เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อสิ่งพิมพ์คืออะไร ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดมาตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ต่อมามีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามลำดับ กฎหมายดังกล่าวได้ประกาศใช้บังคับมานานแล้ว และได้ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีสาระสำคัญที่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน ตามที่ได้มีการบัญญัติรองรับไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์อื่นๆ อีกหลายฉบับบัญญัติรองรับไว้เพียงพอต่อการคุ้มครองประโยชน์ของรัฐและประชาชนแล้ว กฎหมายใหม่จึงได้ตราขึ้นเพื่อรองรับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในยุคข้อมูลข่าวสารสมัยใหม่
กฎหมายว่าด้วยการพิมพ์เดิม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานการพิมพ์และเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว โดยหากเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่า การโฆษณาสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือพิมพ์นั้น อาจจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ก็มีอำนาจที่จะดำเนินการให้คำตักเตือน ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ เจ้าของหนังสือพิมพ์ หรือมีคำสั่งเป็นหนังสือให้งดการเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หรืองดใช้เครื่องพิมพ์ หรือให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวตรวจก่อน หรือสั่งให้พักใช้ หรือถอนใบอนุญาตหรือสั่งงดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ได้ นอกจากนี้ยังมีบทลงโทษ หากไม่ยอมปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจมีคำสั่งเป็นหนังสือห้ามโฆษณาหนังสือพิมพ์นั้น หรืออาจสั่งยึดหนังสือพิมพ์นั้นก็ได้
ส่วนในเรื่องความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์สำหรับความผิดที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ได้บัญญัติแบ่งไว้ 2 กรณี คือ ความรับผิดเกี่ยวกับการโฆษณาสิ่งพิมพ์ ที่ผู้ประพันธ์ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์ต้องรับผิดเป็นตัวการ แต่ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ให้ถือว่าผู้พิมพ์เป็นตัวการ ส่วนในกรณีความรับผิดของหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ แต่ถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ให้ถือว่าผู้พิมพ์เป็นตัวการ
กฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการรับจดแจ้งการพิมพ์ เป็นหลักฐานให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดี ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายอันเนื่องมาจากเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ จึงได้มีการกำหนดคุณสมบัติ และข้อห้ามของการพิมพ์สิ่งพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ โดยแบ่งได้ 2 กรณี
1. ในกรณีของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาสิ่งพิมพ์ ที่พิมพ์และเผยแพร่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือกรรมการ ผู้จัดการ ผู้แทนของนิติบุคคล ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่พ้นโทษมาไม่น้อยกว่าสามปี หรือเป็นความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งพิมพ์นั้นจะมาในรูปแบบของหนังสือปกติ หรือสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขายหรือให้เปล่า ทั้งนี้ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับ ชื่อของผู้พิมพ์และที่ตั้งโรงพิมพ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้โฆษณา และเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติได้ออกให้
2. ในกรณีหนังสือพิมพ์ คุณสมบัติเช่นเดียวกับข้างต้น แต่มีเพิ่มเติมว่าต้องมีสัญชาติไทยด้วย ทั้งนี้ในกรณีที่เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์เป็นนิติบุคคล ต้องมีบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของหุ้นทั้งหมด และกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อย่างไรก็ดีการพิมพ์หนังสือพิมพ์ภายในราชอาณาจักร ต้องทำการจดแจ้งการพิมพ์ โดยมีหลักฐานซึ่งมีรายการแสดงถึงชื่อสัญชาติ ถิ่นที่อยู่ของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ชื่อหนังสือพิมพ์ วัตถุประสงค์และระยะเวลาการออกหนังสือพิมพ์ ภาษาที่ใช้ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์ หรือสถานที่พิมพ์ และสำนักงานของหนังสือพิมพ์นั้น ส่วนในหนังสือพิมพ์ต้องมีรายละเอียดของ ชื่อผู้พิมพ์และที่ตั้งโรงพิมพ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้โฆษณา ชื่อบรรณาธิการ และชื่อและที่ตั้งของกิจการหนังสือพิมพ์
อย่างไรก็ดีกฎหมายได้จำกัดสิ่งพิมพ์ต้องห้าม ที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายเชื้อพระวงศ์ หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในการห้ามสั่งเข้าหรือนำเข้าเพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร และเมื่อมีคำสั่งแล้วห้ามนำเอาข้อความต้องห้ามนั้นมาแสดง ทั้งนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจในการริบและทำลายสิ่งพิมพ์ที่ฝ่าฝืนดังกล่าว
เสรีภาพตามกฎหมายใหม่
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ได้ยกเลิกบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เคยมีอยู่ในกฎหมายฉบับเดิมออกไป ตัวอย่างเช่น
1. บทบัญญัติที่กำหนดให้สื่อหนังสือพิมพ์ต้องกระทำการเสนอเรื่องหรือข้อความที่จะโฆษณาให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวตรวจ เพียงเพราะเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าการโฆษณาในหนังสือพิมพ์นั้นอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และหากสื่อหนังสือพิมพ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง อาจมีผลให้ถูกห้ามโฆษณาหนังสือพิมพ์นั้น หรืออาจถูกสั่งยึดหนังสือพิมพ์ก็ได้
2. บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานการพิมพ์ในการที่จะสั่งพัก ถอนใบอนุญาตหรือสั่งงดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดยการออกคำสั่งเช่นว่านี้จะทำโดยมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานการพิมพ์
3. บทบัญญัติที่กำหนดเรื่องความรับผิดที่ผู้พิมพ์ และบรรณาธิการต้องรับผิดในฐานะตัวการ ถึงแม้ว่าตนจะไม่ได้เป็นผู้ประพันธ์สื่อสิ่งพิมพ์นั้นก็ตาม
4. บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจต่างๆของเจ้าพนักงานการพิมพ์ และเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว เป็นต้น
พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 จึงมีสาระสำคัญเหลืออยู่เพียงหลักเกณฑ์กว้างๆในการจดแจ้งการพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดกฎหมายอันเนื่องมาจากเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์นั้น และได้ทำการปรับปรุงกฎหมายให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีการบัญญัติให้ครอบคลุมถึงสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
บทสรุป
ดังนั้น การที่กฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการเสนอข้อมูล ข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มมากขึ้น สื่อสิ่งพิมพ์เองก็จำต้องคำนึงถึงการใช้ “สิทธิและเสรีภาพ” ของตน ประกอบกับ “จรรยาบรรณ” ของสื่อสิ่งพิมพ์ในการนำเสนอบทประพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร ที่จะไม่ให้กระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นเช่นกัน และในฐานะสื่อมวลชน เองก็ต้องกระทำการไม่ให้กระทบถึงประโยชน์ของประชาชนโดยรวม คือไม่กระทำการนำเสนอบทประพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อที่จะได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ที่ได้แก้ไขใหม่
ผู้เขียน (สราวุธ เบญจกุล -รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม)
กฎหมายว่าด้วยการพิมพ์เดิม
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานการพิมพ์และเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว โดยหากเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่า การโฆษณาสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือพิมพ์นั้น อาจจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ก็มีอำนาจที่จะดำเนินการให้คำตักเตือน ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ เจ้าของหนังสือพิมพ์ หรือมีคำสั่งเป็นหนังสือให้งดการเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หรืองดใช้เครื่องพิมพ์ หรือให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวตรวจก่อน หรือสั่งให้พักใช้ หรือถอนใบอนุญาตหรือสั่งงดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ได้ นอกจากนี้ยังมีบทลงโทษ หากไม่ยอมปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานการพิมพ์อาจมีคำสั่งเป็นหนังสือห้ามโฆษณาหนังสือพิมพ์นั้น หรืออาจสั่งยึดหนังสือพิมพ์นั้นก็ได้
ส่วนในเรื่องความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์สำหรับความผิดที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 ได้บัญญัติแบ่งไว้ 2 กรณี คือ ความรับผิดเกี่ยวกับการโฆษณาสิ่งพิมพ์ ที่ผู้ประพันธ์ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์ต้องรับผิดเป็นตัวการ แต่ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ให้ถือว่าผู้พิมพ์เป็นตัวการ ส่วนในกรณีความรับผิดของหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ แต่ถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ให้ถือว่าผู้พิมพ์เป็นตัวการ
กฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 ธันวาคม 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางหลักเกณฑ์ในการรับจดแจ้งการพิมพ์ เป็นหลักฐานให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายในการฟ้องร้องดำเนินคดี ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายอันเนื่องมาจากเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ จึงได้มีการกำหนดคุณสมบัติ และข้อห้ามของการพิมพ์สิ่งพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ โดยแบ่งได้ 2 กรณี
1. ในกรณีของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาสิ่งพิมพ์ ที่พิมพ์และเผยแพร่ในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือกรรมการ ผู้จัดการ ผู้แทนของนิติบุคคล ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่พ้นโทษมาไม่น้อยกว่าสามปี หรือเป็นความผิดโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งพิมพ์นั้นจะมาในรูปแบบของหนังสือปกติ หรือสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขายหรือให้เปล่า ทั้งนี้ต้องแสดงข้อความเกี่ยวกับ ชื่อของผู้พิมพ์และที่ตั้งโรงพิมพ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้โฆษณา และเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติได้ออกให้
2. ในกรณีหนังสือพิมพ์ คุณสมบัติเช่นเดียวกับข้างต้น แต่มีเพิ่มเติมว่าต้องมีสัญชาติไทยด้วย ทั้งนี้ในกรณีที่เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์เป็นนิติบุคคล ต้องมีบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของหุ้นทั้งหมด และกรรมการไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อย่างไรก็ดีการพิมพ์หนังสือพิมพ์ภายในราชอาณาจักร ต้องทำการจดแจ้งการพิมพ์ โดยมีหลักฐานซึ่งมีรายการแสดงถึงชื่อสัญชาติ ถิ่นที่อยู่ของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ชื่อหนังสือพิมพ์ วัตถุประสงค์และระยะเวลาการออกหนังสือพิมพ์ ภาษาที่ใช้ ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์ หรือสถานที่พิมพ์ และสำนักงานของหนังสือพิมพ์นั้น ส่วนในหนังสือพิมพ์ต้องมีรายละเอียดของ ชื่อผู้พิมพ์และที่ตั้งโรงพิมพ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้โฆษณา ชื่อบรรณาธิการ และชื่อและที่ตั้งของกิจการหนังสือพิมพ์
อย่างไรก็ดีกฎหมายได้จำกัดสิ่งพิมพ์ต้องห้าม ที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายเชื้อพระวงศ์ หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือ กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่ให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในการห้ามสั่งเข้าหรือนำเข้าเพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร และเมื่อมีคำสั่งแล้วห้ามนำเอาข้อความต้องห้ามนั้นมาแสดง ทั้งนี้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจในการริบและทำลายสิ่งพิมพ์ที่ฝ่าฝืนดังกล่าว
เสรีภาพตามกฎหมายใหม่
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ได้ยกเลิกบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เคยมีอยู่ในกฎหมายฉบับเดิมออกไป ตัวอย่างเช่น
1. บทบัญญัติที่กำหนดให้สื่อหนังสือพิมพ์ต้องกระทำการเสนอเรื่องหรือข้อความที่จะโฆษณาให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวตรวจ เพียงเพราะเจ้าพนักงานการพิมพ์เห็นว่าการโฆษณาในหนังสือพิมพ์นั้นอาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และหากสื่อหนังสือพิมพ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง อาจมีผลให้ถูกห้ามโฆษณาหนังสือพิมพ์นั้น หรืออาจถูกสั่งยึดหนังสือพิมพ์ก็ได้
2. บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานการพิมพ์ในการที่จะสั่งพัก ถอนใบอนุญาตหรือสั่งงดการเป็นผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ โดยการออกคำสั่งเช่นว่านี้จะทำโดยมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานการพิมพ์
3. บทบัญญัติที่กำหนดเรื่องความรับผิดที่ผู้พิมพ์ และบรรณาธิการต้องรับผิดในฐานะตัวการ ถึงแม้ว่าตนจะไม่ได้เป็นผู้ประพันธ์สื่อสิ่งพิมพ์นั้นก็ตาม
4. บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอำนาจต่างๆของเจ้าพนักงานการพิมพ์ และเจ้าหน้าที่ตรวจข่าว เป็นต้น
พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 จึงมีสาระสำคัญเหลืออยู่เพียงหลักเกณฑ์กว้างๆในการจดแจ้งการพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบของประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดกฎหมายอันเนื่องมาจากเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์นั้น และได้ทำการปรับปรุงกฎหมายให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีการบัญญัติให้ครอบคลุมถึงสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
บทสรุป
ดังนั้น การที่กฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการเสนอข้อมูล ข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มมากขึ้น สื่อสิ่งพิมพ์เองก็จำต้องคำนึงถึงการใช้ “สิทธิและเสรีภาพ” ของตน ประกอบกับ “จรรยาบรรณ” ของสื่อสิ่งพิมพ์ในการนำเสนอบทประพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร ที่จะไม่ให้กระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นเช่นกัน และในฐานะสื่อมวลชน เองก็ต้องกระทำการไม่ให้กระทบถึงประโยชน์ของประชาชนโดยรวม คือไม่กระทำการนำเสนอบทประพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อที่จะได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ที่ได้แก้ไขใหม่
ผู้เขียน (สราวุธ เบญจกุล -รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม)