส่งเพื่อสนับสนุนการทำงานของ กกต. เข้าไปดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ที่จะมีการชุมนุมในวันนี้ และให้ส่งกำลังทหารเข้าไปดูแลความปลอดภัย ของผู้ว่าฯ บุรีรัมย์ และ กกต. เพื่อให้ความมั่นใจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชอบธรรม เพราะขณะนี้มีเพียงพื้นที่จ.บุรีรัมย์ ที่เจ้าหน้าที่ยอมต่อสู้กับอิทธิพลของกลุ่มอำนาจเก่า ดังนั้นคมช. ต้องให้ความคุ้มกันและรับรองความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ นอกจากนี้ คมช. พิจารณาแล้วเห็นว่า หากการต่อสู้ทาการเมืองในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ มีความรุนแรง อาจจำเป็นที่จะเสนอให้ครม. ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ เพิ่มเติมอีกได้
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในเบื้องต้น คมช. ยังต้องการให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร. ใช้กำลังจากกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค ไปรักษาความสงบเรียบร้อย และขอความร่วมมือไม่ให้ชาวบ้านมาชุมนุม เพราะขณะนี้ประเทศอยู่ในช่วงที่กำลังโศกเศร้า และประกอบพระพิธีศพ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อีกทั้ง คมช. ยังเห็นว่า การเคลื่อนไหวกดดันดังกล่าว นอกจากดดันกรณีการร้องเรียนทุจริต ภรรยานายเนวิน แล้วยังต้องการสร้างกระแสกดดันให้ กกต.จังหวัด ในพื้นที่อื่นที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามา ไม่กล้าส่งเรื่องเข้ามา กกต.ใหญ่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความล่าช้าในการทำงานของ กกต.
**เตรียมปรับปรุงการทำงานกกต.
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. กล่าวถึงกรณีที่มีการแจ้งการข่มขู่ กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า เมื่อวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมาได้โทรศัพท์คุยกับประธาน กกต.บุรีรัมย์ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องนี้ แต่คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไร ประธาน กกต.บุรีรัมย์ ก็พร้อมจะสู้ ไม่หวั่นไหว เพราะมันมีข่าวไม่ดี ข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงเกิดขึ้นไปทั่ว แต่ กกต.เองก็จะตั้งใจทำงานให้ตรงไปตรงมา ให้ถูกต้องที่สุด ส่วนเรื่องการรักษาความปลอดภัย ก็ทำกันอยู่แล้ว
เมื่อถามถึงกรณีที่นาย สมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย ระบุว่า จะกลับไปอยู่ศาลยุติธรรม นายอภิชาต กล่าวว่า คงไม่ต้องปรับความเข้าใจ เพราะนายสมชัย ก็บอกแล้วว่าไม่มีความขัดแย้งอะไร ความคิดเห็นที่แตกต่างกันคงไม่ทำให้พวกเราทะเลาะกัน ทุกคนเป็นมิตรที่ดีต่อกัน และทำงานร่วมกันได้
อย่างไรก็ตาม ในการทำงานของ กกต.จะต้องมีการปรับปรุงงานแน่นอนอยู่แล้ว ซึ่งเราอาจจะเปลี่ยนวิธีการเป็นอย่างอื่น แต่ก็ต้องพูดกันทั้ง 5 คน ถ้าสับเปลี่ยนก็สับเปลี่ยนทุกคน อาจเปลี่ยนงานความรับผิดชอบ เหมือนข้าราชการทั่วไป ที่ต้องย้าย ถ้าเราทำงานกันวาระอยู่ถึง 7 ปี ก็ต้องมีการปรับบ้าง
เมื่อถามต่อว่า แสดงว่าจะมีการเปลี่ยนงานในความรับผิดชอบของ กกต.ใช่หรือไม่ นายอภิชาต กล่าวว่า ถือเป็นการสับเปลี่ยนกัน เพราะงานของ กกต. มี 5 ด้าน เท่ากับ กกต. 5 คน ถ้าเปลี่ยนแปลงก็คือ การสลับตำแหน่ง แต่ละคนก็รับผิดชอบกันอีกด้าน
เมื่อถามว่าสนใจที่จะรับผิดชอบงานด้านสืบสวนสอบสวนหรือไม่ นายอภิชาต กล่าวว่า ตนทำได้ทุกอย่าง อย่างที่รับผิดชอบด้านบริหารจัดการทั่วไปก็เพราะให้คนอื่นเลือกก่อน เมื่อเหลือด้านเดียว ตนก็รับผิดชอบไป อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้คุยกัน ซึ่งเห็นว่า เวลาที่เหมาะสมในการปรับปรุงงานรับผิดชอบคือหลังช่วงเลือกตั้งส.ว.
**แจงขั้นตอนเลือกปธ.สภา-นายกฯ
นายพิฑูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึงการเตรียมความพร้อม เพื่อรับการแสดงตนของ ส.ส. ว่า หลังจาก กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งแล้ว ขอเชิญ ส.ส.มาแสดงตนที่บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคารรัฐสภา 1 ตั้งแต่เวลา 08.30 - 20.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
สำหรับการเปิดประชุมรัฐสภาที่ต้องเปิดประชุมให้ได้ภายใน 30 วัน หลังการเลือกตั้ง คือภายในวันที่ 22 ม.ค.นั้น เมื่อมีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งได้ครบ 95 % แล้วทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร จะประสานกับสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชกฤษฏีกา ขอเปิดสมัยประชุมรัฐสภา จากนั้นจะจัดให้มีรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ซึ่งการเปิดประชุมสภาในสมัยนี้จะมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา เมื่อเปิดสมัยประชุมสภาแล้ว 3 วัน จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นจึงไปสู่กระบวนการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น สนช.จะทำหน้าที่วุฒิสภารักษาการ โดยประธาน สนช.จะทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา.