ผู้จัดการรายวัน – แม้ว่าเมื่อปี 50 ที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจจะชะลอตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ในต่างประเทศ ธุรกิจแฟรนไชส์จะเติบโตสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่ตกงาน จะนำเงินก้อนสุดท้ายมาลงทุนในธุรกิจนี้ แต่สำหรับประเทศไทย กลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ที่ผู้คนเก็บเงินไว้ ซึ่งการจะนำมาซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นส่วนน้อย อาจเป็นเพราะความไม่มั่นใจในการลงทุน และภาพลักษณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ยังไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน ซึ่งหากเกิดปัญหาขึ้น จะเอาผิดกับเจ้าของแฟรนไชส์ได้ยาก
ดังนั้นจากความไม่มีมาตรฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ทำให้เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา ภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์การเติบโตค่อนข้างน้อยเพียง 11% เท่านั้น ซึ่งจากการสำรวจของบริษัท แฟรนไชส์ โฟกัส จำกัด โดยนางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ ได้ทำการสำรวจอัตราการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในปีที่ผ่านมา ว่าในแต่ละเดือนจะมีบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์รายใหม่ๆ เกิดขึ้นประมาณ 2-3 รายเท่านั้น ส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนแฟรนไชส์ในประเทศไทย ประมาณ 400-500 บาท เท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก หากเทียบกับประเทศอื่น
สำหรับเทรนด์ในธุรกิจแฟรนไชส์ ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจอาหารยังครองแชมป์ที่คนนิยมลงทุนมากที่สุด แต่อัตราการเติบโตไม่หวือหวา เหมือนหลายปีก่อน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า แฟรนไชส์อาหารจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนแฟรนไชส์อื่นๆ จะมีจำนวนลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากบางแฟรนไชส์ หยุดขยายแฟรนไชส์ เนื่องจากมีจำนวนสาขามากพอแล้ว หรือเปลี่ยนรูปแบบ ไปเป็นการหาตัวแทนจำหน่ายแทน และบางรายเลิกกิจการไปแล้ว ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10% หรือประมาณ 30-50 ราย ส่วนแฟรนไชส์ด้านไอที ถือว่ามีจำนวนน้อยที่สุด เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นระบบดีลเลอร์กันหลายราย และส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์ประเภทศูนย์เติมหมึกมากที่สุด
แม้ว่าเทรนด์ของธุรกิจแฟรนไชส์ และอัตราการเติบโตในปี 2550 ที่ผ่านมา ไม่โดดเด่นมากนัก แต่สำหรับในปี 2551 นี้ ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟรนไชส์ ได้ฟันธงธุรกิจแฟรนไชส์ปี 51 จะไม่เติบโตมากนัก รวมทั้งอาจมีแฟรนไชส์ซอว์ (Franchisesor) หายไปบางส่วนอีกด้วย ซึ่งก็จะส่งผลต่อจำนวนแฟรนไชส์ซี (Franchisee) ที่จะต้องลดจำนวนลงไปด้วย
ทั้งนี้นายบุญชัย หลีระพันธ์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย มองแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ปีชวดว่า หมดยุคแล้ว ที่การทำธุรกิจจะอยู่แบบสบายๆ เพราะเจอปัญหารุมเร้าทั้งจากภายในประเทศ และในต่างประเทศ เช่น ราคาแก๊สหุงต้ม ที่ราคามีโอกาสถีบตัวขึ้นไปอีกหลายเท่า ราคาน้ำมัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขนส่งสินค้า
“ในปีหน้าเป็นปีของรายได้ตก แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น และเป็นปีแห่งความยากลำบากในการแข่งขัน ค่าใช้จ่ายจะวิ่งแซงหน้าผลกำไร ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการจะอยู่รอดได้นั้น จะต้องสู้กับความจริงของชีวิต ซึ่งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือการลดต้นทุนการผลิต พร้อมทั้งใช้กำลังคนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด เพราะที่ผ่านมาคนไทยยังทำงานไม่คุ้มค่ากับเงินเดือน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่รักสบาย และนำสู่วงการแชร์ลูกโซ่ตามที่เป็นข่าวออกไป ดังนั้นหากในปัจจุบันคนไทยยังไม่มีการพัฒนาตัวเอง ประเทศเวียดนามอาจนำหน้าทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้นหากไทยไม่พัฒนาก็จะเท่ากับการเดินถอยหลัง” นายบุญชัยกล่าว
ธุรกิจอาหารปีหน้าน่าห่วง
ส่วนแฟรนไชส์ด้านอาหาร ที่ครองแชมป์มาเป็นอันดับหนึ่งมาหลายปี แต่สำหรับในปี 51 นี้ อาจตกอยู่ในภาวะลำบาก เพราะจากการวิจัยของสหประชาชาติ พบว่า ธุรกิจประเภทอาหารของไทยยังอ่อนเรื่ององค์ความรู้, การวิจัยและพัฒนา รวมถึงความเป็นสากล รวมถึงปัจจุบันอื่นๆ ก็เข้ามารุมเร้ารอบด้าน ทั้งในด้านต้นทุนค่าขนส่งที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลกำไรลดต่ำลงตามไปด้วย
อย่างไรตามธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ตามสภาพเศรษฐกิจของไทย คือ ธุรกิจการซ่อมรถยนต์ โดยสืบเนื่องมาจากผู้คนลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง แต่หันมาซ่อมแซมสิ่งของที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ซึ่งต่อไปภาคธุรกิจจะต้องกลับมาตั้งรับ หันมามองตลาดในไทยให้มากขึ้น ไม่ต้องรีบขยายสาขาแฟรนไชส์ออกไปต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความเข้มแข็งพอ
ซึ่ง ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) หรือ บีฟิท ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาฯ ว่า ในปี 51 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวในอัตราที่ลดลงอย่างรุนแรง ทำให้การส่งออกไทย ซึ่งพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ เป็นหลักอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง รวมทั้งปัญหาทางการเมืองและความไม่สงบในภาคใต้ และการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากประเทศมีการเกินดุลชำระเงินในเกณฑ์สูงและค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจสะดุดไม่เป็นไปตามคาด ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ภาคการส่งออกของไทยต้องชะงักไปด้วย
แฟรนไชส์ลดจำนวน
สำหรับจำนวนแฟรนไชส์ในปีที่ผ่านมา ถือว่ามีอัตราการเกิดที่น้อยลง โดยนายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ บอกว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมามีแฟรนไชส์ซอว์ล้มหายตายจากไปประมาณ 100 ราย ส่งผลให้จำนวนสาขาจากเดิมมีอยู่ประมาณ 24,000 ราย เหลือเพียง 21,000 รายเท่านั้น ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนของกฎเกณฑ์ แลการผลักดันมาตรฐานให้เกิดขึ้น ซึ่งคิดว่าในปีหน้า ถ้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ก็จะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ดีตามไปด้วย โดยปัจจุบันมีแฟรนไชส์ซอว์เหลือเพียง 408 บริษัทเท่านั้น เนื่องจากในทุกๆ ปี มีอัตราการล้มเหลวของธุรกิจแฟรนไชส์ 26% ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก เพราะหากภายใน 3 ปีไม่แฟรนไชส์เกิดใหม่ คำว่า “ธุรกิจแฟรนไชส์” ในประเทศไทยก็จะหมดสิ้นไป
แม้ว่าขณะนี้ภาพลักษณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ อาจจะดูหมดความน่าเชื่อถือไปบ้าง แต่หากศึกษาระบบอย่างถ่องแท้แล้ว ถือว่าเป็นระบบที่ดี ที่สามารถผลักดันสภาพเศรษฐกิจของไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ หากผู้ประกอบการ และผู้ลงทุนมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจอย่างแท้จริง
ดังนั้นจากความไม่มีมาตรฐานของธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ทำให้เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา ภาพรวมธุรกิจแฟรนไชส์การเติบโตค่อนข้างน้อยเพียง 11% เท่านั้น ซึ่งจากการสำรวจของบริษัท แฟรนไชส์ โฟกัส จำกัด โดยนางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร กรรมการผู้จัดการ ได้ทำการสำรวจอัตราการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยในปีที่ผ่านมา ว่าในแต่ละเดือนจะมีบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์รายใหม่ๆ เกิดขึ้นประมาณ 2-3 รายเท่านั้น ส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนแฟรนไชส์ในประเทศไทย ประมาณ 400-500 บาท เท่านั้น ซึ่งถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก หากเทียบกับประเทศอื่น
สำหรับเทรนด์ในธุรกิจแฟรนไชส์ ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจอาหารยังครองแชมป์ที่คนนิยมลงทุนมากที่สุด แต่อัตราการเติบโตไม่หวือหวา เหมือนหลายปีก่อน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า แฟรนไชส์อาหารจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนแฟรนไชส์อื่นๆ จะมีจำนวนลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากบางแฟรนไชส์ หยุดขยายแฟรนไชส์ เนื่องจากมีจำนวนสาขามากพอแล้ว หรือเปลี่ยนรูปแบบ ไปเป็นการหาตัวแทนจำหน่ายแทน และบางรายเลิกกิจการไปแล้ว ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10% หรือประมาณ 30-50 ราย ส่วนแฟรนไชส์ด้านไอที ถือว่ามีจำนวนน้อยที่สุด เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นระบบดีลเลอร์กันหลายราย และส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์ประเภทศูนย์เติมหมึกมากที่สุด
แม้ว่าเทรนด์ของธุรกิจแฟรนไชส์ และอัตราการเติบโตในปี 2550 ที่ผ่านมา ไม่โดดเด่นมากนัก แต่สำหรับในปี 2551 นี้ ผู้คร่ำหวอดในวงการแฟรนไชส์ ได้ฟันธงธุรกิจแฟรนไชส์ปี 51 จะไม่เติบโตมากนัก รวมทั้งอาจมีแฟรนไชส์ซอว์ (Franchisesor) หายไปบางส่วนอีกด้วย ซึ่งก็จะส่งผลต่อจำนวนแฟรนไชส์ซี (Franchisee) ที่จะต้องลดจำนวนลงไปด้วย
ทั้งนี้นายบุญชัย หลีระพันธ์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย มองแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ปีชวดว่า หมดยุคแล้ว ที่การทำธุรกิจจะอยู่แบบสบายๆ เพราะเจอปัญหารุมเร้าทั้งจากภายในประเทศ และในต่างประเทศ เช่น ราคาแก๊สหุงต้ม ที่ราคามีโอกาสถีบตัวขึ้นไปอีกหลายเท่า ราคาน้ำมัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการขนส่งสินค้า
“ในปีหน้าเป็นปีของรายได้ตก แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น และเป็นปีแห่งความยากลำบากในการแข่งขัน ค่าใช้จ่ายจะวิ่งแซงหน้าผลกำไร ดังนั้นการที่ผู้ประกอบการจะอยู่รอดได้นั้น จะต้องสู้กับความจริงของชีวิต ซึ่งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือการลดต้นทุนการผลิต พร้อมทั้งใช้กำลังคนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด เพราะที่ผ่านมาคนไทยยังทำงานไม่คุ้มค่ากับเงินเดือน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่รักสบาย และนำสู่วงการแชร์ลูกโซ่ตามที่เป็นข่าวออกไป ดังนั้นหากในปัจจุบันคนไทยยังไม่มีการพัฒนาตัวเอง ประเทศเวียดนามอาจนำหน้าทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้นหากไทยไม่พัฒนาก็จะเท่ากับการเดินถอยหลัง” นายบุญชัยกล่าว
ธุรกิจอาหารปีหน้าน่าห่วง
ส่วนแฟรนไชส์ด้านอาหาร ที่ครองแชมป์มาเป็นอันดับหนึ่งมาหลายปี แต่สำหรับในปี 51 นี้ อาจตกอยู่ในภาวะลำบาก เพราะจากการวิจัยของสหประชาชาติ พบว่า ธุรกิจประเภทอาหารของไทยยังอ่อนเรื่ององค์ความรู้, การวิจัยและพัฒนา รวมถึงความเป็นสากล รวมถึงปัจจุบันอื่นๆ ก็เข้ามารุมเร้ารอบด้าน ทั้งในด้านต้นทุนค่าขนส่งที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลกำไรลดต่ำลงตามไปด้วย
อย่างไรตามธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี ตามสภาพเศรษฐกิจของไทย คือ ธุรกิจการซ่อมรถยนต์ โดยสืบเนื่องมาจากผู้คนลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง แต่หันมาซ่อมแซมสิ่งของที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ซึ่งต่อไปภาคธุรกิจจะต้องกลับมาตั้งรับ หันมามองตลาดในไทยให้มากขึ้น ไม่ต้องรีบขยายสาขาแฟรนไชส์ออกไปต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความเข้มแข็งพอ
ซึ่ง ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) หรือ บีฟิท ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาฯ ว่า ในปี 51 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวในอัตราที่ลดลงอย่างรุนแรง ทำให้การส่งออกไทย ซึ่งพึ่งพิงตลาดสหรัฐฯ เป็นหลักอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง รวมทั้งปัญหาทางการเมืองและความไม่สงบในภาคใต้ และการแข็งค่าของเงินบาท เนื่องจากประเทศมีการเกินดุลชำระเงินในเกณฑ์สูงและค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจสะดุดไม่เป็นไปตามคาด ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ภาคการส่งออกของไทยต้องชะงักไปด้วย
แฟรนไชส์ลดจำนวน
สำหรับจำนวนแฟรนไชส์ในปีที่ผ่านมา ถือว่ามีอัตราการเกิดที่น้อยลง โดยนายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ บอกว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมามีแฟรนไชส์ซอว์ล้มหายตายจากไปประมาณ 100 ราย ส่งผลให้จำนวนสาขาจากเดิมมีอยู่ประมาณ 24,000 ราย เหลือเพียง 21,000 รายเท่านั้น ซึ่งเกิดจากความไม่แน่นอนของกฎเกณฑ์ แลการผลักดันมาตรฐานให้เกิดขึ้น ซึ่งคิดว่าในปีหน้า ถ้าเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ก็จะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ดีตามไปด้วย โดยปัจจุบันมีแฟรนไชส์ซอว์เหลือเพียง 408 บริษัทเท่านั้น เนื่องจากในทุกๆ ปี มีอัตราการล้มเหลวของธุรกิจแฟรนไชส์ 26% ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก เพราะหากภายใน 3 ปีไม่แฟรนไชส์เกิดใหม่ คำว่า “ธุรกิจแฟรนไชส์” ในประเทศไทยก็จะหมดสิ้นไป
แม้ว่าขณะนี้ภาพลักษณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ อาจจะดูหมดความน่าเชื่อถือไปบ้าง แต่หากศึกษาระบบอย่างถ่องแท้แล้ว ถือว่าเป็นระบบที่ดี ที่สามารถผลักดันสภาพเศรษฐกิจของไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ หากผู้ประกอบการ และผู้ลงทุนมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจอย่างแท้จริง