ผู้จัดการรายวัน - แบงก์กรุงไทยมั่นใจปีนี้ปล่อยสินเชื่อภาครัฐได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท จากเม็ดเงินลงทุนภาครัฐทั้งหมด 150,000-160,000 ล้านบาท เหตุเป็นแบงก์ของรัฐและคิดดอกเบี้ยไม่สูง ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อภาครัฐปีนี้อยู่ที่ประมาณ 130,000 -140,000 ล้านบาท เชื่อรัฐบาลใหม่เน้นอัดฉีดเงินลงทุนในโครงการขนาดใหญ่สร้างความเชื่อมั่นให้กับเอกชน
นายปรีชา ภูขำ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารคาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่โครงการภาครัฐ ทั้งโครงการเมกะโปรเจ็กและโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่สามารถปล่อยสินเชื่อภาครัฐได้ทั้งสิ้นประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐในปีนี้ทั้งหมดประมาณ 150,000-160,000 ล้านบาท
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ธนาคารเชื่อว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้นั้น เนื่องจากธนาคารกรุงไทยถือเป็นของธนาคารของรัฐและรัฐบาลย่อมต้องการกู้เงินจากธนาคารที่คิดดอกเบี้ยไม่แพง เพื่อเป็นการบริหารหนี้สาธารณะไปในตัว อย่างไรก็ตามหากปีนี้ปล่อยสินเชื่อภาครัฐได้ทั้งสิ้น 50,000 ล้านบาท จะส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อภาครัฐปีนี้อยู่ที่ประมาณ 130,000 -140,000 ล้านบาท
“ ไม่ว่าหน้าตาของรัฐบาลจะออกมาเป็นอย่างไร เราเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะเร่งทำคือการอัดฉีดเงินลงทุนโครงการขนาดใหญ่เพื่อให้เอกชนเกิดความเชื่อมั่นและลงทุนตาม โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กหากเกิดขึ้นจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนต่อเนื่องไปถึง 20 กลุ่มอุตสาหกรรม”นายปรีชา กล่าว
นายปรีชา กล่าวว่า ในการปล่อยสินเชื่อภาครัฐนั้นธนาคารจะได้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (มาร์จิ้น) ในระดับที่ต่ำกว่าหากเปรียบเทียบกับธนาคารเอกชน แต่ยังถือว่ามาร์จิ้นที่ธนาคารกรุงไทยได้รับนั้นยังอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร ไม่ถึงขั้นขาดทุน แม้ดอกเบี้ยที่ธนาคารเสนอในการประมูลสินเชื่อภาครัฐแต่ละครั้งไม่สูงมาก แต่ก็ยึดหลักอยู่บนพื้นฐานของการมีกำไร เพราะนอกจากการเป็นธนาคารของรัฐแล้ว อีกมุมหนึ่งธนาคารกรุงไทยก็มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน ดังนั้นต้องคำนึงถึงกำไรและความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น มีการจ่ายเงินปันผลไม่ใช่การลงทุนแบบไม่หวังผลกำไรหรือมีกำไรน้อยจนเกินไป
“มาร์จิ้นเราสู้เอกชนไม่ได้ แต่ก็ถือว่าดีพอสมควร และการปล่อยกู้ภาครัฐมีข้อดีคือไม่ต้องตั้งสำรองจึงไม่ต้องกังวลเรื่องหนี้เสีย”นายปรีชา กล่าว
นายปรีชา ภูขำ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานธุรกิจภาครัฐ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารคาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่โครงการภาครัฐ ทั้งโครงการเมกะโปรเจ็กและโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่สามารถปล่อยสินเชื่อภาครัฐได้ทั้งสิ้นประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐในปีนี้ทั้งหมดประมาณ 150,000-160,000 ล้านบาท
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ธนาคารเชื่อว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้นั้น เนื่องจากธนาคารกรุงไทยถือเป็นของธนาคารของรัฐและรัฐบาลย่อมต้องการกู้เงินจากธนาคารที่คิดดอกเบี้ยไม่แพง เพื่อเป็นการบริหารหนี้สาธารณะไปในตัว อย่างไรก็ตามหากปีนี้ปล่อยสินเชื่อภาครัฐได้ทั้งสิ้น 50,000 ล้านบาท จะส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อภาครัฐปีนี้อยู่ที่ประมาณ 130,000 -140,000 ล้านบาท
“ ไม่ว่าหน้าตาของรัฐบาลจะออกมาเป็นอย่างไร เราเชื่อว่าสิ่งสำคัญที่รัฐบาลจะเร่งทำคือการอัดฉีดเงินลงทุนโครงการขนาดใหญ่เพื่อให้เอกชนเกิดความเชื่อมั่นและลงทุนตาม โดยเฉพาะเมกะโปรเจ็กหากเกิดขึ้นจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนต่อเนื่องไปถึง 20 กลุ่มอุตสาหกรรม”นายปรีชา กล่าว
นายปรีชา กล่าวว่า ในการปล่อยสินเชื่อภาครัฐนั้นธนาคารจะได้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (มาร์จิ้น) ในระดับที่ต่ำกว่าหากเปรียบเทียบกับธนาคารเอกชน แต่ยังถือว่ามาร์จิ้นที่ธนาคารกรุงไทยได้รับนั้นยังอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร ไม่ถึงขั้นขาดทุน แม้ดอกเบี้ยที่ธนาคารเสนอในการประมูลสินเชื่อภาครัฐแต่ละครั้งไม่สูงมาก แต่ก็ยึดหลักอยู่บนพื้นฐานของการมีกำไร เพราะนอกจากการเป็นธนาคารของรัฐแล้ว อีกมุมหนึ่งธนาคารกรุงไทยก็มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน ดังนั้นต้องคำนึงถึงกำไรและความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น มีการจ่ายเงินปันผลไม่ใช่การลงทุนแบบไม่หวังผลกำไรหรือมีกำไรน้อยจนเกินไป
“มาร์จิ้นเราสู้เอกชนไม่ได้ แต่ก็ถือว่าดีพอสมควร และการปล่อยกู้ภาครัฐมีข้อดีคือไม่ต้องตั้งสำรองจึงไม่ต้องกังวลเรื่องหนี้เสีย”นายปรีชา กล่าว