เสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ดูจะเป็นประเด็นรองลงไปเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาเศรษฐกิจ
หลังเลือกตั้ง นักธุรกิจชั้นนำ หรือผู้นำองค์กรธุรกิจที่สำคัญ อาทิ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ต่างให้ความเห็นเหมือนๆ กัน ว่า ไม่ว่าหน้าตาของรัฐบาลผสมจะ ‘อัปลักษณ์’ หรือ ‘หล่อเหลา’ นั้นพวกเขาไม่กังวลนัก แต่สิ่งที่ต้องไม่ขี้เหร่เลยคือ ‘ทีมเศรษฐกิจ’
แต่ไหนแต่ไร ทีมเศรษฐกิจของทุกๆ รัฐบาล คือ ‘ความหวัง’ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงมีเสถียรภาพ
15 เดือนเศษหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ภายใต้การบริหารของรัฐบาลขิงแก่ เศรษฐกิจถูกมรสุมทั้งภายในภายนอกประเทศกลุ้มรุมคุกคามจนบอบช้ำ
เวลาที่ผ่านมาเหมือนเศรษฐกิจไร้การจัดการ ข้อมูลมันฟ้องว่า ไม่มีการลงทุนเพิ่มของรัฐตลอดปีเศษๆ เอกชนไม่ขยับขยายโครงการใหญ่ๆ ไม่มีใครดูแลปัญหาปากท้องของประชาชน เงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงลิบ คนตกงาน ฯลฯ
เหล่านี้เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่รอวัดฝีมือของรัฐบาล
ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่จึงถูกตั้งความหวัง ตั้งมาตรฐานเอาไว้สูงมากตั้งแต่ยังไม่ฟอร์มทีมไปโดยปริยาย
หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และลูกทีม กลุ่มคนที่จะก้าวเข้ามากุมกระทรวงเศรษฐกิจ บริหารเงินงบประมาณแผ่นดินล้านล้านบาท ดูแลภาคเอกชนและการลงทุนของรัฐ จึงถูกร้องขอให้เป็นบุคคลที่ยอมรับได้ทั้งฝีมือและประสบการณ์
รัฐบาลในอดีตไม่ว่ามาจากพรรคการเมืองใดต่างไม่ค่อยมีปัญหาในการเฟ้นตัวบุคคลเข้ามารับตำแหน่งนี้เท่าไหร่
สมัยหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ มีนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หรือกระทั่งรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ ที่มีทั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (ในช่วงแรก) และ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ที่แค่เอ่ยชื่อ วงการก็ยอมรับนับถือ
ทว่า..มาถึงรัฐบาลใหม่หลายคนพูดตรงๆ ว่า ไม่เห็นมีใครในสเปกที่จะยอมรับได้
เป็นภาวะที่ มองไปทางซ้ายมืดมน มองไปทางขวาก็สิ้นหวังอย่างไรไม่ทราบ
บางคนระบุตรงๆ ว่า ‘มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ’ ที่พรีเซนต์ตัวเองมาตลอดว่าเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรคพลังประชาชน เมื่อเทียบกับ ‘กรณ์ จาติกวณิช’ ของพรรคประชาธิปัตย์แล้วดูขี้ริ้วขี้เหร่ลงไปในพริบตา
มิ่งขวัญ อาจจะมีฝีมือในงานถนัดของเขา เช่น จัดอีเว้นท์ ประชาสัมพันธ์ การตลาด แต่อดีตผู้บริหารบริษัทรถยนต์ และ อสมท คนนี้ยังไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันที่ชัดเจน
ที่สำคัญเขาไม่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการบริหารวิกฤตด้านตลาดเงิน-ตลาดทุนที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งข้อนี้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติก็ไม่อาจอุ่นใจได้ว่า รัฐบาลใหม่จะเข้าใจและแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ตรงจุด
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความเชื่อมั่น ในแง่จิตวิทยา ‘กรณ์’ ที่อยู่ในแวดวงการลงทุนหุ้น และการเงินย่อมมีราคาความน่าเชื่อถือมากกว่า
กระนั้นความกังขาในแง่ ‘ความเก๋า’ ของ ‘กรณ์’ ทำให้เขาก็ยังไม่ใช่ ‘คนที่ใช่’
เมื่อไม่มีตัวเลือกในสายตาของนักธุรกิจจึงมองไปที่ ‘คนนอก’
พวกเขามองว่า รัฐบาลใหม่จำเป็นต้องพึ่งพาความรู้ความสามารถของคนนอกวงการการเมืองเข้ามานั่งกระทรวงสำคัญๆ อาทิ คลัง พาณิชย์ อุตสาหกรรม คมนาคม หรือแม้กระทั่งตำแหน่ง ‘หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ’ จึงจะเรียกศรัทธาความเชื่อมั่นได้
อย่างไรก็ตามนี่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา บทเรียนที่เกิดขึ้นเสมอในอดีตที่ว่า คนนอกที่เข้าร่วมบริหารเศรษฐกิจชาตินั้น แม้จะมีทั้งฝีมือ และประสบการณ์ มักอยู่ไม่นาน เพราะทนแรงเสียดทานด้านการเมืองไม่ไหวนั้นก็จะคอยหลอกหลอน สร้างความหวาดระแวงกันต่อไป
คนในยี้ คนนอกอายุไม่ยืน แล้วเราจะหวังพึ่งใคร?
ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ผมมีโอกาสพบปะพูดคุยกับบรรดาผู้นำองค์กรธุรกิจหลากหลายแขนงหลายคนก็พกพาคำถามนี้ไปด้วย
โดยไม่ได้นัดหมาย พวกเขาเกือบทุกคนย้อนกลับมาว่า ‘เรายังหวังกับรัฐบาลได้? ’ ก่อนที่จะมีคำพูดตามมาว่า ‘ไม่เคยได้รับอะไรจากรัฐบาลมานานแล้ว เราพึ่งตนเองมาโดยตลอด’
สั้นๆ แต่มีความหมาย ป่วยการที่จะวิเคราะห์ วิพากษ์ต่อ
พวกเขาบอกว่า เอกชนไทยดิ้นรนประคับประคองธุรกิจของตัวเองมาตลอด ผ่านวิกฤตปี 2540 ไล่มาจนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่า ช่ำชองโชกโชน จนรู้ทางหนีทีไล่ รู้ว่าจังหวะและโอกาสควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร
‘ไม่ช่วยเราไม่ว่า แต่อย่าสร้างปัญหาเสียเอง’ หลายคนบอก
ย้อนไปดู 10 ปีให้หลังวิกฤตก็จะพบความจริงที่ว่านี้
ดีๆ ชั่วๆ เศรษฐกิจก็ขยายด้วยตัวของมันเองเพราะกลไกการทำงานของเอกชนยังเป็นปกติ โดยที่รัฐบาลไม่ได้ช่วยอะไรเลยเพราะมัวแต่ ‘4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง(เรื่อง)กับอีกปีกว่าที่ใส่เกียร์ว่าง’
ช่วงแรกๆ 4 ปีก็สูญเสียทรัพยากรทั้งทรัพย์สินและคนเพื่อเยียวยาบาดแผลจากความผิดพลาดของการปกป้องค่าเงินบาท ต่อเนื่องมาสูญเสียไปกับการคอร์รัปชัน และยักย้ายถ่ายเทเงินภาษีไปละเลงกับนโยบายประชานิยมเพียงเพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งเสพติดอำนาจของตน แล้วกับ 1 ปีเศษๆ กับ ‘เกียร์ว่าง’ ของรัฐบาลขิงแก่
ขนาดที่ว่าแย่ๆ ที่สุดในบรรดารัฐบาลในรอบ 10 ปีอย่างรัฐบาลขิงแก่ที่ไม่ยอมทำอะไรเลย ส่งออกไตรมาสสุดท้ายก็พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
พิสูจน์ว่า ผู้ประกอบการธุรกิจไทยเก่ง เสาะแสวงหาโอกาสของตนเองได้ดีแค่ไหน
ดังนั้น ดรีมทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่จะเป็นคนใน คนนอก หรือทั้งสองรวมกัน นอกจากต้องเป็นคนเก่ง ดี รู้จริง มีประสบการณ์ ผมว่าเงื่อนไขสำคัญต้องมี ‘ความเข้าใจ’ สภาพความเป็นจริงเป็นไปของสังคมธุรกิจ-อุตสาหกรรมโดยละเอียดด้วย
มิเช่นนั้นภายใต้สภาพการเมืองซึ่งไม่เคยเปลี่ยนเลย พรรคการเมือง นักการเมืองยังชื่นชอบการเล่นการเมืองแบบมี ‘วาระซ่อนเร้น’ เรื่องของผลประโยชน์ส่วนตน ส่วนพรรค-พวกมาก่อนอยู่ตลอดเวลา ไม่แคล้วเอกชนไทยคงต้องพึ่งพาตนเองกันต่อไป
นักธุรกิจ-นักลงทุนทั้งหลายย่อมทราบดี.
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่
http://weblog.manager.co.th/publichome/suwitcha67 หรือ อีเมล์ suwitcha@manager.co.th
หลังเลือกตั้ง นักธุรกิจชั้นนำ หรือผู้นำองค์กรธุรกิจที่สำคัญ อาทิ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ต่างให้ความเห็นเหมือนๆ กัน ว่า ไม่ว่าหน้าตาของรัฐบาลผสมจะ ‘อัปลักษณ์’ หรือ ‘หล่อเหลา’ นั้นพวกเขาไม่กังวลนัก แต่สิ่งที่ต้องไม่ขี้เหร่เลยคือ ‘ทีมเศรษฐกิจ’
แต่ไหนแต่ไร ทีมเศรษฐกิจของทุกๆ รัฐบาล คือ ‘ความหวัง’ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงมีเสถียรภาพ
15 เดือนเศษหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ภายใต้การบริหารของรัฐบาลขิงแก่ เศรษฐกิจถูกมรสุมทั้งภายในภายนอกประเทศกลุ้มรุมคุกคามจนบอบช้ำ
เวลาที่ผ่านมาเหมือนเศรษฐกิจไร้การจัดการ ข้อมูลมันฟ้องว่า ไม่มีการลงทุนเพิ่มของรัฐตลอดปีเศษๆ เอกชนไม่ขยับขยายโครงการใหญ่ๆ ไม่มีใครดูแลปัญหาปากท้องของประชาชน เงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงลิบ คนตกงาน ฯลฯ
เหล่านี้เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่รอวัดฝีมือของรัฐบาล
ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่จึงถูกตั้งความหวัง ตั้งมาตรฐานเอาไว้สูงมากตั้งแต่ยังไม่ฟอร์มทีมไปโดยปริยาย
หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ และลูกทีม กลุ่มคนที่จะก้าวเข้ามากุมกระทรวงเศรษฐกิจ บริหารเงินงบประมาณแผ่นดินล้านล้านบาท ดูแลภาคเอกชนและการลงทุนของรัฐ จึงถูกร้องขอให้เป็นบุคคลที่ยอมรับได้ทั้งฝีมือและประสบการณ์
รัฐบาลในอดีตไม่ว่ามาจากพรรคการเมืองใดต่างไม่ค่อยมีปัญหาในการเฟ้นตัวบุคคลเข้ามารับตำแหน่งนี้เท่าไหร่
สมัยหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ มีนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เช่นเดียวกับพรรคไทยรักไทยที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หรือกระทั่งรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ ที่มีทั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล (ในช่วงแรก) และ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ที่แค่เอ่ยชื่อ วงการก็ยอมรับนับถือ
ทว่า..มาถึงรัฐบาลใหม่หลายคนพูดตรงๆ ว่า ไม่เห็นมีใครในสเปกที่จะยอมรับได้
เป็นภาวะที่ มองไปทางซ้ายมืดมน มองไปทางขวาก็สิ้นหวังอย่างไรไม่ทราบ
บางคนระบุตรงๆ ว่า ‘มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ’ ที่พรีเซนต์ตัวเองมาตลอดว่าเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรคพลังประชาชน เมื่อเทียบกับ ‘กรณ์ จาติกวณิช’ ของพรรคประชาธิปัตย์แล้วดูขี้ริ้วขี้เหร่ลงไปในพริบตา
มิ่งขวัญ อาจจะมีฝีมือในงานถนัดของเขา เช่น จัดอีเว้นท์ ประชาสัมพันธ์ การตลาด แต่อดีตผู้บริหารบริษัทรถยนต์ และ อสมท คนนี้ยังไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอันที่ชัดเจน
ที่สำคัญเขาไม่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านการบริหารวิกฤตด้านตลาดเงิน-ตลาดทุนที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งข้อนี้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติก็ไม่อาจอุ่นใจได้ว่า รัฐบาลใหม่จะเข้าใจและแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ตรงจุด
ยิ่งไม่ต้องพูดถึงความเชื่อมั่น ในแง่จิตวิทยา ‘กรณ์’ ที่อยู่ในแวดวงการลงทุนหุ้น และการเงินย่อมมีราคาความน่าเชื่อถือมากกว่า
กระนั้นความกังขาในแง่ ‘ความเก๋า’ ของ ‘กรณ์’ ทำให้เขาก็ยังไม่ใช่ ‘คนที่ใช่’
เมื่อไม่มีตัวเลือกในสายตาของนักธุรกิจจึงมองไปที่ ‘คนนอก’
พวกเขามองว่า รัฐบาลใหม่จำเป็นต้องพึ่งพาความรู้ความสามารถของคนนอกวงการการเมืองเข้ามานั่งกระทรวงสำคัญๆ อาทิ คลัง พาณิชย์ อุตสาหกรรม คมนาคม หรือแม้กระทั่งตำแหน่ง ‘หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ’ จึงจะเรียกศรัทธาความเชื่อมั่นได้
อย่างไรก็ตามนี่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา บทเรียนที่เกิดขึ้นเสมอในอดีตที่ว่า คนนอกที่เข้าร่วมบริหารเศรษฐกิจชาตินั้น แม้จะมีทั้งฝีมือ และประสบการณ์ มักอยู่ไม่นาน เพราะทนแรงเสียดทานด้านการเมืองไม่ไหวนั้นก็จะคอยหลอกหลอน สร้างความหวาดระแวงกันต่อไป
คนในยี้ คนนอกอายุไม่ยืน แล้วเราจะหวังพึ่งใคร?
ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ผมมีโอกาสพบปะพูดคุยกับบรรดาผู้นำองค์กรธุรกิจหลากหลายแขนงหลายคนก็พกพาคำถามนี้ไปด้วย
โดยไม่ได้นัดหมาย พวกเขาเกือบทุกคนย้อนกลับมาว่า ‘เรายังหวังกับรัฐบาลได้? ’ ก่อนที่จะมีคำพูดตามมาว่า ‘ไม่เคยได้รับอะไรจากรัฐบาลมานานแล้ว เราพึ่งตนเองมาโดยตลอด’
สั้นๆ แต่มีความหมาย ป่วยการที่จะวิเคราะห์ วิพากษ์ต่อ
พวกเขาบอกว่า เอกชนไทยดิ้นรนประคับประคองธุรกิจของตัวเองมาตลอด ผ่านวิกฤตปี 2540 ไล่มาจนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่า ช่ำชองโชกโชน จนรู้ทางหนีทีไล่ รู้ว่าจังหวะและโอกาสควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร
‘ไม่ช่วยเราไม่ว่า แต่อย่าสร้างปัญหาเสียเอง’ หลายคนบอก
ย้อนไปดู 10 ปีให้หลังวิกฤตก็จะพบความจริงที่ว่านี้
ดีๆ ชั่วๆ เศรษฐกิจก็ขยายด้วยตัวของมันเองเพราะกลไกการทำงานของเอกชนยังเป็นปกติ โดยที่รัฐบาลไม่ได้ช่วยอะไรเลยเพราะมัวแต่ ‘4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง(เรื่อง)กับอีกปีกว่าที่ใส่เกียร์ว่าง’
ช่วงแรกๆ 4 ปีก็สูญเสียทรัพยากรทั้งทรัพย์สินและคนเพื่อเยียวยาบาดแผลจากความผิดพลาดของการปกป้องค่าเงินบาท ต่อเนื่องมาสูญเสียไปกับการคอร์รัปชัน และยักย้ายถ่ายเทเงินภาษีไปละเลงกับนโยบายประชานิยมเพียงเพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งเสพติดอำนาจของตน แล้วกับ 1 ปีเศษๆ กับ ‘เกียร์ว่าง’ ของรัฐบาลขิงแก่
ขนาดที่ว่าแย่ๆ ที่สุดในบรรดารัฐบาลในรอบ 10 ปีอย่างรัฐบาลขิงแก่ที่ไม่ยอมทำอะไรเลย ส่งออกไตรมาสสุดท้ายก็พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
พิสูจน์ว่า ผู้ประกอบการธุรกิจไทยเก่ง เสาะแสวงหาโอกาสของตนเองได้ดีแค่ไหน
ดังนั้น ดรีมทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่จะเป็นคนใน คนนอก หรือทั้งสองรวมกัน นอกจากต้องเป็นคนเก่ง ดี รู้จริง มีประสบการณ์ ผมว่าเงื่อนไขสำคัญต้องมี ‘ความเข้าใจ’ สภาพความเป็นจริงเป็นไปของสังคมธุรกิจ-อุตสาหกรรมโดยละเอียดด้วย
มิเช่นนั้นภายใต้สภาพการเมืองซึ่งไม่เคยเปลี่ยนเลย พรรคการเมือง นักการเมืองยังชื่นชอบการเล่นการเมืองแบบมี ‘วาระซ่อนเร้น’ เรื่องของผลประโยชน์ส่วนตน ส่วนพรรค-พวกมาก่อนอยู่ตลอดเวลา ไม่แคล้วเอกชนไทยคงต้องพึ่งพาตนเองกันต่อไป
นักธุรกิจ-นักลงทุนทั้งหลายย่อมทราบดี.
**ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่
http://weblog.manager.co.th/publichome/suwitcha67 หรือ อีเมล์ suwitcha@manager.co.th