ไอซีที เข้าข้างลูกรักทีโอที จวก กสท หันไปใช้ไอซี ตามเอกชน เพราะเห็นแก่ส่วนตัว ไม่ได้รับผลกระทบจากการเลิกระบบเอซี ผลประกอบการยังเติบโตดีจ่ายโบนัสพนักงานได้เกือบ 4 เดือนในขณะที่ ทีโอที โดนผลกระทบเต็มตัวรายได้หดโบนัสเหลือ 0.44 เดือน ทิ่ม กทช ช่วยหันมาดูไอซีทำรัฐเดือดร้อนเอกชนรวย
นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า กรณีที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จะเปลี่ยนไปใช้ค่าอินเตอร์คอนเน็คชั่นชาร์จ หรือ ไอซี แทนการใช้ค่าแอ็คเซ็สชาร์จ หรือเอซี เหมือนกับผู้ประกอบการเอกชนตามประกาศการใช้และการเชื่อมโยงโครงข่าย พ.ศ. 2549 ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทช. นั้นเป็นเพราะการเลิกใช้ไอซีไม่ส่งผลกระทบต่อ กสท เนื่องจาก กสท ไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง และที่ผ่านมา กสท มีรายได้จากค่าเอซีที่แบ่งจากทีโอที จำนวนไม่มากคาดว่าไม่ถึง 1 บาทต่อนาที ฉะนั้นการยกเลิกค่าเอซีจึงไม่ได้ส่งผลให้รายได้ของ กสท ลดลงจึงจะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมารายได้ของ กสท ยังคงเติบโตในทิศทางที่ดี และสามารถจ่ายโบนัสให้กับพนังงาน 4 เดือน
ส่วนทีโอที ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกค่าไอซีมากที่สุด เนื่องจากรายได้จากค่าเอซีที่ได้รับจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ หายไปในปีที่ผ่านมาราว 1.4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของทีโอทีลดลงในระดับที่ย่ำแย่ และสามารถจ่ายโบนัสตอบแทนพนักงานได้เพียง 0.44 ของเงินเดือน จากเดิมที่มีความสามารถจ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้ 3-4 เดือน
“กสท ไม่ได้เดือนร้อนหากมีการยกเลิกใช้ค่าเอซี เพราะที่ผ่านมาได้รับส่วนแบ่งจากเอซีไม่มาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะไปเห็นพ้องใช้ค่าไอซีกับเอกชน แต่คนที่เดือนร้อนคือ ทีโอที ซึ่งเห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมาผลการดำเนินการย่ำแย่รายได้จาก เอซีหายไป 1.4 หมื่นล้านจ่ายโบนัสให้พนักงานได้แค่ 0.44 เดือนจากเดิมมีความสามารถจ่ายได้ถึง 4 เดือน”
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวควรจะเป็นหน้าที่ของ กทช. ที่จะเข้ามาจัดการไม่ใช้ ไอซีที เพราะไอซีทีไม่ใช่ผู้เริ่มเรื่องเอซีไอซี แต่เป็นกทช.ที่ประกาศใช้ค่าไอซีซึ่งเป็นกติกาใหม่และส่งผลกระทบต่อสัญญาเดิมที่มีไว้ และสร้างความเดือนร้อนให้กับหน่วยงานรัฐ
นายสือกล่าวว่า การประกาศใช้ค่าไอซีของกทช.ทำให้ เอกชนมีกำไรและรายได้ที่เติบโตขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนลดลงแต่หน่วยงานของภาครัฐอย่าง ทีโอทีกับได้รับผลกระทบและส่งผลให้ผลการดำเนินงานทั้งในแง่รายได้และกำไรลดลง
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ต.พิริยะ ศิริบุญ โฆษกบอร์ด กสท ระบุว่า บอร์ดรอผลพิจารณาจาก กทช. ในกรณีการพิจารณาอัตราค่าไอซีควรอยู่ในราคาเท่าไหร่ประชาชนจึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดเนื่องจากปัจจุบันเอกชนได้เสนอราคาสูงถึง 1.07 บาทต่อนาที
ซึ่งราคาที่เอกชนเสนอมาดูจะเอาเปรียบประชาชน เพราะแพงเกินไป แตกต่างจาก กสทได้เสนอราคาเพียง 0.21 บาทต่อนาทีเท่านั้นโดยไม่แตกต่างจากต่างประเทศที่มีการใช้ค่าไอซีในราคาเพียง 0.25 บาทต่อนาทีนอกจากการรอผลการพิจารณาค่าไอซีจาก กทช.แล้วบอร์ดยังรอการพิจารณาจากศาลแพ่งเรื่องค่าเอซีด้วยเช่นกัน พร้อมกับ กสท จะทำหนังสือเพื่อขอยกเลิกใช้ค่าเอซีกับทีโอที เพราะมองว่าการใช้ค่าไอซีจะมีประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
Company Related Links :
MICT
นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า กรณีที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จะเปลี่ยนไปใช้ค่าอินเตอร์คอนเน็คชั่นชาร์จ หรือ ไอซี แทนการใช้ค่าแอ็คเซ็สชาร์จ หรือเอซี เหมือนกับผู้ประกอบการเอกชนตามประกาศการใช้และการเชื่อมโยงโครงข่าย พ.ศ. 2549 ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทช. นั้นเป็นเพราะการเลิกใช้ไอซีไม่ส่งผลกระทบต่อ กสท เนื่องจาก กสท ไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง และที่ผ่านมา กสท มีรายได้จากค่าเอซีที่แบ่งจากทีโอที จำนวนไม่มากคาดว่าไม่ถึง 1 บาทต่อนาที ฉะนั้นการยกเลิกค่าเอซีจึงไม่ได้ส่งผลให้รายได้ของ กสท ลดลงจึงจะเห็นได้ว่าในปีที่ผ่านมารายได้ของ กสท ยังคงเติบโตในทิศทางที่ดี และสามารถจ่ายโบนัสให้กับพนังงาน 4 เดือน
ส่วนทีโอที ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกค่าไอซีมากที่สุด เนื่องจากรายได้จากค่าเอซีที่ได้รับจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ หายไปในปีที่ผ่านมาราว 1.4 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของทีโอทีลดลงในระดับที่ย่ำแย่ และสามารถจ่ายโบนัสตอบแทนพนักงานได้เพียง 0.44 ของเงินเดือน จากเดิมที่มีความสามารถจ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้ 3-4 เดือน
“กสท ไม่ได้เดือนร้อนหากมีการยกเลิกใช้ค่าเอซี เพราะที่ผ่านมาได้รับส่วนแบ่งจากเอซีไม่มาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะไปเห็นพ้องใช้ค่าไอซีกับเอกชน แต่คนที่เดือนร้อนคือ ทีโอที ซึ่งเห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมาผลการดำเนินการย่ำแย่รายได้จาก เอซีหายไป 1.4 หมื่นล้านจ่ายโบนัสให้พนักงานได้แค่ 0.44 เดือนจากเดิมมีความสามารถจ่ายได้ถึง 4 เดือน”
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวควรจะเป็นหน้าที่ของ กทช. ที่จะเข้ามาจัดการไม่ใช้ ไอซีที เพราะไอซีทีไม่ใช่ผู้เริ่มเรื่องเอซีไอซี แต่เป็นกทช.ที่ประกาศใช้ค่าไอซีซึ่งเป็นกติกาใหม่และส่งผลกระทบต่อสัญญาเดิมที่มีไว้ และสร้างความเดือนร้อนให้กับหน่วยงานรัฐ
นายสือกล่าวว่า การประกาศใช้ค่าไอซีของกทช.ทำให้ เอกชนมีกำไรและรายได้ที่เติบโตขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนลดลงแต่หน่วยงานของภาครัฐอย่าง ทีโอทีกับได้รับผลกระทบและส่งผลให้ผลการดำเนินงานทั้งในแง่รายได้และกำไรลดลง
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ต.พิริยะ ศิริบุญ โฆษกบอร์ด กสท ระบุว่า บอร์ดรอผลพิจารณาจาก กทช. ในกรณีการพิจารณาอัตราค่าไอซีควรอยู่ในราคาเท่าไหร่ประชาชนจึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดเนื่องจากปัจจุบันเอกชนได้เสนอราคาสูงถึง 1.07 บาทต่อนาที
ซึ่งราคาที่เอกชนเสนอมาดูจะเอาเปรียบประชาชน เพราะแพงเกินไป แตกต่างจาก กสทได้เสนอราคาเพียง 0.21 บาทต่อนาทีเท่านั้นโดยไม่แตกต่างจากต่างประเทศที่มีการใช้ค่าไอซีในราคาเพียง 0.25 บาทต่อนาทีนอกจากการรอผลการพิจารณาค่าไอซีจาก กทช.แล้วบอร์ดยังรอการพิจารณาจากศาลแพ่งเรื่องค่าเอซีด้วยเช่นกัน พร้อมกับ กสท จะทำหนังสือเพื่อขอยกเลิกใช้ค่าเอซีกับทีโอที เพราะมองว่าการใช้ค่าไอซีจะมีประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
Company Related Links :
MICT