โนเกีย (NOKIA) สรุปผลงาน 5G สุดคึกคักตลอดไตรมาส 2 ปี 63 ระบุการระบาดของ COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมต่อ โดยเฉพาะบทบาทสำคัญในการ เร่ง digital transformation ในประเทศไทยและทั่วโลก ย้ำความก้าวหน้าของ 5G จะเป็นปัจจัยที่เร่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของโลก ที่จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมในหลายด้านทั้งอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ อีคอมเมิร์ซ หุ่นยนต์คลาวด์ ระบบอัตโนมัติในโรงงาน
1 ใน 7 สิ่งที่โนเกียพบในตลาด 5G ช่วงไตรมาส 2 ของปี 63 คือการใช้งานเครือข่ายที่พุ่งกระฉูดช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 นอกจากนี้ยังมีผลงานที่โรงงานใหญ่อย่างโตโยต้า (TOYOTA Production Engineering Corporation: TPEC) เลือกโนเกียเป็นผู้ให้บริการ รวมถึงโอเปอเรเตอร์อย่าง "ไต้หวันโมบายล์" ที่เลือกใช้เครือข่าย 5G ของโนเกียแต่เพียงผู้เดียว ทั้งหมดนี้เป็นผลงาน 5G ไตรมาส 2 ปี 63 ที่โนเกียต้องการโชว์ให้โลกรู้
1. การใช้งานเครือข่ายพุ่งกระฉูดช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19
โนเกียเผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID 19 (ข้อมูลอัปเดตถึงเดือนมิถุนายน) ว่าในขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่มใช้มาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรม ปริมาณการใช้งานเครือ ข่ายในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุดมีอัตราเพิ่มขึ้น 25-30% เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์ปกติก่อนเกิด วิกฤตการณ์ ในขณะที่ปริมาณการใช้เครือข่ายโดยรวมได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการประกาศล็อกดาวน์
ผลการวิเคราะห์โดย Nokia Deepfield พบว่าอัตราการเข้าจู่โจมแบบ DDoS (การ ส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลแบบมุ่งร้ายไปยังเว็บไซต์หรือบริการออนไลน์ที่มากจนเว็บไซต์ หรือบริการ ออนไลน์นั้นไม่สามารถใช้งานได้การปฏิเสธการให้บริการ) เพิ่มขึ้นถึง 40-50% บ่งบอกให้เห็นถึงความ จําเป็นของผู้ให้บริการเครือข่ายที่จะต้องตรวจจับและจัดการภัยคุกคามดังกล่าวด้วยการเพิ่มระบบรักษา ความปลอดภัยของเครือข่ายให้ครอบคลุมรอบด้าน
นอกจากนี้ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่การประกาศล็อคดาวน์มีผลทําให้ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแบบติดตั้งสาย (fixed broadband) เพิ่มขึ้น 30-60% ขณะที่ปริมาณการใช้งานการโทรออกด้วยเสียงแบบปกติ (fixed voice) เพิ่มขึ้น 50-130% โดยปริมาณการใช้งานการโทรออกผ่าน WIFI เพิ่มขึ้น 70-80%
2. TOYOTA Production Engineering Corporation: TPEC เลือกโนเกียสําหรับ เครือข่ายไร้สาย 5G แบบส่วนตัว
โนเกียระบุว่าได้รับเลือกจาก TPEC ให้เป็นผู้วางระบบเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวในระดับอุตสาหกรรม ที่ศูนย์ออกแบบการผลิตในเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น โดยการใช้เครือข่าย 5G นี้ จะเป็นการพัฒนาการผลิตไปสู่สภาวะแวดล้อมการทํางานแบบอัตโนมัติมากขึ้น เป็นการสร้างโรงงานแห่งโลกอนาคตที่ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาบรรจบกับเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (OT)
3. ไต้หวันโมบายล์เลือกใช้เครือข่าย 5G ของโนเกียแต่เพียงผู้เดียว
โนเกียได้รับเลือกโดยไต้หวันโมบายล์ (TWM) ให้เป็นผู้วางเครือข่าย 5G แต่เพียงผู้เดียวภายใต้ สัญญา 3 ปี ซึ่งมีมูลค่าโดยประมาณ 400 ล้านยูโรหรือกว่า 13,800 ล้านบาท โดยในระยะแรกของ สัญญานั้นครอบคลุมผลิตภัณฑ์ 5G RAN, 5G Core และ 5G IMS ที่มีการใช้อุปกรณ์เครือข่ายแบบ 5G non-standalone โดยมีเป้าหมายที่จะทดแทนด้วยอุปกรณ์เครือข่ายแบบ 5G standalone ในระยะ เวลา 3 ปี
4. โนเกียประกาศความสําเร็จในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น ในประเทศ อินโดนีเซีย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศออสเตรเลีย
โนเกียสามารถคว้า 3 สัญญาใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น โดยในประเทศอินโดนีเซีย เป็นครั้งแรกที่โนเกียได้นําโซลูชั้น DSS มาเชื่อมต่อ 3G-4G แบบไดนามิคสเปคตรัมให้กับผู้ให้บริการ เครือข่าย 3 ราย เพื่อขยายแบนด์วิธของ 4G ที่มีอยู่ โซลูชั่น DSS นี้จะจัดการใช้งานทรัพยากรตามความต้องการใช้งานจริงของลูกค้าทั้งในระบบ 3G และ 4G ซึ่งจะแปรผันไปตามสภาพภูมิศาสตร์ และ ช่วงเวลาของวัน ผลจากการทดลองติดตั้งโซลูชั่นนี้ในเมืองมากัซซาร์และสุลาเวสี มีผลช่วยให้ช่อง สัญญาณ 4G เพิ่มขึ้นจากเดิม 18% โดยไม่มีการรบกวนคุณภาพสัญญาณ 3G ที่มีอยู่
ในประเทศญี่ปุ่น โนเกียและ KDDI ได้ร่วมกันทดลองแนวคิดการใช้เครือข่าย Cloud RAN แบบเสมือน จริงเพื่อรองรับการใช้งานเครือข่ายหลากหลายแบบที่จําเป็นในยุค 5G โดยการใช้ AirScale All-in Cloud BTS ของโนเกียทําให้ KDDI ได้ศึกษาความยืดหยุ่นในการนําเทคโนโลยีเครือข่ายสัญญาณ วิทยุแบบเสมือนจริงมารองรับความต้องการใช้เครือข่ายที่มีความหน่วงต่ํามาก และยังสามารถเพิ่ม คุณภาพเครือข่ายเพื่อให้ตรงกับความต้องการใช้งานรูปแบบใหม่ๆ
ขณะเดียวกัน โนเกียได้ร่วมมือกับโวกาโฟนฮัทชิสันออสเตรเลีย (VHA) เริ่มนําคลื่น 5G ความถี่ต่ำ NR700Mhz มาให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเป็นครั้งแรก โดยเมื่อวางระบบสําเร็จและเปิดใช้งาน คลื่นความถี่ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้บริการเครือข่าย 5G ของผู้ให้บริการเครือข่ายของออสเตรเลียมาก ยิ่งขึ้น พัฒนาการครอบคลุมพื้นที่ภายในอาคาร และยังเพิ่มการให้บริการสัญญาณ 5G ความเร็วสูงในพื้นที่ที่ต้องการ
5. โนเกียเข้าร่วมข้อตกลง Open RAN
โนเกียตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีสัญญาณวิทยุไร้สายที่ปลอดภัยแห่งอนาคตด้วยการ เข้าร่วมข้อตกลง Open RAN ร่วมกับลูกค้าและผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมในการกําหนดทิศทางของ นโยบายที่มีผลต่ออนาคตของเครือข่ายไร้สาย รวมทั้งร่วมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาระบบเครือข่ายเปิด
6. ผลการวิจัยชิ้นใหม่ของโนเกียเผยโอกาสทางธุรกิจ 5G ไร้สายแบบประจําที่ (Fixed Wireless access: FWA)
สําหรับผู้ให้บริการครือข่ายไร้สาย และ ปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อน 5G สําหรับระบบ IT และ OT ในองค์กร ผลงานวิจัยของโนเกียพบว่าการใช้งาน 5G ไร้สายแบบประจําที่ (Fixed Wireless Access -FWA) เป็นการบริการ 5G ที่ลูกค้าทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุด จากการสํารวจ 3,000 ตัวอย่าง พบว่า 66% ของกลุ่มตัวอย่าง บอกว่าพวกเขายินดีให้บริการ 5G-FWA หากค่าใช้จ่ายเท่ากันกับบริการที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน
90% ของกลุ่มตัวอย่างบอกว่าการรับส่งสัญญาณวีดิโอที่มีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่องไม่สะดุดเป็น คุณสมบัติที่น่าสนใจมากของ 5G ในขณะที่ผู้บริโภคหนึ่งในสามบอกว่าประสบการณ์การใช้งานระบบ ภาพเสมือนจริง (Augmented Reality-AR) เพื่อการพาณิชย์ทางไกลเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดใจ ผลการ วิจัยยืนยันว่ายังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมหาศาลสําหรับผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายที่จะแข่งขันกับผู้ให้ บริการอินเตอร์เน็ตแบบเดินสายในการนําบริการ FWA มาให้บริการแก่ผู้ใช้ตามบ้านและผู้ใช้ในทาง ธุรกิจ
ผลงานวิจัยชิ้นที่สองโดยโนเกียและบริษัทพาร์คส์ แอสโซซิเอทส์ (Parks Associates) เผยว่า 65% ของ ผู้มีอํานาจตัดสินใจด้าน IT ขององค์กรตระหนักถึง 5G โดย 34% กําลังใช้งานอยู่และมีความพึง พอใจเป็นอย่างมาก เกือบครึ่ง (47%) ของผู้มีอํานาจตัดสินใจด้าน IT จากหลายอุตสาหกรรม อาทิ เช่น พลังงาน อุตสาหกรรมการผลิต หน่วยงานราชการ/หน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะ และ อุตสาหกรรมยานยนต์ได้มีการเริ่มวางแผนในการนํา 5G มาใช้งาน กลุ่มธุรกิจพลังงาน และอุตสาหกรรม การผลิตเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจ 5G มากที่สุด โดยกําลังศึกษาการใช้งานเพื่อการซ่อมบํารุง โครงสร้างพื้นฐาน การควบคุมเครื่องจักรจากระยะไกล และการใช้งานหุ่นยนต์อัตโนมัติผ่านคลาวด์
7. โนเกียพิชิตสถิติโลกความเร็ว 5G
โนเกียประกาศความสําเร็จในการสร้างสถิติโลกด้วยความเร็วระบบ 5G บนเครือข่าย Over-the-Air (OTA) ณ เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ด้วยการใช้คลื่นความถี่ 5G mmWave ซึ่งทํางานร่วมกันกับระบบ 4G (EN-DC) ในย่านของคลื่นความถี่ 800 MHz ซึ่งในการทดสอบนี้โนเกียสามารถทําความเร็ว 5G ได้สูง ถึง 4.7 Gbps บนอุปกรณ์ของสถานีฐานซึ่งเป็นอุปกรณ์เดียวกันกับที่ให้บริการอยู่ในระบบเครือข่ายเชิง พาณิชย์ชั้นนําของสหรัฐอเมริกา ความสําเร็จนี้ไม่เพียงแต่จะทําให้ผู้ใช้บริการจะได้ใช้สัญญาณ โทรศัพท์ความเร็วสูงที่ไม่มีใครเทียบได้เท่านั้น แต่ยังทําให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถนําเสนอบริการ ที่เน้นเรื่องความหน่วงต่ำให้แก่ลูกค้าองค์กร อาทิเช่น เครือข่ายแบบแยกส่วน (Network Slicing) สําหรับการใช้งานในระดับ mission-critical