นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ในวันอังคารนี้กระทรวงการคลังจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาการออกพระราชกำหนดกู้เงินในประเทศอีก 94,000 ล้านบาท เพื่อชดเชยรายได้รัฐบาลที่ลดลงในปี 52 แต่ยอมรับว่ายังต้องการกู้เงินจากต่างประเทศเพิ่มเติมอีก แต่จะเป็นวงเงินเท่าใด ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณารายละเอียด โดยการกู้เงินในต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะหากภาครัฐกู้เงินในประเทศมากเกินไป ก็จะเป็นการแย่งตลาดกับภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น เป็นการเพิ่มภาระให้กับภาคเอกชน รัฐบาลจึงต้องการออกไปกู้ในต่างประเทศ
นายพงษ์ภาณุ กล่าวด้วยว่า แม้ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มเติม แต่ก็ต้องหาแนวทางบริหารจัดการด้วย เพราะแต่ละประเทศจะมีปัจจัยที่แตกต่างกัน และถึงแม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 43-45 ของจีดีพี หรือขยับเพิ่มไปมากกว่านั้นก็ยังเห็นว่าเป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงมากเกินไป เพราะยังมีเครื่องมือรองรับในการบริหารจัดการ และยังเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต โดยในต่างประเทศก็มีการกู้เช่นกัน แม้ว่ายอดภาระหนี้ต่อจีดีพีจะสูงก็ตาม เช่น ญี่ปุ่นมียอดหนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ 200 ของจีดีพี ในแต่ละเดือนจะมีหนี้ครบกำหนดเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องมีศักยภาพในการบริหารจัดการ ซึ่งญี่ปุ่นมีเงินฝากในระบบสูงมากจึงสามารถก่อหนี้ได้สูง ขณะที่สหรัฐอัดฉีดเงินถึง 7 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นเศรษฐกิจจึงทำให้หนี้ต่อจีดีพีสูงถึงร้อยละ 80
สำหรับการประชุมความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนเพื่อบริหารจัดการหนี้สาธารณะ สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีตัวแทนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานบริหารหนี้สาธารณะของสหรัฐ ตลอดจนตัวแทนจากเอเชียและยุโรป 13 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นในการบริหารหนี้สาธารณะ หลังจากทุกประเทศทั่วโลกเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐร้องค้ำประกันการกู้เงินให้กับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน แต่อาจมีความเสี่ยงจากภาระค้ำประกัน เปลี่ยนเป็นภาระหนี้ของภาครัฐได้ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จะมีแนวทางลดหนี้สาธารณะอย่างไรบ้าง
นายพงษ์ภาณุ กล่าวด้วยว่า แม้ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มเติม แต่ก็ต้องหาแนวทางบริหารจัดการด้วย เพราะแต่ละประเทศจะมีปัจจัยที่แตกต่างกัน และถึงแม้ว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 43-45 ของจีดีพี หรือขยับเพิ่มไปมากกว่านั้นก็ยังเห็นว่าเป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงมากเกินไป เพราะยังมีเครื่องมือรองรับในการบริหารจัดการ และยังเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต โดยในต่างประเทศก็มีการกู้เช่นกัน แม้ว่ายอดภาระหนี้ต่อจีดีพีจะสูงก็ตาม เช่น ญี่ปุ่นมียอดหนี้สาธารณะสูงถึงร้อยละ 200 ของจีดีพี ในแต่ละเดือนจะมีหนี้ครบกำหนดเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องมีศักยภาพในการบริหารจัดการ ซึ่งญี่ปุ่นมีเงินฝากในระบบสูงมากจึงสามารถก่อหนี้ได้สูง ขณะที่สหรัฐอัดฉีดเงินถึง 7 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นเศรษฐกิจจึงทำให้หนี้ต่อจีดีพีสูงถึงร้อยละ 80
สำหรับการประชุมความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนเพื่อบริหารจัดการหนี้สาธารณะ สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีตัวแทนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานบริหารหนี้สาธารณะของสหรัฐ ตลอดจนตัวแทนจากเอเชียและยุโรป 13 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นในการบริหารหนี้สาธารณะ หลังจากทุกประเทศทั่วโลกเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐร้องค้ำประกันการกู้เงินให้กับรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน แต่อาจมีความเสี่ยงจากภาระค้ำประกัน เปลี่ยนเป็นภาระหนี้ของภาครัฐได้ ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จะมีแนวทางลดหนี้สาธารณะอย่างไรบ้าง